เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤศจิกายน 29, 2024, 04:37:49 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: อวป. มีจำหน่ายที่ สนามยิงปืนราชนาวี/สนามยิงปืนบางบัวทอง/สนามยิงปืนศรภ./
/สนามยิงปืนทอ./
สิงห์ทองไฟร์อาร์ม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 16811 16812 16813 [16814] 16815 16816 16817 ... 35779
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เพื่อนคอปืน...ด้ามขวาน  (อ่าน 26011985 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 119 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
submachine -รักในหลวง-
คนกินเหล้า อย่าให้เหล้ากินคน
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 6127
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 55373


Let us go..!


« ตอบ #252195 เมื่อ: ตุลาคม 02, 2010, 11:00:53 AM »



                  มันบ้าไรนิ  .........  เกิดพร้อมทีเดียวเป็นร้อย



คันถ้าเพื่อว่าแก่  ก่าหวิป  ไปแลต๊ะ เขาคุยกันถึงไหนแล้ว  บู่ บู่ บู่

http://www.gunsandgames.com/smf/index.php?topic=91347.0
บันทึกการเข้า

อย่าเห็นเป็น ความดี เล็กน้อย แล้วไม่กระทำ
อย่าเห็นเป็น ความชั่ว เล็กน้อย แล้วจึงกระทำ

Thanut Wansuk

Southlander
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 5711
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 48212



« ตอบ #252196 เมื่อ: ตุลาคม 02, 2010, 11:02:32 AM »


ผมแควนเพลง ศรคีรี ด้วยคน
บันทึกการเข้า

๏ทุกวันนี้ศึกไกลยังไม่ห่วง  แต่หวั่นทรวงศึกใกล้ไล่ข่มเหง
ถ้าคนไทยหันมาฆ่ากันเอง   จะร้องเพลงชาติไทยให้ใครฟัง
                      
                             โดย:นภาลัย สุวรรณธาดา พศ.๒๕๑๐
SingCring
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #252197 เมื่อ: ตุลาคม 02, 2010, 11:02:53 AM »

08 คอนเสิร์ตเปิดตำนานขุนฆ้อน 24 ปี แฮมเมอร์ แม่
บันทึกการเข้า
Southlander
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 5711
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 48212



« ตอบ #252198 เมื่อ: ตุลาคม 02, 2010, 11:06:11 AM »

ล้อจะหมุน ปลายทางกรุงเต๊บ ไปรับลูกกลับบ้านปิดเทอม
บันทึกการเข้า

๏ทุกวันนี้ศึกไกลยังไม่ห่วง  แต่หวั่นทรวงศึกใกล้ไล่ข่มเหง
ถ้าคนไทยหันมาฆ่ากันเอง   จะร้องเพลงชาติไทยให้ใครฟัง
                      
                             โดย:นภาลัย สุวรรณธาดา พศ.๒๕๑๐
SingCring
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #252199 เมื่อ: ตุลาคม 02, 2010, 11:08:23 AM »


เรื่องย่อ.. จากร้านซ่อมคอมฯ เล็กๆของผมเอง เมื่อวานนี้ เวลาประมาณ 11.30 น. ผมนั่งซ่อมให้ลูกค้าอยู่มีผู้หญิงคนหนึ่งในพื้นที่ (ในตัวอำเภอเดียวกันกับผม) คือ อำเภอกาบเชิง จ.สุรินทร์ ได้มาติดต่อบอกว่า อยากได้เพลงสตริง ผมบอกไม่มี มันเลยกลับไป ประมาณ 14.00 มาอีก บอกเอาเพลงอื่นๆก็ได้ พวกลูกทุ่ง (ผมก็ได้ถามว่าอยู่แถวไหน นางนกต่อมันบอกว่า...อยู่แถวๆ ถัดไปอีก ตำบลหนึ่ง แล้วอ้างชื่อ คนที่แถวๆตำบลเราที่เรารู้จัก ที่เอาคอมฯมาซ่อมกับเรา บอกชื่อได้ถูกต้อง) ผมก็เลยไรท์ให้มันไป 1 แผ่น คิด 50 บาท

