เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
ตุลาคม 11, 2024, 01:24:37 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.เป็นเพียงสื่อกลางช่วยให้ผู้ซื้อ และผู้ขาย ได้ติดต่อกันเท่านั้นและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับประโยชน์หรือความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
ประกาศหรือแบนเนอร์ในเวบไม่ใช่ตัวบ่งชี้ว่าสินค้านั้นมีคุณภาพหรือไม่
โปรดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 1147 1148 1149 [1150] 1151 1152 1153 ... 35779
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เพื่อนคอปืน...ด้ามขวาน  (อ่าน 25803548 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 189 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
PU45™
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 3692
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 62457



« ตอบ #17235 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2007, 10:07:46 AM »

                         

                                                                            กวางผา
                                                               Naemorhedus griseus

ลักษณะ : กวางผาเป็นสัตว์จำพวก แพะแกะเช่นเดียวกับเลียงผา แต่มีขนาดเล็กกว่า เมื่อโตเต็มที่มีความสูงที่ไหล่มากกว่า ๕๐ เซนติเมตร เพียงเล็กน้อย และมีน้ำหนักตัวประมาณ ๓๐ กิโลกรัม ขนบนลำตัวสีน้ำตาล หรือสีน้ำตาลปนเทา มีแนวสีดำตามสันหลงไปจนจดหาง ด้านใต้ท้องสีจางกว่าด้านหลัง หางสั้นสีดำ เขาสีดำมีลักษณะเป็นวงแหวนรอบโคนเขา และปลายเรียวโค้งไปทางด้านหลัง

อุปนิสัย : ออกหากินตามที่โล่งในตอนเย็น และตอนเช้ามืด หลับพักนอนตามพุ่มไม้ และชะง่อนหินในเวลากลางคืน อาหาร ได้แก่ พืชที่ขึ้นตามสันเขาและหน้าผาหิน เช่น หญ้า ใบไม้ กิ่งไม้ และลูกไม้เปลือกแข็งจำพวกลูกก่อ กวางผาอยู่รวมกันเป็นฝูงๆละ ๔-๑๒ ตัว ผสมพันธุ์ในราวเดือนพฤศจิกายน และธันวาคม ออกลูกครอกละ ๑-๒ ตัว ตั้งท้องนาน ๖ เดือน

ที่อาศัย : กวางผาจะอยู่บนยอดเขาสูงชันในที่ระดับน้ำสูงชันมากกว่า ๑,๐๐๐ เมตร

เขตแพร่กระจาย : กวางผามีเขตแพร่กระจายตั้งแต่แคว้นแพร่กระจาย ตั้งแต่แคว้นแคชเมียร์ลงมาจนถึงแคว้นอัสสัม จีนตอนใต้ พม่าและตอนเหนือของประเทศไทย ในประเทศไทยมีรายงานพบกวางผาตามภูเขาที่สูงชันในหลายบริเวณ เช่น ดอยม่อนจอง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อย ดอยเลี่ยม ดอยมือกาโด จังหวัดเชียงใหม่ และบริเวณสองฝั่งลำน้ำปิงในอุทยานแห่งชาติแม่ปิง จังหวัดตาก

สถานภาพ : กวางผาจัดเป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งใน ๑๕ ชนิดของประเทศไทยและอนุสัญญา CITES จัดไว้ใน Appendix I

สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์ : เนื่องจากการบุกรุกถางป่าที่ทำไร่เลื่อนลอยของชาวเขาในระยะเริ่มแรกและชาวบ้านในระยะหลัง ทำให้ที่อาศัยของกวางผาลดน้อยลง เหลืออยู่เพียงตามยอดเขาที่สูงชัน ประกอบกับการล่ากวางผาเพื่อเอาน้ำมันมาใช้ในการสมานกระดูกที่หักเช่นเดียวกับเลียงผา จำนวนกวางผาในธรรมชาติจึงลดลงเหลืออยู่น้อยมาก 
บันทึกการเข้า

                
PU45™
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 3692
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 62457



« ตอบ #17236 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2007, 10:09:01 AM »

                                           

                                                                     พะยูนหรือหมูน้ำ
                                                                    Dugong dugon

ลักษณะ : พะยูนจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง ที่อาศัยอยู่ในน้ำ มีลำตัวเพรียวรูปกระสวย หางแยกเป็นสองแฉก วางตัวขนานกับพื้นในแนวราบ ไม่มีครีบหลัง ปากอยู่ตอนล่าง ของส่วนหน้าริมฝีปากบนเป็นก้อนเนื้อหนา ลักษณะเป็นเหลี่ยมคล้ายจมูกหมู ตัวอายุน้อยมีลำตัวออกขาว ส่วนตัวเต็มวัยมีสีชมพูแดง เมื่อโตเต็มวัยจะมีน้ำหนักตัวประมาณ ๓๐๐ กิโลกรัม

อุปนิสัย : พะยูนอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัว หลายครอบครัวจะหากินเป็นฝูงใหญ่ ออกลูกครั้งละ ๑ ตัว ใช้เวลาตั้งท้องนาน ๑๓ เดือน และจะโตเต็มที่เมื่อมีอายุ ๙ ปี

ที่ยู่อาศัย : ชอบอาศัยหากินพืชจำพวกหญ้าทะเลตามพื้นท้องทะเลชายฝั่ง ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน

เขตแพร่กระจาย : พะยูนมีเขตแพร่กระจาย ตั้งแต่บริเวณชายฝั่งตะวันออกของทวีปอาฟริกา ทะเลแดง ตลอดแนวชายฝั่งมหาสมุทรอินเดียไปจนถึงประเทศฟิลิปปินส์ ไต้หวัน และตอนเหนือของออสเตรเลีย ในประเทศไทยพบไม่บ่อยนัก ทั้งในบริเวณอ่าวไทยแถบจังหวัดระยอง และชายฝั่งทะเลอันดามัน แถบจังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง สตูล

สถานภาพ : ปัจจุบันพบพะยูนน้อยมาก พยูนที่ยังเหลืออยู่จะเป็นกลุ่มเล็กหรืออยู่โดดเดี่ยว บางครั้งอาจจะเข้ามาจากน่านน้ำของประเทศใกล้เคียง พะยูนจัดเป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งใน ๑๕ ชนิดของประเทศไทย และจัดโดยอนุสัญญา CITES ไว้ใน Appendix I

สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์ : เนื่องจากพะยูนถูกล่าเพื่อเป็นอาหาร ติดเครื่องประมงตาย และเอาน้ำมันเพื่อเอาเป็นเชื้อเพลิง ประกอบกับพะยูนแพร่พันธุ์ได้ช้ามาก นอกจากนี้มลพิษที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมตามชายฝั่งทะเล ได้ทำลายแหล่งหญ้าทะเล ที่เป็นอาหารของพยูนเป็นจำนวนมาก จึงน่าเป็นห่วงว่าพะยูนจะสูญสิ้นไปจากประเทศในอนาคตอันใกล้นี้


บันทึกการเข้า

                
PU45™
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 3692
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 62457



« ตอบ #17237 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2007, 10:11:12 AM »

                                 

                                                                     แรด
                                                        Rhinoceros sondaicus

ลักษณะ : แรดจัดเป็นสัตว์จำพวกมีกีบ คือมีเล็บ ๓ เล็บทั้งเท้าหน้าและเท้าหลัง ตัวโตเต็มวัยมีความสูงที่ไหล่ ๑.๖-๑.๘ เมตร น้ำหนักตัว ๑,๕๐๐-๒,๐๐๐ กิโลกรัม แรดมีหนังหนาและมีขนแข็งขึ้นห่างๆ สีพื้นเป็นสีเทาออกดำ ส่วนหลังมีส่วนพับของหนัง ๓ รอย บริเวณหัวไหล่ด้านหลังของขาคู่หน้า และด้านหน้าของขาคู่หลัง แรดตัวผู้มีนอเดียวยาวไม่เกิน ๒๕ เซนติเมตร ส่วนตัวเมียจะเห็นเป็นเพียงปุ่มนูนขึ้นมา

อุปนิสัย : ในอดีตเคยพบแรดหากินร่วมเป็นฝูง แต่ในปัจจุบันแรดหากินตัวเดียวโดดๆ หรืออยู่เป็นคู่ในฤดูผสมพันธุ์ อาหารของแรดได้แก่ ยอดไม้ ใบไม้ กิ่งไม้ และผลไม้ที่ร่วงหล่นบนพื้นดิน แรดไม่มีฤดูผสมพันธุ์ที่แน่นอน จึงสามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดปี ตกลูกครั้งละ ๑ ตัว ตั้งท่องนานประมาณ ๑๖ เดือน

ที่อยู่อาศัย: แรดอาศัยอยู่เฉพาะในบริเวณป่าดิบชื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ หรือตามป่าทึบริมฝั่งทะเล ส่วนใหญ่จะหากินอยู่ตามพื้นที่ราบ ไม่ค่อยขึ้นบนภูเขาสูง

เขตแพร่กระจาย : แรดมีเขตกระจายตั้งแต่ประเทศบังคลาเทศ พม่า ไทย ลาว เขมร เวียดนาม ลงไปทางแหลมมลายู สุมาตรา และชวา ปัจจุบันพบน้อยมากจนกล่าวได้ว่า เกือบจะหมดไปจากผืนแผ่นดินใหญ่ของทวีปเอเชียแล้ว เชื่อว่ายังอาจจะมีคงเหลืออยู่บ้างทางเทือกเขาตะนาวศรี และในป่าลึกตามแนวรอยต่อจังหวัดระนอง พังงา และสุราษฎร์ธานี

สถานภาพ : ปัจจุบันแรดจัดเป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งใน ๑๕ ชนิดของประเทศไทย และจัดอยู่ใน Appendix 1 ของอนุสัญญา CITES ทั้งยังเป็นสัตว์ป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ตาม U.S.Endanger Species

สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์ : เช่นเดียวกับแรดที่พบบริเวณอื่นๆ ที่พบในประเทศไทยถูกล่าและทำลายอย่างหนัก เพื่อต้องการนอหรือส่วนอื่นๆ เช่น กระดูก เลือด ฯลฯ ซึ่งมีคุณค่าสูงยิ่ง เพื่อใช้ในการบำรุงและยาอื่นๆ นอกจากนี้บริเวณป่าที่ราบที่แรดชอบอาศัยอยู่ก็หมดไป กลายเป็นบ้านเรือนและเกษตรกรรมจนหมด


ขอขอบคุณ ---------------> ฅนท่องไพร.คอม

บันทึกการเข้า

                
PU45™
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 3692
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 62457



« ตอบ #17238 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2007, 10:17:14 AM »

