เอามาฝากลุงดุลแหละพี่น้องทุกท่านครับ........
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%83%E0%B8%9Aจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สำเนียงตากใบภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงตากใบ หรือภาษาเจ๊ะเห เป็นภาษาไทยถิ่นใต้กลุ่มหนึ่ง ที่พูดกันมากตั้งแต่อำเภอปานาเระ อำเภอสายบุรีของจังหวัดปัตตานี ลงไปจนถึงชายแดนไทย-มาเลเซียฝั่งตะวันออก โดยเฉพาะอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส รวมถึงในเขตอำเภออื่นๆ ของจังหวัดนราธิวาสด้วย นอกจากนี้ ภาษาเจ๊ะเห ยังใช้พูดกันในกลุ่มคนมาเลเซียเชื้อสายไทยในรัฐกลันตันของมาเลเซียด้วย ถือเป็นภาษาไทยถิ่นใต้ที่มีเอกลักษณ์พิเศษ มีการคำที่แตกต่างจากภาษาไทยถิ่นใต้ทั่วไปค่อนข้างมากคำพูดและสำเนียงภาษา ได้สร้างความพิศวงแก่ชาวใต้ด้วยกันเองรวมไปถึงชาวไทยกลุ่มอื่นด้วย คือสำเนียงพูดเสียงชาวใต้ผสมกับภาษากับภาษาไทยถิ่นเหนือ เช่นถ้าชาวตากใบถามว่ามาทำไม เขาจะพูดว่า ”มาเยียได” ปลายประโยคทอดเสียงยาวว่า “มาเยียด้าย”
เนื้อหา
* 1 ประวัติ
* 2 ลักษณะของภาษา
* 3 ชื่อของภาษา
* 4 ตัวอย่างคำ
o 4.1 ทิศ
o 4.2 คำศัพท์ที่ใช้เรียกผลไม้
o 4.3 คำศัพท์เกี่ยวกับวัด
o 4.4 ตัวอย่างคำประสม
o 4.5 ตัวอย่างคำนาม+กริยา
o 4.6 ตัวอย่างคำกริยา+คำนาม
o 4.7 ตัวอย่างคำกริยา+กริยา
o 4.8 คำยืมภาษาบาลี-สันสกฤต และภาษาเขมร
o 4.9 คำยืมภาษามลายู
o 4.10 คำยืมภาษาจีน
* 5 อ้างอิง
ประวัติ
มาร์วิน บราวน์ (Marvin Brown) ศึกษาภาษาถิ่นของไทยและให้ความเห็นว่าภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงตากใบมี วิวัฒนาการมาจากภาษาสุโขทัยโดยตรง ในตากใบเองก็มีตำนานที่เกี่ยวข้องกับเมืองเหนือ เช่น กรุงสุโขทัย จนทำให้ภาษามีเอกลักษณ์เฉพาะ ตำนานแรกเล่าว่าตากใบเคยอยู่ภายใต้การปกครองของสุโขทัย จึงมีขุนนางสุโขทัยเดินทางมาปกครองต่างพระเนตรพระกรรณ จึงสันนิษฐานว่ามีกำแพง และวัง หรือวัดปรักหักพังที่บ้านโคกอิฐ และเมื่อขุนนางสุโขทัยเดินทางมาที่ตากใบแล้วย่อมมีบริวารตามมาหลายคน ด้วยเหตุนี้เอง วัฒนธรรมภาษาพูดเมืองเหนือจึงผสมผสานกับภาษาชาวตากใบ และวัฒนธรรมอื่นๆ เช่น สถาปัตยกรรมในวัด ไม่ว่าจะเป็นวิหาร ศาลาการเปรียญ มีรูปแบบและศิลปะค่อนไปทางเหนือ ส่วนตำนานที่สองกล่าวถึงชาวสุโขทัยติดตามช้างเชือกสำคัญมาทางเมืองใต้ ในที่สุดมาตั้งหลักแหล่งที่ตากใบ เป็นที่น่าสังเกตว่ามีชื่อหมู่บ้าน และตำบลเกี่ยวข้องกับช้าง เช่น บ้านไพรวัลย์ มาจากคำว่า บ้านพลายวัลย์ สถานที่ช้างลงอาบน้ำ เดิมเรียก บ้านปรักช้าง ต่อมาเปลี่ยนเป็น ฉัททันต์สนาน ซึ่งเป็นชื่อวัดในหมู่บ้านนี้ เล่ากันว่ามีช้างสำคัญมาล้มที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ภายหลังเรียกว่า บ้านช้างตาย ปัจจุบันตั้งอยู่ในอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ปัจจุบันเรียกเป็นภาษามลายูว่า บ้านกาเยาะมาตี อีกตำนานหนึ่งเล่าว่า เมื่อครั้งทัพไทยสมัยโบราณยกไปตีหัวเมืองมลายู มีคนไทยลงมาตั้งหมู่บ้านคอยต้อนรับกันเป็นทอดๆ จะเห็นว่าปัจจุบันมีบางหมู่บ้านที่มีชาวบ้านพูดจาคล้ายๆเสียงของชาวตากใบ เช่นที่อำเภอปะนาเระ อำเภอสายบุรี ในจังหวัดปัตตานี และชาวบ้านในอำเภอสุไหงปาดี และอำเภอแว้ง ในจังหวัดนราธิวาส
ลักษณะของภาษา
ปัจจุบันมีคนพูดภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงตากใบ (เจ๊ะเห) มีผู้พูดภาษานี้คือชาวไทยพุทธในอำเภอมายอ อำเภอปะนาเระ อำเภอสายบุรี อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอกะพ้อ และอำเภอไม้แก่น ในจังหวัดปัตตานี ในอำเภอบาเจาะ อำเภอรือเสาะ อำเภอศรีสาคร อำเภอยี่งอ อำเภอเมือง อำเภอตากใบ อำเภอระแงะ อำเภอจะแนะ อำเภอสุไหงปาดี อำเภอแว้ง อำเภอสุคิรินในจังหวัดนราธิวาส [1] รวมไปถึงชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยที่อาศัยอยู่ในรัฐกลันตัน เช่น เมืองตุมปัต เมืองปาซีร์มัส เมืองโกตาบารู และเมืองปาซีร์ปูเตะห์ เป็นต้น จากการศึกษาความหนาแน่นของการใช้คำยืมและคำที่ใช้ร่วมกันกับภาษามลายูปัตตานีพบว่าพื้นที่ของภาษาถิ่นตากใบใช้ 78.25%[2] ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงตากใบยังแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มตากใบ และกลุ่มพิเทน ซึ่งภาษานี้พูดในอำเภอทุ่งยางแดง และกะพ้อในจังหวัดปัตตานี นอกจากนี้ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงตากใบยังมีความใกล้เคียงกับภาษาถิ่นสะกอม ที่ใช้ในอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ชื่อของภาษา
