วันนี้ มีสาระสักวัน นับแต่ประเทศไทยมีการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อ ในสถาบันอุดมศึกษา (เอ็นทรานซ์) ได้มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการคัดเลือกมา แล้ว 2 ครั้ง และขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการนับถอยหลังสู่การคัดเลือกบุคคล เข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาวิธีที่ 3 ซึ่งเรียกสั้นๆ ว่า "แอดมิชชั่น" (Admission) ในบทความนี้ผม จะนำทุกท่านย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นของการสอบเอ็นทรานซ์ว่าแต่ละวิธีมีขั้น ตอนการคัดเลือกอย่างไร แต่ละวิธีมีข้อดี-ข้อเสีย ข้อจำกัดอย่างไร...
การสอบเอ็นทรานซ์วิธีแรกของประเทศเรียกได้ว่าเป็นแบบวัดดวงอย่างแท้ จริง เนื่องจากว่าผู้สมัครแต่ละคนจะมีสิทธิสอบได้เพียงปีละครั้งและที่โหด ร้ายก็คือผู้สมัครทุกคนไม่มีโอกาสเห็นคะแนนสอบของตนเองจนกระทั่งการประกาศผล สอบว่าท่านสอบได้หรือไม่ได้ ระบบนี้มีข้อดีก็คือประหยัดงบประมาณในการจัด พิมพ์ข้อสอบและการจัดจ้างบุคลากรในการคุมสอบเพราะมีการสอบเพียงปีละ ครั้ง ส่วนข้อเสียก็คือนักเรียนที่เป็นผู้สมัครสอบเกิดความเครียดเนื่อง จากว่ามีโอกาสเพียงครั้งเดียว ถ้าพลาดก็คือไม่มีโอกาสแก้ตัวหรืออย่างดีก็ คือสอบใหม่ปีหน้า ข้อเสียอีกอย่างหนึ่งซึ่งเป็นผลมาจากการสอบแบบนี้ก็ คือ "การเรียนกวดวิชาของนักเรียน" ทั้งนี้เนื่องจากสาเหตุข้างต้นก็คือนัก เรียนไม่มีโอกาสแก้ตัว นักเรียนไม่มีโอกาสเห็นคะแนนของตนเองก่อนที่จะมีการ เลือกคณะ เพราะฉะนั้นจึงต้องการหาที่พึ่งที่จะช่วยให้นักเรียนทำคะแนนสอบให้ ได้มากที่สุดตามที่ปรารถนา
ดังนั้น จึงเป็นผลให้มีการปรับปรุงวิธีการสอบเอ็นทรานซ์จากเดิมที่สอบกันปี ละครั้งมาเป็นปีละ 2 ครั้ง เรียกว่า "สอบ วัดความรู้" ส่วนการเลือกคณะให้แยกออกไปต่างหากโดยจัดขึ้นในช่วง เดือนเมษายนของทุกปี จะเห็นได้ว่านักเรียนมีโอกาสสอบถึง 2 ครั้งต่อ ปี (สำหรับวิชาส่วนใหญ่จะเป็นเช่นนี้ แต่จะมีอยู่ 2 วิชาที่จัดสอบเพียงปีละ ครั้ง คือวิชา "ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์" ส่วนอีกวิชาหนึ่งผมจำไม่ได้ แล้วครับ) และในวิธีการสอบแบบใหม่นี้เองที่มีการนำเอาคะแนน GPA และ คะแนน PR มาใช้ประกอบการพิจารณาโดยให้ค่าน้ำหนักที่ร้อยละ 10 สำหรับข้อดี ของการสอบในวิธีนี้ก็คือ นักเรียนมีโอกาสสอบแก้ตัวได้หลายครั้งเท่าที่ต้อง การ (อย่างน้อย 2 ครั้งขึ้นไป) เพราะว่าทางสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สก อ) หรือทบวงมหาวิทยาลัยเดิมได้จัดเก็บข้อมูลคะแนนของผู้สมัครไว้ 3 ปี (ต่อ มาลดลงเหลือ 2 ปี เนื่องจากเกิดปัญหาเกี่ยวกับความจุของ server ที่ใช้จัด เก็บข้อมูล) ข้อดีอีกอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ นักเรียนได้เห็นคะแนนสอบของตน เองก่อนที่จะมีการเลือกคณะในเดือนเมษายน ทำให้นักเรียนสามารถประเมินตัวเอง ได้ว่าสมควรจะจัดอันดับการเลือกคณะอย่างไรให้หวังผลว่าสอบติดแน่ๆ และเป็น การประกันว่านักเรียนจะไม่เลือกคณะที่ตัวเองมีคุณสมบัติไม่ครบตามที่แต่ละ สถาบันกำหนด แต่ถ้าใครหลงผิดเลือกคณะที่ตัวเองขาดคุณสมบัติ เช่น คณะวิทยา ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กำหนดคะแนนภาษาอังกฤษ (วิชา 03) ต้องไม่ต่ำ กว่าร้อยละ 30 แต่ไม่นำไปคิดคะแนนรวมกับวิชาอื่นๆ จึงจะนำมาพิจารณาอันดับ การเลือก แต่ตัวเองทำได้แค่ 24 คะแนน อย่างนี้ก็จะขาดคุณสมบัติไปโดย ปริยาย อันดับการเลือกพร้อมกับเงินค่าสมัครอันดับละ 50 บาท ก็จะไม่มีความ หมายทันที