พี่ปูครับ

ขออภัยคั่นโฆษณานิดนะครับ

นวดธรรมดา ๒๐ นาที ๒๕๐๐ เยน ๔๐ นาที ๔๐๐๐ เยนครับ เด็กนั่งดริ๊งค์ ก่อนสามทุ่มชั่วโมงละ ๓๐๐๐ เยน หลังสามทุ่มชั่วโมงละสี่พันเยน อย่างอื่นยังไม่ได้ถามเพราะคุยกันไม่รู้เรื่อง ค่าเงินแปลงเป็นบาท เอา เยนคูณกับ ๐.๒๘ ครับ เก็บตังค์ไว้กินบะหมี่ชามละ ๙๕๐ เยนครับ

ขอบคุณครับ

อิ อิ .......... คนเดียวล่อไปเกือบสองหน้าเลย 555 เล่นเอาเมื่อย พูดถึงเรื่องนวดนี่จะสู้สาวไทยเราได้อย่างไร

พูดคุยต่อรองกันรู้เรื่อง แถมราคาไม่โหดอีกต่างหาก การเอาใจรึก็เหนือชั้นอยู่แล้ว พวกยุ่นเวลามาไทยละก็ติดใจทุกราย

บันทึกการเข้า

                
PU45™
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 3692
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 62457



« ตอบ #17239 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2007, 10:25:41 AM »





               เมื่อผีเสื้อตัวเมียมีท้องแก่ มันจะบินไปหาต้นพืชซึ่งตัวแก้วของมันจะใช้เป็นอาหารได้ ตามปกติ ผีเสื้อแต่ละกลุ่ม แต่ละวงศ์ จะวางไข่ไว้บนต้นพืชคนละชนิดกัน เมื่อมันเลือกต้นพืชที่มันต้องการได้แล้ว มันจะเริ่มวางไข่ไว้ตามส่วนต่างๆ ของต้นพืชนั้น

                 ผีเสื้อบางชนิดชอบวางไข่ไว้ตามก้านดอกไม้ แต่บางชนิดวางไข่ไว้บนยอดอ่อนของพืช ชนิดที่วางไข่ไว้บนกลีบดอกไม้ก็มี มีบางชนิดวางไข่ไว้ตามซอกเปลือกไม้ตรงโคนต้นไม้ใหญ่ ซึ่งมีพืชที่จะเป็นอาหารของตัวแก้วขึ้นอยู่ใกล้ๆ หลังจากตัวแก้วฟักออกจากไข่แล้ว จึงจะไต่มายังพืชอาหารของมัน

                 ตามปกติผีเสื้อมักวางไข่ฟองเดียวโดดๆ หรือ เป็นกลุ่มเล็กๆ มีน้อยชนิดที่วางไข่ไว้เป็นกลุ่มใหญ่ กลุ่มไข่นี้จะแตกต่างกันไปตามแต่ชนิดของผีเสื้อ บางชนิดจะวางไข่ติดกันเป็นเส้นห้อยลงมา คล้ายกับลูกปัทม์ที่นำมาร้อยต่อกัน มีน้อยชนิดที่วางไข่เรี่ยราดไว้ตามพื้นดิน

                   ไข่ของผีเสื้อแต่ละชนิดมีขนาด รูปร่าง สีสัน และลวดลายแตกต่างกันออกไป โดยปกติ ไข่ของผีเสื้อจะเล็กมาก ผีเสื้อชนิดที่มีไข่โตที่สุดนั้น ไข่ของมันจะมีขนาดพอๆ กับหัวเข็มหมุดหัวโตเท่านั้นเอง ด้วยเหตุนี้ การตรวจสอบไข่ของผีเสื้อ จึงจำเป็นต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ ( microscope) เท่านั้น

                    จากภาพที่มองผ่านเลนส์ของกล้องจุลทรรศน์ เราจะเห็นว่า ไข่ของผีเสื้อบางชนิดมีลักษณะตั้งยาวสีขาวหรือสีเหลือง แต่ไข่ของผีเสื้อบางชนิดมีลักษณะกลม มีรอยบั้ง และมีสีเขียว แต่บางชนิดมีไข่กลมแบนสีขาวหรือสีออกเทา และมีรอยบุ๋ม หรือไม่ก็มีไข่แบนเกือบเป็นสีเหลี่ยมผืนผ้า ออกสีขาวหรือสีเหลือง ไข่ของผีเสื้อหางแฉกที่เรียกกันว่า ผีเสื้อหางติ่ง (Swallowtail) นั้น มีลักษณะกลมมาก เรียบ และโตกว่าไข่ของผีเสื้ออื่นๆ และมักมีสีเหลือง สีสันของไข่นี้มักเป็นสีที่กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม เพื่อพรางตาศัตรู

                  เปลือกไข่ประกอบด้วยสารที่เรียกว่า ไคติน ( chitin) เช่นเดียวกับเปลือกลำตัวของผีเสื้อ และแมลงอื่นๆ โดยทั่วๆ ไป ไข่ผีเสื้อมักมีลักษณะโปร่งแสง เมื่อไข่สุก เราสามารถมองดูการเจริญเติบโตของตัวอ่อนภายในไข่ได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ ทางด้านบนหรือด้านข้างของไข่จะมีรูเล็กๆ เป็นรูอากาศอยู่ 1 รู เรียกว่า ไมโครพาย ( micropyle) ซึ่งตัวอ่อนจะหายใจเอาก๊าซออกซิเจนจากอากาศที่ผ่านเข้ามาทางรูนี้ ในเวลาที่ผีเสื้อตัวผู้ผสมพันธุ์กับผีเสื้อตัวเมียนั้น เชื้อตัวผู้จะเข้าไปผสมกับไข่ในท้องของตัวเมียได้ โดยผ่านเข้าไปทางรูนี้เช่นเดียวกัน ไมโครพายจึงเป็นส่วนที่สำคัญมากของไข่