ภาษานี้เป็นภาษาที่มีผู้พูดอาศัยกระจายในวงกว้าง ชื่อเรียกของภาษานี้จึงมีให้เรียกต่างๆกันไปอย่าง ภาษาเจ๊ะเห มาจากชื่อตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงตากใบ เป็นคำเรียกในวงกว้าง ชี้เฉพาะว่าภาษานี้มีผู้พูดกลุ่มใหญ่อยู่ในอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส หรือภาษาตุมปัต ที่เรียกในกลุ่มชาวมาเลเซียเชื้อสายไทยในรัฐกลันตัน โดยเฉพาะที่เมืองตุมปัต ที่มีคนเชื้อสายไทยเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีเรียกตามท้องถิ่นอย่าง ภาษาสายบุรี เป็นต้น
ตัวอย่างคำ
* ดอย แปลว่า ตาย เช่น ดอยแล้ว (ตายแล้ว) นอนดอย (นอนตาย)
* อังกะปั๋ง แปลว่า งง
* ยะรัง แปลว่า ป่วย ป่วยไข้
* ฝากบ่าว แปลว่า การหมั้น
* อีหละ แปลว่า เกี้ยวพาราสี
* กล้วยหลา แปลว่า มะละกอ (ที่อำเภอสายบุรีเรียก กล่วยหล่า)
* ดอกไม้จันทน์ แปลว่า ดอกลีลาวดี หรือดอกลั่นทม
* ข้าวกระหยา แปลว่า ข้าวยำ
* แม่กระดอก แปลว่า โสเภณี
* แกแหร แปลว่า มะม่วงหิมพานต์ (ที่อำเภอสายบุรี เรียกแต๋แหร๋)
* จี้ไปเรไหน คือ จะไปเที่ยวที่ไหน (จี้ = จะ , เร = เที่ยว)
* ก่ะหรัด แปลว่า มาก เช่น ของพวกนี้แพงกะหรัด (ของเหล่านี้แพงมาก)
* จีใด๋ หรือ ยี่ใด๋ แปลว่า ทำไม เช่น จีใด๋ (ยี่ใด๋) เท่ม่ายห้อนจำ (ทำไมที่ไม่เคยจำ)
* ผ๋ะไหน๋ แปลว่า ยังไง เช่น ผะไหน๋เท่ม่ายโร้จักเท่จี่แล (ทำไมไม่รู้จักที่จะดู)
* วิมัง แปลว่า เป็นห่วง เช่น สาวิมังพี่น้องเท่โย้ปาหละ (รู้สึกเป็นห่วงญาติที่อยู่ปาลัส)
* ค๊ะแนแน แปลว่า วงศาคณาญาติ
* โย้ แปลว่า อยู่
* ม่ายไหร๋ แปลว่า ไม่เป็นไร
* ม่ายโร้ แปลว่า ไม่รู้
* ห่าม่าย แปลว่า ไม่มี
* ล่ะหมี๋ หรือล่ะมิ แปลว่า หรือยัง เช่น กินข้าวละหมี๋? (กินข้าวหรือยัง)
* ระแห้ก แปลว่า ขาด
* เริน แปลว่า บ้าน
* เพละ แปลว่า บูดู (ภาษาเก่าคนไม่นิยมใช้แล้ว)
* ต่ะหลาด แปลว่า ตลาด
* ท่าคลอง แปลว่า ฝั่งคลอง
* ห๊าดเล แปลว่า ทะเล
* ยาม แปลว่า นาฬิกา[3]
* กรด แปลว่าร่ม[4]
ทิศ
* ท่าต่ะอ๊อก แปลว่า ทิศตะวันออก
* ท่ากะเตาะก (ต.เต่า สระเอาะ ก.ไก่) แปลว่า ทิศตะวันตก
* ท่าหัวนอน แปลว่า ทิศใต้ (นิยมนอนหันหัวไปทางทิศใต้)
* ท่ากะตีน แปลว่า ทิศเหนือ (นิยมนอนหันเท้าไปทางทิศเหนือ)
คำศัพท์ที่ใช้เรียกผลไม้
