Socket ของอินเทล
ทีแรกก็ดูเหมือนว่าซ็อกเก็ตของอินเทลจะไม่สร้างความสับสนวุ่นวายเหมือน กับซ็อกเก็ตจากทางฝั่งเอเอ็มดี เพราะปัจจุบันเราจะพบซ็อกเก็ตอยู่สองแบบคือ LGA775 ที่ใช้กับซีพียูในตระกูล Core 2, Pentium และ Celeron ส่วนซ๊พียูรุ่นล่าสุดอย่าง Core i7 ก็จะใช้ซ็อกเก็ตแบบ LGA1366 แต่ตอนนี้เราคงต้องทำความรู้จักกับซ็อกเก็ต LGA1156 เพิ่มอีกหนึ่งซ็อกเก็ต เพราะว่าปลายปีนี้อินเทลได้วางแผนที่จะเปิดตัวซีพียูและแพลตฟอร์มใหม่ออกมา อีกแล้ว
Socket LGA775: (เปิดตัวครั้งแรกในปี 2004)
Socket-775
ซ็อกเก็ต LGA775 ช่วงที่ออกมาใหม่ๆ นี่ฮือฮามาก เพราะขาที่ตัวซีพียูหายไป
แต่จะมา อยู่ที่ซ็อกเก็ตแทน
จะว่าไปแล้วซ็อกเก็ต LGA775 นี่ถือว่าเป็นการปฏิวัติครั้งสำหรับของรูปแบบการใช้แพ็คเกจของซีพียูเลยก็ ว่าได้ เพราะปกติตัวพินหรือขาจะอยู่ที่ตัวซีพียู แต่สำหรับซ็อกเก็ต LGA775 นั้น พินจะมาอยู่ที่ซ็อกเก็ตบนเมนบอร์ดแทน ขาที่เคยอยู่บนตัวซีพียูก็กลายเป็นจุดหรือหน้าสัมผัสที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อ ซีพียูเข้ากับเมนบอร์ดแทน มีเหตุผลหลายประการที่ทำให้อินเทลจำเป็นต้องเปลี่ยนรูปแบบของแพ็คเกจซีพียู รวมทั้งทำให้ต้องเปลี่ยนรูปร่างหน้าตาของซ็อกเก็ตด้วย หนึ่งในนั้นก็คือจำนวนพินที่เพิ่มขึ้นมากมายทำให้ไม่สามารถวางตำแหน่งพินบ นตัวซีพียูได้มากเหมือนเดิม และนับวันจำนวนพินก็จะเพิ่มมากขึ้นด้วย อีกประการที่สำคัญก็คือเรื่องของการระบายความร้อนออกจากตัวซีพียู การนำพินหรือขาออกจากซีพียูไปทำให้การระบายความร้อนของซีพียูทำได้ดีขึ้น ด้วย หากใครจำชื่อของซีพียูที่ใช้รหัสว่า Prescott คงจะรู้ดีว่ามันทำงานได้ร้อนขนาดไหน
Socket LGA1366: (เปิดตัวครั้งแรกในปี 2009)
socket-1366
ลักษณะของซ็อกเก็ต LGA1366 มีการเรียงทิศทางของพินสวนทางกันอย่างละครึ่ง
เพื่อให้เกิดความ สมดุลนั่นเอง