                   ตามปกติ ของเหลวภายในไข่มักมีลักษณะใส แต่ต่อมา พอตัวอ่อนในไข่เริ่มเจริญเติบโตขึ้น ของเหลวในไข่จึงเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเข้มขึ้นทุกที จนบางทีก็เป็นสีดำ ซึ่งแสดงว่า ตัวหนอนได้เจริญเติบโตเต็มที่ และพร้อมที่จะออกมาจากไข่แล้ว ตัวหนอนในไข่จะกัดกินไมโครพายทางด้านในให้ทะลุ แล้วก็คลานออกมา หลังจากนั้น มันจะกินเปลือกไข่ของมันจนหมดหรือเกือบหมด ก่อนที่จะกินพืชอาหารของมัน

                   ตัวหนอนจะต้องกินเปลือกไข่ของมันเสมอ เพราะมีไคตินที่ประกอบเป็นเปลือกไข่ ซึ่งเป็นสารที่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกายของมันมาก ถ้าหากตัวหนอนถูกกีดกันไม่ให้กินเปลือกไข่ มันอาจตายได้ แม้ว่าจะได้กินพืชอาหารก็ตาม ซึ่งนับว่าแปลกมากทีเดียว

บันทึกการเข้า

                
นายกระจง
Cement For Life.....
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2938
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 31460


ช่างมันเถอะ


« ตอบ #17240 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2007, 10:26:41 AM »

นึกว่าจบแล้ว ยังมีต่อหรือครับพี่ปู 
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นคนต้องอดทน ไม่อดทนก็อดตาย
 
PU45™
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 3692
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 62457



« ตอบ #17241 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2007, 10:27:02 AM »



                ตัวแก้วหรือตัวหนอนของผีเสื้อ มีลำตัวยาว มีขาจริง 3 คู่ และมีขาเทียม ( prolegs) ที่ส่วนท้องอีกหลายคู่ ไช้สำหรับเดินทั้งสิ้น ซึ่งผิดกับหนอนของแมลงอื่นๆ เช่น หนอนแมลงวัน หรือ ลูกน้ำ ซึ่งไม่มีขาเลย ไม่ว่าจะเป็นขาจริงหรือขาเทียม เมื่อมันกลายเป็นผีเสื้อแล้ว ขาเทียมจะหดหายไป ส่วนขาจริงจะเจริญไปเป็นขาของผีเสื้อ ดังนั้น ส่วนของตัวแก้วที่มีขาจริง คือ ส่วนที่จะเจริญไปเป็นส่วนอก ( thorax) ของแมลงนั่นเอง

                ส่วนหัวของตัวแก้วมีปากชนิดกัดกิน ( biting type) ใช้กัดกินใบพืชอาหารของมัน ทำนองเดียวกับปากของตั๊กแตน จิ้งหรีด หรือ แมลงสาบ ซึ่งผิดกับเมื่อตอนที่มันกลายเป็นผีเสื้อแล้ว ซึ่งปากจะเปลี่ยนไปเป็นปากชนิดดูดกิน (siphoning type)

                  ตัวแก้วส่วนมากไม่มีขนยาวรุงรัง ถ้าหากเราพบหนอนที่มีลักษณะลำตัวยาว มีขาจริง 3 คู่ มีขาเทียม และมีปากชนิดกัดกิน แต่มีขนยาวรุงรังแล้ว เราแน่ใจได้ทันทีเลยว่า เป็นหนอนของผีเสื้อกลางคืน ( Moth) ไม่ใช่หนอนของผีเสื้อ ( Butterfly) ปกติ หนอนของผีเสื้อกลางคืนนั้น ชาวบ้านมักเรียกกันว่า บุ้ง ไม่เรียกว่า ตัวแก้ว หนอนของผีเสื้อบางชนิดเท่านั้นที่มีขนสั้นๆ สีต่างๆ ที่ลำตัว

                 สีสันของตัวแก้วนี้ ตามปกติจะเข้ากับสภาพแวดล้อมที่มันอาศัยอยู่ได้เป็นอย่างดี จึงล้วนแต่เป็นสีพรางตาศัตรูทั้งสิ้น เพื่อให้รอดพ้นจากศัตรู โดยเฉพาะนก ตัวแก้วที่หากินอยู่ตามต้นหญ้าจะมีลำตัวผอมยาว หัวท้ายแหลม มีลายเขียวๆ เป็นทางยาว เข้ากับใบหญ้าได้ดี ตัวแก้วบางชนิดมีลำตัวรี แบน และเกาะแน่นอยู่ใต้ใบไม้ และสีสันยังเข้ากับใบไม้อีกด้วย ตัวแก้วที่หากินอยู่ตามต้นถั่วมีรูปร่างยาวรีและมีสีสันคล้ายฝักถั่ว บางชนิดดูคล้ายมูลนกที่ติดอยู่ตามใบไม้ ตัวแก้วที่มีสีสันเข้ากับสภาพแวดล้อมเช่นนี้ มักเป็นตัวแก้วที่นกชอบกิน

