เวียนกระบาล...รถสมัยนี้ระบบเยอะโคตรๆhttp://www.oknation.net/blog/tumcomputer/2009/05/21/entry-1มาทำความรู้จักกับตัวอักษรย่อของระบบรถ ยนต์สมัยใหม่
เชื่อได้เลยว่าหลายๆท่านที่มีรถยนต์หรือคนที่ ชอบรถคงจะมีข้อสงสัยใช่ไหมครับ กับตัวย่อต่างๆ เช่น ABS VVT-i ADD และมีอีกหลายตัวย่อที่หลายท่าน อาจจะยังไม่รู้ว่าชื่อเต็มๆ ของมันคืออะไร มีหน้าที่การทำงานอย่างไร แล้วทำไมรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ในปัจจุบันจึงต้องมี ถ้าไม่มีได้ไหม หลายๆท่านอาจจะอยากรู้ และ ในคอลัมน์ Car Care นี้จะขอนำตัวย่อเหล่านี้มาขยายความให้ทุกท่านได้รู้จักกัน เพื่อที่จะได้ทำความเข้าใจกับระบบต่างๆที่ทางผู้ผลิตรถยนต์ได้นำมาใส่เข้าไป ในรถยนต์ของเรา เผื่อบางทีเกิดปัญหาจะได้ทราบได้ว่ารถของเราเกิดปัญหากับระบบใด จะได้ทำการแก้ไขได้อย่างถูกวิธี พร้อมกับสื่อสารกับช่างซ่อมได้อย่าง ถูกต้อง
ระบบ ABS ระบบนี้มีชื่อเต็มๆว่า Anti-Lock Brake System จะเป็นระบบป้องกันล้อล็อก ABS จะทำงานไม่ให้รถเสียการทรงตัวจากการลื่นไหลและเกิด การล็อกของล้อขณะทำการเหยียบเบรก เมื่อรถวิ่งบนถนนที่มีสภาพเปียกชื้นหรือลื่น ซึ่งรถยนต์หรือรถกระบะในปัจจุบันส่วนมากจะติดตั้งมาให้จากโรงงานแทบ ทั้งสิ้น
ระบบ ADD มีชื่อเต็มๆว่า Automatic Disconecting Differential เป็นระบบตัดต่อกำลังของเฟืองท้ายด้านหน้าอัตโนมัติ เป็นระบบที่สามารถเปลี่ยน การขับเคลื่อนจาก 2 ล้อเป็น 4 ล้อ หรือจาก 4 ล้อเป็น 2 ล้อ ได้โดยไม่ต้องหยุดรถ ส่วนมากระบบนี้จะอยู่ในรถยนต์ที่ขับเคลื่อน 4 ล้อ
ระบบ AFS มีชื่อเต็มๆ ว่า Adaptive Front-Lighting System เป็นระบบปรับมุมรับแสงไฟหน้าอัตโนมัติ ระบบจะทำหน้าที่ปรับโคมไฟของไฟต่ำโดย ควบคุมการปรับจากเซ็นเซอร์ตรวจจับความสูงและเซ็นเตอร์ตรวจจับการนั่งของผู้ ขับขี่ และสัญญาณการคาดเข็มขัดนิรภัย ซึ่งระบบจะควบคุมการปรับระดับไฟ ในขณะที่รถจอดอยู่กับที่หรือขณะวิ่ง
ระบบ Automatic Headlight Beam Level Control เป็นระบบปรับตั้งระบบแสงไฟใหญ่อัตโนมัติ ระบบจะทำหน้าที่ปรับโคมไฟของไฟต่ำโดยควบ คุมการปรับจากเซ็นเซอร์ตรวจจับความสูงและเซ็นเตอร์ตรวจจับการนั่งของผู้ขับ ขี่ และสัญญาณการคาดเข็มขัดนิรภัย ซึ่งระบบจะควบคุมการปรับระดับไฟใน ขณะที่รถจอดอยู่กับที่หรือขณะที่รถกำลังวิ่ง
ระบบ BA มีชื่อเต็มๆว่า Brake Assist เป็นระบบเสริมแรงคือ ระบบ BA จะทำงานในช่วงที่มีการเหยียบเบรคอย่างรวดเร็วและจะช่วยเสริมแรงเบรก ในกรณีที่ผู้ขับขี่เหยียบแป้นเบรกด้วยแรงไม่เพียงพอ ช่วยในการหยุดรถได้แม่นยำและปลอดภัยมากขึ้น
