ทอมมี่ก็ยังคงรอคำตอบจากอาจารย์เต๋าอยู่นะครับ
ทอมมี่สงสัยจริงๆครับ อาจจะเป็นเพราะว่าปืนโคลท์1911A1 กระบอกแรกของทอมมี่
มันยิงดีจริงๆ ไม่เคยติดเลยครับ อาจารย์เต๋า
คัดปลอกได้ทุกนัด กระสุนครบนัด จะใส่แมกฯ 7 นัด หรือ 8 นัด มันก็ดึงออกได้ครับ
ทอมมี่เลยไม่มีอคติกับ 1911
จนถึงทุกวันนี้ มันก็ยังคงทำงานได้คงเส้นคงวาอยู่
ทอมมี่ไม่เคยแตะต้องอะไรกับขอรั้งปลอก ตัวเตะปลอก ช่องคายปลอกเลยครับ
1911 กระบอกแรกของอาจารย์เต๋า เป็นอย่างไรบ้างครับ แบ่งปันประสบการณ์กับทอมมี่หน่อยนะครับ
ครับ มาแล้วครับ
คุณทอมมี่ ถือเป็นผู้โชคดี คนหนึ่งแล้วครับ ที่ได้ตัวเตะปลอกแบบเก่า แบบเดิม ช่องคายแบบแคบๆ แล้วยังทำงานดีเหมือนเดิม ทุกประการ
ครับ ผมเป็นประเภทชอบดูปืนของคนอื่นเขาด้วย ตามสนามทั่วไป เป็นปัญหานี้บ่อยๆ
คุณทอมมี่ ใช้กระสุนอะไรยิงหรือครับ เล่าให้ฟังหน่อยก็ดี
กระสุนซ้อมยิงเมืองไทย แรงดัน สูงบ้าง ต่ำบ้าง นัดทีแรงดันสูง ก็ไม่เป็นไร มันจะทำให้ระบบของปืนสมบูรณ์
แต่นัดที่แรงดันต่ำ มักจะทำให้เกิดอาการติดขัด กรณีที่ใช้ตัวเตะปลอกแบบเก่า
อย่าเรียกอาจารย์เลยครับ เรียก พี่เต่า น้องเต่า ก็ตามแต่เถอะครับ พวกเราแค่เข้ามาคุยกัน
ต่อข้อถามของคุณเรื่อง ทำไม ไม่เปลี่ยนตั้งแต่ ตอนเป็น เอ1
อันนี้ ไม่ทราบจริงๆ ครับ ว่าทำไมโคลท์ ไม่เปลี่ยน อาจจะมาจากยิงลูกจริง ที่เป็นกระสุนมาตรฐานแล้วมันไม่มีปัญหา
เขาก็เลยไม่รู้จะเปลี่ยนไปทำไม ก็ได้ (ผมคิดเอาเองนะครับ คุยกัน )
-ต่อมา ปืนสรรพาวุธทหารบกของเรา
นามกรว่า ปพ.95 ในส่วนสไลด์ด้านบน เหมือนโคลท์ มากๆ แก้ไขรายละเอียดนิดหน่อย
แต่ระบบสลัดปลอก ถ้าผมจำไม่ผิด ขาเตะปลอกมันยาวออกมากกว่า แบบของเดิมของโคลท์ 1911 ครับ
ก็แสดงว่า ผู้ออกแบบ น่าจะเห็นความบกพร่องของมันหรืออย่างไร ก็ไม่ทราบ เพราะมิฉะนั้น ก็ทำเลียนแบบตรงๆ ไม่ต้องมาคิดอะไร มันจะไม่ดีไปกว่าหรือครับ
ต่อมา ช่วงหลังสงครามโลก ได้มีการแข่งขัน กันหนักหนา ในอเมริกา ก็มีการซิ่งปืน..........