               ตัวแก้วของผีเสื้อบางชนิดมีสีสวยสดแลเห็นเด่นชัด เช่น ตัวแก้วของผีเสื้อหนอนใบรัก ในสกุล Danaus มีลายสีเหลืองและสีดำเด่นชัดมาก จัดเป็นสีเตือนภัย ( warning colour) เพื่อให้นกแลเห็นได้ชัดๆ จะได้ไม่เผลอเข้ามากิน เพราะรสชาติของมันไม่เป็นที่โปรดปรานของนก ตัวแก้วที่มีสีสันเช่นนี้ นกจึงไม่ชอบกิน และไม่กล้าเข้ามาแตะต้อง ตัวแก้วของผีเสื้อหางติ่ง ( Swallowtail) มีสีเตือนภัยเช่นกัน แต่บางชนิด ตัวแก้วในระยะแรกๆ มีสีสันคล้ายคลึงกับสภาพแวดล้อม แต่พอเจริญเติบโตขึ้นจึงเปลี่ยนเป็นสีเตือนภัย หนอนบางชนิดมีขนซึ่งเมื่อถูกผิวหนังจะเกิดอาการผื่นคัน
บันทึกการเข้า

                
PU45™
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 3692
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 62457



« ตอบ #17242 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2007, 10:29:16 AM »



         การเปลี่ยนแปลงร่างกายจากตัวแก้วมาเป็นดักแด้ (pupa) นั้น เป็นสิ่งมหัศจรรย์มาก เพราะตัวแก้วหากินอยู่เสมอและกินจุ แต่ดักแด้อยู่นิ่งกับที่และไม่กินอะไรเลย การลอกคราบจากตัวแก้วในระยะสุดท้ายมาเป็นดักแด้นั้น คล้ายคลึงกันมาก กับการลอกคราบในแต่ละครั้งของตัวแก้ว เพียงแต่ว่าในระยะนี้ ผิวหนังใหม่ใต้ผิวหนังเก่าเป็นผิวหนังของดักแด้ และมีรูปร่างเป็นดักแด้ เมื่อตัวแก้วลอกคราบออกมาเป็นดักแด้ใหม่ๆ ผิวหนังของดักแด้ยังอ่อนนิ่มอยู่ แต่นานๆ ไป หลายชั่วโมง ผิวหนังของมันจึงแข็งขึ้น และมีรูปร่างและสีสันเป็นดักแด้มากขึ้น จนกลายเป็นดักแด้ที่สมบูรณ์

           ถ้าเราสังเกตตั้งแต่เริ่มแรก เราจะเห็นว่า เมื่อถึงเวลาที่ตัวแก้วในระยะสุดท้ายจะลอกคราบเป็นดักแด้ มันจะเริ่มหยุดนิ่ง ใช้ส่วยท้ายสุดของลำตัว หรือ " หาง " เกาะติดกับวัตถุ เช่น กิ่งไม้ หรือใบไม้ด้วยเส้นใย ต่อจากนั้น ผิวหนังเก่าของมันจะเริ่มลอกออกจากท่อนหัวไปยังท่อนหาง พอลอกถึงปลายหาง มันจะดึงหางออกจากวัตถุ เพื่อให้คราบเก่าหลุดออกไป แล้วใช้หางทิ่มเกาะติดที่เดิมอย่างรวดเร็ว โดยมันไม่ตกจากกิ่งไม้หรือใบไม้ ได้อย่างน่าอัศจรรย์
ดักแด้ของผีเสื้อนี้ ในทางกีฏวิทยาจัดเป็น obtected pupa คือเป็นดักแด้ที่มีขาและปีกติดเป็นเนื้อเดียวกับลำตัว และนิยมเรียกกันว่า chrysalis แต่การคงอยู่ในสภาพดักแด้ของผีเสื้อแต่ละชนิดนั้นจะแตกต่างกัน ซึ่งอาจจำแนกออกได้ 3 แบบ

             แบบแรก ดักแด้ห้อยแขวนตัวอยู่กับกิ่งไม้ หรือ วัตถุใดๆ โดยใช้ส่วนที่เป็นตะขอของ " หาง" ซึ่งเรียกว่า cremaster เกาะติดกับเส้นใยที่ติดอยู่กับกิ่งไม้หรือวัตถุนั้นๆ เช่น ดักแด้ของผีเสื้อในวงศ์ Nymphalidae แบบแรกนี้เรียกกันว่า suspensi

             แบบที่สอง ดักแด้ใช้ส่วนที่เป็นตะขอของ " หาง" เกาะติดกับเส้นใยที่ติดกับวัตถุเช่นกัน แต่ยังมีเส้นใยปั่นออกมาล้อมรอบส่วนอก และยึดติดกับวัตถุด้วย จึงยึดติดกับวัตถุทั้งที่ท่อนอกและที่ส่วน " หาง" เช่น ดักแด้ของผีเสื้อในวงศ์ Papilionidae วงศ์ Lycaenidae และวงศ์ Pieridae แบบนี้เรียกกันว่า succincti

             แบบที่สาม ดักแด้จะวางหรือนอนอยู่บนพื้นดินหรือซ่อนอยู่ในที่มิดชิด เช่น ดักแด้ของผีเสื้อในวงศ์ Satyridae และวงศ์ Hesperiidae แบบนี้เรียกกันว่า involuti ดักแด้ของผีเสื้อนี้ต้องมีการเกาะยึดกับวัตถุอื่นอย่างเหนียวแน่น หรือ ซ่อนอยู่อย่างมิดชิด มีสีสันพรางตาศัตรูได้เป็นอย่างดี และทนต่อความผันแปรของสภาพดินฟ้าอากาศ และอุณหภูมิได้ดีด้วย มิเช่นนั้นอาจตายได้ ดักแด้ของผีเสื้อบางชนิดต้องอยู่ในสภาพนั้นตลอดฤดูหนาว

             นอกจากนี้ แม้ว่ามันจะถูกฝังอยู่ใต้หิมะหรืออยู่ในที่ที่มีอุณหภูมิต่ำถึง - 20 องศาซี หรือ -12 องศาเอฟ มันก็ยังทนอยู่ได้ ไม่ว่าจะเป็นดักแด้ของผีเสื้อในเขตอบอุ่นหรือเขตร้อน

