ฟีโรโมน จริงๆ
แปลว่าไรยะ
ตามดมฉ็องครับ
สงสัยคนโพสน์ ยังมีสัญชาต"งัว"ติดอยู่เล้ย
http://inscience.tripod.com/scilove.htm มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์อยู่หลายชิ้น ที่กล่าวถึงการส่งข้อความ หรือข่าวสารผ่านทาง สาร เคมีที่หลั่งออกมาในสัตว์ต่าง ๆ เพื่อเป็นการสื่อสาร ระหว่างสมาชิกในพงศ์พันธุ์ของพวกมัน ในเรื่องของ การบอกแหล่งที่พบอาหาร การแสดงความมีอำนาจ การแสดงอาณาเขต รวมไปถึง การบ่งบอกความต้องการกิจกรรมทางเพศ สารเคมีที่ว่านี้เป็น สารสื่อสัมพันธ์ ที่ถูกปล่อยออก มาเพียงเล็กน้อย และแทบจะมองไม่เห็น
มันคือสารเคมีที่มีชื่อเรียกว่า ฟีโรโมน (pheromone) การสังเกตการสื่อสาร ผ่านทางสารเคมีในสัตว์เป็นครั้งแรก ทำโดยนักธรรมชาติวิทยาชาว ฝรั่งเศสที่ชื่อ Jean-Henri Fabre ในช่วงปี พ.ศ. 2413-2422 โดย Fabre พบว่า เมื่อเขาจับผีเสื้อกลางคืนตัวเมีย มาขังไว้ในกรงภายในห้องปฏิบัติการ จะมีผีเสื้อกลางคืนตัวผู้ บินทางไกลมา หลายกิโลเมตร เพื่อเข้ามาทักทายกับผีเสื้อกลางคืนตัวเมียที่ถูกขังไว้นี้ Fabre จึงตั้งข้อสงสัยว่า ผีเสื้อกลางคืนตัวเมีย อาจจะปล่อยกลิ่นบางอย่าง เพื่อดึงดูดผีเสื้อกลางคืนตัวผู้มา แต่ Fabre ก็ ไม่ได้ทำการทดลองอะไรต่อ เพื่อพิสูจน์ข้อสงสัยนี้
ต่อมาในปี พ.ศ. 2502 นักเคมีชาวเยอรมันชื่อ Adolf Butenandt ได้ตรวจสอบ แอลกอฮอล์ชนิดหนึ่ง พบว่าเป็นสารดึงดูด ในตัวไหมของผีเสื้อกลางคืน การค้นพบนี้ ปูทางไป สู่การวิจัยในเรื่องของฟีโรโมนในเวลาต่อมา ทำให้นักกีฏวิทยาพบว่า การสื่อสารผ่านทาง ฟีโรโมนนั้น เป็นเรื่องธรรมดา ๆ ในสังคมแมลง ไม่ว่าจะเป็นผีเสื้อกลางคืน มด ปลวก หรือผึ้ง
ไม่เพียงแต่ในแมลงเท่านั้น Charles Wysocki นักประสาทวิทยาแห่ง Monell Chemical Sense Center ในฟิลาเดเฟียยังกล่าวว่า ในสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำบางชนิด สัตว์ เลื้อยคลาน และในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมส่วนใหญ่ จะพบอวัยวะส่วนที่เรียกว่า vomeronasal organ หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า VNO ในโครงสร้างของจมูก Wysocki ได้ใช้เวลากว่า 20 ปีในการศึกษาโครงสร้าง และติดตามการทำงานของ VNO ในสัตว์หลายชนิด จนพบว่า สัตว์หลายชนิดมี VNO ที่ต่อสายตรงไปสู่สมอง ส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเร่าร้อนทางอารมณ์ ความรู้สึก และความจำ รวมทั้งยังต่อไปสู่สมองส่วนไฮโปทาลามัส อันเป็นสมองส่วนที่ ไม่เพียงแต่เป็น ศูนย์ควบคุมระบบประสาทอัตโนมัติ อย่างเช่น ควบคุมการเต้นของหัวใจ ควบคุมอุณหภูมิของ ร่างกาย ควบคุมการหลั่งฮอร์โมนของต่อมใต้สมอง แต่ยังรวมไปถึง การตอบสนองต่อความกลัว ความอยากอาหารด้วย จึงมีการสันนิษฐานกันว่า VNO นี้น่าจะเป็นส่วนที่รับรู้ข่าวสารต่าง ๆ จากฟีโรโมน ที่ผ่านมาตามอากาศเข้าสู่จมูก และไปยังสมอง
สำหรับในมนุษย์นั้น ยังมีข้อถกเถียงในเรื่องของ VNO เนื่องจากนักวิทยาศาสตร์ พบว่า ส่วนของ VNO ในมนุษย์จะพบในช่วงวัยที่เป็นตัวอ่อน แต่ไม่พบในช่วงวัยผู้ใหญ่ นั่นแสดงว่า VNO อาจเป็นอวัยวะที่หดหายไปตามกาลเวลา อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มมี ความคิดว่า VNO อาจมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างตัวเอง หรือบางที การรับรู้ฟีโรโมนของมนุษย์ อาจทำได้ โดยไม่จำเป็นต้องมี VNO ก็ได้ เพราะตัวรับกลิ่นเล็ก ๆ ภายในเนื้อเยื่อของจมูกที่เรียก ว่า olfactory epithelium นั้นก็สามารถตรวจจับสารเคมีที่มาตามอากาศ ผ่านทางเส้นประสาทที่ เชื่อมต่อไปสู่เส้นประสาทที่กะโหลกศีรษะคู่ที่ห้า (trigeminal nerve) ซึ่งสามารถรับรู้สารเคมีที่ ผ่านเข้ามาในช่องปาก และจมูกได้ และเมื่อเร็ว ๆ นี้ นักวิทยาศาสตร์ยังพบเส้นประสาทส่วน ที่เรียกว่า เส้นประสาทส่วนปลาย (nervus terminalis) ที่เชื่อมต่อกับจมูก และฐานสมองส่วนหน้า ซึ่งเส้นประสาทนี้ก็สามารถนำสัญญาณต่าง ๆ ที่ได้รับไปสู่สมองได้ ทั้งหมดนี้จึงพอกล่าวได้ว่า มนุษย์เราก็มีความสามารถ ในการรับรู้ข่าวสารจากฟีโรโมน ที่มีผลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ได้ใน ทางใดทางหนึ่งเช่นกัน ดังนั้น หากเมื่อฟีโรโมน สามารถส่งผลต่อพฤติกรรมสัตว์ต่าง ๆ ดังเช่น ที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว ทำไมมันจะมีผลต่อมนุษย์บ้างไม่ได้ล่ะ?
