คนกินด้วงควังทางเด๋ การเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจ ทางภาคใต้ (ด้วงสาคู)
ต้นสาคู หรือเป็นปาล์มชนิดหนึ่งที่พบมากในเขตภาคใต้เช่น พังงา สงขลา นครศรีธรรมราช ตรัง
พัทลุง สาคู ต้นสาคูแก่สังเกตได้จากดอกของต้นงอกขึ้นที่ยอด สามารถนำมาแปรรูปเป็นแป้งสาคูได้ถึง
ต้นละประมาณ100 กก.แป้งสาคูใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารหรือใช้ทำขนมได้หลายชนิด เช่น ลอดช่อง
คุกกี้ ขนมจีน ฯลฯ รสชาติขนมที่ทำจากแป้งสาคูจะเหนียวนุ่มไม่ติดฟนั และให้เส้นใยสูง กรรมวิธีการแปรรูปแป้งสาคู
ต้นลานหรือไม้ลาน เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่อยู่ในตระกูลปาล์ม เป็นพันธุ์ไม้ดึกดำบรรพ์ ที่ไม่ขึ้น
แพร่หลายนัก มีถนิ่ กำเนิดในอเมริกาและแถบเมดิเตอร์เรเนียน ส่วนใหญ่จะชอบขึ้นอยู่ในที่มีอากาศชื้นเย็น
มีฝนตกมาก ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีที่สุด ในดินที่มีความชื้นสูง ดินมีการระบายน้ำได้ดี ไม่ชอบน้ํ
ขัง ต้นลานมีความคงทนต่อภัยธรรมชาติเป็นอย่างดี ต้นเล็กถึงแม้จะถูกไฟไหม้ก็จะงอกขึ้นได้ในโอกาส
ต่อไป เพราะรากของต้นลาน ฝงั ลงในดินลึกมาก
ต้นลานที่พบในประเทศไทยมี 3 ชนิดคือ 1. Corypha umbraculifera Linn พบมากทางภาคเหนือ
เรียกว่า "ลานหมื่นเถิดเทิงหรือลานวัด" นิยมปลูกตามวัดต่าง ๆ แต่มีน้อย มีถนิ่ กำเนิดในประเทศศรีลังกา
และถือว่าเป็นต้นไม้ประจำชาติด้วย 2. Corypha lecomtei Becc ชนิดนี้เองที่มีที่อุทยานแห่งชาติ ทับลาน
เป็นพันธุ์ไม้พื้นเมืองดัง้ เดิมของไทย มีชื่อเรียกว่า "ลานดำ ลานขาว ลานพร้าว" นิยมใช้ใบทำเครื่องจักรสาน
3. Corypha elata Roxb หรือลานพรุ มีถิ่นกำเนิดในเบงกอล พม่า อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ในประเทศไทยพบ
มากทางภาคใต้
ต้นสาคูและต้นลานในภาคใต้ปจั จุบันนี้ได้ลำต้นมาใช้เลี้ยงด้วงสาคูที่นำมาเป็นอาหารของมนุษย์
โดยต้น ๆ หนึ่งสามารถนำเพาะเลี้ยงด้วงสาคู เป็นอาหารโปรตีนและทำรายได้ให้กับเกษตรกร
ด้วงสาคูเป็นสัตว์ชนิดหนึ่งจำพวกแมลงมันคือ ด้วงไฟ ทางภาคใต้เรียก ด้วงสาคู มันเป็น ด้วงงวง
ชอบชอนไชเข้าไปวางไข่ แล้วทำลายลำต้น จนอาจทำให้ต้นไม้ยืนตายได้ ในทางการเกษตรด้วงสาคูเป็น
แมลงศัตรูต้นปาล์มชนิดหนึ่งแต่สามารถนำมาใช้เป็นประโยชน์ที่เป็นอาหารของมนุษย์ได้ เรมิ่ แรก นำใย
มะพร้าวสดวางคลุมท่อนสาคู/ลาน จากนั้น ใส่พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ด้วงสาคูลงไป ลำต้นของสาคู/ลาน ที่อุดม
ไปด้วยอาหารของด้วง ส่วนปลายหรือโคนที่ใช้ประโยชน์อย่างอื่นไม่ได้ เมื่อยางและส่วนในลำต้นหายไป
หมดแล้ว จะมีตัวด้วงไซซอน เข้าไปวางไข่ และเจริญเป็นตัวดักแด้ซึ่งมีปลอกหุ้ม ขนาดปลอกยาว 5-6 ซ.ม.
ตัวดักแด้ที่เกิดจากสาคู เรียกว่า "ด้วงสาคู" แต่ละตัวมีความยาว 4 - 5 ซ.ม.ได้ประมาณเท่าหัวแม่มือ มีสี
น้ำตาลอ่อน ใช้ระยะเวลาเลี้ยงประมาณ 60 -75 วัน นำไปต้มเกลือเป็นอาหารเลิศรส รับประทานจะมีรสชาติ
อร่อย นิ่มและมีรสมันมาก ชาวบ้านบางคนนำด้วงสาคูที่ต้มเกลือแล้ว รับประทานกับข้าวเหนียวรสชาติ
ดีกว่า รับประทานกับเนื้อ แถมขายได้ราคาดี กิโลกรัมละ 150 - 200 บาท ตัวอ่อนของแมลงที่อยู่ในต้นสาคู
ได้ประมาณ 10-13 กก สร้างรายได้ประมาณ 1,500 2,000 บาท ต่อต้น
สนใจการเลี้ยงติดต่อได้ที่ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร(ผึ้ง) จังหวัดชุมพร โทร.077-574519
ผู้เรียบเรียง นายสมศักดิ ์กรุดพันธุ์ นายสุทธิชัย สุทธิวราภิรักษ์ นายนิพนธ์ เดชะ
กลุ่มส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งและแมลงเศรษฐกิจ ส่วนส่งเสริมสินค้าเกษตร
สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร โทร. 02-9406102
เอกสารอ้างอิง
จากเอกสารของอุทยานแห่งชาติทับลาน/เวปไซด์โรงเรียนวัดนิโครธาราม จังหวัดสงขลา/เวปไซด์จังหวัดพัทลุง
http://www.trekkingthai.com/สำนักหอสมุดและศูนย์สารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
http://www.doae.go.th/servicelink/book%20PDF/domestic%20animal/d013.pdf