             ความแตกต่างระหว่างเพศของตัวแก้วนั้น ยากนักที่ใครจะบอกได้ แต่ความแตกต่างระหว่างเพศของดักแด้นั้น ผู้ที่มีความชำนาญอาจบอกได้ โดยใช้แว่นขยายที่ขยายได้หลายเท่าส่องดูที่ส่วนท้ายของลำตัวดักแด้ ตามปกติตรงปล้องที่ 5 ของตัวผู้ นับจากส่วนปีกลงไปจะมีปุ่มนูนๆ ยื่นออกมา แต่ของตัวเมียจะอยู่ที่ปล้องที่ 4 นับจากส่วนปีกลงไป

           เมื่อตัวแก้วลอกคราบกลายเป็นดักแด้นั้น มีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพภายในร่างกายของดักแด้เป็นอย่างมาก ทั้งนี้เพื่อให้มันลอกคราบมาเป็นผีเสื้อที่สมบูรณ์ แต่ระบบย่อยอาหาร ระบบประสาท และอวัยวะสำคัญอื่นๆ เปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ถึงแม้ตัวแก้วนั้น ไม่มีความแตกต่างทางเพศ แต่ในระยะสุดท้ายก่อนที่จะกลายเป็นดักแด้ อวัยวะที่บ่งบอกเพศจะเริ่มปรากฏให้เห็น และจะเจริญดีมากในดักแด้ อวัยวะส่วนอื่นๆ ของผีเสื้อจะเจริญมาจากกลุ่มเซลเล็กๆ ที่เรียกกันว่า imaginal buds เซลเหล่านี้จะเริ่มแบ่งตัวและจะมารวมกันเป็นกลุ่มเซลเล็กๆ ดังกล่าว และค่อยเปลี่ยนไปเป็นลักษณะของผีเสื้อทีละน้อยๆ

           รูปร่างของดักแด้นั้น ธรรมชาติสร้างมาเพื่อให้รับกับการเจริญขึ้นของส่วนปีก ( wingcases) ขา ปากแบบดูดกิน หนวด และตา ซึ่งดักแด้ที่เจริญมากแล้ว เราจะแลเห็นอวัยวะเหล่านี้ภายในดักแด้ได้ชัดขึ้น ต่อมาจะเริ่มปรากฏขนบนหัว อก ท้อง ขา และปีก ต่อจากนั้น จะเริ่มปรากฏเกล็ดเล็กๆ บนปีก แต่ยังไม่มีสีสันใดๆ ในระยะสุดท้าย ส่วนปีกของมันจะมีรงควัตถุ ( pigment) มาแทรกซึมจนทั่ว ทำให้เกล็ดบนปีกมีสีสันขึ้น ปีกของมันจะมีสีสันและลวดลายแตกต่างกันไปตามแต่ชนิดของผีเสื้อ ในระยะสุดท้ายนี้ ผิวหนังของดักแด้จะโปร่งแสง ทำให้แลเห็นอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะลวดลายและสีสันบนปีกได้ชัดเจนมากขึ้น

         ในระยะนี้ ตัวผีเสื้อได้เกิดขึ้นอยู่ภายในดักแด้แล้ว รอเวลาที่จะออกมาจากคราบดักแด้เท่านั้น ตัวผีเสื้อภายในดักแด้จะแห้งขึ้นเล็กน้อย แล้วปลอกดักแด้จะเริ่มปริออกตรงส่วนอก เปิดเป็นช่องให้ผีเสื้อคลานออกมาเกาะอยู่ที่ข้างนอกปลอกดักแด้ หรือที่กิ่งไม้ใกล้ๆ มันจะต้องเกาะอยู่ตรงที่เหมาะๆ เพื่อกางปีกออก และผึ่งปีกของมันให้แห้งเต็มที่ มันจึงจะกลายเป็นผีเสื้อที่สมบูรณ์
บันทึกการเข้า

                
PU45™
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 3692
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 62457



« ตอบ #17243 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2007, 10:30:30 AM »



           เมื่อผีเสื้อลอกคราบออกมาจากดักแด้นั้น ในระยะแรก มันจะปล่อยของเหลวสีชมพูจางๆ ที่เรียกว่า meconium ออกมา meconium นี้เป็นสิ่งขับถ่ายที่สะสมอยู่ในระยะที่มันเป็นดักแด้ เพราะดักแด้นั้นไม่มีปากสำหรับกินอาหาร และไม่มีช่องสำหรับขับถ่าย สิ่งขับถ่ายจึงต้องสะสมเอาไว้ก่อน และมาปล่อยออกในระยะที่มันเป็นผีเสื้อแล้ว

            ผีเสื้อที่ลอกคราบออกมาใหม่ๆ ปีกยังเล็กอยู่และค่อนข้างยับยู่ยี่ มันจะต้องไต่ไปเกาะกิ่งไม้หรือวัตถุใดๆ ที่ไม่มีอะไรมาเกะกะ เพื่อมันจะได้แผ่ปีกได้เต็มที่ ถ้าหากมีอะไรมาเกะกะ ปีกของมันอาจฉีกขาดได้ มันจะเกาะนิ่งๆ ไม่เคลื่อนไหว ปล่อยให้อากาศเข้าไปทางปากแบบดูด และรูหายใจ ( spiracles) อากาศจะเข้าไปสะสมอยู่ภายในลำตัวบริเวณอกและท้อง โดยการหดตัวของกล้ามเนื้อ จะผลักดันให้โลหิตเข้าไปหล่อเลี้ยงภายในปีกเล็กๆ ที่ยับยู่ยี่ของมัน แล้วปีกของมันจะค่อยๆ ขยายใหญ่ขึ้นทุกที และบางมากขึ้นจนกระทั่งโตได้ขนาดเต็มที่ และมีความบางเต็มที่ ผิดกับเมื่อตอนมันลอกคราบออกมาใหม่ๆ ซึ่งมีปีกเล็กและยังหนาอยู่