สำหรับข้อเสียของการสอบวิธีใหม่นี้ก็คือ ตัววิธีการคัดเลือกนั่นเองที่ให้มี การนำเอาคะแนน GPA และคะแนน PR มาใช้ประกอบการพิจารณา ถึงแม้ว่าจะให้ น้ำหนักเพียงร้อยละ 10 จากคะแนนทั้งหมด แต่ก็มีผลถึงขั้นพลิกผันชะตาชีวิต ของคนๆ หนึ่งก็เป็นได้ เช่น นางสาว ญ. กับนางสาว น. ต้องการเข้าเรียนในสาขา วิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทั้ง 2 คนสอบได้ คะแนนวิชาหลัก 200 คะแนนเท่ากัน แต่นางสาว ญ. มีคะแนน GPA และ PR มากกว่า นางสาว น. เล็กน้อยคือ 1 คะแนน อย่างนี้ก็จะทำให้นางสาว น. ไม่ได้เรียนใน สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทันที (แต่อาจมี โอกาสสอบได้ที่อื่น ถ้าหากว่านางสาว น. เลือกอันดับไว้มากกว่า 1 อันดับ และ ไม่โชคร้ายที่อันดับที่พลาดนั้นเป็นอันดับที่ 4)
คราวนี้มองอีกมุมหนึ่ง... กรณีที่คะแนนสอบของนักเรียน 2 คนสุดท้าย (คะแนน ต่ำสุดของสาขาหนึ่งๆ) เท่ากันเป๊ะ! (รวมคะแนน GPA และ PR แล้ว) จะนับว่า เป็นความโชคดีหรือความโชคร้ายก็ได้ทั้งนั้น เพราะว่าทาง สกอ. จะสอบถามไปยัง สถาบันว่าสามารถรับนิสิตเพิ่มได้อีกกี่คน ถ้าทางสถาบันบอกว่ารับเพิ่มไม่ได้ แล้ว ความโชคร้ายก็จะตกอยู่กับทั้ง 2 คนคือไม่ได้เรียนที่นั้นทั้งคู่ แต่ ถ้าหากว่าทางสถาบันบอกว่ารับเพิ่มได้อีกก็อาจจะใจดีรับเพิ่มทั้งหมด เช่น มี นักเรียนได้คะแนนเท่ากัน 5 คน ก็จะรับทั้ง 5 คนนั้นเข้าศึกษาต่อในสถาบัน นั้นต่อไป แต่ถ้าหากว่ารับเพิ่มได้เพียง 2 คน อีก 3 คนที่เหลือก็จะต้องไป ลุ้นกับอันดับการคัดเลือกที่เหลืออยู่ของแต่ละคนต่อไป หรืออีกกรณีที่โชค ร้ายเป็นหมู่ก็คือทางสถาบันอาจบอกปัดคือไม่รับทั้งหมดเลย เช่น ทางสถาบันรับ ได้ 100 คน แต่มีนักเรียนที่ได้คะแนนต่ำสุด 35 คน ถ้าหากว่าสถาบันจะรับทั้ง หมดก็จะต้องรับภาระเลี้ยงดูถึง 135 คน ซึ่งบางสถาบันบอกว่าไม่ได้เพราะว่ามี งบประมาณหรือครุภัณฑ์สำหรับการศึกษาจำกัด ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับสถาบันแต่ เป็นทางออกที่เลี่ยงไม่ได้สำหรับผู้สมัครก็คือไม่รับทั้ง 35 คนเข้าศึกษา เลย สรุปก็คือในปีการศึกษานั้นสถาบันสามารถรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อได้ เพียง 99 คน เท่านั้น
ข้อเสียอีกประการหนึ่งที่เด่นชัดที่สุดและกลายเป็นประเด็นที่ร้อนแรงมากใน ช่วงที่ผ่านมาและยังไม่สงบลงอย่างง่ายๆ ก็คือ "มาตรฐานของคะแนน GPA และ PR" คนส่วนใหญ่มองว่าโรงเรียน ใหญ่ๆ โรงเรียนดังๆ ในเมืองใหญ่หรือในกรุงเทพมหานครชอบ "ปล่อยเกรด" ทำให้ เกิดปรากฏการณ์ "เกรดเฟ้อ" ตรงจุดนี้เองที่คนส่วนใหญ่บอกว่าเด็กในเมืองได้ เปรียบเด็กนอกเมืองหรือในชนบท เนื่องจากว่ามีคะแนน GPA และ PR ที่มากมายตุน ไว้อยู่แล้ว และเมื่อถึงเวลาสอบเอ็นทรานซ์ ถ้าหากว่าคะแนนสอบวิชาหลักของ เด็กในเมืองกับเด็กชนบทเท่ากันแล้ว คะแนนที่ชี้ขาดได้ทันทีก็คือ คะแนน GPA + คะแนน PR และก็แน่นอนว่าเด็กในเมืองย่อมสอบได้เพราะมี คะแนน GPA และ PR ที่มากกว่านั่นเอง
ดังนั้น ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาถ้าใครติดตามข่าวก็จะพบว่ามีผู้เสนอให้ มีการใช้ "ตัวคูณ" และ "ตัวหาร" เพื่อถ่วงดุลให้คะแนน GPA และ PR ของนัก เรียนในเมืองและนักเรียนในชนบทมีความเสมอภาคกัน แต่ไปๆ มาๆ แนวคิดดังกล่าว ก็เงียบไปไม่ปรากฏเป็นข่าวอีกเลย...
