ตอบก่อนลุงตุ้มคร้าบ
ออฟติคอลซูมคือการซูมด้วยเลนส์ที่เคลื่อนที่ในกระบอกข้าวหลาม
ส่วนซูมดิจิตอลคือการซูมด้วยโปรแกรมในตัวกล้อง การซูมด้วยดิจิตอลจะทำให้ภาพแตกมากขึ้นคร้าบ
เช็นเซอร์ต้องยิ่งใหญ่ยิ่งดีคร้าบ
ความรู้แบบพองูๆปลาๆคร้าบ
ขอบคุณครับน้าวัตน์ ไอ้เซ็นเซอร์รับภาพที่ว่ายิ่งใหญ่ยิ่งดีนี่หมายถึงตัวเลขยิ่งมากหรือป่าวครับ เช่น 1/ 2.5 ดีกว่า 1/ 1.6 ใช่ป่าวครับ
ตามนี้เลยคร้าบน้า
โดยทั่วไปขนาดของเซ็นเซอร์จะเขียนในรูปเศษส่วน เช่น 1/1.8 หรือ 2/3 ซึ่งมักเข้าใจกันว่าเป็นความยาวของเส้นทแยงมุม แต่จริงๆแล้วเป็น Type หรือชนิดของเซนเซอร์ ที่ใช้ขนาดที่ต่างกันเป็นตัวแบ่ง ขนาดตามเส้นทแยงมุมจริงๆ จะเล็กกว่าขนาดของ Typeอยู่นิดหน่อยโดยที่ เส้นทแยงมุมของเซ็นเซอร์จะมีขนาดประมาณ 2/3 ของขนาดแบบเศษส่วนหรือ Type นั้นๆ
ที่มาของขนาดเซ็นเซอร์แบบเศษส่วน (Type) มาจาก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางวงกลมที่เป็นพื้นที่รับภาพของหลอดภาพกล้องโทรทัศน์ตั้งแต่ยุค 50 มีการเรียกขนาดมาตรฐานเป็นขนาดต่างๆ เช่น 1/1.8 หรือ 2/3 ต่อมาวิศวกรก็ค้นพบว่าพื้นที่ๆใช้งานได้จริงๆ มีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงประมาณ 2/3 ของขนาดวงกลมเท่านั้น ขนาดของเซ็นเซอร์กล้องดิจิตอลจึงเล็กกว่าขนาดวงกลม แต่ยังคงเรียกขนาดตามแบบเดิม
เป็นที่รู้กันว่า ตัวรับภาพของกล้องดิจิตอลทำหน้าที่แทนฟิล์ม มีขนาดต่างกันไปตามแต่ละรุ่น แต่ที่แน่ๆ เล็กกว่าแผ่นฟิล์มทั่วไปขนาด 35มม.
Compact camera 3-5mp
DSLR 6mp
ขนาดของเซ็นเซอร์ เทียบกับขนาดของฟิล์ม ซ้ายมือเป็นขนาดของเซ็นเซอร์กล้องคอมแพค ความละเอียด 3-5 ล้านพิกเซล ขวามือเป็นขนาดของเซ็นเซอร์กล้อง DSLR 6 ล้านพิกเซล จะเห็นว่า กล้องดิจิตอลมีเซ็นเซอร์เล็กกว่าฟิล์มมาก และกล้องคอมแพคก็มีขนาดเล็กกว่า DSLR มาก ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่กล้อง DSLR มีราคาแพงกว่าและให้คุณภาพรูปดีกว่ากล้องคอมแพคทั่วไป
โดยทั่วไป เรามักเทียบคุณภาพของกล้องดิจิตอลจากจำนวนพิกเซล เช่น รุ่นนั้น 10 ล้านพิกเซล รุ่นนี้ 7 ล้านพิกเซล พิกเซลยิ่งมากก็ยิ่งดี แต่ในความเป็นจริง จำนวนพิกเซลเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น คุณภาพของรูปด้านอื่นๆที่เราต้องพิจารณา
