ทำไมไม่อธิบายต่อล่ะครับ ว่าขนาดที่ต่างกันของลำกล้อง ระหว่างตัว 5 นิ้ว 4.25 นิ้ว 3.5 นิ้ว และ 3 นิ้ว ทำไมตัวเตะปลอกจึงไม่เท่ากันหรือว่าเป็น 1911 แบบแก้ไขระบบ และแก้ไขระบบตรงไหน หรือเป็นเพียงการแก้ไขรายละเอียด ที่อธิบายไว้นั่นหน่ะผมว่าเพื่อนๆสมาชิกเขามีพื้นฐานอยู่บ้างแล้วหล่ะ ช่วยอธิบายตรงที่สงสัยทีเถอะครับเพื่อนๆสมาชิกเขาอยากทราบครับ อีกอย่างจากรูปที่เห็น ทำไมปืนเลสแบร์ (ปืนแก้ไขระบบ) จึงไม่ยักทำตามแบบโค้ลท์นะ ที่ยังคงไม่ตัดรางช่วงคันล็อกลำเลื่อนเหมือนกับโค้ลท์ หรือว่าปืนโค้ลท์ซะเองที่เป็น ปืนแก้ไขระบบ ขอตอบเรื่องตัดโครงก่อนนะครับ ผมอ่านมานะครับ ไม่เคยทดลองเองเรื่องโครงขาดเนี่ย
แบบของ 1911 เดิม โครงไม่ขาด
แต่พอโคลท์มาทำโครงในช่วงปี 1990 เป็นต้นมา ก็ตัดโครงให้ขาด เนื่องจากว่า จุดนี้ เขาว่ามันเปราะบาง เวลายิงมากๆ มันจะแตกร้าว เขาก็เลยตัดออกไปเสียเลย ขอรับ( ฝรั่งเขาว่า)
ที่ว่าฝรั่งเขาว่า เพราะเขายิงกันเป็นหมื่นๆ นัด เขาเลยเห็นความเสียหายของปืนได้ว่าจุดในเปราะบาง แต่ในเมืองไทย เราไม่มีปัญญายิงกันเป็นหมื่นนัด เราก็เลยไม่มีโอกาสเห็นกระมังครับ
แต่พวกปืนที่เอา 1911 ไปทำตามแบบ เขาก็ทำตามแบบเดิมนะครับ ก็เลยโครงไม่ขาด
อันนี้ จนปัญญายิงเองเป็นหมื่นๆ นัด ต้องจำฝรั่งมาพูดต่อแหละครับ
ตอบเรื่องการตัดโครงแล้ว อย่าลืมเรื่องขนาดที่ต่างกันของลำกล้อง ระหว่างตัว 5 นิ้ว 4.25 นิ้ว 3.5 นิ้ว และ 3 นิ้ว ทำไมตัวเตะปลอกจึงไม่เท่ากันด้วยนะท่าน ถ้าเจ๋งจริงขอแถมเรื่องระยะถอยตัวของลำเลื่อน+ระบบไกด์รอด ด้วยนะท่าน เพราะเคยเห็นคนบ่นเรื่อง ยิงโค้ลท์ 3 นิ้ว (ดีเฟนเดอร์) แล้วขัดลำบ่อยจัง อาจจะเป็นที่อีเจคเตอร์ก็ได้นา ถ้าจะดีมากถึงมากที่สุดก็เอาเรื่องโครงปืน ตัว 5 นิ้ว 4 นิ้ว 3.5 นิ้ว กะ 3 นิ้ว ด้วยเลยละกัน กระทู้เดียวจบเรื่องกัน ปืนโค้ลท์Wait & See
มาแล้วครับพี่ ....ท่านต้องพี่ผมแน่ เลยเรียกพี่แล้วกัน
ก็เรื่องโครงขาด ผมก็จำได้ว่า อ่านมานะครับ ไม่เคยยิงจริงหรอก ไม่สามารถยิงจนขาดหรอกครับ (ไม่มีตังค์ค่ากระสุน)
เรื่องปืนโคลท์แก้ไขระบบ หรือแก้ไขรายละเอียด ผมก็ตอบไม่ถูกอีกแหละพี่ เพราะว่า เห็นในช่วงปี 90 โคลท์ เขาตัดมา แต่ยี่ห้ออื่น ใช้แบบไม่ตัด ก็คงใช้แบบแปลนเดิมกระมั้ง ครับ.....