* ยะหนัด แปลว่า สับปะรด
* กล้วยหลา แปลว่า มะละกอ (ที่อำเภอสายบุรี เรียกกล่วยหล่า)
* ซะหว่า แปลว่า ละมุด
* กาหยี๋ แปลว่า ลูกหยี๋
* ย่ามู แปลว่า ชมพู่
* ชมโพ่ แปลว่า ฝรั่ง
* ข้าหนุน แปลว่า ขนุน
* กะไต๋ แปลว่า สะตอ
* คะเนียง แปลว่า ลูกเนียง
* กะไต๋เบา แปลว่า กระถิน
* โลกขาม แปลว่า มะขาม
* ทะเรียน แปลว่า ทุเรียน
* แตงจีน แปลว่า แตงโม
* แตงใส่ปริ แปลว่า แตงไทย
* ลูกพรวน แปลว่า เงาะ
* ลูกปีหนี แปลว่า มะมุด
* โลกมู แปลว่า ชมพู่ และ ฝรั้ง (สุไหงปาดี)
คำศัพท์เกี่ยวกับวัด
* พ่อท่าน แปลว่า เจ้าอาวาส
* พ่อหลวง แปลว่า หลวงพ่อ
* ต๋น แปลว่า เรียกพระสงฆ์ ที่อายุน้อยกว่าผู้เรียก
* กะเต๊ะ แปลว่า กุฏิเจ้าอาวาส
[แก้] ตัวอย่างคำประสม
* ขี้ฝน แปลว่า เมฆ (คนใต้ทั่วไป เรียกขี้เมฆ)
* ลูกกะเสื้อ แปลว่า กระดุมเสื้อ
* ปลีแข้ง แปลว่า น่อง
* ลูกไฟ แปลว่า ถ่านไฟฉาย
ตัวอย่างคำนาม+กริยา
* คนจัด แปลว่า คนขยัน
* น้ำซ่า แปลว่า น้ำส้ม
* นกขี้คร้าน แปลว่า นกตบยุง
* ไฟบีบ แปลว่า ไฟฉาย
* แหล็กไฟ แปลว่า ไฟแช็ก
* แหล็กไฟรัง แปลว่า ไม้ขีด
ตัวอย่างคำกริยา+คำนาม
* คลุมกรด แปลว่า กางร่ม
* ปล้ำไม้ แปลว่า โค่นต้นไม้
* ใส่ลูกแป้ง แปลว่า ทาแป้ง
* ลอยช้อน แปลว่า ช้า ชักช้า
ตัวอย่างคำกริยา+กริยา
* นอนดอย แปลว่า นอนตาย
* นอนพาลน แปลว่า นอนพลิกไปพลิกมา
* นั่งแพงเชิง แปลว่า นั่งสมาธิ
คำยืมภาษาบาลี-สันสกฤต และภาษาเขมร
มีการยืมคำมาจากคำบาลี-สันสกฤต และเขมร ซึ่งในภาษาไทยเป็นคำราชาศัพท์ แต่ชาวตากใบเรียกใช้กับชาวบ้านทั่วไป
* อภิเษก แปลว่า แต่งงงาน
* บรรทม แปลว่า นอน
* ประสูติ แปลว่า เกิด
* สนับเพลา แปลว่า กางเกง
* สรงน้ำ แปลว่า อาบน้ำ
* หน้าเพลิง แปลว่า ไม้ขีดไฟ
คำยืมภาษามลายู
* กะปะ แปลว่า ขวาน
* โตหนัน แปลว่า คู่หมั้น
* บีดัน แปลว่า หมอตำแย
* บือจั๋น แปลว่า กะปิ
* ยามู แปลว่า ชมพู่
* คง หรือยะคง แปลว่า ข้าวโพด
* ลือโปะ แปลว่า ทุเรียนกวน
* สือหลุด แปลว่า ดินโคลน
* มูสัง แปลว่า ชะมด
* ตะหวาก แปลว่า กะแช่
* ดอดอย แปลว่า กะละแม (ชาวใต้ทั่วไปเรียกว่า ยาหนม)
* ชันชี แปลว่า สัญญา
* บือเกา แปลว่า ยาเส้น (มาจากคำว่า บาเกา)[5]
คำยืมภาษาจีน
* ผ้าปิ่นป้อ แปลว่า ผ้าเช็ดหน้า (มาจากภาษาจีนฮกเกี้ยนคำว่า บิ่นโป่ แปลว่าผ้าเช็ดหน้าเช่นกัน)[6]