เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
ตุลาคม 09, 2024, 12:25:19 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เว็บบอร์ด อวป. สามารถเข้าได้ทั้งสองทาง คือ www.gunsandgames.com และ www.gunsandgames.net ครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1]
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: "เด็กสมัยนี้หัวโต มีความรู้ แต่หัวใจเหี่ยว "  (อ่าน 2014 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ทัดมาลา ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป
มืออ่อน หมัดแข็ง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 857
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6569


เตสาหัง สิรสา ปาเท วันทามิ ปุริสุตตเม


« เมื่อ: มิถุนายน 03, 2007, 02:55:48 PM »

ยาวหน่อยนะครับ แต่อ่านแล้วน่าจะได้อะไรดีๆกลับไปบ้าง



สัมภาษณ์ : นพ. รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ "เด็กสมัยนี้หัวโต มีความรู้ แต่หัวใจเหี่ยว"

วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ : สัมภาษณ์ / บันสิทธิ์ บุณยะรัตเวช : ถ่ายภาพ

นิตยสารสารคดี

หาก นพ. บุญส่ง เลขะกุล นักอนุรักษ์ธรรมชาติคนสำคัญของประเทศ ยังมีชีวิตอยู่ เขาจะมีอายุครบ ๑๐๐ ปีใน
ปีนี้ แต่แม้ชีวิตจะหาไม่แล้ว สิ่งที่ท่านทำยังได้เป็นแรงบันดาลใจให้เด็กชายคนหนึ่งก้าวเดินตามรอย
เด็กชายที่ในวันวาน เคยได้ฟังหมอบุญส่งเล่าเรื่องสัตว์ป่าในพงไพร
เด็กชายที่ในวันนี้ กลายเป็นอาจารย์หมอนักอนุรักษ์

คนทั่วไปในสังคมอาจไม่รู้จักเขา แต่ในบรรดาแพทย์ทางด้านโรคหัวใจ ชื่อของ นพ. รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์
หรือหมอหม่อง อาจารย์แพทย์แห่งโรงพยาบาลสวนดอก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับการ
ยอมรับว่าเป็นอาจารย์แพทย์ผู้มีความสามารถระดับประเทศคนหนึ่ง

โดยเฉพาะคำร่ำลือในเรื่องการรักษาผู้ป่วยของเขา ที่มุ่งประเด็นไปที่การสืบหาสาเหตุของโรคจากการซัก
ประวัติคนไข้ ซึ่งถือเป็นพื้นฐานสำคัญที่สุดในการรักษาแต่กลับถูกละเลยจากแพทย์สมัยปัจจุบัน ตลอดจนการ
สร้างทีมติดตามอาการของผู้ป่วยในระยะยาว จนได้รับการยกย่องจากวงการแพทย์ทั่วไป

แม้นอกเวลาราชการ แทนที่จะไปประจำตามโรงพยาบาลเอกชนหรือคลินิกอย่างหมอคนอื่น ๆ หมอหม่องกลับ
เลือกไปอยู่ตามป่าเขา โดยเฉพาะบนดอยแถบภาคเหนือที่เขามักจะพาเด็ก ๆ จากชมรมอนุรักษ์นกและ
ธรรมชาติล้านนา ไปดูนกและให้การศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติ

แน่นอน ในบรรดาผู้สนใจธรรมชาติและกลุ่มคนดูนก ชื่อหมอหม่องเป็นที่รู้จักดีในฐานะผู้มีความรู้ด้านธรรมชาติ
วิทยาอย่างลึกซึ้ง ซึ่งมีเพียงไม่กี่คนในประเทศนี้

หมอหม่องเป็นทั้งครูที่ดี และเป็นนักถ่ายทอดที่ยอดเยี่ยม ทั้งเรื่องทางการแพทย์และเรื่องของสัตว์ป่า และใน
ฐานะนักอนุรักษ์ธรรมชาติ ข้าราชการตัวเล็ก ๆ อย่างเขายังเป็นคนหนึ่งที่กล้าออกมาคัดค้านโครงการของรัฐที่
มีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะกรณีการสร้างเขื่อนปากมูล และโครงการก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าดอยหลวง
เชียงดาว

ด้วยจิตใจที่รักในเพื่อนมนุษย์และธรรมชาตินั้นได้รับมาจากคุณพ่อ ดร. รชฎ กาญจนะวณิชย์ และคุณแม่ ม.ร.ว.
สมานสนิท สวัสดิวัตน์ ผู้เป็นเข็มทิศชีวิตให้เขามาจนทุกวันนี้

“แม่บอกว่ามรดกที่แม่u3592 จะให้นั้นไม่ใช่เงินทอง แต่เป็นแผ่นดินสีเขียวที่แม่ให้ไว้เป็นมรดกแก่ลูก และผมคิดว่า
มรดกที่มีค่ามากที่สุด คือความรักธรรมชาติ ขณะที่พ่อจะปลูกฝังให้ผมเป็นคนมีเหตุมีผล สอนให้คิดเป็น
วิทยาศาสตร์”


กว่า ๒๐ ปีที่แล้ว นักเรียนสาธิตจุฬาฯ ที่เรียนดีมาตลอดคนนี้ เคยสอบได้ทุนเล่าเรียนหลวง ซึ่งแต่ละปีมีคน
สอบชิงทุนได้เพียง ๓ คนเท่านั้นจากทั้งประเทศ ทุนที่เขาสอบได้คือทุนไปเรียนวิศวกรรมศาสตร์ที่
มหาวิทยาลัยบอสตัน แต่เขาก็เลือกที่จะปฏิเสธทุนนี้ในเวลาต่อมา ด้วยเหตุผลที่ว่า “สมองของผมอาจเรียนวิศ
วะได้ แต่หัวใจผมไม่ใช่”

เพื่อจะได้เรียนในสิ่งที่ตนรัก เขาจึงกลับมาเอนทรานซ์ใหม่และสอบติดคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาล
รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล สมัยเป็นนักศึกษาแพทย์ เขายังเป็นเด็กกิจกรรมตัวยง ได้รับเลือกเป็นนายก
สโมสรคณะแพทยศาสตร์ ปี ๒๕๓๒ เข้าร่วมกับคณะกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อม
๑๖ สถาบัน (คอทส.) เคลื่อนไหวคัดค้านโครงการเขื่อนน้ำโจน รณรงค์เรื่องการค้าสัตว์ป่า ฯลฯ กระนั้นก็เรียน
จบด้วยคะแนนเกียรตินิยมอันดับ ๑ ก่อนจะมาเป็นหมอชนบท และไปเรียนต่อด้านโรคหัวใจที่ Imperial
College School of Medicine, University of London

จากนั้นกลับมาเป็นแพทย์อายุรศาสตร์โรคหัวใจประจำโรงพยาบาลสวนดอก และเป็นอาจารย์ประจำภาควิชา
อายุรศาสตร์ หน่วยวิชาระบบหัวใจและหลอดเลือด คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จนถึงปัจจุบัน
วันหนึ่งกลางเดือนมกราคม หลังจากที่หมอหม่องไปบรรยายเรื่องแนวทางการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวชนิด
เรื้อรังในที่ประชุมนานาชาติแห่งหนึ่ง สารคดี มีโอกาสได้สัมผัสตัวตนอันแท้จริงของเขา 
อาจารย์หมอ ผู้มีใจรักในเพื่อนมนุษย์ สรรพสัตว์ และธรรมชาติ

“ผมได้พบสิ่งที่ผมถนัด เป็นสิ่งเดียวกับที่แม่ให้
มา คือการถ่ายทอดความรักธรรมชาติให้แก่คน
อื่น ผมรู้สึกว่าธรรมชาติมันเต็มไปด้วยความ
มหัศจรรย์ บางคนอาจจะรู้สึกว่าเข้าป่ามองไปก็
เห็นแต่ต้นไม้ แต่ถ้ามองด้วยสายตาอีกแบบจะ
เห็นอะไรเยอะมาก ถ้าเราดูอย่างละเอียด ไม่
มองเพียงผิวเผิน และตั้งคำถาม เราจะพบว่ามัน
มีนิทานอยู่เบื้องหลังใบไม้ทุกใบ”

-ชีวิตวัยเด็กซึมซับความรักในธรรมชาติอย่างไรบ้างครับ
ผมอยู่ใกล้ชิดธรรมชาติตั้งแต่เด็ก พ่อมีบ้านที่ศรีราชา มีเรือที่พ่อต่อเอง เราจึงมักจะได้ออกเรือไปหลาย ๆ วัน
ตามเกาะในอ่าวไทย ไปเกาะคราม เกาะกูด เกาะช้าง ไปถึงเกาะสมุย การออกทะเลทำให้เราได้เรียนรู้เรื่อง
คลื่นลม กระแสน้ำ เข้าใจธรรมชาติของทะเล ได้เห็นฝูงปลาโลมากระโดดล้อคลื่นที่หัวเรือ ได้เห็นนกออกบิน
โฉบจับปลาในทะเล ส่วนแม่จะชอบพาไปเดินป่า ทำให้ผมได้ทำความรู้จักกับต้นไม้ แมลง นก และสัตว์สารพัด
ชนิด เหมือนกับเป็นการเปิดโลกธรรมชาติให้เรา จริง ๆ ผมชอบป่ามากกว่าทะเลนะครับ แค่ได้ออกไปเดินป่า
เก็บเห็ด ก็สนุกแล้ว

-คุณพ่อคุณแม่มีวิธีสอนลูกอย่างไร
แม่จะเป็นศิลปิน สนับสนุนให้เรามีจินตนาการ แม่มักจะเล่านิทานก่อนนอน แต่นิทานที่แม่เล่าให้ฟังไม่ใช่เรื่อง
ของเจ้าชายเจ้าหญิง มันจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสัตว์ต่าง ๆ ซึ่งคงมีส่วนทำให้ผมชอบเรื่องพวกนี้ ตอนเด็ก ๆ
ผมเคยสร้างป่าจำลอง ทำภูเขาไฟจำลอง ตัวสัตว์จำลอง ไดโนเสาร์ แม่สนับสนุนและคอยให้กำลังใจตลอด
แม้เราจะทำอะไรเละเทะท่านก็ไม่ห้าม ปล่อยให้แสดงออกเต็มที่ ส่วนพ่อเป็นนักเหตุผล จะให้วิธีคิดเชิง
วิทยาศาสตร์ กฎเกณฑ์ธรรมชาติ กฎเกณฑ์ฟิสิกส์ กับลูก ท่านจะคอยอธิบายให้ฟังว่า ทำไมน้ำขึ้นน้ำลง ทำไม
น้ำไหลไปทางนั้น แล้วท่านเป็นคนอธิบายเรื่องต่าง ๆ ได้สนุก บางทีก็เล่าเป็นนิทาน แต่นิทานที่พ่อเล่าจะต่าง
กับแม่ คือเป็นนิทานจีนที่ท่านแต่งขึ้นเอง ตัวเอกเป็นแม็กกายเวอร์ของฮ่องเต้ คือเป็นนักแก้ปัญหา แก้ได้ทุก
เรื่องทั้งเรื่องน้ำท่วม เรื่องการป้องกันบ้านเมือง เรารู้สึกว่าการสอนทั้งสองแบบดีสำหรับเรา พ่อทำให้ผมไม่ด่วน
ตัดสินอะไรจากแค่สิ่งที่เห็น ต้องมีหลักการ มีการเก็บข้อมูล มีการวิเคราะห์ ส่วนแม่ทำให้ผมรักธรรมชาติ

-เรียกได้ว่าความสนใจในเรื่องธรรมชาติ เรื่องสัตว์ต่าง ๆ ได้รับอิทธิพลมาจากแม่
แม่มีส่วนแน่นอน แต่ตัวผมเองก็สนใจเรื่องนี้มาตั้งแต่เด็ก ที่บ้านรับ สารนิยมไพรสมาคม ผมก็เปิดอ่านทุกหน้า
ยังจำได้ว่าครั้งหนึ่งผมได้ไปหาหมอบุญส่ง เลขะกุล ที่ห้องทำงานของท่าน ตอนนั้นเรายังไม่รู้อะไรมาก
เกี่ยวกับงานที่ท่านทำ แต่ทึ่งกับห้องทำงานของท่านมาก จำได้ว่าห้องทำงานหมอบุญส่งเต็มไปด้วยสัตว์เลี้ยง
ลูกด้วยนมที่สตัฟฟ์เอาไว้ มีขวดดองตัวอย่างงูและกบอยู่ตามชั้นไม้เก่า ๆ และซากนกสารพัดชนิดเก็บไว้ใน
ลิ้นชักแบบโบราณ หนังสือตำราต่างประเทศเกี่ยวกับสัตว์เต็มไปu3627 หมด และที่ประทับใจมากก็คือ หมอบุญส่ง
ท่านยอมสละเวลามานั่งเล่าเรื่องสัตว์ในเมืองไทยให้เด็กตัวเล็ก ๆ อย่างผมฟัง ตอนนั้นผมยังเด็ก ยังไม่ได้
ออกไปเดินป่าจริง ๆ สักเท่าไร ผมรู้จักสัตว์ต่าง ๆ ผ่านทางนิทาน แต่ตอนนั้นนิทานเกี่ยวกับสัตว์ในบ้านเราหา
ยาก ผมเลยรู้จักสัตว์ในเมืองฝรั่งเสียมากกว่า จากนิทานเหล่านี้แม่สอนให้ผมมีเมตตาและมีความอ่อนโยนกับ
สัตว์ทุกชนิด ไม่ว่าตัวเล็กตัวใหญ่ หน้าตาน่ารักหรือน่าเกลียด ไม่ได้รักแต่หมีแพนด้าหน้าตาคิกขุ ทำให้ผม
เข้าใจดีว่าสัตว์ทุกชนิดมีสิทธิในโลกไม่น้อยไปกว่าคน ต่างล้วนมีหน้าที่และบทบาทที่สำคัญทั้งสิ้น
ตอนยังเด็กแม่พาผมไปสวนงูแถวทุ่งมหาเมฆ มีงูมากมาย จำได้ว่าชอบมาก ได้ไปเล่นกับงูเหลือม พบว่าเกล็ด
เป็นเลื่อมสวยและสะอาดมาก หน้าตาก็ใจดี ไม่รู้สึกว่าเป็นตัวร้ายที่ต้องกำจัดเพื่อความปลอดภัยของมนุษย์
ทัศนคติที่ดีต่อสัตว์เป็นสิ่งที่ผมได้รับมาจากแม่ แม่บอกเสมอว่าเราต้องเอ็นดูสัตว์ทุกชนิด เพราะเขามีชีวิต มี
ความรู้สึกเหมือนเรา เวลาแม่พาผมไปเขาดิน ไม่ใช่แค่ดู แต่แม่จะเล่าด้วยว่าสัตว์แต่ละตัวเป็นอย่างไร และบอก
ว่าการที่สัตว์ต้องมาอยู่ในกรงไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้อง มนุษย์เราไม่มีสิทธิ์ที่จะมาปฏิบัติอย่างนี้กับสัตว์ สัตว์ทุกชนิด
รักอิสรภาพ ท่าทางของสัตว์ที่ดูซึมเศร้าทำให้ผมนึกอยากจะเห็นเขาในป่าซึ่งเป็นบ้านของเขาจริง ๆ มากกว่า
สมัยก่อนโรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเนนตัลที่ตอนนี้กลายเป็นสยามพารากอน เขาเลี้ยงเก้งไว้ ผมจะเอาผักที่
คนกินไม่ได้แล้วไปให้มันเป็นประจำ แม่รู้ว่าผมชอบก็ยิ่งสนับสนุน หลายครั้งแม่เอาหนังสือเรื่องสัตว์ที่หายาก
มาให้อ่าน ผมก็จะนั่งอ่านทั้งวัน นาน ๆ ครั้งจะมีภาษาไทยหลุดมาสักเล่ม จำได้ว่าเล่มแรกเป็นหนังสือแปลชื่อ
นกมหัศจรรย์ แต่ในเล่มนั้นก็ไม่มีนกที่อยู่ในเมืองไทยสักเท่าไรนอกจากนกเงือก ส่วนมากเป็นนกจากทั่วโลก
มากกว่า และในเล่มไม่มีภาพสี มีรูปนกเป็นลายเส้นเฉย ๆ แต่ผมก็รู้สึกว่าสิ่งเหล่านี้เป็นขุมทรัพย์ทางความรู้ จำ
ได้ว่าตอน ๗ ขวบผมได้ไปเที่ยวอังกฤษ สิ่งที่จำได้แม่นคือการไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา ผมรู้สึกว่า
มันเป็นการเปิดโลกครั้งสำคัญ ได้เห็นโครงกระดูกไดโนเสาร์ก็อ้าปากค้าง ผมอึ้งกับทุกอย่างในนั้น ไม่ต้องการ
ไปไหนอีกแล้วนอกจากอยู่ในนั้น มันทำให้เรารู้สึกว่าโลกมหัศจรรย์มาก



