รูแล้วแหละ
------------------------------------------
ปลากือเลาะห์ ปลาพลวงชมพู
ปลากือเลาะห์ หรือ ปลาพลวงชมพูมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tor douronensis. (Cuv & Val) (Smith.1945) เป็นปลาที่
อยู่ ในตระกูลเดียวกับปลาเวียนและปลาพลวงหิน ในท้องถิ่นภาคใต้ตอนล่างจะเรียกปลาชนิดนี้ว่า อีแกกือเลาะห์ เนื้อมีรสชาติดี
ในปลาขนาดใหญ่สามารถรับประทานได้ทั้งเกล็ด มีแหล่งอาศัยอยู่บริเวณแหล่งน้ำไหลต้นแม่น้ำ โดยเฉพาะบริเวณต้นน้ำอ่างเก็บ น้ำเขื่อนบางลาง จ.ยะลา
ซึ่งเป็นพื้นที่ที่พบปลาชนิดนี้อยู่มาก แต่การรวบรวมยังไม่สามารถทำได้สะดวก เนื่องเพราะพื้นที่ดังกล่าว
จำเป็นต้องเดินทางด้วยเท้าในป่า ซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยจากการก่อการร้าย
สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดยะลา ได้ทำการรวบรวมปลาชนิดนี้ไว้จำนวนหนึ่งเพื่อทำการศึกษาชีววิทยาและเพาะขยายพันธุ์
ลักษณะทั่วไปของปลากือเลาะห์ มีลำตัวเรียวยาว แบนข้างเล็กน้อย ปลายจมูก(snout)เป็นโหนก ปากอยู่ด้านล่างรูปเกือกม้า
ขากรรไกรบนแข็งแรงและยืดหดได้ ริมฝีปากหนาติดต่อกันทั้งบนและล่าง ที่ริมฝีปากล่างอาจเจริญขึ้นเป็นพูตรงกลาง(Medianlobe)
มีหนวด 2 คู่ อยู่เหนือขากรรไกรบน 1 คู่ และที่ริมฝีปากบนก่อนถึงมุมปาก 1คู่ มีเกล็ดที่เส้นข้างลำตัว 21-28 เกล็ด ไม่มีร่องรับ
ความรู้สึกที่หัว มีฟันที่หลอดคอ (Pharyngeal teeth)
ฐานครีบหลังจะเริ่มตรงกับเกล็ดที่ 6-7 บนเส้นข้างลำตัว ก้านครีบหลังที่ 3 ในส่วนที่เป็นกระดูกค่อนข้างแข็ง ครีบก้นตัด
(truncate) มีขนาดเล็กกว่าครีบหลัง ครีบหางเป็นง่าม เว้าลึกแหลม ที่รอบคอดหางมีเกล็ด 12 เกล็ด เกล็ดใหญ่สีเงิน
ที่ฐานเกล็ดดำและที่ขอบเกล็ดค่อนข้างดำ เกล็ดบริเวณหลังสีเข้มกว่าบริเวณท้อง ที่ครีบจะมีสีแดงส้มปนดำเล็กน้อย
http://www.fisheries.go.th/sf-yala/thanto5.htmlว้า แย่จัง รู้ซะแล้ว