ต่อมา... เวลาประมาณ 17.00 น. มันมากันประมาณ 5-6 คน มีตำรวจ (ที่จ้างมา 500) มาด้วย 2 คน (แต่ใม่ใช่ในท้องที่) บอกมาจาก รถไฟดนตรี บอกผมละเมิด ลิขสิทธิ์ ของเค้า 5555 มันพยายาม จะเอาคอมฯ ผมไปที่ โรงพักให้ได้ ตอนแรกผมไม่ยอม (ผมมีคนเดียว) ตอนแรกบอกเอาเครื่องเดียวไปตรวจ ที่โรงพัก สักพักมันบอกว่า สายล่อซื้อมัน..บอกว่าผมใช้ 2 เครื่อง มันก็จะเอา ทั้ง 2 เครื่อง... ผมไม่ยอม มันทำเป็นบอก มันต่อสายโทรศัพท์จะให้ผมคุยกับ ร้อยเวร( ในท้องที่) ผมก็ไม่คุย (เพราะจริงๆ ตำรวจในท้องที่ เกือบทุกท่าน ก็เป็นลูกค้าประจำ ซ่อมคอมฯ กับผมอยู่แล้ว 555:smellie_evil:) จริงๆ แล้ว มันวางแผนกันล่วงหน้า แล้ว มีการแจ้งความร้องทุกข์ว่าผมละเมิดลิขสิทธิ์มัน ก่อนล่วงหน้า (อันนี้รู้ทีหลังตอนที่มัน ยอมความผมแล้ว ตำรวจท้องที่เค้าเล่าให้ฟังทีหลัง)

สักพัก..มันบอกว่า ถ้าผมไม่ผิด ก็ไม่ต้องกลัว ผมบอกผมไม่กลัว ถึงไหนถึงกัน (บอกกลายๆว่าไม่ยอมจ่ายอยู่แล้ว) เลยยอมให้มันเอาคอมฯ เราไปโรงพัก (ผมนั่งรถมันไปด้วย นั่งกำกับคอมฯเราไป
พอไปถึง โรงพัก ไอ้ ตำรวจ 2 ตัว ที่มา กับพรรคพวกมัน พยายามจะ ยื่นผลประโยชน์ให้ ท่านสารวัตรเวร (หัวหน้าสถานีโรงพัก ซึ่งท่านเคยเล่นงานและเกลียดพวกนี้เข้าใส้ในจังหวัดสุรินทร์) ซึ่งท่านบอกว่า ไม่เล่นด้วย เพราะเคยมีคำ พิพากษายืนแต่ก่อน (ตัวอย่างอยู๋แล้ว) ว่า เค้าไม่ได้ทำความผิดซึ่งหน้า และเป็นแค่ร้านซ่อมคอม คุณไปว่าจ้างให้เค้าทำให้ แสดงว่า..เค้าไม่มีเจตนากระทำผิด แต่มีกระบวนการของพวกนรกนี้ เป็นตัวก่อกระบวนการ(ล่อซื้อ) ให้เค้ากระทำผิด ศาลจึงยกฟ้อง

แล้วเรียกมันไปด่า ในห้องต่างหาก ว่ามึงมาจากไหน (ไอ้ตำรวจ 2 ตัว) แล้วเค้าก็โทรไปถานเจ้านายมันว่า ปล่อยให้ลูกน้อง มันมาเพ่นพ่านหากิน (เค้าเรียกพวกนี้ว่านักบิน) นอกพื้นที่มั่วๆได้อย่างไร 5555 แล้วท่านสารวัตรขู่มันไปว่า (ขู่ไอ้ ตำรวจ 2 ตัวกับพรรคพวกมันที่มาด้วยกัน) ผมมีญาติเป็นตำรวจนะ เค้าเล่นพวกเอ็งคืนแน่ (ฟ้องกลับ) 55 (สัก 10 นาที ตอนที่มันมาเชิญตัวผมกับ คอมฯ ผมไปถึงโรงพัก ) สักพัก ไอ้ตำรวจ 1 ใน 2 ที่ไป ล๊อบบี้ ร้อยเวร (ท่านสารวัตร) มันก็เดินมาถามผมว่า มีญาติเป็นตำรวจหรือ ผมบอกไม่มีหรอกครับ มีแต่ ญาติที่เป็น ท่านผู้พิพากษา กับผู้การทหาร (ขอไม่บอกจังหวัด)มันรีบบอกว่า ไม่เป็นไร ไม่มีอะไร ลนลานใหญ่เลย55 มันบอกว่า เด๋วมันจะให้ลูกน้องมันถอนแจ้งความ(ซึ่งตอนนี้ผมก็ยังยืนดูเฉยๆ อยู่ หน้าห้องท่านสารวัตร) สัก 10 นาที มันก็รีบเอาคอมฯ กับผมกลับมาส่งคืน ที่ร้านผม (ร้านห่างจากโรงพักประมาณ 1 km.)แล้วรีบบอกผมว่า ไม่มีอะไรๆ 555