บันทึกการเข้า

บรรพบุรุษของไทยแต่โบราณ ปกบ้านป้องเมืองคุ้มเหย้า
เสียเลือดเสียเนื้อมิใช่เบา หน้าที่เรารักษาสืบไป
      
ลูกหลานเหลนโหลนภายหน้า จะได้มีพสุธาอาศัย
อนาคตจะต้องมีประเทศไทย มิยอมให้ผู้ใดมาทำลาย
ทัดมาลา ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป
มืออ่อน หมัดแข็ง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 857
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6569


เตสาหัง สิรสา ปาเท วันทามิ ปุริสุตตเม


« ตอบ #1 เมื่อ: มิถุนายน 03, 2007, 02:56:31 PM »

-เพื่อนรุ่นเดียวกันที่จบจากสาธิตจุฬาฯ มีที่ชอบเรื่องสัตว์เรื่องธรรมชาติบ้างไหม
ผมไม่ค่อยเจอใครที่ชอบเรื่องนี้มาก ๆ แต่สมัยนั้นเพื่อนที่ชอบไปค่ายลูกเสือในป่ามีเยอะ สำหรับผม การเข้า
ค่ายลูกเสือถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญอีกจุดหนึ่ง คือช่วงที่ผมเรียนประถมถึงมัธยมต้น พ่อผมเดินทางไป
ต่างประเทศบ่อย พ่อก็พาผมไปด้วย ทำให้ผมติดความสะดวกสบาย ผมถูกแซวแต่เด็กว่าชอบนอนห้องแอร์
เพราะคนอื่นไม่เคยนอนห้องแอร์ จนเมื่อได้มาร่วมกิจกรรมลูกเสือ ซึ่งไม่ใช่แค่การเรียนซ้ายหันขวาหัน แต่
อาจารย์องอาจ อาจารย์สอนวิชาลูกเสือที่ผมรักมาก แกพาเราไปแคมปิง ไปใช้ชีวิตในป่า ก่อกองไฟ มันทำให้
เรารู้สึกว่านี่สิเจ๋งจริง เป็นการพิสูจน์ตัวเราด้วยว่า เวลาที่เราไม่มีเครื่องอำนวยความสะดวก เราดำรงชีวิตอยู่ได้
ไหม ทำให้เรารู้ว่าการดำรงชีวิตในป่านี่ เงินไม่มีประโยชน์ใด ๆ เลย นอกจากเอาแบงก์ไปทำเป็นเชื้อฟืนก่อไฟ
อาจารย์แกไม่ได้มีความรู้เรื่องธรรมชาติอะไรมากมาย แต่การที่แกพาเราเข้าป่า มันทำให้เราได้เรียนรู้ว่าจริง ๆ
แล้วยังมีหลายอย่างที่เรามองข้ามไป ผมยอมรับว่าเป็นคนที่คาบช้อนเงินช้อนทองออกมา ถึงพ่อแม่จะสอน
เสมอไม่ให้ดูถูกคนอื่น แต่ถึงอย่างนั้นเราก็ยังติดสบาย เราไม่เคยหุงข้าวกินเอง ไม่เคยต้องทำความสะอาดบ้าน
แต่พอมาอยู่ในป่า ต้องพึ่งพาและปรับตัวเข้ากับธรรมชาติ แข่งกับกลุ่มอื่นว่าทำอาหารแล้วจะกินได้หรือไม่ เรา
ก็กลับมาติดดินมากขึ้น การไปแคมปิงทำให้เราเห็นว่าความสะดวกสบายมันไม่เจ๋ง ลำบากแบบนี้เจ๋งกว่า ต้อง
พึ่งตัวเองให้ได้ มันพิสูจน์ความเป็นเพื่อนได้ด้วย ตอนอยู่ด้วยกันสบาย ๆ เรามองไม่เห็นหรอก ที่สำคัญ
กิจกรรมลูกเสือยังทำให้ผมมีโอกาสเข้าป่าบ่อยขึ้น ซึ่งผมชอบมาก เข้าป่าแล้วรู้สึกมีความสุข

-เป็นนักเรียนเรียนดีมาโดยตลอดใช่ไหม
ครับ คงเพราะผมชอบเรียนหนังสือ ผมสนุก ชอบถาม ผมยอมรับว่าเป็นคนมีความกระหายใคร่รู้มาก ผมเรียน
สาธิตจุฬาฯ ตั้งแต่ ป. ๑ จนจบ ม.ศ. ๕ ผมเป็น ม.ศ. ๕ รุ่นสุดท้าย ตอนเรียนเวลาสงสัยอะไรผมยกมือถาม
ตลอด ซึ่งสำหรับโรงเรียนสาธิตอาจเป็นเรื่องธรรมดา จนมาเรียนมหาวิทยาลัยปี ๑ พอผมยกมือถาม ทุกคนงง
กันหมดว่ามันทำอะไร เพราะปรกติอาจารย์จะรีบ ๆ เลกเชอร์ไปจนจบ อาจารย์เองก็งง ทีแรกเราก็นึกว่าเพื่อน ๆ
คงอยากรู้เหมือน ๆ กับเรา เพิ่งมาสังเกตตอนหลังว่าบางคนเขาหมั่นไส้ มองว่าผมเรียกร้องความสนใจ บางที
ใกล้พักเที่ยง เขาอยากกินข้าวแล้ว หมอนี่ก็ถามอยู่ได้ โอเค บางคำถามอาจไม่ได้ความ แต่ถ้ามันไม่กระจ่างผม
ไม่อยากปล่อย

-แล้วทำไมจึงเลือกมาเรียนหมอ แทนที่จะไปเรียนทางด้านวนศาสตร์ที่เกี่ยวกับป่าไม้ สัตว์ป่า
จริง ๆ ผมสอบเข้าคณะวนศาสตร์ ม. เกษตรศาสตร์ ได้ตั้งแต่ตอนเรียน ม.ศ. ๔ คือสอบเทียบแล้วเอนทรานซ์
ติดแล้ว แต่พ่อบอกว่าอย่าเพิ่งเลย ซึ่งถ้าตอนนั้นตัดสินใจเลือกเรียนวนศาสตร์ เข้าไปเจอระบบโซตัสผมอาจ
ลาออกเลยก็ได้ เพราะไม่ชอบอะไรที่ไม่มีเหตุผล ปีต่อมาผมสอบเอนทรานซ์ติดวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ตอน
นั้นที่เลือกคณะนี้อาจเพราะได้รับอิทธิพลจากพ่อ พ่อมองว่าเรามีแววทางฟิสิกส์ คณิต คำนวณ แล้วพ่อทำ
บริษัท ก็คงอยากให้เราสืบทอดกิจการ แถมเพื่อน ๆ ผู้ชายในกลุ่มก็อยากเรียนวิศวะกันหมด ในช่วงเวลา
เดียวกันนี้เอง ทางโรงเรียนก็ส่งผมไปสอบทุนเล่าเรียนหลวง (King Scholarship) ทุนนี้ให้นักเรียนเรียนดี ๓
คนจากทั้งประเทศ ปู่ของผมคือ พระยาประกิตกลศาสตร์ เคยได้ทุนนี้แล้วสมัย ร. ๖ ท่านเป็นคนไทยรุ่นแรก ๆ
ที่ไปเรียนเพื่อกลับมาสร้างความเจริญแก่ประเทศ ท่านไปเรียนด้านวิศวะแล้วกลับมาทำงานเกี่ยวกับรถไฟ
ผมมารู้ผลว่าได้ทุนคิงก็เมื่อเรียนอยู่ที่จุฬาฯ ได้ ๒ เดือน พอได้ทุน ผมก็เลือกไปเรียนวิศวะที่บอสตัน แต่ยัง
ไม่ได้เข้ามหาวิทยาลัยทันทีเพราะช่วงเวลาเปิดเทอมต่างกัน ระหว่างนั้นต้องไปเรียนในโรงเรียนคล้ายเตรียม
อุดมศึกษาของบ้านเรา ตอนนั้นผมเหงามาก เป็นช่วงเวลาที่ได้คิดเยอะว่าจริง ๆ เราต้องการอะไร พอมอง
ย้อนกลับมาที่ความต้องการดั้งเดิมของตัวเอง ก็รู้ตัวว่าเรารักสัตว์ ชอบเรื่องชีวิตมากกว่าวัตถุ ก่อนหน้านี้ที่ได้
เรียนวิศวะ จุฬาฯ จริง ๆ ก็ได้รู้ว่า สมองของผมอาจเรียนวิศวะได้ แต่หัวใจผมไม่ใช่ เริ่มรู้ตัวเองว่าไม่ได้อยาก
สร้างตึก คือทำได้แต่คงไม่มีความสุข วิศวะอาจสนุกในแง่ของการเรียนเพื่อแก้ปัญหา แต่มันไม่ถูกกับจริตของ
เรา แล้วมันต้องเกี่ยวกับการทำธุรกิจแน่นอน ถึงแม้ว่าพ่อของผมจะแสดงความเป็นมืออาชีพ คือยึดหลัก
วิชาการ แต่ก็ยังต้องเกี่ยวข้องกับธุรกิจอยู่ดี เราไม่ถนัดและไม่ชอบด้วย จึงคิดว่าเราน่าจะเป็นหมอมากกว่า รู้สึก
ว่ามีอะไรหลายอย่างที่เหมาะกับเรา แต่การเรียนหมอที่อเมริกาต้องเรียนอย่างอื่นก่อนอีก ๔ ปีถึงจะเข้าได้
ประกอบกับผมไม่ชอบสังคมต่างประเทศ อยากเรียนที่เมืองไทย เลยขอกลับ แต่เขาก็ไม่ให้กลับ ผมจึงขอ
อนุญาตไม่รับทุนต่อ ตอนนั้นเรียกได้ว่าเป็นการตัดสินใจที่หนักที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิต พ่อถึงกับบินไปคุยด้วยว่า
ไม่อยากให้เราทำแบบนี้ แต่ตอนหลังพ่อก็เข้าใจว่าเราทำในสิ่งที่เรารัก เรื่องที่ผมรู้สึกแย่ก็คือ เราเอาโอกาสนี้
มาทั้งที่บ้านเรามีเงินพอส่งเสียเราเรียนอยู่แล้ว คนที่เขาไม่มีโอกาสเขาน่าจะได้รับทุนนี้มากกว่า มันเลยเป็น
เหมือนตราบาปติดตัวผม แต่ผมคิดจนตกผลึกแล้ว อาจเป็นการตัดสินใจที่เห็นแก่ตัว แต่ผมก็ชัดเจนแล้วว่า
ต้องการชีวิตแบบใด หลังจากกลับมาเมืองไทย ผมก็มาสอบเอนทรานซ์ใหม่ เลือกคณะแพทยศาสตร์
โรงพยาบาลรามาธิบดี ม. มหิดล อันดับ ๑ ต้องเรียนช้ากว่าเพื่อนไปปีหนึ่ง แต่ก็มีความสุข เพราะเนื้อหาที่เรียน
สนุก ผมจริงจังกับการเรียนมาก แล้วก็ทำกิจกรรมเยอะด้วย