ระบบ CCS มีชื่อเต็มๆ ว่า Cruise Control System เป็นระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติซึ่งระบบ CCS จะช่วยควบคุมรักษาระดับความเร็วของรถยนต์ ให้อยู่ในระดับความเร็วที่ต้องการโดยไม่ต้องเหยียบคันเร่ง เหมาะกับการเดินทางไกล ขอแนะนำว่าควรปรับตั้งความเร็วให้อยู่ที่ 80-100 กม./ชั่วโมง เผื่อบางที มีอะไรเกิดขึ้นจะได้แก้ไขได้อย่างทันท่วงที
ระบบ Clearance Cornor Sensor And Back Sonar เป็นระบบสัญญาณเตือนสิ่งกีดขวางมุมเสี้ยวและถอยหลัง ระบบจะทำการตรวจสอบระยะด้าน หน้าและด้านหลังของวัตถุที่มากระทบ โดยจะมีสัญญาณเสียงดังและไฟแสดงสถานะแสดงที่จอควบคุม
ระบบ DIS มีชื่อเต็มๆ ว่า Direct lgnition System เป็นระบบจุดระเบิดโดยตรงซึ่งระบบ DIS จะทำงานคือ คอยล์จุดระเบิดประจำแต่ละสูบเพื่อช่วยให้ การจุดระเบิดมีความเที่ยงตรงและลดการสูญเสียแรงดันไฟฟ้าแรงสูง
ระบบ EBD มีชื่อเต็มๆ ว่า Electronic Brake-Force Distribution เป็นระบบกระจายแรงเบรกระหว่างล้อหน้าและล้อหลังให้เป็นไปอย่างถูกต้องตาม สภาวะการขับขี่และในขณะเลี้ยวโค้ง EBD จะทำหน้าที่กระจายแรงเบรกล้อหน้าด้านซ้ายและขวาเพื่อให้เกิดความมั่นคง ทำให้รถอยู่ในสภาพการทรงตัวที่สมบูรณ์ ปลอดภัย
ระบบ EC Mirror มีชื่อเต็มๆ ว่า Electro Chromic Mirror เป็นระบบกระจกมองหลังปรับลดแสงอัตโนมัติ EC Mirror จะช่วยลดการรบกวนจากการ สะท้อนของแสงไฟจากรถยนต์คันหลัง ระบบจะปรับลำแสงอัตโนมัติให้การมองเห็นภาพที่กระจกมองหลังมีความชัดเจนและ สบายตามากยิ่งขึ้น
ระบบ ECT PWR ชื่อเต็มๆ ว่า Power Electronic Control Transmission เป็นระบบสวิตซ์ โหมด ECTPWR จะเป็นระบบเกียร์อัตโนมัติ ETC PER เกียร์จะเลื่อนขึ้น-ลงที่ความเร็วสูงกว่าสถานะปรกติ ซึ่งทำให้กำลังขับเคลื่อนมากกว่า ทำให้รถยนต์ของท่านตอบสนองได้ดั่งใจของคุณ
ระบบ ETCST ชื่อเต็มๆ ว่า Electronic Trhrttle Control System Intelligent เป็นระบบควบคุมลิ้นเร่งโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นระบบควบคุมการ เร่งเครื่องยนต์โดยไม่ใช้สายดันเร่ง ซึ่งการควบคุมการเร่งเครื่องยนต์จะถูกควบคุมโดยคอมพิวเตอร์ (ECU) หรือกล่องสมองกลนั่นเอง
ระบบ Engine Immobilizer System เป็นระบบการยับยั้งการทำงานเครื่องยนต์ ระบบยับยั้งการทำงานของเครื่องยนต์ ระบบยับยั้งการทำงานของ เครื่องยนต์จะทำหน้าที่ตรวจสอบรหัสกุญแจจากแผ่นชิพที่ตัวกุญแจ หากรหัสถูกต้องก็จะสั่งให้เครื่องยนต์สตาร์ตติด แต่ถ้าไม่ใช่รถจะสตาร์ตไม่ติด