มันไม่รู้หรอกว่าท่านทำคดีพวกนี้มาเยอะ (ท่านบอกทีหลัง ) มันคงคิดว่า ตำรวจบ้านนอก..คงไม่เคยรู้วิธีการ หรือไม่เคยทำ ที่สำคัญ ไอ้ตัวแทน ลิขสิทธิ์ (ที่ผมจะเล่นมันแน่ รวมทั้งนางนกต่อด้วยแต่ไม่ตามกฏหมายหรอกครับ555) มันอ้าง นายตำรวจขู่ท่านสารวัตร แต่บังเอิญ เจอตอ 55 ท่านสารวัตร ก็โทรไปถาม นายที่มันอ้างทันที นายที่มันอ้าง บอกไม่รู้เรื่อง ไม่ใช่ลูกน้องเค้า 55 เอาละสิ ทีนี้เข้าทาง ท่านสารวัตรจะเล่นมัน พอดี

สักเวลา ประมาณ ที่ผมกลับมาจากโรงพัก สัก 30 นาที ไอ้ตำรวจ 2 ตัว กีขี่รถเข้ามาหาผม มาอ้างว่า เข้าใจผิด (มาจาก นปพ สุรินทร์) พูดทำนองว่า เห็นแก่ ร้านเล็กๆ นึกว่าร้านใหญ่โต มันบอกมันไม่รู้เรื่อง แค่พวก(ตัวแทน ลิขสิทธิ กำมะลอ)โทรตามมันมา แล้วพูดทำนอง ว่าเนี่ย มันมีบุญคุณกับผมนะเนี่ย 55 ผมก็ฟังเฉย ๆ อยู่ (จริงๆ ผมกำลังโทรปรึกษาๆ พี่ตำรวจดีๆเค้าอยู่ ตอนนี้ครับ) เจตนาคือ มันต้องการให้ผม..ไม่เอาเรื่องคืน หรือฟ้องกลับนั้นแหละครับ (มันคงคิดว่าเราบ้านนอกคงไม่รู้วิธีการหรือ คงหวานหมูมันแล้วนะครับ) 555 แล้วมันก็กลับไป แต่ไอ้พวกอ้างตัวลิขสิทธิ์ยังกลับไม่ได้ เพราะท่านสารวัตร ท่านแกล้งมันครับ รวมทั้งนางนกต่อนั้นด้วย.. เห็นพี่ๆตำรวจเค้าบอกว่ามันไปนั่งหน้าละห้อย ไต้ต้นไม้...แถวๆนั้นแหละครับ

ต่อมา..สัก เวลา 19.30 ท่านสารวัตรให้พี่ ๆตำรวจ (จริงๆ ก็คุ้นเคยกันทุกท่าน) โทรมาหาผมบอกว่าให้ผมไป คุยกัน เสียอย่างเดียว ท่านไม่ได้เตี้ยมผมไว้ก่อน จริงๆ ท่านต้องการให้ผมไปให้การต่อหน้ามัน (คือ ไอ้อ้างตัวลิขสิทธิ์มันจะถอนแจ้งความ คืออยู่ไม่ได้แล้ว555)ว่ามันมีการขู่ กรรโชค หรือข่มขู่ กรรโชคทรัพย์ หรือไม่ ผมก็บอกไปว่าไม่มี คือของผมมันเร็วมากๆ อย่างที่บอกสักประมาณ 10 นาที ผมก็บอกผมไม่ติดใจเอาความอะไร (เพราะผมยังปรึกษาพี่ๆ ตำรวจกับทนายผม 555ยังไม่สมบูรณ์) เพราะมันก็ยังไม่ได้ เรียกทรัพย์อะไรผม แต่พฤติกรรมมันใช่ 55 (ท่านสารวัตรกับพี่ตำรวจเค้าว่า หรือเราเองก็รูดีแก่ใจ หรือมันก็รู้ดีแก่ใจมัน) ในระหว่างนี้ ไอ้ตำรวจ 2 ตัว ก็โทรหาผมตลอด มันกลัวมากๆมั้ง:smellie_evil:

อีกอย่างท่านสารวัตร บอกต่อหน้ามัน (ตำรวจ)กับ ผม กับ ไอ้ตัวแทน(อ้าง)ลิขสิทธิ์ (รถไฟตนตรี) ท่านจะเอาเรื่องนี้เข้าที่ประชุมนายตำรวจระดับจังหวัด แน่นอน ถึงนายมันแน่ เค้าเล่นกันแรงครับ(มันถึงกลัวมาก) แต่ท่านเอาจริงแน่นอนครับเพราะท่านเกลียดพวกนี้มากๆ:smellie_evil:


สรุป มันจะเล่นผม แต่ทาง ท้องที่ไม่เล่นด้วย (ที่สำคัญมันเจอตอ) มันเลยรีบถอนแจ้งความ ไอ้ตำรวจ2ตัวบอกลูกน้องมัน (ไอ้ต้วแทนลิขสิทธิ์) ให้รีบถอนแจ้งความ แต่ถ้าท้องที่เล่นด้วย เจตนาผม ก็บอกไว้แน่นอนว่า ไม่จ่ายสักบาท สู้เต็มที่ถึงไหนถึงกันครับ.. ผมตัวคนเดียว เมื่อวานนี้ ไม่งั้นจะเอาปืนไล่ยิงมันเหมือนกัน ที่สำคัญ ผมได้ขู่มันไว้แล้ว (ผ่านทาง ไอ้ตัวที่เป็นตัวเชื่อมมันกับนางนกต่อเนี่ย)ผมเรียกมันมาที่บ้านเลย ว่าฝากไปถึงไอ้พวกที่ทำมาหากินอย่างนี้ ระวังไข้โป้ง เด้อ และผมเล่นมันแน่ (แต่ไม่ตามกฏหมายผมปรึกษากับพี่ๆตำรวจเค้าแล้ว /ท่านผู้การทหารแล้ว/ กับ ท่านผู้พิพากษาแล้ว 555) แต่คงไม่ถึงตาย แค่ต้องการเอาคืน กลับ ตักเตือนมันหน่อย) มันรีบออกตัวใหญ่เลย แล้วมันก็โทรศัพท์ (ต่อหน้าผม)ไปหาเพื่อนมันว่า เพือนมันทำอย่างนี้ได้อย่างไร (มันอาจจะแสดงละครก็ได้ครับ ผมไม่ได้เชื่อมัน) มันทำงาน อบต.ครับ แค่พนักงานธรรมดา แต่ถึงมันจะใหญ่กว่านีผมก็ไม่กลัวมัน ถึงไหนถึงกันครับ อันนี้เรื้องจริง เกิดเมื่อวาน 09/03/52 กับตัวเอง ร้านซ่อมคอมฯเล็กๆ ต่างอำเภอบ้านนอกๆๆ นี่แหละครับ ระวังตัวไว้ด้วยนะครับ ร้านคอมฯ จะใหญ่จะเล็กๆ ก็ตาม คนมันหากินทุกรูปแบบ

เอามาจากเวบ clubthai.com ครับเพื่อเป็นประโยชน์แด่ท่านอาจจะเจอ กรณี ล่้อซื้อพิพากษา ยืนไม่มีความผิดครับ


http://www.baanmaha.com/community/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2-%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%82%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%BA%E0%B9%8C%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A-19275/
บันทึกการเข้า
SingCring
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #252200 เมื่อ: ตุลาคม 02, 2010, 11:08:56 AM »

ตามข้อเท็จจริงข้างต้น แนวคำพิพากษาของศาลฎีกา ซึ่งเป็นบรรทัดฐานเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ซึ่งเป็นฎีกาที่ผมต้องศึกษาในระหว่างเรียนเนติบัณฑิตไทย ในวิชาทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และเชื่อว่ามีฎีกาเดียวที่ยกฟ้องจำเลยซึ่งเป็นบริษัทและผู้จัดการบริษัท ที่ลงโปรแกรมละเมิดลิขสิทธิ์ ก็คือ คำพิพากษาที่ ๔๓๐๑/๒๕๔๓

คำพิพากษาที่ ๔๓๐๑/๒๕๔๓ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๓๑ มาตรา ๖๙ วรรคสอง ประกอบมาตรา ๓๐ มาตรา ๗๐ วรรคสอง ประกอบมาตรา ๓๑ และมาตรา ๗๔ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๑ และมาตรา ๘๓ และขอให้จ่ายค่าปรับกึ่งหนึ่งแก่โจทก์

          ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่า คดีมีมูล ให้ประทับฟ้อง แต่จำเลยที่ ๓ หลบหนีจึงออกหมายจับและสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราวเฉพาะจำเลยที่ ๓

          จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ให้การปฏิเสธ

          ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาว่า จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ มีความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๓๗ มาตรา ๓๐ (๑), ๓๑ (๓), ๖๙ วรรคสอง และ ๗๐ วรรคสอง อันเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๑ ความผิดฐานทำซ้ำซึ่งโปรแกรมคอมพิวเตอร์อันมีลิขสิทธิ์เพื่อการค้า ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๓๗ มาตรา ๖๙ วรรคสอง ลงโทษปรับจำเลยที่ ๑ เป็นเงิน ๔๐๐,๐๐๐ บาท จำคุกจำเลยที่ ๒ เป็นเวลา ๑ ปี และปรับ ๓๐๐,๐๐๐ บาท ความผิดฐานแจกจ่ายโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อการค้า ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๓๗ มาตรา ๗๐ วรรคสอง ลงโทษปรับจำเลยที่ ๑ เป็นเงิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท จำคุกจำเลยที่ ๒ เป็นเวลา ๖ เดือน และปรับ ๑๕๐,๐๐๐ บาท
          รวมลงโทษปรับจำเลยที่ ๑ เป็นเงิน ๖๐๐,๐๐๐ บาท จำคุกจำเลยที่ ๒ เป็นเวลา ๑ ปี ๖ เดือน และปรับ ๔๕๐,๐๐๐ บาท เมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ ๒ เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน เห็นควรให้โอกาสกลับตนเป็นพลเมืองดีต่อไป โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด ๒ ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๖ ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙, ๓๐ แต่ให้กักขังได้ไม่เกิน ๑ ปี ให้จ่ายค่าปรับกึ่งหนึ่งแก่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๓๗ มาตรา ๗๖

          จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

          ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศวินิจฉัยว่า มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยในเบื้องต้นว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ในความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ โดยการทำซ้ำและแจกจ่ายโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ตามฟ้องหรือไม่

          ปัญหาดังกล่าวตามทางนำสืบของโจทก์ได้ความว่า โจทก์ได้มอบหมายให้นายสตีเฟ่นไปล่อซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ของจำเลยที่ ๑ จากพนักงานขายของจำเลยที่ ๑ ที่สำนักงานของจำเลยที่ ๑ มาได้ ๑ เครื่อง ต่อมาโจทก์ได้ให้นายสรวุฒิซึ่งมีความรู้ทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ตรวจสอบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ล่อซื้อมาได้ดังกล่าว พบว่า มีการละเมิดลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์โดยทำซ้ำบันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ลงในแผ่นบันทึกข้อมูลถาวร (Hard disk) ของเครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าว ซึ่งแสดงว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ เช่นนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิดำเนินคดีแก่ผู้ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๓๗ ได้ทั้งทางแพ่งและทางอาญา ซึ่งมีวิธีพิจารณาคดีและการรับฟังพยานหลักฐานที่แตกต่างกัน

          แต่โจทก์เลือกดำเนินคดีนี้โดยฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีอาญาจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายในการดำเนินคดีอาญา ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.๒๕๓๙ มาตรา ๒๖ ซึ่งให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม ดังนี้ ในการที่ศาลจะพิพากษาลงโทษจำเลยตามคำฟ้องของโจทก์ได้นั้น นอกจากโจทก์จะต้องนำสืบพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ให้ศาลเห็นได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่า จำเลยได้กระทำความผิดตามคำฟ้องของโจทก์จริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๒๗ แล้ว ยังต้องได้ความว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายที่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒ (๔) และมาตรา ๒๘ (๒) ด้วย