--------------------------------------------------
http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Pid=39804&page=1ฟีโรโมน PHREROMONE เป็นคำที่มาจาก คำภาษากรีก 2 คำรวมกัน คือคำว่า PHEREIN ซึ่งแปลว่า นำมาหรือส่งต่อไปให้ และ HORMON ซึ่งแปลว่า ตื่นเต้น ตื่นตัว รวมกันแล้ว จึงแปลว่า นำเอาความตื่นเต้นมาให้ ความตื่นเต้นอะไรน่ะหรือครับ ก็ความตื่นเต้นของคู่ซิครับ ตื่นเต้นในความรัก ตื่นเต้นที่จะได้มีการเจริญพันธุ์ เป็นที่ทราบกันมานานแล้วว่า สัตว์ทุกชนิดในห้วงเวลาที่มีการเจริญพันธุ์นั้นจะมีการหลั่งสารชนิดหนึ่งออก มา สารดังกล่าวเรียกขานกันว่า ฟีโรโมน ส่วนมากแล้วจะหลั่งออกมาจากเพศเมีย เพราะต้องการเรียกให้ตัวผู้มาทำการผสมพันธุ์จะได้เจริญเผ่าพันธุ์ต่อไป ไม่สูญพันธุ์ไปเสียก่อน ต่อมาก็พบว่า ปลาบางชนิดมีสารฟีโรโมนดังกล่าวด้วยเช่น ปลาฉลาม และปลาแซลมอน ในสัตว์บกนั่นพบเกือบทุกชนิด และไม่เว้นแม้แต่สัตว์ปีกตัวเล็กๆ เช่น ตั๊กแตน ผีเสื้อ แต่ไม่พบในนก
โดยปกติแล้วฟีโรโมนเป็นสารที่ระเหยได้ และสร้างออกมาจากเพศหนึ่ง เพื่อกระตุ้นอีกเพศหนึ่งให้เกิดอารมณ์รักใคร่อยากจะได้ไว้เป็นคู่ ฟีโรโมนออกฤทธิ์อย่างแรงในการกระตุ้นอารมณ์และความรู้สึกรักใคร่ อยากเป็นของกันและกันให้มากขึ้น ในเผ่าพันธ์เดียวกันนะครับ รับรองว่าฟีโรโมนของคุณไม่สามารถไปกระตุ้นม้าหรือช้างให้รักคุณได้เด็ดขาด
เชื่อไหมครับ เวลาเขาพูดกันถึง ฟีโรโมน นั้นมักจะเรียกกันว่า กลิ่นเรียกรัก แต่โดยแท้ที่จริงแล้ว ฟีโรโมนนั้นไม่มีกลิ่นที่รับรู้ได้จากทางจมูกหรอกครับ แต่กลิ่นที่ไม่มีกลิ่นดังกล่าว (อ่านแล้วงงไหมครับ) ที่เรียกว่า ฟีโรโมน นั้นจะรับรู้ได้จากสมอง ฟีโรโมนนั้น หลั่งออกมาเพียงน้อยนิด ก็สามารถที่จะเรียกคู่ได้จำนวนมหาศาล โดยปกติแล้ว
ฟีโรโมน มักจะหลั่งออกมาจากเพศหญิงเพื่อที่จะให้ชายมาหลงรัก จำได้นะครับว่า ฟีโรโมนแท้นั้นไม่มีกลิ่น ดังนั้น รับรองว่าไม่ใช่กลิ่นที่เรียกว่าสาบสาวอย่างเด็ดขาดเป็นที่เชื่อกันมานานแล้วว่า สัตว์เพศผู้ทั้งหลายมีตัวรับกลิ่นเสน่ห์ หรือฟีโรโมนดังกล่าวอยู่ในสมองจึงสามารถที่จะหลงเสน่ห์เพศเมียได้ ในขณะที่สัตว์เพศเมียไม่มีตัวรับกลิ่นดังกล่าว จึงไม่มีการหลงเสน่ห์ตัวเอง