สำหรับการสอบแบบใหม่ล่าสุดที่เพิ่งมีการทดลองใช้ในปี พ.ศ.2547-2548 เป็น ครั้งแรกก็คือ "ระบบกลางการรับนิสิตนัก ศึกษา" (Admission) ระบบนี้จะว่าไปแล้วก็เหมือนกับการสอบเอ็นทรานซ์ คือผู้สมัครจะต้องมีการสอบวัดความรู้ในวิชาหลักๆ ด้วย แต่ต่างกันที่ชื่อ เรียกและรายละเอียดวิธีการคัดเลือก กล่าวคือ นักเรียนจะต้องทำการสอบวัดความ รู้ในกลุ่มวิชาหลัก ได้แก่ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ และ สังคมศึกษา คะแนนในส่วนนี้จะเป็นค่าน้ำหนักในการคัดเลือกเพียงร้อยละ 50 แตก ต่างจากวิธีที่ 2 ซึ่งคิดค่าน้ำหนักที่ร้อยละ 90 ทีนี้ถามว่าคะแนนอีกร้อย ละ 50 จะเอามาจากไหนบ้าง??
คะแนนอีกร้อยละ 50 ก็นำมาจากคะแนน GPA และ PR นั่นเองครับ เพียงเท่านี้ก็มี เสียงโวยวายเล็กๆ ว่าไม่ยุติธรรมสำหรับเด็กชนบทอีกเช่นเคย แต่เมื่อเปรียบ เทียบแล้วยังน้อยกว่าในอนาคตที่จะมีการใช้คะแนน GPA และ PR ทั้ง หมด 100% ถึงเวลานั้นผมเชื่อว่าเสียงบ่นคงจะดังขึ้นๆ จนกระทั่งผู้คนเกิด ความชินชาไปเลยก็ได้
เพียงเท่านี้ยังไม่พอนะครับ... ระบบดังกล่าวนี้ทางสถาบันแต่ละแห่งจะมีบทบาท ในการคัดเลือกมากขึ้นโดยจะมีเกณฑ์การคัดเลือกของแต่ละสาขาอีกด้วยว่าจะต้อง ผ่านการทดสอบวิชาเฉพาะทางด้านใดอีกหรือไม่ ซึ่งกระบวนการนี้ทำให้สถาบันอุดม ศึกษามั่นใจได้ระดับหนึ่งว่าจะได้บุคลากรที่มีความตั้งใจจริงที่จะศึกษาต่อ ในด้านนั้นจนกระทั่งสำเร็จการศึกษา
ทีนี้มาพูดถึงข้อดีของระบบ Admission ดูบ้างครับ ระบบนี้มีข้อดีตรงที่ สถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งจะได้นักเรียนที่มีความพร้อมและความตั้งใจที่จะ ศึกษาต่อในสาขาวิชานั้นจริงๆ และจะไม่มีคำว่า "เรียนตามกระแส" หรือ ว่า "เรียนเพราะถูกบังคับ" อีกต่อไป (ผมคิดว่าอย่างนั้นครับ) คราวนี้มาลอง พิจารณาข้อเสียดูบ้างครับ... ข้อเสียของระบบนี้ก็เห็นจะเป็นเรื่องที่คนส่วน ใหญ่กลัวกัน ก็คือเรื่องของ GPA และ PR นั่นเอง ตราบใดที่ยังไม่มีมาตรฐาน ที่แน่นอนในการให้เกรดแต่ละวิชาซึ่งจะมีผลต่อ GPA และ PR ตราบนั้นก็ยังมีคน กลัวต่อไป
http://www.sudipan.net/phpBB2/viewtopic.php?p=8900