-สมัยเรียนแพทย์ทำกิจกรรมอะไรบ้างครับ
ตอนเรียนอยู่ปี ๒ ผมก็เข้าชมรมอนุรักษ์ฯ ของมหาวิทยาลัยมหิดล ตอนนั้นมีกลุ่มกิจกรรมระหว่างมหาวิทยาลัย
ที่เรียกว่า คอทส. (คณะกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อม ๑๖ สถาบัน) กำลังรณรงค์
คัดค้านเขื่อนน้ำโจน ผมก็เข้าไปร่วมจนสนิทกับเพื่อนนักศึกษาหลายกลุ่ม ขบวนการนักศึกษาที่ทำงานอนุรักษ์
ตอนนั้นยังคึกคักกว่ากิจกรรมนักศึกษาด้านอื่นที่ค่อย ๆ ซบเซาลง คือมันยังมีเครือข่ายและมีผลงาน แต่ผม
พยายามเปลี่ยนแนวทางการเคลื่อนไหว คือหันไปเน้นเรื่องการศึกษาให้มากขึ้น จากเดิมที่การเคลื่อนไหวจะ
เน้นตามกระแสต่อต้าน คนที่เข้าชมรมอนุรักษ์ไม่ได้เข้าใจเรื่องธรรมชาติจริง ๆ ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าระบบนิเวศทำงาน
อย่างไร ผมบอกนี่ไม่ใช่ แล้วผมก็จัดกิจกรรมเดินป่าศึกษาธรรมชาติ ซึ่งอาจดูเป็นเรื่องธรรมดาในสมัยนี้เพราะ
ใคร ๆ ก็ทำกัน แต่สมัยนั้นไม่ค่อยมีใครทำ เวลาไปดูนกเราก็พาน้อง ๆ ไปด้วย บางคนบอกว่าพวกนี้เอาแต่
เที่ยว แต่ผมอยากบอกว่ากลุ่มคนที่ผมปลูกฝังในตอนนั้น ณ วันนี้หลายคนก็ยังอยู่ในวงการอนุรักษ์ คือพอเขา
ได้รู้จักและเข้าใจแล้วก็จะรักและอยากปกป้องจากใจ ไม่ใช่ตามกระแส

อย่างตอนปี ๒๕๓๑ เราไปรณรงค์เรื่องการค้าสัตว์ป่าที่ตลาดนัดจตุจักร ผมคิดว่าเราเป็นกลุ่มแรก ๆ ที่ทำให้คน
เห็นว่าต้องหยุดการซื้อขายสัตว์ป่า โดยชูแคมเปญว่า Stop Selling Life คือเราพยายามทำให้สังคมเห็นว่ามี
การค้าสัตว์ป่าอย่างโจ๋งครึ่ม เราไปยื่นจดหมายให้ ผอ. ตลาดนัดจตุจักรดำเนินการตรวจสอบ จนเราโดนพ่อค้า
แม่ค้าแถวนั้นไล่ ตอนนั้นผมเรียนแพทย์ใกล้จบแล้ว จำได้ว่าแต่งตัวเป็นสัตว์ป่า เอากระดาษ (เปเปอร์มาร์เช่)
มาทำเป็นหัวสัตว์ ถือป้ายรณรงค์ แล้วหนังสือพิมพ์ บางกอกโพสต์ เอาไปตีพิมพ์ บอกว่านี่น่าจะเป็นแนว
ทางการรณรงค์ของนักศึกษาในปัจจุบัน ซึ่งก็ได้ผลพอสมควร หลังจากนั้นผู้ค้าสัตว์ป่าเองก็ไม่กล้าทำอะไรน่า
เกลียดมากนัก ต้องหลบ ๆ ซ่อน ๆ มากขึ้น

-คิดว่าได้อะไรจากการทำกิจกรรมครับ
หลังจากทำกิจกรรม ผมได้พบสิ่งที่ผมถนัด เป็นสิ่งเดียวกับที่แม่ให้มา คือการถ่ายทอดความรักธรรมชาติให้แก่
คนอื่น ผมรู้สึกว่าธรรมชาติมันเต็มไปด้วยความมหัศจรรย์ บางคนอาจจะรู้สึกว่าเข้าป่ามองไปก็เห็นแต่ต้นไม้ แต่
ถ้ามองด้วยสายตาอีกแบบจะเห็นอะไรเยอะมาก ถ้าเราดูอย่างละเอียด ไม่มองเพียงผิวเผิน และตั้งคำถาม เรา
จะพบว่ามันมีนิทานอยู่เบื้องหลังใบไม้ทุกใบ แม่ไม่ได้เน้นว่าเราต้องจำแนก บอกชื่อต้นไม้ทุกต้นที่เราเดินผ่าน
เป็นภาษาลาตินยาวเหยียดได้ แต่แม่จะเล่าให้ฟังว่ามันทำอะไร ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างไร เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิต
อื่น ๆ ในระบบนิเวศอย่างไร และชี้ให้เห็นว่ารูปทรงสีสันของสัตว์และพืชล้วนมีเหตุผลทางวิวัฒนาการเพื่อการ
อยู่รอด ผมนำเทคนิคของแม่มาถ่ายทอดให้น้อง ๆ ในชมรมฯ ซึ่งก็ได้ผลครับ เขาสนุกด้วย ผมเองก็มีความสุข
เวลาเห็นเขาฟังแล้วทำตาโต เห็นเขาค้นพบและต่อยอดเองได้โดยเราเป็นคนเปิดประตูให้ จากนั้นผมจึงค้นคว้า
เกี่ยวกับธรรมชาติมากขึ้น ช่วงนั้นความรู้เรื่องเหล่านี้มีมากขึ้นกว่าเมื่อก่อนแล้ว หนังสือภาษาไทยเกี่ยวกับเรื่อง
นี้ก็มีเยอะขึ้น หนังสือภาษาอังกฤษเราก็อ่านได้คล่องขึ้นแล้วด้วย

-แล้วเริ่มมาสนใจดูนกตั้งแต่เมื่อไร มีอะไรเป็นแรงบันดาลใจ
เริ่มดูนกจริงจังตอนปี ๒๕๒๗ ตอนนั้นยังเป็นนักศึกษาปี ๑ ครั้งแรกไปกับมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าฯ เขาจัด
กิจกรรมดูนกที่แก่งกระจาน พอไปแล้วก็สงสัยว่าทำไมเขาดูนกกันจริงจัง เขาเอ่ยชื่อนกเยอะแยะ รู้สึกแปลกดี
เลยสนใจว่าถ้าเราดูนกอย่างละเอียดบ้างจะเป็นอย่างไร พอกลับมาครั้งนั้นก็รื้อหนังสือที่มีอยู่แล้วสมัยยังเด็ก
มาหัดดูหัดสังเกตไปกับเพื่อนๆ นานวันเข้ามันก็ติดเพราะมันสนุก อีกอย่างเราชอบเดินป่าอยู่แล้ว การดูนกก็เป็น
กิจกรรมหนึ่งในป่า ยิ่งดูก็ยิ่งรู้สึกว่ามีนกชนิดใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยเห็นอีกมาก

“การดูนกมันให้ความรู้สึกถึงความตื่นเต้นใน
การค้นพบ เราทึ่งในความงดงามของมัน ทึ่งใน
เสียงร้องที่หลากหลาย ทึ่งในอิสระในการบิน
ของมัน มากไปกว่านั้นคือเราได้เพื่อน ยิ่งได้
รู้จักมากขึ้น ความสัมพันธ์ของมันที่มีต่อระบบ
นิเวศก็ค่อย ๆ เผยออกมา นกเป็นทูตให้เราไป
ใกล้ชิดกับชีวิตอื่น ๆ เมื่อเรานำจิ๊กซอว์มาต่อ ๆ
กันก็จะเข้าใจภาพรวมของระบบนิเวศได้ดีขึ้น
ว่าทุกอย่างมันเกี่ยวโยงกันหมด”
บันทึกการเข้า

บรรพบุรุษของไทยแต่โบราณ ปกบ้านป้องเมืองคุ้มเหย้า
เสียเลือดเสียเนื้อมิใช่เบา หน้าที่เรารักษาสืบไป
      
ลูกหลานเหลนโหลนภายหน้า จะได้มีพสุธาอาศัย
อนาคตจะต้องมีประเทศไทย มิยอมให้ผู้ใดมาทำลาย
ทัดมาลา ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป
มืออ่อน หมัดแข็ง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 857
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6569


เตสาหัง สิรสา ปาเท วันทามิ ปุริสุตตเม


« ตอบ #2 เมื่อ: มิถุนายน 03, 2007, 02:56:51 PM »


-ดูนกแล้วให้คุณค่าอะไรครับ
การดูนกมันให้ความรู้สึกถึงความตื่นเต้นในการค้นพบ เหมือนกับเราได้ไปรู้จักสิ่งใหม่ ๆ เห็นนกชนิดใหม่ ๆ ได้
รู้จักพฤติกรรมแปลก ๆ ของพวกมัน เราทึ่งในความงดงามของมัน ทึ่งในเสียงร้องที่หลากหลาย ทึ่งในอิสระใน
การบินของมัน มากไปกว่านั้นคือเราได้เพื่อน ตั้งแต่เล็กผมรู้สึกว่าเพื่อนของเราไม่ได้มีแค่มนุษย์ มันมีต้นไม้ มี
สัตว์ ยิ่งรู้จักมันก็ยิ่งมีมากกว่าที่เราคิด เหมือนกับการดูดาว คนที่ไม่ค่อยสังเกตท้องฟ้าจะเห็นว่าดาวเป็นจุด ๆ
ระเกะระกะบนท้องฟ้า ถ้าเราดูดาวเป็นประจำอาจจะพบว่าดาวดวงนี้เราคุ้นกับมันนะ หน้าหนาวมันจะขึ้นนะ หน้า
ฝนเราจะเห็นดวงนี้ และมันจะมีความหมายมากขึ้นเมื่อเรานำจิ๊กซอว์ชิ้นเล็ก ๆ มาต่อกันได้ การดูนกก็คงเป็น
เช่นนั้น เราก็รู้ว่ามีนก แต่ยิ่งได้รู้จักมากขึ้น ความสำคัญ ความสัมพันธ์ของมันที่มีต่อระบบนิเวศก็ค่อย ๆ เผย
ออกมา นกเป็นตัวแทนได้ดีมาก มันเป็นทูตให้เราไปใกล้ชิดกับชีวิตอื่น ๆ เมื่อเรานำจิ๊กซอว์มาต่อ ๆ กันแล้วก็
เกิดความเข้าใจการทำงานของระบบนิเวศดีขึ้นโดยผ่านนก ทำให้เราเข้าใจภาพรวมของระบบนิเวศ ว่าทุกอย่าง
มันเกี่ยวโยงกันหมด ยอมรับว่าที่ได้มากที่สุดคือการค้นหา การค้นพบนกตัวใหม่ ๆ ที่เราไม่เคยเจอ เราตื่นเต้น
มาก ชีวิตเรามีกำไรขึ้นมาเพราะได้เห็นในสิ่งไม่เคยเห็น น่าแปลกนะมีแต่คนชอบถามว่าดูนกทำไม คนจะไม่
ถามว่าดูหนังทำไม ไปงานวัดทำไม

ผมเข้าป่าดูนกมา ๒๐ กว่าปี ผมสังเกตว่าความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างคนกับนกในบ้านเรามีน้อยมาก เรารู้เลย
เวลาเดินไปในป่า สัตว์จะหนีเราไปหมด ขณะที่ประเทศอื่นความใกล้ชิดระหว่างคนกับสัตว์ป่ามีมากกว่าเราเยอะ
อินเดียนี่ชัดเจน สัตว์เต็มบ้านเต็มเมือง ทั้งที่ประเทศก็ยากจนแต่เขาก็ล่าสัตว์กันน้อยมาก คนเดินเข้าไปใกล้
สัตว์ป่าได้ เขาจะรู้สึกว่าชีวิตคือความศักดิ์สิทธิ์ เขาจะไม่ทำร้ายชีวิตโดยไม่จำเป็น คนอินเดียเขาเห็นสรรพสัตว์
เป็นเพื่อนร่วมโลก ไม่ใช่อาหาร ซึ่งต่างจากพวกเราคนไทยที่เป็นสิ่งที่น่ารังเกียจของสัตว์ป่ามาก ลองนึกภาพ
ว่าเราเดินไปในดิเอ็มโพเรียม แล้วคนทั้งห้างหันมามองเราแล้วหนีไปหมด คิดดูสิ เราเป็นตัวน่ารังเกียจขนาด
ไหน แต่มนุษย์เราเป็นอย่างนั้นเวลาเข้าป่า

มีเหตุการณ์หนึ่งที่มีผลกับผมมากเลย ตอนนั้นเรียนอยู่ปี ๒ ไปดูนกที่เขาใหญ่ คืนนั้นเราได้ยินเสียงดังครืน ผม
นึกว่าเป็นเสียงต้นไม้ล้ม แต่จริง ๆ คือเสียงปืน ออกไปดูปรากฏว่าเจอกระทิงนอนตายหัวขาดอยู่ไม่ไกลจากลำ
ห้วย มันโดนคนยิงแล้วตัดหัวไป ยอมรับว่าผมไม่เคยเศร้าขนาดนั้นมาก่อน กระทิงดูหนุ่มแน่นและสวยงามมาก
แต่มันไม่มีคอไม่มีหัว ผมรู้สึกว่าคนที่ฆ่ากระทิงตัวนี้ก็ไม่ได้หิวโซ แต่เขาคงอยากแสดงปมด้อยของตัวเอง
อยากแสดงอำนาจว่าเขาเอาชนะกระทิงได้ เอาหัวมันไปติดข้างฝาเพื่อโอ้อวดว่าตัวเองเก่งกาจ จริง ๆ แล้วไม่มี
ใครต้องการหัวกระทิงเท่ากระทิง กระทิงเป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องที่มีความอ่อนโยนมาก เจอคนก็หนีแล้ว ยอมรับว่า
วันนั้นสะเทือนใจมาก ผมรู้สึกว่าไม่ใช่แค่มาดูนก มาเอนจอยเฉย ๆ แล้ว ผมอยากทำอะไรที่มันมากขึ้นไปอีก ก็
เลยคิดว่าเราน่าจะเผยแพร่ในสิ่งที่แม่ให้แก่เราเรื่องความรักธรรมชาติให้คนอื่นได้มีโอกาสรู้บ้าง เพื่อหาแนวร่วม
เพื่อสักวันสิ่งนี้จะไม่เกิดในแผ่นดินไทยอีก

-เรียนจบแล้วไปเป็นหมอฝึกหัดที่ไหนครับ
ที่โรงพยาบาลอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ตามปรกติ นักศึกษาแพทย์เมื่อเรียนจบ เขาถือว่าเป็นนักเรียนทุน
รัฐบาลทุกคน ต้องใช้ทุนทั้งหมด ๓ ปี โดยกระจายไปอยู่ตามโรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศ ระบบนี้ทำให้
ชาวบ้านมีหมอมาดูแล วันที่ตื่นเต้นที่สุดของพวกเราคือวันที่เรียนจบแล้วไปจับลูกปิงปองเลือกสถานที่ที่เราจะ
ไป หลายคนอยากไปอยู่โรงพยาบาลในจังหวัดบ้านเกิดของตัวเอง บางคนก็อยากอยู่เมืองใหญ่ ส่วนมากจึง
ต้องจับฉลากกัน แต่ผมไม่ต้องจับเพราะเป็นคนเดียวที่เลือกจะไปอยู่ที่อำเภอด่านซ้าย เหตุผลเพราะมีป่าเยอะ
ดี ไกลดี อยู่ชายแดน ไม่ต้องแย่งกับใคร โรงพยาบาลที่ผมไปอยู่เคยเป็นพื้นที่สีแดงมาก่อน เพิ่งเลิกรบกันใหม่
ๆ ยังมีหลุมหลบภัยอยู่เลย โรงพยาบาล ๓๐ เตียง หมอ ๓ คน ทีมหมอ เภสัชกร เจ้าหน้าที่ สามัคคีกันมาก ทำ
อะไรก็เพื่อคนไข้จริง ๆ ซึ่งถ้าเราไปเจอคนที่ทำงานแบบเช้าชามเย็นชามคงผิดหวัง