หากอินเทลไม่ได้ทำการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของซีพียูครั้งใหญ่อย่างที่ เกิดขึ้นกับ Core i7 เราก็คงยังสามารถใช้ซ็อกเก็ต LGA775 ต่อไปได้ แต่ด้วยการที่อินเทลนำชิปเซตนอร์ธบริจด์ที่ประกอบไปด้วยส่วนสำคัญก็คือวงจร ควบคุมการทำงานของหน่วยความจำไว้บนตัวซีพียูด้วย จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้อินเทลต้องทำการเปลี่ยนแปลงซ็อกเก็ตใหม่อีกครั้ง สำหรับซ็อกเก็ต LGA1366 นั้น ได้ถูกนำไปใช้งานบนเครื่องระดับเซิร์ฟเวอร์และเวิร์คสเตชันอีกด้วย ซึ่งจะว่าไปแล้วสถาปัตยกรรมที่อยู่ใน Core i7 นั้น มันถูกออกแบบมาให้เป็นซีพียูสำหรับเซิร์ฟเวอร์มากกว่าจะเป็นซีพียูในระดับ เดสก์ท็อปด้วยซ้ำไป
Socket LGA1156: (เปิดตัวครึ่งหลังของปี 2009)
Socket-1156
การวางตำแหน่งของพินต่างๆ ในซ็อกเก็ต LGA1156 จะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับซ็อกเก็ต LGA1366
สำหรับซ็อกเก็ต LGA1156 ในตอนนี้มีเมนบอร์ดของจริงออกวางจำหน่ายแล้ว และก็ต้องบอกว่าซ็อกเก็ต LGA1156 นี่แหละที่จะเข้ามาทดแทนซ็อกเก็ต LGA775 แต่ว่าคงจะไม่ใช่ภายในเดือนสองเดือน แต่คงจะใช้เวลาอย่างน้อยๆ อีกสักสองปี เพราะช่วงเวลาที่ซ็อกเก็ต LGA775 อยู่ในท้องตลาดนั้นก็ต้องถือว่านานพอสมควรคือเปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2004 โน่นเลยทีเดียว ดังนั้นในช่วงเวลาที่ผ่านมาก็จะมีผู้ใช้เมนบอร์ดซ็อกเก็ต LGA775 มากอยู่พอสมควร ดังนั้นอินเทลก็ยังคงมีซีพียูสำหรับซ็อกเก็ต LGA775 ออกมาอยู่อีกพักใหญ่ๆ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถทำการอัปเกรดได้อีกสักช่วงเวลาหนึ่ง
ซีพียูที่จะถูกนำมาใช้งานร่วมกับซ็อกเก็ต LGA1156 นั้นก็จะเป็นซีพียูรุ่นใหม่ที่ใช้สถาปัตยกรรมแบบเดียวกันกับซีพียู Core i7 ที่เป็นซ็อกเก็ต LGA1366 ส่วนซีพียูที่จะออกมารองรับซ็อกเก็ต LGA1156 นั้นก็จะมีซีพียูที่ชื่อว่า Core i5 และข้อมูลล่าสุดก็มีออกมาอีกว่าอินเทลจะมีซีพียู Core i7 รุ่นเล็กที่เป็นซ็อกเก็ต LGA1156 มาอีกเช่นกัน เห็นไหมว่าความสับสนมันมากันอีกแล้ว งานนี้ก็ต้องเตรียมรับมือให้ดีๆ กันละครับ
วางแผนการอัปเกรด
