ยังพอจำวัลลี...เด็กหญิงวัลลี ณรงค์เวทย์ นักเรียน ป.5 โรงเรียนวัดโรงธรรม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม เมื่อปี พ.ศ. 2524 ได้ไหมคะ
ปี พ.ศ.นั้น วัลลีสายตาสั้น อยู่ในชั้นเรียนต้องนั่งอยู่แถวหน้า วิ่งไปมาระหว่างโรงเรียนกับบ้าน
วัลลี มีแม่ป่วยเป็นอัมพาต นอนแน่นิ่งให้ป้อนข้าวป้อนน้ำ มียายชราช่วยตัวเองไม่ได้ สายตาย่ำแย่เต็มที...อีกคน
เมื่อ เรื่องราวเด็ก ป.5 กับภาระชีวิตหนักหนาสาหัส ปรากฏในไทยรัฐ มือไม้ขวักไขว่ของ ผู้คนในสังคม ก็ยื่นเข้าไปโอบอุ้มชีวิตวัลลี ถูกแต่งแต้มเติมสีสัน เป็นหนังขายดี มาดูชีวิตของเธอในวันนี้กันค่ะ
วัลลี ปี พ.ศ.2547 เปลี่ยนไป...เธอลาออกจากงานธนาคาร มาจับธุรกิจบรรจุข้าวสารส่งขาย แล้วก็เพิ่งจับธุรกิจส่งอาหารทะเล ชีวิตต้องสู้ต่อไปนี้ของวัลลี ดูเหมือนจะมีอยู่เพื่อดูแลลูกๆ “เขาอ้วนมากหนัก 36 กิโลฯ”
ชีวิตเปลี่ยนไป พอจบ ปวช. ตัดสินใจว่าจะไปเรียนต่อ แต่ติดปัญหาเรื่องยายที่อายุมากแล้ว เนื่องจากอยู่ด้วยกันเพียงสองคน กลัวไม่มีคนดูแล จึงตัดสินใจไม่ไปเรียนต่อที่กรุงเทพฯ แต่มาเลือกเรียนที่หมาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช หรือ มสธ. เพราะเรียนอยู่ในพื้นที่ได้” “ระหว่างนั้นวัลลีได้พบรักกับตำรวจหนุ่มยศสิบโท นาม ‘ธนพัฒน์ บุญเส็ง’
ต้นเดือนตุลาคม 2548 โรงเรือนล้างหมึก ถนนวัดดาวโด่ง-โรงธรรม กลุ่มชายฉกรรจ์จำนวนหนึ่งได้พยายามบุกรุกเข้าไปยังโรงเรือนล้างหมึกของวัลลี ซึ่งมีเพียงประตูไม้สังกะสีกั้นไว้ พร้อมกับข่มขู่ลูกจ้างที่ทำงานที่ทำงานอยู่ว่าให้ระวังตัวไว้ หลังจากที่เคยมีกรณีเช่นนี้ก่อนหน้าแล้วครั้งหนึ่ง ทำให้วัลลีต้องต่อสู้ชีวิตในอีกรูปแบบหนึ่ง “เมื่อก่อนเราเข้ามาทำอาหารทะเล ก็มาทำโล้งหรือโรงเรือนข้างบ้านเกิดหลังเดิมที่ยังอยู่ถึงปัจจุบัน อาศัยอยู่กับแฟนและลูกสองคน เลยใช้บ้านเป็นสำนักงานในการติดต่อธุรกิจ แต่มีปัญหาเรื่องใกล้บ้านคนอื่นและการขนส่งไม่สะดวก จึงตัดสินใจย้ายไปสร้างโรงเรือนอยู่ในที่ดินแปลงหนึ่งขนาด 100 ตารางวาที่ซื้อไว้ตั้งแต่ทำงานธนาคาร แล้วมีปัญหาโดนกลั่นแกล้งตลอด” วัลลียอมรับว่าการทำธุรกิจด้านอาหารทะเลอาจส่งกลิ่นรบกวนชาวบ้านบ้าง แต่ได้พยายามแก้ไข โดยปรึกษาสาธารณสุขโดยตลอด พร้อมยอมลงทุนทำบ่อบำบัดน้ำเสียถึง 4 บ่อ แต่ในอีกด้านหนึ่ง กลับถูกร้องเรียนว่าปล่อยน้ำเสียไปทำลายสภาพแวดล้อม
หนูไม่ได้ทำอะไรผิด ไม่คิดว่าทำให้ใครเดือดร้อน...หนูเสียใจ ชื่อเสียงหนูเสียหาย หนูรู้สึกว่าไม่ยุติธรรม” ทุกข์ที่วัลลีระบาย ทะลักไหลเหมือนสายน้ำ น้ำเสียงเธอเศร้าสร้อย ในสายตาเพื่อนบ้าน ภาพนายทุนของวัลลี รวมกับ “บุญเรือน” สามีนายตำรวจยศนายพัน ขยับตัวทำอะไร ก็จะถูก เหมาว่าใช้อำนาจ
หรืออาจเพราะการดิ้นรนต่อสู้ที่ต้องอาศัยแรงกายแรงใจมากขึ้น ทำให้ทุกชีวิตต้องดิ้นรนต่อสู่ต่อไป เฉกเช่นชีวิตของวัลลีที่ต้องต่อสู้บนเส่นทางธุรกิจอย่างมิรู้จักเหน็ด เหนื่อย นอกจากจะทำธุรกิจด้านอาการทะเลแล้ว ตกเย็นยังไปขายก๋วยเตี๋ยวอีกด้วย โดยขายตั้งแต่เย็นจนดึกดื่น “ถือว่าเรายังไม่ประสบความสำเร็จ เพียงแต่ว่าเราอาจผ่านจุดที่ว่า จากไม่เป็นอะไรเลย จากศูนย์ ขึ้นมาตั้งไข่ เหมือนคนหัดคลาน หัดเดิน หัดยืน เราอาจเพิ่งตั้งไข่ เพราะทำธุรกิจไม่มีใครบอกได้ว่า จะประสบความสำเร็จอย่างไร เราไม่รู้ว่าวันไหนเราจะเจออะไรบ้าง แต่ก็คงทำธุรกิจต่อไป ต้องดูแลลูก ดูแลครอบครัว เราอายุแค่นี้ ยังต้องทำงานอีกเยอะ เรื่องแค่นี้ไม่ทำให้เราล้มหรอก” นี่คือวันนี้ของวัลลีในวัย 37 ปี เธอยังเชื่อมั่นว่า ‘สถาบันครอบครัว’ คือกุญแจสำคัญที่จะสร้างสรรค์สังคมให้ก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างมีคุณภาพโดย ยึดหลัก ‘ความกตัญญู’ เป็นที่ตั้ง ดังเช่นที่ทำมาตั้งแต่วัยเด็กและเท่าถึงทุกวันนี้
ที่มา
http://atcloud.com/stories/24741