ตอนไปเป็นหมอที่นั่นเป็นช่วงชีวิตที่มีความสุขมาก อยู่ที่นั่นผมได้ใช้ศักยภาพทุกทาง ในรัศมี ๒๐๐ กิโลเมตร
ไม่มีใครมีความรู้เกี่ยวกับการรักษาคนป่วยเลย ทุกคนต้องพึ่งเรา คนลาวก็ข้ามแดนมารักษากับเรา จากที่เคย
แต่มองชนบทผ่านกระจกรถ แต่ตอนนี้เราลงไปอยู่จริง ๆ ได้เห็นความเจ็บป่วยของคนไข้ เห็นถึงปัญหาที่
แท้จริง ได้พบว่าอาการป่วยของชาวบ้านเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง มีทั้งการป่วยจากความเครียด ความล้มเหลว
จากการประกอบอาชีพเกษตรกรรม นอกจากนี้ยังได้เห็นถึงปัญหาการทำลายป่าที่ส่งผลกระทบต่อชาวบ้านเอง
สมัยก่อนชาวบ้านเขาพึ่งพาป่า ใช้ดอกเบี้ยจากป่าคือลำธารที่ไหลตลอดปี ต่อมามีการตัดไม้ทำลายป่าต้นน้ำ
อย่างกว้างขวางจนลำธารเหือดแห้ง พื้นดินหมดสิ้นความอุดมสมบูรณ์ ทำให้เขายิ่งมีชีวิตที่ลำบากแร้นแค้น
โดยเฉพาะการปลูกพืชเศรษฐกิจเพื่อขายอย่างเดียว เช่นมันสำปะหลังหรือขิง เขาจึงพึ่งตัวเองไม่ได้ ทุกอย่าง
ขึ้นกับตลาดสินค้าเกษตร สมัยก่อนคนไม่มีเงินก็มีชีวิตพอเพียงอยู่ได้ แต่พอเริ่มไม่พึ่งตัวเอง ตะกร้าไม่สานเอง
แต่ต้องซื้อในตลาด นี่มีปัญหาแล้ว เพราะเป็นสังคมที่ต้องใช้เงินซื้อ หากเรารักษาเงินต้น คือทุนธรรมชาติ
เอาไว้ได้และใช้แต่ดอกเบี้ยอย่างเดียว ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงเช่นนี้ก็จะไม่เกิด

-ตอนอยู่โรงพยาบาลอำเภอด่านซ้าย คุณหมอก็ยังทำงานด้านอนุรักษ์ธรรมชาติ
บางวันผมขออนุญาต ผอ. โรงพยาบาลไปจัดการศึกษาเรื่องการอนุรักษ์ในชุมนุมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของ
โรงเรียนแถวนั้น เอาสไลด์ไปฉาย ซึ่งนั่นเป็นครั้งแรก ๆ ที่ผมใช้สไลด์บอกเล่าเรื่องธรรมชาติ และพบว่ามัน
สนุกมาก ตอนหลังเลยกลายเป็นสิ่งที่ทำประจำ ผมจะสังเกตว่าเด็กมันเฮรูปไหน แบบไหน เราก็เลือกรูปแบบ
นั้นมาไว้ดึงดูดเด็ก ๆ จากนั้นก็พาเด็กเข้าค่ายเดินป่า ช่วงนั้นเริ่มมีกลุ่มคนที่สนใจสิ่งแวดล้อมศึกษามากขึ้น
อย่างการจัดค่ายเด็กไปศึกษาสิ่งแวดล้อมเท่าที่จำได้ก็มีอยู่ ๓ กลุ่ม มีเจ้าจืด-หน่อย (เข็มทอง-อารยา โม
ราษฎร์) จากกลุ่มเด็กรักป่า กลุ่มพี่ตู่ (โอภาส เชฏฐากุล) จากโครงการสมุนไพรพึ่งตนเอง และกลุ่มของผม
ส่วนของ YMCA จะเป็นอีกแบบไปเลย เราพยายามเจอกัน สัมมนาแลกเปลี่ยนวิธีการกัน สำหรับผมเน้นวิธีของ
แม่ พาไปดูของจริง พาไปเดินป่าแล้วเล่านิทานอย่างที่เขาเรียกโก้ ๆ ยุคนี้ว่า สื่อความหมายธรรมชาติ นอกนั้น
ก็เป็น nature เกม ต่อมามันขยายวงกว้าง มีกลุ่มต่าง ๆ เกิดขึ้นมาก สำหรับผม ได้เริ่มทำงานอนุรักษ์อย่าง
จริงจัง จึงอยากทำงานด้านนี้ให้เต็มที่ ตอนนั้นคิดว่าหมอมีเยอะแล้ว ในที่สุดหลังจากเป็นหมอได้ ๒ ปี ก็
ตัดสินใจลาออกจากอาชีพหมอมาทำงานอนุรักษ์

จริงๆ ตอนที่ตัดสินใจลาออก ส่วนหนึ่งเพราะมีปัญหาความขัดแย้งกับทางการหลายครั้งใช่ไหม
ไม่ใช่เหตุผลสำคัญครับ แต่จำได้แม่น ตอนนั้นปี ๒๕๓๔ กำลังจะมีการสร้างเขื่อนปากมูล แล้วมีการจัดสัมมนา
ที่จุฬาฯ ผมรับอาสาออกไปพูดในที่ประชุมนั้น เรื่องข้อมูลเกี่ยวกับหอยชนิดหนึ่งคือหอย Neotricular aperta
ซึ่งเป็นพาหะของพยาธิใบไม้ในเลือดชื่อ Schiztosoma mekongi นี่คืองานวิจัยของอาจารย์ผมที่ ม. มหิดล
ผมเห็นว่าถ้าสร้างเขื่อนปากมูลแล้ว พยาธิชนิดนี้ระบาดแน่ ผมยังไปค้นคว้าข้อมูลว่าเคยเกิดกรณีแบบนี้ขึ้นที่
ไหนบ้าง ก็พบว่าที่เขื่อนอัสวาน อียิปต์ หลังสร้างเขื่อนแล้ววงจรชีวิตพยาธิตัวนี้ครบวงจร จึงเกิดการระบาดของ
พยาธิชนิดนี้มาก กลับมาดูที่แม่น้ำมูน เดิมน้ำในแก่งตะนะไหลแรง ทำให้โอกาสที่พยาธิชนิดนี้จะเติบโตครบ
วงจรชีวิตของมันมีน้อย นี่คือทฤษฎีนะครับ แต่ในความเป็นจริงเราก็พบว่าบริเวณเกาะแก่งต่าง ๆ ของแม่น้ำโขง
ตอนล่างซึ่งน้ำไหลช้า เป็นเขตแพร่ระบาดของพยาธิตัวนี้ ดังนั้นถ้าเราไปสร้างเขื่อน ทำให้น้ำตรงแก่งปาก
แม่น้ำมูนชะลอการไหล พยาธิจะเข้าไปเจริญเติบโตในหอยได้มาก เมื่อวงจรของมันครบ คือมันเติบโตในหอย
จนกลายเป็นพยาธิตัวแก่แล้วถึงออกมาไชคน โรคพยาธิใบไม้ในเลือดจะระบาดมากขึ้น พยาธิตัวนี้ แค่ชาวบ้าน
ลงไปใช้น้ำ มันก็เจาะเข้าไปทางผิวหนังได้โดยตรง ตอนนั้น ไทยรัฐ ลงพาดหัวข่าวว่า หอยมรณะ ผู้ว่าฯ อุบลฯ
โกรธมากเลยหาทางเล่นงานผม ไอ้หมอรังสฤษฎ์เป็นใคร ติดต่อไปยังกระทรวงสาธารณสุข ฟ้องว่าผมออก
นอกจังหวัดโดยไม่ขออนุญาตจากทางราชการ ผมก็เพิ่งรู้ว่าต้องขอ แต่โชคดี ตอนที่ผมไปพูดที่ กทม. และ
อุบลฯ เป็นวันเสาร์อาทิตย์ แต่เขาก็เล่นงานว่าเอาข้อมูลมาจากไหน ตอนนั้นเลยโดนสั่งสอบวินัย ปรากฏว่า
ชมรมแพทย์ชนบทก็ออกมาปกป้อง ว่าหมอทำหน้าที่ถูกต้องแล้ว

จากครั้งนั้น ผมเริ่มรู้จักคนทำงานสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และเริ่มเข้าใจว่าการออกไปเคลื่อนไหวเรื่องสิ่งแวดล้อม
ถ้าดาบเราไม่คม อาวุธเราไม่มี ผมหมายถึงข้อมูลเราไม่แน่น ก็เสร็จ บางทีลงพื้นที่ก็มีตำรวจมาคุ้มครอง
(หัวเราะ) ขณะนั้นผมรู้สึกว่ามีงานอื่นที่สำคัญกว่าสำหรับผมคือการอนุรักษ์ หมอก็แค่แก้ไขเรื่องการเจ็บป่วย
ไม่ได้แก้ปัญหาสังคมให้มันดีขึ้น ต้นตอของปัญหาต่าง ๆ มาจากสิ่งแวดล้อมหมดเลย ถ้าสิ่งแวดล้อมดี คนพึ่ง
ตัวเองได้ ปัญหาสังคมต่าง ๆ จะหายไป

“ตั้งแต่ผมเป็นอาจารย์แพทย์ ผมพยายามสอน
ให้ลูกศิษย์คิดถึงความรู้สึกของคนไข้ให้มาก
นักเรียนแพทย์ทุกคนจะตื่นเต้นกับการใส่สาย
หลอดอาหารให้แก่คนไข้ครั้งแรก จะระวังทุก
อย่าง แต่พอทำไปสักร้อยคนเกิดชินชา นี่เป็น
สิ่งที่อันตรายมาก ผมจึงเตือนพวกเขาเสมอว่า
คนไข้รายที่ ๑๐๐ ของคุณ ก็ยังเป็นครั้งแรก
ของเขาอยู่ดี โอเค เราไม่จำเป็นต้องมีอารมณ์
ความรู้สึกมากจนเกินไป แต่อย่าให้กลายเป็น
ความชินชากับความทุกข์ร้อน”
บันทึกการเข้า

บรรพบุรุษของไทยแต่โบราณ ปกบ้านป้องเมืองคุ้มเหย้า
เสียเลือดเสียเนื้อมิใช่เบา หน้าที่เรารักษาสืบไป
      
ลูกหลานเหลนโหลนภายหน้า จะได้มีพสุธาอาศัย
อนาคตจะต้องมีประเทศไทย มิยอมให้ผู้ใดมาทำลาย
ทัดมาลา ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป
มืออ่อน หมัดแข็ง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 857
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6569


เตสาหัง สิรสา ปาเท วันทามิ ปุริสุตตเม


« ตอบ #3 เมื่อ: มิถุนายน 03, 2007, 02:57:44 PM »

-หลังจากลาออกจากการเป็นหมอแล้วไปทำอะไรครับ
ผมไปช่วยงาน ดร. พิไล พูลสวัสดิ์ ซึ่งเป็นอาจารย์สมัยที่ผมยังเรียนแพทย์ ท่านศึกษาวิจัยนกเงือกมากว่า ๒๐
ปีจนทำให้คนได้รับรู้เรื่องราวของนกเงือก ผมศรัทธางานของท่านมาก อีกอย่างคือ ผมอยากเป็นนักสัตววิทยา
ด้วย มันเป็นความฝันที่มีมาตั้งแต่เด็ก ๆ ขณะเดียวกันผมอยากทำงานสอนเด็กให้เต็มที่
พอลาออกจากงาน ผมไปเป็นนักวิจัยนกเงือก เดินป่าที่เขาใหญ่ จัดกิจกรรมกับเด็ก เช่น ประกวดวาดภาพ พา
เด็กเดินป่า ศึกษาชีวิตต้นไทร ตามหารังนกเงือก ถ่ายรูป ฯลฯ แต่ทำได้ไม่ถึงปีเราก็คิดถึงอาชีพแพทย์ ตอน
ลาออกมาคิดว่าทำแบบนี้สนุก แต่พอออกมาจริง ๆ รู้ตัวเลยว่าเรารักอาชีพแพทย์ ทำงานอนุรักษ์ก็รู้สึกว่าเราได้
ทำอะไรที่สำคัญต่อโลก แต่อาชีพแพทย์ให้อะไรที่อาชีพอื่นให้ไม่ได้ ความสุขที่ได้ช่วยคนมันเห็นชัด และเห็น
ทันที ทำงานอนุรักษ์นี่สักวันอาจเกิดผล แต่เราไม่เห็นเท่านั้น ในที่สุดผมรู้ว่าต้องการตรงนี้ ผมเลยกลับมาสู่
อาชีพแพทย์อีกครั้ง มาเรียนต่อทางด้านอายุรกรรม เพราะเป็นศาสตร์นักสืบค้นหาโรคที่ซับซ้อนกว่าศาสตร์อื่น
อย่างศัลยศาสตร์หรือการผ่าตัดนี่ต้องอาศัยความชำนาญของมือเยอะ ผมไม่ใช่คนทำงานแบบนั้นได้ดี เวลาไป
ผ่าตัดคลอดทีไรต้องให้เลือดคนไข้เพิ่มทุกที ผมเริ่มรู้แล้วว่าความสามารถทางตัด ๆ เย็บ ๆ ของเราไม่ใช่
จุดเด่น จุดเด่นของเราน่าจะอยู่ที่การวิเคราะห์โรค ผมเลยตัดสินใจมาเรียนต่อทางด้านอายุรกรรมที่โรงพยาบาล
รามาธิบดี ๓ ปี ตอนนั้นเราเป็นแพทย์ประจำบ้าน ดูแลผู้ป่วยอายุรกรรมโดยมีอาจารย์คอยชี้แนะว่าที่เราวินิจฉัย
ไปถูกต้องไหม ต้องแก้ตรงไหน เป็นการเรียนแบบผู้ใหญ่ มีการเลกเชอร์บ้าง เอาเคสมาพรีเซนต์บ้าง พอเรียน
จบก็ตัดสินใจไม่อยู่กรุงเทพฯ แล้ว ทนไม่ไหว คืออยากเลือกทางเดินที่เราทำทั้งสองอย่างที่เรารักได้ เพราะ
ตอนเรียนอายุรกรรม งานอนุรักษ์ไม่ได้แตะเลย เรียนจบปุ๊บก็ตัดสินใจย้ายมาทำงานที่เชียงใหม่ เพราะ
เชียงใหม่อยู่ใกล้ธรรมชาติ ผมมองว่าที่นี่น่าจะทำให้ผมหาความสมดุลระหว่างงานอาชีพแพทย์กับงาน
สิ่งแวดล้อมได้ คือเราสามารถทำงานด้านสิ่งแวดล้อมขณะที่ประกอบอาชีพแพทย์ไปด้วยได้