การซิ่งปืน ก็คือ การทำให้ปืน กลายเป็นเครื่องส่งกระสุน ที่สมบูรณ์มากที่สุด แม่นที่สุด ติดขัดน้อยที่สุด
มีการซิ่งปืนกันหลายๆ จุด ของเอ็ม 1911 ซึ่งผมก็จะไม่พูดถึง
แต่จุดที่ขาดไม่ได้เสียเลยสำหรับการซิ่งปืน ของฝรั่ง (ผมเห็นหลายค่ายมากๆ ได้แก่ วิลสันนี่ ถือเป็นจุดมาตรฐานเลย) ก็คือ การผายช่องคายปลอก แล้วก็ทำเล็บมือ เล็บเล็กหรือใหญ่ แล้วแต่ค่ายแต่ง และก็ต้องเปลี่ยนอีเจคเตอร์ เป็นแบบยาว
ซึ่งถ้าคิดว่า ของเก่ามันดีอยู่แล้ว เขาก็คงไม่ไปซิ่งมัน จริงไหมครับท่าน (นี่ผมพูดจากความรู้สึกของผมนะ)
พอมาช่วงที่ สิทธิบัตร 1911 หมดลง มี 1911 สายพันธ์ ต่างๆ เกิดขึ้นมากมายในโลกนี้
เท่าที่เห็น ได้แก่ สปริงฟิลล์ คิมเบอร์ เลปแบร์ เอสทีไอ ฯลฯ เหล่านี้ ปืนราคาเรือนแสนทั้งนั้น
ผมเห็นจุดอื่นก็ยังเปลี่ยนบ้าง ไม่เปลี่ยนบ้าง เช่น แรม ทางขึ้นกระสุน ก็มีบางรุ่น เปลี่ยนบ้าง ไม่เปลี่ยนบ้าง
บางรุ่นก็ใช้แบบเดิม ตะขอเกี่ยวปลอก ก็เปลี่ยนบ้าง ไม่เปลี่ยนแบบบ้าง
แต่ที่แน่ๆ ระบบการสลัดปลอก ของ 1911 แต่เดิมนั้น พวกปืนสายพันธุ์ใหม่ ที่เกิดขึ้นและได้กล่าวมาข้างต้น
ล้วนแก้ไขระบบสลัดปลอกเป็นแบบ ผายช่องคาย ทำเล็บมือนาง และอีเจคเตอร์ขายาวทั้งสิ้น
ซึ่งถ้าทำแล้ว ระบบการสลัดปลอกมันไม่แน่นอนขึ้น เขาก็คงจะไม่ไปแก้ไขมันหรอกครับ( ผมคิดเอาเองอีกแหละ)
เหตุผลของผม ก็ดูจากสิ่งที่เห็น แล้วก็มาเล่าสู่กันฟังแค่นั้นเองครับ
เรื่องประสบการณ์ 1911
ก็ถือว่า คุณทอมมี่โชคดีมาก ที่มี 1911 แล้วยิงได้ผ่านตลอด โดยไม่ติดขัดเลย เพราะผมเคยเห็นในสนามฯ
บ่อยครั้งที่ 1911 แบบตัวเตะเดิม เมื่อเจอลูกซ้อมแรงดันอ่อนๆ ก็มักจะออกอาการติดขัด หรือไม่ก็สลัดปลอกไม่เป็นทิศเป็นทาง ออกแนวสูงบ้าง ออกแนวข้างๆ บ้าง พอนัดสุดท้าย ดีดเสียแรงเชียว ก็มี
ปืนที่มีระบบสลัดปลอกที่สมบูรณ์มากๆ จะต้องสลัดปลอก ลงเป็นที่เป็นทาง ซึ่ง ก็หมายความว่า ระยะการกระแทกปลอก ต้องอยู่ล้ำเข้าไปในแนวแม็กกาซีน
ปลอกของคุณทอมมี่ เวลาสลัดแล้ว ตกลงเป็นตำบลเดียวกันหรือเปล่าครับ
ผมเป็นเด็กเก็บปลอกกระสุนตามสนามมาก่อนครับ ถ้าปืนออโต้ ของใคร แต่งระบบสลัดปลอกไว้ดีแล้ว หรือระบบสมบูรณ์มาแต่แรก เด็กเก็บก็จะไม่เหนื่อย พอนัดแรกลงตรงไหน นัดต่อไป ก็จะกองอยู่ตรงนั้น หรือตกลงมาในบริเวณใกล้ๆกันนั่นแหละครับ
ผมคุยกับคุณทอมมี่ แค่นี้ ก่อนครับ หิวข้าวแล้ว มีไรก็คุยกันครับ ....เพื่อนกันทั้งนั้น