สาคู
ชื่อพื้นเมือง : สาคู
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Metroxylon sagus Rottb. ( ชนิดยอดแดง )Metroxylon rumphii Mart. ( ชนิดยอดขาว )
ชื่อวงศ์ : Palmae
ชื่อสามัญ : Sago Palm
ถิ่นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ลักษณะลำต้น : สาคูเป็นพืชจำพวกปาล์ม เมื่อเล็กลำต้นจะทอดขนานกับพื้นดิน
ต่อมาลำต้นจะตั้งตรง เมื่อโตเต็มที่สูงประมาณ 15 เมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 45 60 เซนติเมตร
ใบ : เป็นใบประกอบรูปขนนก มีใบย่อยมาก คล้ายใบมะพร้าว แต่มี
ขนาดใหญ่กว่าและหนากว่า ทางใบมีความยาวประมาณ 4 5 เมตร
กว้างประมาณ 2 3 เมตร ตรงก้านใบมีปมเป็นเสี้ยนตลอดก้าน
ดอก : มีช่อดอกแตกตรงส่วนยอดคล้ายเขากวาง ชาวบ้านเรียกว่า แตกเขากวาง
มีสีน้ำตาลแดง ออกดอกเมื่อต้นสูงประมาณ 8 10 เมตร
ผล : มีลักษณะเป็นทะลาย รูปผลกลม มีเปลือกเป็นเกล็ดเล็ก ๆ หุ้มไว้
ผลสุกมีสีน้ำตาล
* เมื่อสาคูออกดอกและผล ต้นสาคูจะตายและแตกต้นอ่อนขึ้นมาแทน
การกระจายพันธุ์
เจริญเติบโตได้ดีในที่ลุ่มมีน้ำขัง ป่าพรุ อากาศแบบร้อนชื้น ฝนตกชุก จึงเหมาะกับสภาพพื้นที่ของภาคใต้
การขยายพันธุ์
ขยายพันธุ์ด้วยการแตกหน่อจากรากเหง้าของต้นเดิม และการเพาะเมล็ด
ประโยชน์
1. ใบสาคู ใช้เย็บเป็นจากมุงหลังคาบ้านหรือฟาร์มเลี้ยงสัตว์
ซึ่งมีความทนทานกว่าใบของพืชชนิดอื่น ๆ ปัจจุบันจากสาคูที่ชาวบ้าน
เย็บขายในจังหวัดพังงา มีราคาตับละประมาณ 7 10 บาท
2. ยางสาคู ใช้แทนกาวปิดกระดาษสำหรับทำว่าวของชาวชนบท
โดยนำทางสาคูมาตัดส่วนกลางออกเป็นท่อน ๆ จะมียางใสไหลออกมาจากรอยตัด
3. ต้นสาคู ใช้เป็นอาหารเลี้ยงหมู ไก่ และเป็ด โดยใช้ลำต้นของสาคู
ที่มีอายุมากหรือสูงเกิน 7 เมตรขึ้นไป มาตัดเป็นท่อนเล็ก ๆ
เพราะต้นสาคูที่มีอายุมากไส้ในของลำต้นจะมีแป้งอยู่มาก ใบสั้น
และเปราะ จึงไม่เหมาะที่จะนำไปเย็บจาก
ที่มา
http://61.19.27.150/~library/libra/sago.htm