-ตอนนั้นเริ่มเรียนทางด้านหัวใจหรือยังครับ
ยังครับ จริง ๆ ผมชอบเรียนเรื่องหัวใจคน แต่ก็เกือบตัดสินใจจะไม่เรียนต่อ เพราะผมไม่ชอบสังคมของแพทย์
โรคหัวใจ คือโดยตัววิชาชีพผมชอบ แต่พอเห็นความหรูหราฟุ้งเฟ้อของการใช้ชีวิตแล้วเราไม่อยากเป็นอย่าง
นั้น จนเมื่อได้เข้ามาสัมผัสเราก็พบว่ามันไม่เสมอไปหรอก แพทย์โรคหัวใจไม่ได้เป็นอย่างนั้นทุกคน หลังจาก
ย้ายมาที่โรงพยาบาลสวนดอก ก็เป็นแพทย์ผู้ช่วยอาจารย์อยู่แผนกหัวใจ โดยตั้งใจที่จะเป็นอาจารย์แพทย์
ต่อมาผมก็ได้ไปศึกษาต่อด้านโรคหัวใจที่ประเทศอังกฤษ และในที่สุดก็กลับมาเป็นอาจารย์ ด้วยเพราะผมเอง
ชอบสอน ชอบถ่ายทอด และอยากมีส่วนผลิตแพทย์ที่ดีให้แก่สังคม

“ยาหลายตัวในปัจจุบัน ทั้ง ๆ
ที่ไม่มีหลักฐานทางวิชาการว่า
มีประโยชน์ ก็ยังมีการจ่ายให้
คนไข้กินเพราะแพทย์คิดว่าดี
ที่น่าเศร้าคือ การจ่ายยาของ
แพทย์ปัจจุบัน หลายครั้งมา
จากความสัมพันธ์ส่วนตัวใน
รูปแบบต่าง ๆ ของแพu3607 ทย์กับ
บริษัทยา มีการเอนเตอร์เทนห
มอในรูปแบบต่าง ๆ แจกของ
กำนัล อำนวยความสะดวก
ต่าง ๆ นานา หมอเองก็หารู้ไม่
ว่าเงินเหล่านั้นคือเงินที่เขา
บวกมาแล้วกับค่ายา ซึ่งเป็น
ภาระที่คนไข้และประชาชน
ต้องจ่ายในรูปภาษี นี่เป็นจุด
ด่างพร้อยของวิชาชีพ”

-ชีวิตของการเป็นอาจารย์แพทย์ได้เรียนรู้อะไรบ้าง
แพทย์เป็นอาชีพที่โชคดีเพราะมีโอกาสได้ช่วยคน แต่ขณะเดียวกันก็เป็นอาชีพที่เหนื่อยและใช้พลังเยอะมาก
ในการแก้ปัญหา ต้องใช้ทักษะหลายอย่าง สื่อสารกับญาติ สื่อสารกับคนไข้ จัดการอารมณ์ของญาติและคนไข้
ที่เครียดจากภาวะความเจ็บป่วย เราต้องหาทางออกให้ได้ ตั้งแต่ผมเป็นอาจารย์แพทย์ ผมพยายามให้แก่ลูก
ศิษย์ในเรื่องนี้ อยากให้เขาคิดถึงความรู้สึกของคนไข้ให้มาก เพราะการเรียนแพทย์เรามุ่งเรื่องที่เป็น
วิทยาศาสตร์มาก พิสูจน์นั่นพิสูจน์นี่ เจาะนั่นเจาะนี่ ซึ่งบางทีมันไม่ใช่แค่วิทยาศาสตร์เท่านั้น เพราะเราต้องอยู่
กับคน นักเรียนแพทย์ทุกคนจะตื่นเต้นกับการใส่สายหลอดอาหารให้แก่คนไข้ครั้งแรก จะระวังทุกอย่าง จะ
อธิบายให้คนไข้ฟังอย่างดี แต่พอทำไปสักร้อยคนเกิดชินชา นี่เป็นสิ่งที่อันตรายมาก ผมจึงเตือนนักเรียนแพทย์
เสมอว่า คนไข้รายที่ ๑๐๐ ของคุณ ก็ยังเป็นครั้งแรกของเขาอยู่ดี ฉะนั้นอย่าเกิดอาการชินชา อาชีพแพทย์อาจ
ฝึกให้เราชินหลายอย่าง ตอนเรียนปี ๒ ผ่าศพ (อาจารย์ใหญ่) ชินเรื่องศพดอง ปี ๔ เรียนนิติเวช ผ่าศพสด ๆ
เราเริ่มเห็นคนตาย คนไข้คนแรก ๆ ที่ตายเราจะรู้สึกมาก แต่พอเจอความตายบ่อยเข้า ๆ มันก็กลายเป็นเรื่อง
ธรรมดา โอเค เราไม่จำเป็นต้องมีอารมณ์ความรู้สึกมากจนเกินไป แต่อย่าให้กลายเป็นความชินชากับความ
ทุกข์ร้อน มีคำพูดหนึ่งบอกว่า “Treat your patient as your first, treat your day as your last”--ให้เรา
ปฏิบัติต่อคนไข้เหมือนกับเขาเป็นคนแรกของเรา คือคอยระวังทุกอย่าง และให้ใช้ชีวิตเหมือนกับวันนี้เป็นวัน
สุดท้ายของเรา คือทำให้เต็มที่ มีความสุขกับการให้ให้มาก อาชีพนี้ทำให้คุณมีศักยภาพในการให้ด้วยปัญญา
มันไม่ใช่อาชีพที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหรือตอบสนององค์กรใด เราตอบสนองเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เหมือนกับ
อาชีพครูที่ได้สร้างคน แพทย์ทำให้คนพ้นทุกข์ทางกาย อาจไม่ยิ่งใหญ่เท่าการช่วยให้คนพ้นทุกข์ทางใจ

-คุณหมอได้ชื่อว่าเป็นหมอที่ซักประวัติคนไข้ละเอียดมาก แตกต่างจากหมอในปัจจุบันที่มักจะให้เวลาคนไข้น้อยมาก
สมัยผมอยู่โรงพยาบาลที่ด่านซ้ายก็ทำแบบนี้ไม่ค่อยได้ เพราะมีหมอไม่กี่คน ขณะที่มีคนไข้เยอะมาก แต่เมื่อไร
ที่มีโอกาสผมทำ เพราะกังวลเรื่องความผิดพลาด ถ้าวินิจฉัยผิดจะรู้สึกแย่ อีกอย่างคนไข้ที่เราตรวจโรคเหมือน
เป็นอะไรที่ลึกลับ เราต้องค้นหาโรค ต้องวินิจฉัยให้ถูกต้องให้ได้ การให้เวลาคนไข้นาน ส่งผลต่อความสัมพันธ์
ระยะยาวกับคนไข้ด้วย มันไม่ได้มีแค่มิติทางชีววิทยาอย่างเดียว มันมีแง่ของความเป็นมนุษย์ เช่นเราพบว่า
คนไข้โรคเบาหวานมีน้ำตาลในเลือดสูง การตัดสินใจรักษามันไม่ใช่แค่การให้ยาแล้วจบ ต้องดูว่ายังมีปัจจัย
อะไรอีกบ้างในชีวิตเขา เช่นพฤติกรรมการกินของเขายังเปลี่ยนไม่ได้ อาจเพราะที่บ้านไม่มีญาติอยู่ด้วย ต้องไป
ซื้ออาหารมากินเอง หรือเขาอาจขาดแคลนกำลังใจ เราต้องค้นให้พบ จะได้แก้ถูกจุด โรคเรื้อรังหลายโรค
ซับซ้อน มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างโรคกับโรค โรคกับยา ซึ่งก็ไม่มีทางที่การคุยกับคนไข้แค่ ๕ นาทีจะรู้ได้ แต่ใน
ภาวะจำกัด หมอทั่วไปก็ต้องเลือกทำเช่นนั้น อาจเพราะพอผมมาเป็นอาจารย์แพทย์ เราสามารถให้เวลาแก่
คนไข้ได้มากขึ้น เพราะคนไข้ที่ถูกส่งมาจะได้รับการเลือกแล้วว่ามีอาการป่วยด้วยโรคที่ซับซ้อน

-ปัจจุบันหมอหลายท่านให้เวลาคนไข้น้อยลง เพราะอะไรครับ
แพทย์รุ่นใหม่ ๆ จะเน้นการส่งตรวจพิเศษเยอะ ทักษะการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ใช้ความคิดพิเคราะห์ จะ
น้อยลง การส่งตรวจแบบนั้นมันง่ายดี แล้วเทคโนโลยีเดี๋ยวนี้มีมากขึ้น ถ้าเปรียบเทียบดูหมอรุ่นเก่า เขาเก่งมาก
เพราะเขาไม่มีตัวช่วย ขณะที่หมอสมัยนี้ชอบอะไรที่รวดเร็ว แต่สิ่งที่เขาคิดว่ามันแน่นอน อย่างการส่งตรวจ
พิเศษ มันกลับมีผลเสียมาก สมมุติคนไข้มีอาการปวดศีรษะ ถ้าเราพูดคุยกัน ๙๐ เปอร์เซ็นต์จะได้คำตอบถึง
สาเหตุ มีน้อยรายมากที่ถึงกับต้องส่งตรวจพิเศษ ถ้าจับทุกคนไปเอกซเรย์ด้วยคอมพิวเตอร์ตั้งแต่หัวจรดเท้า
เราอาจเจออะไรสักอย่างในศีรษะ เช่นไปเจอจุดหินปูนในศีรษะ แล้วบอกว่านั่นไงสาเหตุ แล้วจัดการกับตรงนั้น
มันอาจกลายเป็นเรื่องใหญ่โตและหลงทางไปเลย เพราะไม่ได้เริ่มจากตัวคนไข้ หมอสมัยนี้ส่งตรวจทุกอย่าง
เพราะกลัวพลาด กลัวถูกฟ้องร้อง แต่มันทำให้การรักษาแพงขึ้นมาก ส่วนหนึ่งเกิดจากการปลุกเร้าทาง
การตลาดของบริษัทผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ ทำให้การปฏิบัติของแพทย์ต่อคนไข้เปลี่ยนไป โอเค หลาย
ครั้งมันให้ผลที่แม่นยำ แต่ก็ต้องมีตัวเสริมจากพื้นฐานที่มั่นคง คือการตรวจร่างกายที่ดี มีภาษิตอังกฤษที่ว่า
“อย่าให้หางหมามาแกว่งหมา หมาต้องเป็นคนแกว่งหาง” ใช่ไหมครับ บางทีเราเจอผลบางอย่างแต่มันไม่ได้
ตอบเหตุ เช่นไปเจอก้อนอะไรสักอย่าง แต่คนไข้ป่วยด้วยเหตุอีกอย่าง เราก็เสียเวลาไปกับก้อนนั้นจนไม่ได้แก้
ที่ต้นเหตุจริง เราอาจเคยได้ยินว่ามีคนไปตรวจเลือดแล้วได้ผลว่าเป็นเอดส์ แต่แล้วก็หายได้ พวกนั้นคือ
ลักษณะผลตรวจเท็จ ต้องเข้าใจว่าการตรวจทุกชนิดสามารถที่จะมีผลบวกและผลลบเท็จได้ ถ้าไม่เข้าใจตรงนี้
ก็จะเกิดความเข้าใจผิดกับแพทย์บ่อย ๆ แพทย์เองบางทีก็เชื่อผลตรวจมากเกินไป อย่าลืมว่าปัจจุบัน
เทคโนโลยีกลายเป็นพระเจ้าไปหมดแล้ว อะไรที่มันออกจากอินเทอร์เน็ตหรือคำตอบที่คายออกจาก
คอมพิวเตอร์ก็เชื่อถือกันหมดโดยไม่มีการตรวจสอบ ไม่มีสามัญสำนึก ค่านิยมแบบนี้อาจได้รับมาจากวงการ
แพทย์อเมริกัน ที่นั่นมีคดีที่ผู้ป่วยฟ้องแพทย์มาก ดังนั้นแพทย์จะหลุดไม่ได้เลย เขาก็เลยส่งตรวจมันทุกอย่าง
ผมเคยถามลูกศิษย์ว่าคุณส่งตรวจทำไม เขาก็มักจะตอบไม่ได้ เวลาดูชาร์ตการตรวจเลือด เขาเจาะเลือด
ทดสอบ ๒๐ อย่าง ผมถามว่ามีเหตุผลอะไรต้องส่งเจาะเลือดตรวจมากเช่นนั้น เขาก็จะบอกว่า เผื่อเป็นอย่างนั้น
อย่างนี้ครับอาจารย์ ผมบอกเผื่อหมดแบบนี้ตายพอดี ต้องตรวจกันเละเทะ ค่าใช้จ่ายก็แพง แถมอาจเจอผล
ตรวจปลอมที่แล็บสร้างขึ้นอีกต่างหาก นอกจากนั้นคนไข้อาจต้องเจ็บตัวฟรี หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการ
ตรวจหรือการรักษาที่ไม่จำเป็น ซึ่งบางครั้งอาจอันตรายถึงชีวิตได้

“คนเป็นโรคหัวใจกันมากขึ้น แต่ทรัพยากรถูก
ใช้กับเทคโนโลยีไฮเทคไปมาก เช่นการใช้
ขดลวดถ่างหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งนับเป็น
ความก้าวหน้าที่สำคัญในการรักษาโรคหัวใจ
แต่บ่อยครั้งมีการใช้อย่างพร่ำเพรื่อไม่
เหมาะสม บางคนได้รับขดลวด ๕-๖ อัน ค่า
รักษาครึ่งล้าน ค่าใช้จ่ายของเราลงไปกับของ
พวกนี้มาก ในขณะที่เราให้เวลาหรือลงแรงน้อย
เหลือเกินในการสอนให้คนไข้รู้จักการปฏิบัติตัว
หรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง”