ถ้าดูจากข้อมูลที่เรานำเสนอมาทั้งหมดนี้เราก็จะพบว่าทั้งอินเทลและเอเอ็ม ดีก็จะมีซ็อกเก็ตอยู่ในตลาดหลักๆ ด้วยกันคนละ 3 ซ็อกเก็ต คือทางเอเอ็มดีก็มี AM2, AM2+ และ AM3 ส่วนอินเทลก็มี LGA775, LGA1366 และ LGA1156 แต่ในระยะเวลาอันใกล้นี้ซ็อกเก็ต AM2 ก็จะหายไปและเหลือกแต่ AM2+ กับ AM3 เป็นหลัก แต่สำหรับอินเทลตอนนี้ก็มีซ็อกเก็ตอยู่ในตลาดสามซ็อกเก็ตคือ LGA775, LGA1366 และ LGA1156 อย่างไรก็ตาม LGA775 ก็ยังคงอยู่อย่างน้อยอีก 18 เดือน ดังนั้นผู้ที่ใช้ซีพียูอินเทลก็จะมีทางเลือกมากมายถึงสามรูปแบบ ซึ่งก็อาจจะทำให้เกิดความสับสนได้พอสมควรในช่วงแรกๆ
มาดูทางด้านผู้ใช้ซีพียูเอเอ็มดีกันหน่อยว่ามีทางเลือกในการใช้งานอย่าง ไรบ้าง เพราะตอนนี้มีของในตลาดครบหมดแล้วทั้งซีพียูและเมนบอร์ด
ผู้ใช้เมนบอร์ดซ็อกเก็ต AM2 : เมื่อเรารู้ข้อมูลแบบนี้ แล้วเราก็พอที่จะวางแผนการอัปเกรดกันได้บ้างแล้วนะครับ โดยสำหรับผู้ใช้ทั้งซีพียูและเมนบอร์ดที่เป็นซ็อกเก็ต AM2 อยู่ ก็มีทางเลือกอยู่สองทางใหญ่ๆ เลยคือเปลี่ยนยกชุดทั้งซีพียูและเมนบอร์ด หรือทางเลือกที่สองคือเปลี่ยนไปใช้เมนบอร์ดแบบซ็อกเก็ต AM2+ ซึ่งก็จะทำให้มีทางเลือกในการนำซีพียูเดิมมาใช้ได้ แล้วรอเปลี่ยนเป็นซีพียูแบบซ็อกเก็ต AM2+ และยังพร้อมที่จะอัปเกรดไปใช้ซีพียูแบบซ็อกเก็ต AM3 ได้อีกในภายหลัง
ผู้ใช้เมนบอร์ดซ็อกเก็ต AM2+ : ส่วนใครที่ใช้เมนบอร์ดซ็อกเก็ต AM2+ อยู่ในขณะนี้ไม่ว่าคุณจะใช้ซีพียูแบบ AM2 หรือ AM2+ อยู่ก็ตามคุณก็มีทางเลือกในการใช้ซีพียูมากมาย ไม่ว่าจะเป็นซีพียูแบบซ็อกเก็ต AM2+ เองตอนนี้ก็มีออกมาให้เลือกใช้หลายรุ่น หรือถ้าจะคิดไปคบกับซ็อกเก็ต AM3 ก็น่าสนใจไม่น้อย แต่ต้องตรวจสอบก่อนว่าเมนบอร์ดของคุณรองรับซีพียูแบบซ็อกเก็ต AM3 หรือใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่จะรองรับอยู่แล้ว แต่อาจจะต้องทำการอัปเกรดไบออสเท่านั้นเอง ซึ่งการอัปเกรดไบออสส่วนใหญ่ก็จะเป็นการอัปเกรดเพื่อให้มีข้อมูลการใช้ไฟของ ซีพียูรุ่นใหม่นั่นเอง
ผู้ใช้เมนบอร์ดซ็อกเก็ต AM3 : สำหรับเสือปืนไวที่ได้เลือก ซื้อเลือกใช้เมนบอร์ดซ็อกเก็ต AM3 ไปแล้ว แน่นอนว่าทางเลือกเดียวของคุณก็คือ ไปซื้อซีพียูที่เป็นซ็อกเก็ต AM3 มาใช้ซะ เพราะเมนบอร์ดซ็อกเก็ต AM3 ไม่รองรับซีพียูที่เป็นซ็อกเก็ต AM2 และ AM2+
มาดูทางผู้ใช้ซีพียูกับเมนบอร์ดของอินเทลกันบ้าง