ปกติแล้ว ขนาดเซนเซอร์ที่ใหญ่ขึ้นก็มักมากับพิกเซลที่ใหญ่ขึ้น ลองนึกภาพเซนเซอร์ตัวเล็กๆที่มีพิกเซล 10 ล้านตัวอยู่ ขนาดของแต่ละพิกเซลก็คงต้องเล็กมากๆ แถมยังเบียดเสียดยัดเยียดกัน ถ้าเซนเซอร์มีขนาดใหญ่ขึ้น แต่ยังมี 10 ล้านพิกเซลเท่าเดิม ขนาดของแต่ละพิกเซลก็จะใหญ่ขึ้น ซึ่งส่งผลถึงปริมาณโฟตอน (แสง) ที่สามารถรับได้ในแต่ละพิกเซล ซึ่งส่งผลถึง Dynamic Range และ Noise Level ของภาพ
Noise Level : สัญญาณรบกวนจากต่างดาว
เป็นสัญญาณรบกวนที่ปรากฏในภาพ เห็นเป็นจุดหลากหลายสีกระจายสม่ำเสมอตามในรูปตัวอย่าง
noise น้อย noise เยอะ
การที่มีพิกเซลจำนวนมากๆ อยู่บนพื้นที่จำกัดทำให้พิกเซลแต่ละพิกเซลมีขนาดเล็กลง ปริมาณโฟตอนที่รับได้มีน้อย ค่า Signal to Noise ก็จะสูง และการที่พิกเซลเบียดกันมากๆ จะทำให้เกิดความร้อนและสัญญาณระหว่างแต่ละพิกเซลกวนกันทำให้เกิด noise ได้เช่นกัน โดยเฉพาะการถ่ายที่ๆแสงน้อย จะเห็นได้ง่ายขึ้น
Dynamic Range
Dynamic Range หรือช่วงการรับแสง หมายถึงความกว้างของระดับแสงที่หลากหลายที่กล้องจะเก็บได้ ถ้า Dynamic Range สูง ภาพที่ได้จะมีรายละเอียดของแสงทุกระดับ ตั้งแต่สว่างถึงเงามืด ถ้า Dynamic Range ต่ำ ภาพส่วนเงามืดอาจไม่เห็นรายละเอียด เห็นแต่สีดำๆ ส่วนสว่างก็อาจเห็นเป็นสีขาวโพลน ไม่มีรายละเอียด ถ้าอธิบายได้ด้วยรูปภาพจะเข้าใจง่ายกว่า
ภาพแรก Dynamic Range ต่ำ จะเห็นว่าท้องฟ้าค่อนข้างขาวโพลน ไม่มีรายละเอียด ส่วนเงาก็จะไม่เห็นความแตกต่างสี เห็นเป็นสีดำๆ
ภาพนี้ Dynamic Range สูง ส่วนสว่างหรือมืด ก็จะเห็นรายละเอียดสีชัดเจนกว่า
พิกเซลที่ใหญ่ขึ้นจะให้ความแตกต่างของปริมาณโฟตอนระหว่างแสงมืดกับแสงสว่างได้มากกว่าทำให้แยกแยะความแตกต่างได้ชัดเจนขึ้น ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ สมมุติพิกเซลเป็นบ่อน้ำ แสงหรือโฟตอนเป็นน้ำฝนที่ตกลงมา ถ้าบ่อใหญ่ๆ แถวไหนฝนน้อย น้ำก็จะน้อย ฝนมากน้ำก็จะเกือบเต็ม ฝนกลางๆ น้ำก็กลางๆบ่อ แต่ถ้าบ่อเล็ก ฝนตกน้อย น้ำก็น้อย แต่ฝนกลางๆ น้ำก็อาจเต็มบ่อ แล้วถ้าฝนหนักน้ำก็เต็มบ่อเหมือนกัน (เพราะล้น) เราไปดูที่บ่อเราก็จะไม่รู้ว่าบ่อที่น้ำเต็มบ่อไหนมีฝนลงมากกว่ากัน เพราะเต็มทั้งคู่ เหมือนกับการเห็นท้องฟ้าขาวไปหมด
สรุปว่า
พิกเซลเยอะ ความละเอียดสูง ขยายภาพหรือ crop ภาพได้ดี
ขนาดเซนเซอร์ใหญ่ Noise ลดลง Dynamic Range สูงขึ้น
เป็นที่มาที่ทำให้กล้อง DSLR ความละเอียด 6 ล้าน ให้ภาพที่สวยกว่ากล้องคอมแพคความละเอียด 10 ล้านพิกเซล