-อิทธิพลการแข่งขันของบริษัทยาเข้ามาเกี่ยวข้องกับการรักษาสมัยใหม่มากไหมครับ
สมัยนี้บริษัทผลิตยาเป็นบริษัทที่ใหญ่โต เป็นบริษัทข้ามชาติ วัตถุประสงค์หลักคือทำกำไร ตลาดยาไม่เหมือน
ตลาดยาสีฟันหรือตลาดผ้าอนามัย ที่ผู้บริโภคหรือคนไข้เป็นผู้เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ ยอดขายของบริษัทยาจึงอยู่
ที่ว่าแพทย์จะจ่ายยาให้คนไข้มากน้อยแค่ไหน ลูกค้าตรงของบริษัทยาก็คือแพทย์ที่มีอำนาจสั่งให้คนไข้เสีย
เงินซื้อ ดังนั้นเป้าหมายคือทำอย่างไรให้แพทย์จ่ายยา มันมาหลายแบบ ซับซ้อนและแยบยลมาก บางทีข้อมูล
งานวิจัยที่ว่าตัวยาตัวไหนมีคุณสมบัติกับโรคนั้นโรคนี้ บริษัทยาเข้ามามีอิทธิพลตั้งแต่ขั้นตอนการทำวิจัยแล้ว
ยาที่ผ่านการวิจัยจากแพทย์ส่วนมากเกิดจากการสนับสนุนของบริษัทยาระดับโลกทั้งนั้น นักวิจัยอาจเป็นคน
ริเริ่มทดลองเอง หรือบริษัทยาให้ทำ แต่จะวิธีใดก็ตาม มันมีโอกาสที่จะเกิดอคติกับงานวิจัย มีหลายครั้งที่ตัว
งานวิจัยอาจมีการแอบขี้โกงได้ ถ้าหมอที่อ่านงานวิจัยนั้นไม่เข้าใจสถิติ ระเบียบวิธีวิจัย ก็อาจโดนหลอกได้ ผม
ว่าหมอส่วนใหญ่ไม่อ่านงานวิจัยด้วยซ้ำ ยกเว้นหมอที่ทำงานในวงวิชาการ หมอแต่ละคนก็อ่านงานวิจัยทาง
วิชาการได้ดีและละเอียดไม่เท่ากัน พูดง่าย ๆ ว่าข้อมูลส่วนใหญ่ที่หมอได้ คือข้อมูลจากบริษัทยา หรือผู้แทน
ยาที่เรียกว่า ดีเทลยา มันเป็นข้อมูลด้านเดียว ซึ่งผู้แทนยาจะมาในหลายรูปแบบ รูปแบบที่ทำประจำคือ
สนับสนุนการจัดประชุมวิชาการของแพทย์ เชิญผู้บรรยายจากต่างประเทศซึ่งรับเงินค่าบรรยายจากบริษัทยาอีก
ต่อหนึ่ง หมอก็จะเชื่อว่ายาตัวนั้นตัวนี้ดีเพราะผู้บรรยายมีชื่อเสียง ผมยกตัวอย่างว่า สมมุติมีคนไข้มาเจาะเลือด
แล้วพบว่ามีไขมันสูงก็สั่งจ่ายยาลดไขมัน ที่ถูกต้องแล้ว การตัดสินใจสั่งจ่ายยาลดไขมันนั้นต้องผ่านการคิด
ไตร่ตรอง พิจารณาถึงปัจจัยเสี่ยงร่วมอื่น ๆ ที่มีผลก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบด้วย เช่น สูบบุหรี่ไหม
เป็นเบาหวานไหม เป็นความดันสูงไหม หากคำนวณความเสี่ยงแล้วเขามีโอกาสเป็นโรคหัวใจต่ำ การจ่ายยาลด
ไขมันอาจไม่จำเป็นเลย แต่ถ้าหมอไม่มีความรู้หรือได้รับการเลี้ยงดูจากบริษัทยา อยากช่วยเหลือบริษัทยา
หรือเชื่องานวิจัยว่ายาของบริษัทนั้นดีจากการไปประชุมทางวิชาการ ก็อาจสั่งจ่ายยาของบริษัทยานั้นแก่คนไข้
โดยไม่คิดมากก็เป็นได้

-ค่าตัวของนักวิชาการที่บริษัทยาเป็นผู้จ่ายให้มาบรรยายมีมูลค่าสูงมากใช่ไหม
บางคนได้ค่าตัวต่อครั้งคิดเป็นเงินไทยก็แสนบาท เขานั่งเครื่องบินชั้นเฟิสต์คลาสมา เลี้ยงดูปูเสื่อเป็นอย่างดี มี
นักพูดทำนองนี้ทั่วโลกที่รับเงินบริษัทยามาบรรยาย หมอไทยไปฟังก็โอ้โห ฝรั่งมาจากเมืองนอก เป็น
ผู้เชี่ยวชาญ ยาบางชนิดจึงมีความต้องการใช้มากกว่าความจำเป็นจริง ๆ ยาหลายตัวในปัจจุบัน ทั้ง ๆ ที่ไม่มี
หลักฐานทางวิชาการที่ชัดเจนว่ามีประโยชน์ ก็ยังมีการจ่ายให้คนไข้กิน เพราะหมอคิดว่าดี ที่น่าเศร้าคือ การ
จ่ายยาของแพทย์ปัจจุบัน หลายครั้งมาจากความสัมพันธ์ส่วนตัวในรูปแบบต่าง ๆ ของแพทย์กับบริษัทยา ผม
ต้องพูดเพราะเป็นสิ่งที่สังคมไม่รู้ แพทย์เองก็ตกเป็นเหยื่อ ผมเคยได้ยินผู้แทนยาคุยลับหลังแพทย์ว่า หมอ
หลอกง่ายจะตาย ถ้าเขาอยากให้ยา “เดิน” คือยานั้นได้รับการแจกจ่ายแก่คนไข้มากขึ้น เอาใจหมอเสียหน่อยก็
ได้แล้ว ผู้แทนยาส่วนมากเป็นสาวสวย หน้าตาน่ารัก พูดจ๊ะจ๋าไม่จริงใจ แพทย์ก็รู้ บางโรงพยาบาลมีหมอผู้ชาย
มาก ๆ ก็อาจต้องหาผู้แทนยาสวย ๆ ยาจะได้เดิน นอกจากนั้นก็จะมีการเอนเตอร์เทนแพทย์ในรูปแบบต่าง ๆ
แจกของกำนัลตั้งแต่ปากกาจนถึงแฮนดี้ไดรฟ์ ไอพอด หรือดีวีดี พาไปเลี้ยงอาหาร พาไปเที่ยว ไปคาราโอเกะ
อำนวยความสะดวกต่าง ๆ นานา ผมเคยเจอว่ามีการพาไปกินเลี้ยงที่ภัตตาคารฝรั่งเศสหรูแห่งหนึ่งที่มีชื่อมาก
โดยอ้างว่าเป็นการจัดสัมมนาวิชาการ อาหารจานละพัน หมอส่วนใหญ่ไม่คิดอะไร กินฟรี ๆ แต่หารู้ไม่ว่าเงินที่
เขาเอามาเลี้ยงก็คือเงินที่เขาบวกมาแล้วกับค่ายา ซึ่งเป็นภาระที่คนไข้และประชาชนต้องจ่ายในรูปภาษี นี่เป็น
จุดด่างพร้อยของวิชาชีพ

การไปประชุมทางวิชาการในต่างประเทศ การมีสปอนเซอร์เป็นเรื่องจำเป็นในยุคปัจจุบัน การได้งบประมาณ
ตรงนี้เป็นโอกาสที่ทำให้แพทย์ได้ออกไปเสนอผลงาน ได้เปิดหูเปิดตา ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ แต่
มันมีประเภทที่ประชุม ๒ ชั่วโมง ที่เหลือชอปปิง พาตระเวนเที่ยวนั่งเรือสำราญ อย่างนี้ก็เกินไป คำถามคือ
ศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพอยู่ตรงไหน แพทย์ต้องเป็นนักวิชาการ การทำอะไรต้องถูกหลักวิชาการ ไม่ใช่เพราะมี
บุญคุณอะไรกับใคร ตอนทำงานใหม่ ๆ ผมเคยนั่งประชุมกับแพทย์ประจำบ้าน โดยไม่ตั้งใจ เขาคุยกันว่าช่วยสั่ง
ยาตัวนี้หน่อย ถ้ายอดจำหน่ายยาถึงเป้าเราจะได้ไมโครเวฟ มาตั้งในห้องพักแพทย์ ผมเดินออกจากห้องประชุม
เลย คือนักเรียนแพทย์คุยกันเองว่าช่วยยิงยาตัวนี้หน่อย ผมรับไม่ได้ เพราะแพทย์ไม่ได้ปกป้องคนไข้เลย ที่
จริงแล้วแพทย์จะต้องไม่ให้ยาอะไรที่ไม่จำเป็นแก่คนไข้ เราต้องรับผิดชอบต่อเขาและต่อสังคม ยาพวกนี้มี
ค่าใช้จ่าย หลาย ๆ อย่างเรายังขาดแคลน แต่เรากลับไปใช้กับค่ายาอย่างฟุ่มเฟือย ในแต่ละปีประเทศไทย
นำเข้ายาเป็นมูลค่าหลายแสนล้าน แต่ไม่มีใครทำวิจัยว่าในมูลค่าแสนล้านนั้นมีกี่เปอร์เซ็นต์ที่ไม่เกิดประโยชน์
แล้วมันอาจเป็นโทษด้วย เพราะบางครั้งยาก็คือพิษ มันอาจเกิดผลข้างเคียงได้

ผมอยากบอกว่าบริษัทยาไม่ใช่ตัวร้ายเสมอไป แต่วิธีการทางการตลาดจะต้องมีศีลธรรมและอยู่ในกรอบของ
ความพอดี ทุกวันนี้ไม่มีการเบรกเลย มันไปสุด ๆ เลย หมอเลยถูกมอมเมา ว่านี่เป็นเรื่องปรกติ การรับสินบน
ของกำนัลเป็นเรื่องธรรมดา การที่ผมปฏิเสธจึงเป็นเรื่องประหลาดขึ้นมา จริงอยู่บริษัทยาเขาก็มีหน้าที่ของเขา
ที่ต้องทำให้ยาขายได้ เพียงแต่ว่าเขาต้องไม่ข้ามเส้นของศีลธรรม เราเองก็พร้อมที่จะร่วมมือหลาย ๆ อย่าง ทั้ง
ในเรื่องวิชาการและในเรื่องผลประโยชน์ส่วนรวม ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ไม่ได้เกิดเฉพาะประเทศไทย แต่
เกิดขึ้นทั่วโลก ความสัมพันธ์ของผู้แทนบริษัทยากับแพทย์ปัจจุบันไม่ได้รับการตรวจสอบว่าใกล้ชิดเกินไปไหม
มีกรณีตัวอย่างที่ประเทศอิตาลี มีการฟ้องร้องแพทย์ว่าแพทย์ได้รับผลประโยชน์จากบริษัทยา ไม่ได้ฟ้องร้อง
เป็นรายบุคคล แต่ฟ้องร้องทั้งองค์กรแพทย์ว่ามีการคอร์รัปชันเชิงนโยบายกันเลยทีเดียว

“เด็กสมัยนี้หัวโต แต่หัวใจเหี่ยวมาก ไม่รักไม่
แคร์สิ่งรอบตัว จะเข้าใจอะไรที่มันไม่ลึก สนใจ
อะไรที่ฉาบฉวย ถามว่าข้าวที่เขากินทุกวันมา
จากไหน เขาอาจจะคิดว่ามาจากโลตัส ไม่คิดว่า
ข้าวมาจากท้องนา คิดไม่ออกว่าทำไมนาจึงมี
ความอุดมสมบูรณ์ น้ำมาจากไหน สิ่งแวดล้อม
ในนาเป็นอย่างไร เขาจะไม่เห็นความเชื่อมโยง
ไม่ได้สัมผัส ทุกอย่างมันอยู่แต่ในจอแอลซีดี
ทำให้หัวใจของเขาแห้งแล้งมาก มีความรู้ แต่
ไม่มีความรัก นี่เป็นสิ่งที่น่ากลัวมาก”

