ปลาแปลกๆ นี่คือปลามังกรทะเล ยังที่ไหนไม่รู้แต่สวยและแปลก
http://www.sudipan.net/phpBB2/viewtopic.php?t=10629มังกรทะเลใบไม้ (Leafy Sea Dragon) มีชื่อวิทยา ศาสตร์คือ Phycodurus eques เป็นหนึ่งในสัตว์ทะเลที่มีรูปร่างแปลกประหลาด ที่สุด มันเป็นตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นถึงวิวัฒนาการอันยาวนานของสิ่งมี ชีวิต ที่ได้สร้างสรรลักษณะซึ่งเหมาะสมกับการดำรงชีวิตในสภาพแวดล้อมของท้อง ทะเล
จริงๆแล้วมังกรทะเลใบไม้เป็นปลาชนิดหนึ่ง ซึ่งมีความใกล้ชิดอย่างมากกับม้า น้ำ มังกรทะเลใบไม้และม้าน้ำถูกจัดอยู่ในวงศ์ Syngnathidae และมังกรทะเล ใบไม้ก็เป็นสมาชิกเพียงชนิดเดียวที่เหลืออยู่ในสกุล Phycodurus ปลาชนิดนี้ เป็นปลาประจำถิ่นที่พบเพียงที่เดียวบริเวณทางใต้และทางตะวันตกของทวีป ออสเตรเลีย โดยเฉพาะตั้งแต่ Kangaroo Island ไปจนถึง Rottnest Island ทั่ว ไปแล้วมังกรทะเลใบไม้จะอาศัยอยู่บริเวณทะเลอบอุ่บ ในเขตน้ำตื้นซึ่งลึกลงไป จากระดับน้ำต่ำสุดประมาณ 3-50 m.
ชื่อของมันได้มาจากลักษณะร่างกายที่ภูคล้ายกับมังกรในเทพนิยาย ครีบลักษณะ คล้ายใบไม้ไม่ได้มีไว้เพื่อการว่ายน้ำ แต่มีไว้เพื่ออำพรางตัวเท่า นั้น มังกรทะเลใบไม้เคลื่อนที่โดยใช้ครีบอกบริเวณสันคอและครีบหลังใกล้กับ ปลายหางซึ่งยังมีลักษณะเหมือนครีบปลาทั่วไปว่ายน้ำ ครีบทั้งสองเกือบจะโปร่ง ใสและมองเห็นได้ยากขณะมังกรทะเลขยับว่าย การโบกครีบเป็นลูกคลื่นช่วยให้การ เคลื่อนไหวเป็นไปอย่างนิ่มนวล ลักษณะทั้งหมดที่กล่าวมาช่วยให้มังกรทะเล สามารถพรางตัวกลมกลืนไปกับสาหร่ายทะเลที่ลอยล่องอยู่ในน้ำนั่นเอง มังกรทะเล ใบไม้อาจมีความยาวได้ถึง 35 cm
มังกรทะเลใบไม้มีญาติสนิทอยู่เพียงชนิดเดียว นั่นคือ มังกรทะเลใบ หญ้า(Weedy Sea Dragon) ซึ่งอยู่ในสกุล Phyllopteryx ลักษณะที่ต่างกันของ มังกรทั้ง 2 ชนิดนี้คือมังกรทะเลใบไม้จะมีรยางค์คล้ายใบไม้ยื่นออกมาเป็น จำนวนมากกว่ามังกรทะเลใบหญ้า
จากลักษณะปากซึ่งเป็นท่อยื่นยาว มีปลายเปิดอยู่บริเวณปลาย มังกรทะเลใบไม้ จึงกินอาหารพวกแพลงตอน กุ้งตัวเล็กๆและ crustacea เล็กๆอย่างอื่น ลักษณะการ พรางตัวของมังกรทะเลไม่ได้มีไว้ใช้เพียงหลีกเลี่ยงศัตรู แต่ยังใช้อำพรางใน การหาเหยื่อ
ต่างกับม้าน้ำ มังกรทะเลไม่มีถุงหน้าท้องสำหรับฟักใข่ แต่มังกรทะเลใบไม้ตัว ผู้กลับมีไข่ติดอยู่กับส่วนล่างของหาง หลังการผสมพันธุ์มังการทะเลใบไม้ตัว เมียจะวางไข่บริเวณหางตัวผู้ซึ่งจะม้วนงอเข้า ไข่ 100-250 ฟองจะถูก วาง บริเวณซึ่งเป็นที่ยึดของไข่จะมีเนื่อเยื่อซึ่งเต็มไปด้วยเส้นเลือด ซึ่ง บริเวณดังกล่าวจะพัฒนาขึ้นในมังกรทะเลใบไม้ตัวผู้เฉพาะในฤดูผสมพันธุ์ ตั้งแต่ช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนมีนาคม ไข่ซึ่งยึดติดอยู่กับหางตัวผู้จะได้ รับออกซิเจนผ่านทางเส้นเลือดที่มีอยู่มากมาย จากนั้น 4-6 สัปดาห์ ลูกมังกร น้อยก็จะฟักออกมา และจากนั้นไม่นานลูกมังกรทะเลก็จะต้องพึ่งตัวเองโดย ปราศจากการช่วยเหลือของพ่อแม่ พวกมันจะใช้อาหารจากไข่แดงและล่าแพลงตอนสัตว์ ขนาดเล็ก หนึ่งปีผ่านไปพวกมันจะโตได้ถึง 20 cm และจะโตเต็มที่ภายใน 2 ปี
ปัจจุบันมังกรทะเลถูกคุ้มครองโดยกฏหมายออสเตรเลีย