ระบบ GOA ชื่อเต็มๆ ว่า Global Outstanding .sment เป็นโครงสร้างนิรภัย GOA คือโครงสร้างนิรภัยของตัวถังรถยนต์ส่วนที่เป็นห้องโดยสาร ที่ถูกพัฒนาออกแบบให้มีความปลอดภัยแข็งแกร่งขึ้น รวมทั้งตัวถังรถยนต์ ส่วนโครงสร้างด้านหน้าและด้านซ้ายออกแบบให้มีการดูดซับแรงกระแทกจากการชน และถ่ายเทแรงกระแทกไปยังส่วนต่างๆของตัวรถ เพื่อลดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับห้องโดยสาร โดยแต่ละยี่ห้อจะใช้ตัวย่อไม่เหมือนกัน ที่จะขอเสนอเป็นของทาง TOYOTA รถสมัยใหม่จะเน้นความปลอดภัยเป็นหลักอยู่แล้ว
ระบบ HID ชื่อเต็มๆ ว่า High Intensive Discharge เป็นระบบไฟใหญ่หน้าแบบปล่อยกระแสไฟแรงสูง ความพิเศษของระบบนี้จะอยู่ที่ลำแสงที่ปล่อย ออกมาที่สว่างมากขึ้น ซึ่งช่วยให้การขับขี่ในเวลากลางคืนเห็นชัดขึ้น
ระบบ Hydrophilic Surfaced Side Windows เป็นระบบกระจกมองข้างเคลือบสารป้องกันน้ำเกาะ แบบ Hydrophilic สารเคลือบจะทำหน้าที่ช่วยลด การเกาะตัวของน้ำที่กระจกขณะที่ฝนตก ลดการเกิดฝ้าอีกด้วย ทำให้ทัศนวิสัยในการมองเห็นชัดเจนมากกว่ารถแบบเก่าๆ
ระบบ VTEC จะควบคุมการทำงานของวาล์วไอดี จะควบคุมระยะและช่วงเวลา ของการเปิด-ปิดวาล์วไอดี ให้เหมาะสมกับการทำงานของรอบเครื่องยนต์
รอบ เครื่องยนต์ต่ำ เครื่องยนต์ต้องการอากาศในการเผาไหม้ในปริมาณที่ต่ำกว่า รอบเครื่องยนต์สูง ซึ่งอาจจะเปรียบเทียบได้กับการที่คนเราเดินและวิ่ง ต่างก็ต้องการอากาศในการหายใจที่ไม่เท่ากัน โดยระบบ VTEC จะบังคับให้วาล์วไอดีตัวที่หนึ่ง (ซึ่งปกติจะมีวาล์วไอดี 2 ตัว วาล์วไอเสีย 2 ตัว ต่อ 1 สูบ) เปิดน้อยกว่าวาล์วไอดีอีกตัวหนึ่ง ทำให้อากาศไหลเข้าสู่ห้องเผาไหม้ในปริมาณที่เหมาะสม กับที่เครื่องยนต์ต้องการในการเผาไหม้
สำหรับที่รอบเครื่องยนต์สูง ระบบ VTEC จะบังคับให้วาล์วไอดีทั้ง 2 ตัว เปิดในระยะที่กว้างขึ้น และในช่วงเวลาที่มากขึ้น เพื่อทำให้อากาศที่ไหลเข้าสู่ห้องเผาไหม้ได้มากขึ้น เพียงพอกับการที่เครื่องยนต์ในรอบเครื่องยนต์สูงต้องการ
ระบบ VVT-I : VARIABLE VALVE TIMING-INTELLIGENCE หนึ่งในระบบแปรผันการเปิด-ปิดวาล์ว เพื่อให้เกิดกำลังสูงอย่างต่อเนื่องในช่วงกว้าง และมีการตอบสนองดีทุกความเร็วรอบของเครื่องยนต์เครื่องยนต์ 4 จังหวะที่ใช้กันทั่วไป มีการทำงานแบ่งเป็น 4 จังหวะ ดูด-อัด-ระเบิด-คาย โดยการหายใจเข้าในจังหวะดูดและการหายใจออกในจังหวะคายของเครื่อ งยนต์ ทำโดยผ่านตัววาล์วไอดีและไอเสีย ซึ่งมีการควบคุมการเปิด-เปิดด้วยลูกเบี้ยวบนแคมชาฟต์ (เพลาราวลิ้น) ทำหน้าที่กำหนดให้มีช่วงระยะเวลา ความนาน และระยะยกของการเปิดวาล์วตามที่ออกแบบไว้
ระบบ VVTL-i = VARIABLE VALVE TIMING AND LIFT-INTELLIGENCE คือ แท่งแคมชาฟต์จะมีลูกเบี้ยวเพิ่มขึ้น และมีระบบกระเดื่องกดวาล์วแบบพิเศษเพิ่มขึ้นมา คอยสลับชุดลูกเบี้ยวใช้งานในแต่ละรอบ ในช่วงเครื่องยนต์หมุนรอบต่ำถึงปานกลางใช้ลูกเบี้ยวชุดหนึ่ง พอเข้าสู่ช่วงรอบสูงก็สลับกระเดื่องไปใช้ลูกเบี้ยวอีกชุดหนึ่งในการเปิด