ส่วนเรื่องทำไมปืน ลำกล้อง ยาว และสั้นลงหน่อย และสั้น และสั้นที่สุด ของ 1911 ทำไมอีเจคเตอร์ ไม่เหมือนกัน
อันนี้ ผมก็ไม่สามารถตอบได้อีกแหละครับ เพราะว่า ไม่มีความรู้ด้านเทคนิค เรื่องแรงดันสปริง เป็นปอนด์ ฯลฯ
อะไร ทำนองนี้ ผมไม่ค่อยทราบ
แต่สิ่งที่เหมือนกันทั้งหมดของหลักการการสลัดปลอกของภาพ 3 ภาพนั้นก็คือ เปลี่ยนจุดสัมผัสของอีเจคเตอร์ ที่สัมผัสกับจานท้ายปลอกกระสุน .45 จากแบบของเดิม แน่นอน
และถ้าจะให้ดี ต้องล้ำเข้าไปในเขตของแม็กกาซีน จึงจะทำให้ระบบสมบูรณ์มากๆ
ถ้าขายาว มากๆ มันก็ไม่ได้ เวลาดึงลูกที่ยังมีหัวออกจากรังเพลิง มันจะออกไม่ได้ เวลาแต่งตัวยาวๆ ใส่เข้าไป ต้องค่อยๆ ตะไบ ไปเรื่อย ๆ ลองป้อนลูกไปเรื่อยๆ จนกว่า ขาจะสั้นลงจนสามารถดึงสไลด์ถอยหลังแล้ว ลูกกระสุนที่มีหัว สามารถพลิกตัวออกมาได้ แต่ส่วนที่เหลือ ก็ยังล้ำเข้าไปในแม็กกาซีนอยู่ดี
สรุปว่า เรื่อง ภาพ 3 ภาพ มันสั้งยาว สำคัญยังไง ผมตอบไม่ได้ครับว่า ทำไม เขาต้องทำมาสั้นบาง ยาวบ้าง
แต่ที่แน่แน่ ทั้ง 3 ภาพมีสิ่งเหมือนกันคือ เปลี่ยนจุดสัมผัสที่อีเจคเตอร์ กระทำต่อจานท้ายปลอกกระสุน
ซึ่งแบบมาตรฐาน จะกระทำต่อ ขอบ ขอบ ด้านข้าง ของส่วนที่เป็นจานท้ายปลอก
แต่แบบ 3 ภาพ นั้น กระทำต่อจานท้ายแบบหน้าตรงเลย คือ ปลอกถอยหลังมาชนเลยครับ
ส่วนภาพของพี่ ที่มีพี่ ๆ เขาแซวว่า จดสิทธิบัตรหรือยังนั้น ก็เหมือนกัน เป็นการสัมผัสแบบหน้าตรงแบบชนเลยเหมือนกันนี่ครับ และที่สำคัญ เป็นลักษณะของจานท้ายถอยหลังมาสัมผัสกับส่วนที่สูงที่สุดของอีเจคเตอร์ เป็นอันดับแรก หลักการเดียวกับสามภาพนั้น เพียงแต่ของพี่ยาวไม่มากเท่านั้นเอง แต่รับรองว่า ของพี่ ไม่เหมือนมาตรฐาน 1911 แบบโรงงานที่เป็นแบบสั้นๆ หน้าลาดๆ เฉียงๆ แน่นอน ใช่ไหมครับ
แต่พี่ไม่ต้องทำเล็บมือนางก็ได้ แค่ช่องคายต่ำลงมาหน่อย ก็พลิกปลอกได้แล้ว ปืน เอ็ม 1991 เอ1 (รมเขียว ไม่มีม้า)
ก็ไม่ต้องทำเล็บมือนางเหมือนที่พี่บอก เพียงแต่เปลี่ยนจุดสัมผัสของอีกเจคเตอร์ ที่กระทำต่อจานท้ายปลอกกระสุน ให้มาอยู่ในส่วนสูงสุด ของอีเจคเตอร์ เท่านั้นเองครับ เอ็ม 1991 เอ1 แบบไม่มีม้า ก็ทำช่องคายต่ำลงกว่าแบบ 70 ก็สามารถสลัดปลอกได้เหมือนสูตรที่พี่ทำ
ดีใจที่พี่รอผม ....ขอบพระคุณครับ