ผู้ใช้เมนบอร์ด LGA775: แม้ว่าตอนนี้จะมีซ็อกเก็ต LGA1366 และข่าวเรื่อง LGA1156 ออกมาแล้ว ผู้ที่ใช้เมนบอร์ด LGA775 อยู่ก็ไม่ต้องตกอกตกใจว่าจะเป็นคนตกรุ่น เพราะอินเทลยังมีการผลิตซีพียูที่เป็นซ็อกเก็ต LGA775 ออกมาอีกอย่างน้อยๆ ก็สองปี และซีพียูที่จะผลิตออกมานั้น ก็มีทั้งรุ่นที่เป็นประสิทธิภาพสูงในระดับ Quad-Core และรุ่นเล็กที่เป็นแบบ Dual-Core แต่สิ่งที่ผู้ใช้เมนบอร์ด LGA775 ต้องคำนึงก่อนที่จะทำการอัปเกรดซีพียูก็คือ ต้องตรวจสอบชิปเซตที่ตนใช้อยู่ว่าเป็นรุ่นไหน สามารถรองรับการทำงานของซีพียูที่มีบัสความเร็วเท่าไร ซึ่งตรงนี้คุณสามารถเข้าไปตรวจสอบได้โดยตรงจากเว็บไซต์ผู้ผลิต หรือจะดูจากคู่มือของเมนบอร์ดก็ได้ แต่ว่าถ้าไปดูในเว็บไซต์ของผู้ผลิตเมนบอร์ดก็จะดีตรงนี้เขาจะทำการลิสต์ราย ชื่อซีพียูรุ่นที่เมนบอร์ดตัวนั้นๆ รองรับเอาไว้ด้วย
ผู้ใช้เมนบอร์ด LGA1366: สำหรับผู้ใช้เมนบอร์ดซ็อกเก็ต LGA1366 ก็ถือว่าคุณมีเครื่องระดับเทพอยู่ในมือ ซีพียูที่คุณใช้อยู่นี้แม้ว่าจะเป็นรุ่นเล็กสุดแต่มันก็มีประสิทธิภาพในการ ทำงานที่สูงมาก การอัปเกรดในช่วงเวลานี้จึงยังไม่ใช่สิ่งจำเป็น ยกเว้นว่าคุณจะมีเงินเหลือเฝือที่จะซื้อซีพียูรุ่นใหม่ๆ ที่มีชื่อรหัสว่า Gulftown ที่มีคอร์มากถึง 6 คอร์ ซึ่งมันจะเร็วกว่า Core i7 รุ่นที่เร็วที่สุดซึ่งเป็นซีพียูแบบ Quad-Core อย่างแน่นอน
ผู้ที่รอคอย LGA1156: มีผู้คนจำนวนไม่น้อยนะครับที่ทราบ ว่าซ็อกเก็ต LGA1156 นี้จะเข้ามาทดแทนซ็อกเก็ต LGA775 ในปัจจุบัน ซึ่งทำให้เขาเหล่านั้นยังไม่ทำการอัปเกรดไปใช้ LGA1366 ที่มีราคาค่อนข้างแพงทั้งซีพียูและเมนบอร์ด เพราะสองอย่างนี้ก็ต้องใช้เงินประมาณ 2 หมื่นบาท ถึงจะเป็นเจ้าของได้ นี่ยังไม่รวมราคาของหน่วยความจำแบบ DDR3 เข้าไปด้วย เนื่องจากอินเทลตั้งใจให้ LGA1156 เป็นแพลตฟอร์มสำหรับผู้ใช้ทั่วไป ดังนั้นทั้งตัวซีพียูและตัวเมนบอร์ดรวมไปถึงอุปกรณ์อื่นๆ จึงต้องถูกออกแบบมาไม่ให้มีราคาสูงจนเกินไป ราคาของเมนบอร์ดซ็อกเก็ต LGA1156 นั้นจะมีราคาตั้งแต่สามพันบาทขึ้นไป ในขณะที่ LGA1366 ต้องใช้เงินถึงเจ็ดพันกว่าบาทจึงจะเป็นเจ้าของได้ ด้วยราคาตรงนี้เราจึงเห็นได้ว่า LGA1156 นั้นจะกลายเป็นเมนบอร์ดมาตรฐานของอินเทลในช่วงหนึ่งถึงสองปีนี้อย่างแน่นอน
http://www.quickpcextreme.com/blog/archives/3985