-การที่โรงพยาบาลในปัจจุบันมักรณรงค์ให้คนตรวจสุขภาพประจำปีกันมากขึ้น คุณหมอมองเรื่องนี้อย่างไร
การตรวจบางอย่างมีประโยชน์ เช่นเมื่ออายุมากแล้ว หรือมีปัจจัย เสี่ยงต่อโรคบางชนิด เช่นคนในครอบครัวเป็น
โรคมะเร็งลำไส้ การตรวจด้วยการส่องกล้อง การตรวจอุจจาระ เป็นเรื่องที่มีความจำเป็น การตรวจวัดความดัน
โลหิต การตรวจระดับไขมันและน้ำตาลในเลือดในคนที่มีอายุมากกว่า ๔๐ ปี ก็มีความเหมาะสม แต่การตรวจ
บางอย่างที่ต้องเอกซเรย์ทุก ๖ เดือน ต้องเจาะเลือดตรวจสารพัด มันเป็นการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นเลย แล้วอาจ
ไปเจอผลปลอมที่จะนำไปสู่การวินิจฉัยที่ผิดได้ อย่างที่บอก ทุกอย่างมันต้องเริ่มต้นจากตัวคนไข้ก่อน ทั้งเรื่อง
ประวัติ ความเสี่ยง แพทยสภาหรือราชวิทยาลัยแพทย์เขาก็พยายามออกหลักเกณฑ์เป็นไกด์ไลน์นะ ว่าการ
ตรวจสุขภาพที่คุ้มค่าต่อการค้นหาโรคในระยะแรกควรทำอะไรบ้าง ในช่วงอายุเท่าไร ควรตรวจบ่อยแค่ไหน แต่
ตรงนี้คือช่องทางหาเงินของโรงพยาบาลเอกชน ก็จะมีการโปรโมตเยอะ คนกลัวเป็นมะเร็งก็ต้องไปตรวจกับ
เครื่องสแกนพิเศษเพื่อค้นหามะเร็งระยะแรก ทั้งที่ไม่มีอะไร หรือการตรวจเกี่ยวกับโรคหัวใจ เครื่องเอกซเรย์
๖๔ สไลด์ เป็นเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์พิเศษ เห็นหลอดเลือดอย่างละเอียดโดยไม่ต้องเจ็บตัว ไม่ต้องใส่
สายสวนเลย แต่ไม่ดีอย่างไร ประการที่หนึ่ง ตรวจคนไข้ ๑,๐๐๐ คนที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยง อาจจะเจอเข้าสักคน เรา
จะสิ้นเปลืองสูญเปล่าไป ๙๙๙ คน ประการที่สอง การเอกซเรย์แบบนี้เราได้รับรังสีเยอะมาก เหมือนกับคุณเดิน
ผ่านโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลในรัสเซีย โอกาสเป็นมะเร็งก็อาจจะเพิ่มขึ้นได้ เป็นการเพิ่มความเสี่ยงโดย
ไม่จำเป็น ประการที่สาม ถ้าคุณไม่ได้มีอาการอะไรเลย แต่ไปตรวจแล้วเจอเส้นเลือดตีบนิดหน่อย เอาแล้ว
ต้องไปสวนหัวใจ แล้วถ่างด้วยลูกโป่ง คุณอาจจะบอกว่าดีนี่ เจอตั้งแต่แรก แต่จริงๆ มันไม่ใช่ เพราะอาจจะ
เกิดผลแทรกซ้อนจากการทำแบบนั้นก็ได้ อาจถึงชีวิตก็ได้นะครับ หรืออาจจะเกิดการตีบซ้ำของเส้นเลือดที่
รุนแรงกว่าเดิม จากเดิมที่ตีบแค่นิดเดียว ถ้าจะบอกว่าคนคนนั้นรู้ก่อนก็ดี จะได้กินยาป้องกัน ถามว่าแล้ว ๙๙๙
คนที่ตรวจแล้วไม่เจอล่ะ จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าไร ถ้าประเทศเราทำแบบนี้กันทุกคนเจ๊งแน่นอน จะบอกว่า
ตรวจเพราะอยากรู้ ก็ต้องบอกว่าความเสี่ยงมันก็มี จึงมีคำแนะนำว่าถ้าคนไข้ไม่มีปัจจัยเสี่ยงก็ไม่ต้องตรวจ

บันทึกการเข้า

บรรพบุรุษของไทยแต่โบราณ ปกบ้านป้องเมืองคุ้มเหย้า
เสียเลือดเสียเนื้อมิใช่เบา หน้าที่เรารักษาสืบไป
      
ลูกหลานเหลนโหลนภายหน้า จะได้มีพสุธาอาศัย
อนาคตจะต้องมีประเทศไทย มิยอมให้ผู้ใดมาทำลาย
ทัดมาลา ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป
มืออ่อน หมัดแข็ง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 857
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6569


เตสาหัง สิรสา ปาเท วันทามิ ปุริสุตตเม


« ตอบ #4 เมื่อ: มิถุนายน 03, 2007, 02:58:00 PM »

-ในฐานะเป็นหมอโรคหัวใจ มองการรักษาในปัจจุบันอย่างไร
คนเป็นโรคหัวใจกันมากขึ้น แต่ทรัพยากรถูกใช้กับเทคโนโลยีไฮเทคไปมาก เช่นการใช้ขดลวดถ่างหลอด
เลือดหัวใจ หลังจากถ่างหลอดเลือดหัวใจที่ตีบด้วยลูกโป่งแล้ว ขดลวดนี้จะทำหน้าที่ค้ำยันไม่ให้หลอดเลือด
มันยุบลงอีก แล้วเดี๋ยวนี้เรายังมียาชนิดพิเศษที่อาบขดลวดไม่ให้เกิดแผลเป็น อันหนึ่งราคาหลายหมื่นหรือเป็น
แสน ขดลวดนี้นับเป็นความก้าวหน้าที่สำคัญในการรักษาโรคหัวใจ แต่บ่อยครั้งมีการใช้อย่างพร่ำเพรื่อไม่
เหมาะสม เห็นตีบตรงไหนถ่างหมด บางคนได้รับขดลวด ๕-๖ อัน ค่ารักษาครึ่งล้าน เรานำเข้าเทคโนโลยีง่าย
มาก มีอะไรใหม่ในโลกเนี่ยไม่ต้องห่วง หมอไทยใช้ก่อนหลายประเทศ โดยไม่มีการกลั่นกรองสักเท่าไร ขณะที่
อังกฤษเขาถือว่าเขายากจนนะ ทรัพยากรมีจำกัด จึงมีการควบคุมการใช้ของพวกนี้ คือต้องมีข้อบ่งชี้ชัดเจนว่า
ใช้แล้วเกิดประโยชน์คุ้มค่าจริง ของไทยค่อนข้างปล่อย จะทำอะไรก็อยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ โดยไม่มีคนมา
คอยตรวจสอบการใช้ ค่าใช้จ่ายของเราลงไปกับของพวกนี้มาก ในขณะที่เราให้เวลาหรือลงแรงน้อยเหลือเกิน
ในการสอนให้คนไข้รู้จักโรค รู้จักการปฏิบัติตัว หรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง

-ทุกวันนี้ภาคประชาชนมีการตรวจสอบหมอมากขึ้น ในแง่ที่ว่าหมอเคยทำความผิดพลาดกับคนไข้
จนภาคประชาชนรู้สึกว่าอยากมีสิทธิ์ที่จะเรียกร้องให้หมอรับผิดชอบมากกว่านี้ คิดอย่างไรครับ
การตรวจสอบเป็นเรื่องปรกติที่จะต้องมี เพียงแต่ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้กลายเป็นความไม่เชื่อใจกัน สังคมเริ่มมี
ความรู้ความเข้าใจทางการแพทย์มากขึ้น ความรู้ไม่ได้ถูกจำกัดเฉพาะในวงการแพทย์อีกต่อไป สังคมเลยกล้า
ลุกขึ้นมาตรวจสอบมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ความรู้นั้นอาจจะรู้ครึ่งหนึ่งเลยยังไม่เข้าใจความเป็นมาทั้งหมด
หมอเองก็เป็นนักอธิบายที่แย่ที่สุดด้วย ทำให้เกิดความเข้าใจผิดอย่างมาก แต่ผมก็เห็นใจหมอ ไม่นานมานี้มี
ลูกศิษย์โทร. มาหาผม ร้องไห้ว่าโดนฟ้องร้อง คนไข้มาหาหมอด้วยอาการจุกลิ้นปี่ หมอคิดว่าเป็นโรคกระเพาะ
แต่คนไข้ไปตายที่โรงพยาบาลอีกแห่งด้วยโรคหัวใจล้มเหลว ลูกศิษย์ผมจบไปแล้ว ๒ ปี เขาบอกพยายาม
เต็มที่แล้ว คนไข้ ๒๐๐ คน ตรวจจนจำไม่ได้ว่าใครเป็นใคร พยายามทำให้เสร็จ เขาไม่ได้พูดจาไม่ดี อาจจะมี
บ้างเพราะความเหนื่อย อดหลับอดนอนเพราะอยู่เวรติด ๆ กัน ทำงานหนักจนมันเพลียใจจะขาดอยู่แล้ว ความ
ผิดพลาดจึงเกิดขึ้นได้ นอกจากนี้โรคบางโรคอาการช่วงแรกจะไม่ชัดเจน แล้วมาปรากฏชัดในภายหลัง ผม
ยอมรับว่าการไม่ใส่ใจของหมอบางคนคงมีอยู่จริง แต่เราจะทำอย่างไรไม่ให้เป็นการรังแกกัน ขณะนี้มีบาง
องค์กรคอยจับผิดเพื่อผลประโยชน์ในการฟ้องร้อง หมอบางคนไปเป็นผู้ช่วยทนายเพื่อให้ฟ้องหมออีกที่หนึ่ง
วงการแพทย์ไทยกำลังจะกลายเป็นแบบอเมริกัน เป็นการแพทย์ปกป้องตัวเองทั้งหมด หมอทุกคนกลัวโดน
ฟ้อง ทำให้ค่ารักษาสูงขึ้นมาก การส่งตรวจที่ผมเคยสอนแค่ ๒-๓ ตัวอย่าง เขาจะต้องส่ง ๒๐ ตัวอย่าง หลุด
ไม่ได้เลย เราไม่น่าจะไปสู่ทางนั้น สังคมต้องมีความเข้าใจมากขึ้น หมอต้องกลับมาอธิบายให้มากขึ้น จะมา
เพิกเฉยคิดว่าคนไข้รับยาอย่างเดียวไม่ได้ เขาต้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจด้วย ขณะเดียวกันก็อยากให้สังคม
เห็นใจ หากตรวจสอบหมอแบบกวาดหมด คนดี ๆ จะหมดแรงทำงาน อย่างเด็กที่ผมเจอเขาบอกว่าเขาไม่
อยากเป็นหมอแล้ว เขาทนความเครียดไม่ไหว ผมว่ามันแย่กับทุกฝ่าย มันน่าจะต้องมีความพอดี ต้องเข้าใจ
สถานการณ์ ผมยังมองว่ามีหมอเป็นส่วนน้อยที่เพิกเฉยไม่ใส่ใจ หรือกระทำผิดเพราะเจตนา แต่ส่วนใหญ่คือ
สื่อสารน้อยหรือมนุษย์สัมพันธ์ไม่ดี

-เวลาว่างหมอส่วนใหญ่ในโรงพยาบาลรัฐมักทำงานโรงพยาบาลเอกชนหรือเปิดคลินิกส่วนตัว ขณะที่คุณหมอกลับพาเด็กไปเข้าป่าดูนก ไม่ยอมทำธุรกิจของตัวเอง เพราะอะไรครับ
คนอื่นทำเพราะเงินเดือนไม่พอกับการดำรงชีพ แพทย์ที่ทำงานในโรงพยาบาลรัฐเงินเดือนต่ำกว่าแพทย์ที่
ทำงานในโรงพยาบาลเอกชนเกือบ ๑๐ เท่า ตอนผมจบใหม่ เงินเดือนครั้งแรกที่ผมได้คือ ๔,๗๐๐ บาท ตอน
นั้นอาจารย์แพทย์ทั่วไปอยู่ที่หมื่นกว่า แต่ขณะเดียวกันโรงพยาบาลเอกชนอาจได้เป็นแสนหรือมากกว่านั้น
ต่างกันมาก คนที่อยู่ได้คือมีใจรัก ชอบทำงานวิชาการ เหตุผลที่ผมไม่ทำคลินิก บางคนอาจจะบอกว่าก็ฐานะ
ทางบ้านผมพร้อมอยู่แล้ว ไม่มีใครทำอย่างผมได้ ซึ่งจะว่าไปมันก็จริง แต่ก็มีคนอีกไม่น้อยที่มีอยู่แล้วก็ยัง
ต้องการอีก ไม่มีสิ้นสุด คุณตาผมสอนแม่ แล้วแม่สอนผมว่า ถ้าเรามีโอกาสที่ดีเพียงพอแล้ว ก็เป็นความ
รับผิดชอบที่เราต้องให้คนอื่นบ้าง เวลาที่เหลือจากการทำงานปรกติผมเอาไปให้สังคมได้ เพราะไม่มีความ
จำเป็นทางการเงิน ผมรู้สึกว่าความสุข หลายอย่างไม่จำเป็นต้องได้ผ่านเงิน ตอนผมอยู่ด่านซ้าย เดินไปตลาด
แม่ค้าเอาส้มมาให้หรือเอาน้ำให้กิน นั่นคือความสุข ผมรู้สึกว่าถึงมันไม่ได้มีราคามากมายแต่มีคุณค่ากับเรามาก

-ครั้งหนึ่งเคยเปิดคลินิกรักษาคนไข้ฟรีที่เชียงใหม่ด้วยใช่ไหมครับ
ใช่ครับ เป็นการเปิดคลินิกในหมู่บ้านของเราเอง ทำร่วมกับผู้ใหญ่บ้านคนหนึ่งที่ผมเคารพ เป็นคลินิกที่ให้
คำปรึกษาแก่คนป่วย ไม่จำเป็นต้องให้ยา คือวินิจฉัยโรคให้ ชี้ช่องทางที่เขาต้องทำ ช่วยเช็กเรื่องสุขภาพ
ทั่วไป ทำให้รู้สึกว่าหมู่บ้านเราไม่ได้อยู่อย่างโดดเดี่ยว แม้เราจะค่อนข้างอยู่ในตัวเมือง แต่ก็ยังมีความเป็น
ชุมชน เรารู้จักกันหมด ผมไปตรวจคนไข้กับภรรยา ผมตรวจผู้ใหญ่เขาตรวจเด็ก ยาที่ให้ก็มีนะครับ เป็นยา
สถานีอนามัย คือเราทำตัวเป็นสถานีอนามัยสาขาย่อย เจ้าหน้าที่ของสถานีอนามัยก็น่ารักมาก แต่สุดท้ายเปิด
คลินิกได้ไม่ถึงปี พอเปลี่ยนผู้ใหญ่บ้านก็เลยไม่ได้ทำต่อ