            อย่างไรก็ดี ผีเสื้อในระยะนี้ยังไม่พร้อมที่จะบินไปไหนมาไหน มันยังต้องเกาะอยู่นิ่งๆ โดยแผ่ปีกออกเล็กน้อย อีกราว 1 ชั่วโมง เพื่อให้ปีกของมันแห้งเต็มที่ มันจึงจะบินไปไหนมาไหนได้ สำหรับการขยายปีกของมันนั้น ใช้เวลาเพียง 20 นาทีเท่านั้น ปีกของมันก็กางออกเต็มที่แล้ว

ข้อมูลจาก -------->  www.savebutterfly.com

บันทึกการเข้า

                
PU45™
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 3692
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 62457



« ตอบ #17244 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2007, 10:31:47 AM »

นึกว่าจบแล้ว ยังมีต่อหรือครับพี่ปู

พอแล้วนะ  ไปหาที่นวดตัวหน่อยดีกว่าแก้เมื่อย ....... อิ อิ  กิโมโนคลี่ยากจังนะกระจง 55555555


บันทึกการเข้า

                
PU45™
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 3692
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 62457



« ตอบ #17245 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2007, 10:33:38 AM »

แถมให้อีกหน่อย

การเดินป่าอุปกรณ์ที่จำเป็นลำดับต้นๆ ก็คงเป็นรองเท้าเรานี่แหละครับ ถ้ารองเท้าไม่เป็นใจก็คงจะลำบากและทำให้ไม่สนุกกับการเดินป่าเท่าที่ควร ในบทความนี้ผมจะมาบอกเล่าในเรื่องของการเลือกรองเท้าเดินป่าที่เหมาะสมและใส่สบายครับ ครั้งหนึ่งที่ผมเดินป่าที่เชี่ยวหลาน อันนี้ก็เป็นประสบการณ์ที่ทำให้ผมต้องจำมาทุกวันนี้เลยครับ รองเท้าที่ผมใส่อยู่มันบีบรัดหัวนิ้วโป้งเท้า จนทำให้หัวนิ้วโป้งเท้าทั้งสองข้างเกิดการ    บวม และช้ำเพราะต้องเดินขึ้นเขาลงเขา ทำให้เล็บเท้าไปกดทับกับหัวรองเท้าจึงเกิดการบวมมากครับ ต้องยอมรับว่าเจ็บมากแต่ก็ต้องทนฝืนเดินครับ เพราะว่าเราจะสร้างความลำบากและหนักใจกับเพื่อนฝูงไม่ได้ เพราะแต่ละคนก็มีภาระที่ต้องดูแลตัวเองเหมือนกัน ผมต้องเปลี่ยนมาใส่รองเท้าแตะแทนครับ ลองนึกดูแล้วกันครับเดินป่าใส่รองเท้าแตะ และต้องลุยน้ำลุยโคลนตลอด มันทำให้เดินไม่ถนัดอยู่แล้วเพราะหัวนิ้วโป้งเท้าทั้งสองข้างมันช้ำมาก กลับมาบ้านหลังจากนั้นอีกอาทิตย์เล็บหัวนิ้วโป้งเท้าหลุดทั้งสองข้าง ทุกวันนี้ผมยังเก็บไว้เป็นที่ระลึกจากการเดินป่าที่เชี่ยวหลานอยู่เลยครับ

บันทึกการเข้า

                
PU45™
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 3692
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 62457



« ตอบ #17246 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2007, 10:34:37 AM »

                การเลือกรองเท้าเดินป่ามัน ไม่มีสูตรที่ลงตัวและตายตัว เอาเป็นว่าผมบอกจากประสบการณ์ของผมแล้วกันนะครับ ตรงไหนที่คิดว่าเป็นประโยชน์ก็นำไปปรับเปลี่ยนลองใช้กันดูครับ เราควรเลือกรองเท้าที่ใส่สบายไม่หลวมและคับจนเกินไป ให้เราเผื่อถุงเท้าและถุงกันทากไว้ด้วยนะครับเพราะบางครั้งไปป่าที่มีทากเยอะๆอย่างเขาใหญ่ จะได้ใส่สบายๆพอดีครับจะได้ไม่ต้องซื้อใหม่ครับ รองเท้าที่นิยมใส่กันจะมีอยู่ 2 แบบครับ แบบที่1 จะเป็นแบบผ้า(ของจีนแดง)ใส่สบาย พื้นการยึดเกาะดีเพราะมีปุ่มและร่องที่ลึกใส่แล้วไม่ลื่นง่าย(ตามรูป) ที่สำคัญราคาถูกและทนดีครับ คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไปครับราคาจะอยู่ที่120-200 บาทครับ ประมาณนี้หรืออาจจะสูงกว่านี้นิดหน่อยครับ เพราะคู่ที่ผมซื้อมาก็ 2 ปีแล้วครับ ยอมรับว่าทนมากๆครับ หาซื้อได้ที่ร้านขายอุปกรณ์เดินป่า หรือที่สวนจตุจักรครับมีหลายร้านครับ