-การที่คุณหมอตั้งชมรมอนุรักษ์นกและธรรมชาติล้านนาขึ้นมา เพื่ออยากให้คนดูนกและเกิดความรู้สึกอยากอนุรักษ์ขึ้นด้วย
ผมเห็นว่ามันได้ผล คนไทยเรารู้จักยีราฟ ม้าลาย หมีโคอาล่า นกฮัมมิ่งเบิร์ด แต่นกกินปลี หมูหริ่ง หมาไม้
หน้าตาเป็นอย่างไรเรายังไม่รู้เลย และถ้าเขาได้ไปเห็นพฤติกรรมของมัน สีสันของมัน จิตใจคงจะอ่อนโยนขึ้น
และจะรับรู้ความละเอียดอ่อนกลับมาได้ คนเราหลายคนมีตรงนี้อยู่ แต่ชีวิตในเมืองได้หล่อหลอมให้จิตใจของ
พวกเขาค่อนข้างจะหยาบเพราะโดนกระตุ้นโดยสื่อและสิ่งเร้าทั้งหลายที่เต็มไปด้วยแสงสีเสียง ทำอย่างไรให้มี
กิจกรรมที่เขาต้องอาศัยความอดทน ความช่างสังเกต เพื่อที่เขาจะอยู่กับมันได้นาน ๆ อยู่เงียบ ๆ ฟังเสียง
ธรรมชาติ ฟังเสียงตัวเอง ซึ่งนอกจากเรื่องนกแล้ว เขาก็จะมองเห็นเรื่องเล็ก ๆ ที่เคยมองข้ามไป เขาอาจจะ
สนใจดูพระอาทิตย์ตกพระอาทิตย์ขึ้นบ้าง คนที่เข้ามาร่วมก็บอกว่าเขามีความเป็นคนช่างสังเกตมากขึ้น
ทุกอาทิตย์ที่ผมพาเด็กไปเดินป่าสัมผัสธรรมชาติ ผมมีความสุขทุกครั้งที่ทำ พาเด็กไปสัก ๒๐ คน ถ้าหนึ่งใน
นั้นมีประกายขึ้นมา สนใจขึ้นมา เรารู้สึกว่ามันคุ้มแล้วที่จะทำ มันเป็นทั้งภารกิจ เป็นหน้าที่ และเป็นสิ่งที่เราทำ
แล้วเกิดความปีติ แม่ให้ตรงนี้มา เราก็อยากที่จะถ่ายทอดตรงนี้ต่อไป ผมเห็นว่านี่เป็นการฉีดวัคซีนป้องกันโรค
วัตถุนิยมให้แก่เด็กที่มีประสิทธิภาพ โตขึ้นเขาต้องมีภูมิต้านทานต่อโรคสังคมบริโภคนิยมที่จะโฆษณาปลุกเร้า
ให้เขาอยากได้อยากมี บริโภคทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย จนอาจลืมไปว่าสิ่งสำคัญในชีวิตเขานั้นจริง ๆ คืออะไร
ยอมรับว่าบางครั้งเจอเด็กบางกลุ่มที่เสียจนซ่อมไม่ได้แล้ว ขณะดูนกก็เอามือถือมากดเกมเล่นไปด้วย หรือเล่น
ทามาก็อตขณะที่นกเงือกบินข้ามหัวไป เด็กเหล่านี้อยู่กับโลกเสมือนจริงจนไม่รู้อะไรจริงอะไรเท็จแล้ว มันคง
ต้องให้เวลาในการที่จะดึงเขากลับมาให้เขารู้สึกว่าธรรมชาติมันมหัศจรรย์ เขาอาจรู้สึกว่าเขารู้ทุกอย่าง อ่านมา
หมดแล้วในอินเทอร์เน็ต มันอยู่ในสมองของเขา แต่ในหัวใจของเขาอาจจะไม่มีอะไรเลย คือเด็กสมัยนี้หัวโต
แต่หัวใจเหี่ยวมาก ไม่รักไม่แคร์สิ่งรอบตัว จะเข้าใจอะไรที่มันไม่ลึก สนใจอะไรที่ฉาบฉวย ถามว่าข้าวที่เขากิน
ทุกวันมาจากไหน เขาอาจจะคิดว่ามาจากโลตัส ไปซูเปอร์มาร์เกต ซื้อข้าวมากินจบ ไม่คิดว่าข้าวมาจากท้อง
นา คิดไม่ออกว่าทำไมนาจึงมีความอุดมสมบูรณ์ น้ำมาจากไหน สิ่งแวดล้อมในนาเป็นอย่างไร เขาจะไม่เห็น
ความเชื่อมโยง ไม่ได้สัมผัส ทุกอย่างมันอยู่แต่ในจอแอลซีดี ทำให้หัวใจของเขาแห้งแล้งมาก มีความรู้ แต่ไม่
มีความรัก ไม่มีความรู้สึก นี่เป็นสิ่งที่น่ากลัวมาก ถ้าเขาเติบโตต่อไปในสังคมจะอันตรายมาก เพราะเขาจะไม่
เข้าใจปัญหาอย่างเชื่อมโยง แล้วไม่มีความรู้สึกหรือแคร์อะไรทั้งสิ้น เหมือนกับ จอร์จ ดับเบิลยู บุช ยิงจรวดนำ
วิถี ฆ่าคนเหมือนเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ไม่สนใจอะไรทั้งนั้น

-หลายคนมองว่าเรื่องสิ่งแวดล้อมกับสัตว์เป็นเรื่องรอง เราต้องรวยก่อน การอนุรักษ์เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการพัฒนาประเทศ คุณหมอคิดอย่างไร
นั่นเป็นความเข้าใจผิดอย่างแรง จริง ๆ แล้วธรรมชาติคือพื้นฐานของทุกอย่าง เป็นระบบพยุงชีวิตที่วิวัฒนาการ
มานับพันล้านปี มีมนุษย์คนไหนที่เวลาหิวข้าวแล้ววิ่งไปกลางแดดอ้าแขนรับแดดเพื่อสังเคราะห์แสงได้บ้าง
การอนุรักษ์ธรรมชาติไม่ใช่การรักษาสถานที่ท่องเที่ยวหรือเก็บภาพสวย ๆ ไว้ในปฏิทิน แต่มันคือความอยู่รอด
ของพวกเราทุกคน เหมือนเครื่องช่วยหายใจ เครื่องพยุงชีพ สายน้ำเกลือที่ต่อกับคนไข้ในไอซียู ดึงออกเมื่อใด
ก็ตายเมื่อนั้น ความเจริญเติบโตของชุมชนต่าง ๆ มันพึ่งธรรมชาติเต็มที่อยู่แล้ว การพัฒนาที่ไม่ระวังจะทำให้
เราพบจุดจบ เขาบอกกันว่าทะเลทรายจะตามหลังอารยธรรมมา มันเป็นอย่างนั้นมาหลายครั้งในประวัติศาสตร์
ของโลก เพราะเราถอนเงินต้นมาใช้หมด ไม่ใช้เพียงดอกเบี้ย สิ่งแวดล้อมไม่ใช่จุดสุดท้ายที่จะคิดถึง มันต้อง
เป็นสิ่งแรกที่เราจะต้องคิดถึงแล้วรักษามันเอาไว้ให้ได้ ที่จริงทุกวันนี้มีตัวอย่างให้คนเห็นเยอะมาก ไม่น่าจะ
เข้าใจยาก แต่คนส่วนมากก็ยังไม่เข้าใจ เพราะการเติบโตทางวัตถุมันเห็นชัดเลยมองเป็นเรื่องเร่งด่วนกว่า ซึ่ง
เราก็น่าจะมีบทเรียนว่าการพัฒนาแบบไม่ยั่งยืนนั้นนำความเจริญด้านวัตถุมา แต่ความสุขกลับน้อยลง น่าจะรู้ทัน
ได้แล้ว โดยเฉพาะนักการเมือง ผู้บริหารประเทศ ให้เข้าใจตรงนี้ด้วย บางอย่างไม่มีค่าไม่มีราคาทางเศรษฐกิจ
แต่มันมีความศักดิ์สิทธิ์และมีคุณค่าต่อจิตใจของเรา อีกหน่อยวัดพระแก้วจะมีแมคโดนัลด์กลางวัดไหม ผมไม่รู้
จะไปถึงขั้นนั้นหรือไม่ เวลาเราพูดว่าดอยเชียงดาวศักดิ์สิทธิ์ มันหน่อมแน้ม แต่มันอันตรายมากถ้าในโลกนี้ไม่มี
อะไรศักดิ์สิทธิ์อีกแล้ว

-คุณหมอเป็นข้าราชการแต่ยังออกมาคัดค้านเรื่องการก่อสร้างกระเช้าไฟฟ้าที่ดอยเชียงดาว ไม่กลัวหรือครับ
ข้าราชการส่วนหนึ่งอาจจะคิดเรื่องปากท้องเป็นหลัก ยังไงก็ต้องปลอดภัยไว้ก่อน แต่ผมโชคดีที่ไม่ต้องกังวล
เรื่องนี้ ถูกไล่ออกอาจจะเสียประวัติ แต่ไม่ได้เดือดร้อนและไม่แคร์ ต้องยกความดีให้แก่การเลี้ยงดูของ
ครอบครัวที่ทำให้เรากล้าพูดในสิ่งที่คิดว่าถูกต้อง แม่เคยสอนว่า ถ้าเชื่อมั่นว่าสิ่งนี้ถูก เราต้องพูด ต้องแสดง
ความคิดเห็นออกมา ปัญหาหนึ่งของคนไทยคือมักจะกล้าผิดเรื่อง กล้าที่จะขับรถเร็ว กล้าที่จะแซงคิว กล้าที่จะ
คอร์รัปชัน แต่กับเรื่องที่ควรกล้า กล้าพูดความจริง กล้าปกป้องความถูกต้อง เรากลับไม่กล้ากันเท่าไร เราจะ
กลัวไม่ถูกเรื่อง เรื่องที่ไม่ควรกลัวก็กลัวกันจัง ที่น่าจะกลัวก็ไม่กลัว แต่ยอมรับว่าทุกครั้งที่พูดคัดค้านโครงการ
ของรัฐ ความเป็น “นายแพทย์” ช่วยได้ระดับหนึ่ง เรารู้สึกว่าสถานะนี้ยังมีความหมาย แต่เราก็ต้องให้
ข้อเท็จจริงที่น่าเชื่อถือด้วย ถ้าไม่รู้จริงก็ขอไม่พูดดีกว่า เพราะสุดท้ายมันจะกลายเป็นดาบมาฆ่าเรา สำหรับ
ดอยเชียงดาวนั้น ผมรักสถานที่นี้มาก ๆ บางคนอาจจะมองเป็นเพียงที่ท่องเที่ยว แต่เรามองเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ที่
จะต้องปกป้องรักษา เป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ที่จะถูกทำลาย เราถึงยอมตายได้เพื่อที่จะปกป้องมัน
บันทึกการเข้า

บรรพบุรุษของไทยแต่โบราณ ปกบ้านป้องเมืองคุ้มเหย้า
เสียเลือดเสียเนื้อมิใช่เบา หน้าที่เรารักษาสืบไป
      
ลูกหลานเหลนโหลนภายหน้า จะได้มีพสุธาอาศัย
อนาคตจะต้องมีประเทศไทย มิยอมให้ผู้ใดมาทำลาย
ทัดมาลา ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป
มืออ่อน หมัดแข็ง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 857
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6569


เตสาหัง สิรสา ปาเท วันทามิ ปุริสุตตเม


« ตอบ #5 เมื่อ: มิถุนายน 03, 2007, 02:59:09 PM »

จบแล้วครับ

ขอได้รับความขอบคุณจาก ทัดมาลา infotainment
บันทึกการเข้า

บรรพบุรุษของไทยแต่โบราณ ปกบ้านป้องเมืองคุ้มเหย้า
เสียเลือดเสียเนื้อมิใช่เบา หน้าที่เรารักษาสืบไป
      
ลูกหลานเหลนโหลนภายหน้า จะได้มีพสุธาอาศัย
อนาคตจะต้องมีประเทศไทย มิยอมให้ผู้ใดมาทำลาย
aniki
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 232
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3074


สังคมดีไม่มีขาย...ถ้าอยากได้ต้องร่วมสร้าง


« ตอบ #6 เมื่อ: มิถุนายน 03, 2007, 04:34:49 PM »

ขอบคุณครับอาจเพลินและซึ้งใจดีครับ  โดยเฉพาะคนไกลบ้านอย่างผม
บันทึกการเข้า

ขอคืนคุณสู่แผ่นดิน  รักในหลวง
แจ็ค
"กำบ่มีอย่าไปอู้...กำบ่ฮู้อย่าได้จ๋า"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 461
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 7529


« ตอบ #7 เมื่อ: มิถุนายน 03, 2007, 06:20:56 PM »



  .............. ยาวจัง  .... ตาลาย ..... แต่ก็ได้หลายอย่าง ...... อย่างน้อย ก็ได้รับรู้อีกแง่มุมหนึ่งของคุณหมอ  อีกส่วนหนึ่งก็รับรู้ว่ามีคนส่วนหนึ่งพยายามที่ปรับปรุงสังคมให้ดีขึ้น  แม้จะเป็นส่วนเล็ก ๆ และน้อยนิดก็ตาม   แต่ ..... ดีตรงที่มีคนเริ่ม และลงมือทำแล้ว ...... ขอสรรเสริญด้วยความจริงใจ ........  ด้วยความเคารพ ......
บันทึกการเข้า

... เมื่อความกลัวถึงขีดสุด  มันจะเกิดเป็นความกล้าที่บ้าบิ่น ...
โอรสเยาวราช-รักในหลวง
ใครจะใหญ่เกินกรรม
Full Member
***

คะแนน 11
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 313


ผยองในความเป็นไทย


« ตอบ #8 เมื่อ: มิถุนายน 03, 2007, 06:28:22 PM »

ขอบคุณครับ ลูกพี่  Wink Wink Wink
บันทึกการเข้า

โพธิญาณ
noomrider
Hero Member
*****

คะแนน 74
ออฟไลน์

กระทู้: 4574


ชีวิตไม่สิ้น ก็ดิ้นกันไป


« ตอบ #9 เมื่อ: มิถุนายน 04, 2007, 09:58:35 AM »

ขอบคุณที่นำมาให้อ่านครับ
บันทึกการเข้า



อย่านอนตื่นสาย   อย่าอายทำกิน   อย่าหมิ่นเงินน้อย  อย่าคอยวาสนา
น้าพงษ์...รักในหลวง
1911ต้อง.โค้ลท์.ที่เหลือคือก๊อปปี้.ลอกพี่.มะขิ่นครับ
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 508
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 9922


« ตอบ #10 เมื่อ: มิถุนายน 04, 2007, 03:56:55 PM »

ยาวจัง..ขอบคุณครับ... Grin
บันทึกการเข้า

...ประเทศไทย.ไม่ใช่ที่สำหรับใครที่จะมา.ฝึกงาน...
THAEWA
Full Member
***

คะแนน 23
ออฟไลน์

กระทู้: 246


« ตอบ #11 เมื่อ: มิถุนายน 04, 2007, 04:49:08 PM »

 Winkขอบคุณ คุณโอ๊ค แน่นอนจริงๆ Cheesy Cheesy Cheesy
บันทึกการเข้า
Sig228-kolok
KU47 AGGIE / SOTUS HS9VOL
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2947
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 40236



« ตอบ #12 เมื่อ: มิถุนายน 04, 2007, 05:39:58 PM »

ขอบคุณมากครับโอ๊ค... Cheesy
บันทึกการเข้า

ขายที่ดิน 20 ไร่ บริเวณคลอง 8 อ.ธัญบุรี จ.ปทุมฯ ไร่ละ 1.8 ล้าน โทร 086-2859988
กดที่นี่ >>http://www.wikimapia.org/#lat=14.0499777&lon=100.7824481&z=17&l=0&m=b
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.197 วินาที กับ 22 คำสั่ง