            ลองเดินดูเอาเองครับราคาพอต่อลองลดได้นิดหน่อยแบบที่2 มีลักษณะเป็นรองเท้ายางคล้ายกับที่คนงานก่อสร้างเขาใส่กัน แต่ว่าจะมีปุ่มที่ใหญ่กว่าไว้ยึดเกาะพื้นได้ดีกว่า แบบนี้ไม่มีรูปให้ดู แบบนี้จะสะดวกกว่าแบบแรก ที่ว่าเปียกน้ำแล้วตากแดดก็แห้ง แต่แบบแรกคงแห้งยากคงต้องใส่ลุยแบบเปียกๆ สำหรับความคงทนผมให้แบบแรกคงทนกว่า เพราะว่ารองเท้ายางส่วนมากจะขาดบริเวณรอยต่อหัวรองเท้า เพราะเวลาเราเดินตรงส่วนนี้ต้องงอตามนิ้วเท้าเราครับ เรื่องราคาก็ประมาณแบบแรกแหละครับสถานที่จำหน่ายก็ที่สวนจตุจักร หรือตามร้านขายวัสดุก่อสร้างก็พอหาได้ครับ(สำหรับแบบที่2 ) หรือถ้าหาทั้งสองแบบไม่ได้ มีอีกหนึ่งตัวเลือกครับ รองเท้านันยางผมว่าทุกคนคงรู้จักดี แบบนี้ก็พอได้ครับแต่อาจจะเจอปัญหาที่ว่ามันยึดเกาะพื้นไม่ดี เพราะว่าลายดอกที่พื้นมันตื้นมากครับ ราคาก็แพงกว่า2 แบบที่กล่าวมาครับ

บันทึกการเข้า

                
PU45™
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 3692
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 62457



« ตอบ #17247 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2007, 10:35:37 AM »



สำหรับรองเท้าที่ผมไม่แนะนำเอาไปใส่เดินป่า หรือว่าบางคนอาจจะมองว่าใส่ได้ก็แล้วแต่นะครับตามสบายครับ เพราะผมบอกแล้วว่ามันไม่มีสูตรไหนที่ลงตัวและตายตัว และที่ผมเขียนนี่ก็จากประสบการณ์ที่ผ่านมาในการเดินป่าของผมครับถ้าใครจะใส่ก็ไม่ผิดครับ

1. รองเท้าทหาร(คอมแบท)

2. รองเท้าหนังทุกประเภท

3. รองเท้ากีฬา

บันทึกการเข้า

                
PU45™
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 3692
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 62457



« ตอบ #17248 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2007, 10:37:01 AM »

ผมเลือกเอามา 3 แบบส่วนแบบอื่นๆที่ผมไม่ได้กล่าวไว้ ก็แล้วแต่วิจารณญาณของแต่ละบุคคลนะครับ

              แบบที่1 รองเท้าทหารหรือว่า   (คอมแบท) เหตุผลก็คือใส่ยากถอดลำบาก โดนน้ำพังง่ายเวลาโดนน้ำแล้วอากาศถ่ายเทได้ไม่สะดวกแล้วก็หนักทำให้เราเดินได้ลำบากขึ้น สรุปง่ายๆว่าไม่มีความคล่องตัวและที่สำคัญราคาก็แพง

              แบบที่2  รองเท้าหนังทุกประเภท ความจริงมันก็ใส่ได้ แต่ผมเสียดายครับมันคงต้องพังก่อนเวลาอันควรแน่นอนอย่าลืมนะครับว่า การเดินป่าเราไม่รู้ว่าทางข้างหน้าจะเจอกับทางแบบไหนบ้าง มีทั้งลุยน้ำลุยโคลนเพราะฉะนั้นรองเท้าแบบนี้ เขาไม่ได้ออกแบบมาให้เกิดมาลุยๆครับ ถ้าใส่เดินตามห้างสรรพสินค้าอันนี้ใส่ได้ครับ

              แบบที่3  รองเท้ากีฬาชื่อก็บอกอยู่แล้วนะครับ ก็คงไม่เหมาะใส่มาลุยน้ำลุยโคลนแน่ๆผมว่ารองเท้าพวกนี้เขาออกแบบมาดีใส่สบายแต่ราคาแพง แต่ไม่เหมาะที่จะใส่เดินป่า ผมว่าลุยน้ำไม่กี่ทีมันก็ไปแล้วครับ เสียดายของครับ เอาไว้ใส่วิ่งออกกำลังกายดีกว่าครับ ส่วนรองเท้าที่นอกเหนือจากนี้จะลองเอาไปใส่ดูแล้ว ได้ผลยังไงก็มาบอกกันบ้างนะครับ…

ขอขอบคุณ---------> 

บันทึกการเข้า

                
นายกระจง
Cement For Life.....
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2938
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 31460


ช่างมันเถอะ


« ตอบ #17249 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2007, 10:38:10 AM »

นึกว่าจบแล้ว ยังมีต่อหรือครับพี่ปู
พอแล้วนะ ไปหาที่นวดตัวหน่อยดีกว่าแก้เมื่อย ....... อิ อิ กิโมโนคลี่ยากจังนะกระจง 55555555


55555555555555555555


พี่ครับบางที่จะบอกเลยว่า เจแปนนีส โอนลี่ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 15, 2007, 10:59:26 AM โดย หนองหัวพราน » บันทึกการเข้า

เกิดเป็นคนต้องอดทน ไม่อดทนก็อดตาย
 
หน้า: 1 ... 1147 1148 1149 [1150] 1151 1152 1153 ... 35779
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.151 วินาที กับ 21 คำสั่ง