         คดีนี้แม้วัตถุพยานคือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่โจทก์ดำเนินการว่าจ้างนายสตีเฟ่นไปล่อซื้อมาได้จะสามารถนำมาตรวจสอบได้ว่ามีการทำซ้ำบันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ลงในแผ่นบันทึกข้อมูลถาวรของเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ และมีการแจกจ่ายให้แก่นายสตีเฟ่นผู้ไปล่อซื้อ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ก็ตาม แต่จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ นำสืบโดยมีจำเลยที่ ๒ และพนักงานขายของจำเลยที่ ๑ หลายคนมาเบิกความทำนองเดียวกันว่า จำเลยที่ ๑ ขายเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์แก่ลูกค้าเท่านั้น จำเลยที่ ๑ ออกคำสั่งห้ามพนักงานลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายในเครื่องคอมพิวเตอร์ให้แก่ลูกค้าที่ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ของจำเลยที่ ๑ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่จำเลยที่ ๑ ผลิตและลงโปรแกรมที่ถูกต้องเพื่อใช้ทดลองเครื่องเสร็จแล้วจะลบโปรแกรมดังกล่าวออกทั้งหมดก่อนส่งมอบแก่ผู้ซื้อ จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ไม่ได้รู้เห็นหรือร่วมกระทำการทำซ้ำและแจกจ่ายโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตามฟ้อง

       และพยานหลักฐานสำคัญของโจทก์ได้แก่คำเบิกความของนายสตีเฟ่นประจักษ์พยานที่เบิกความประกอบเทปบันทึกการสนทนาในการติดต่อซื้อขายเครื่องคอมพิวเตอร์และข้อความการสนทนาที่บันทึกไว้เป็นภาษาอังกฤษ พร้อมคำแปล ซึ่งพยานหลักฐานของโจทก์ดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานที่ได้มาจากการที่โจทก์ว่าจ้างให้นายสตีเฟ่นไปล่อซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสาม นายสตีเฟ่นย่อมเป็นผู้มีประโยชน์ได้เสียในการรับจ้างทำงานให้แก่โจทก์ จึงเป็นพยานหลักฐานที่ต้องพิจารณาด้วยความระมัดระวัง และเมื่อพิเคราะห์พยานหลักฐานของโจทก์แล้ว ปรากฏว่า ตามคำเบิกความของนายสรวุฒิผู้ตรวจสอบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในแผ่นบันทึกข้อมูลถาวรของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ล่อซื้อมาได้ดังกล่าวได้ความว่า การทำซ้ำบันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในแผ่นบันทึกข้อมูลถาวรนี้ กระทำโดยการบันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์จากแผ่นบันทึกข้อมูลถาวรอีกเครื่องหนึ่งที่เป็นเครื่องต้นแบบ ในลักษณะถ่ายสำเนาเหมือนกันทั้งหมด (Track by track) โดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในแผ่นบันทึกข้อมูลถาวรต้นแบบดังกล่าวก็เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่บันทึกไว้โดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์เช่นกัน แต่คดีนี้โจทก์ไม่มีแผ่นบันทึกข้อมูลถาวรเครื่องต้นแบบดังกล่าวมาเป็นพยานหลักฐาน และไม่ปรากฏว่าเป็นแผ่นบันทึกข้อมูลถาวรของใคร เก็บไว้ที่ไหนอย่างไร ใครเป็นผู้ทำซ้ำลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในแผ่นบันทึกข้อมูลเครื่องต้นแบบนี้ไว้ ทั้งตามคำฟ้องของโจทก์ก็บรรยายว่า เมื่อระหว่างวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๔๐ ถึงวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ จำเลยทั้งสามร่วมกันทำซ้ำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ของโจทก์ โดยการทำสำเนาของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ดังกล่าวบรรจุลงในแผ่นบันทึกข้อมูลถาวรของเครื่องคอมพิวเตอร์ของจำเลยที่ ๑ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ และจำเลยทั้งสามได้ร่วมกันขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขายและแจกจ่ายโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ดังกล่าวให้แก่ลูกค้าของจำเลยในลักษณะที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ โดยจำเลยทั้งสามรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย และแจกจ่ายให้แก่ลูกค้านั้น ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ ซึ่งตามคำฟ้องดังกล่าวแสดงว่า โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จำเลยทำซ้ำลงในแผ่นบันทึกข้อมูลถาวรของเครื่องคอมพิวเตอร์กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จำเลยมีไว้เพื่อขาย เสนอขาย ขาย และแจกจ่ายนั้นเป็นโปรแกรมอันเดียวกัน ซึ่งได้แก่โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีผู้ลงไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีการล่อซื้อมาได้ตามที่โจทก์นำสืบนั่นเอง

            นอกจากนี้นายสตีเฟ่นเบิกความประกอบบันทึกข้อความการสนทนากับผู้ขายว่า เมื่อวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ พยานไปที่สำนักงานของจำเลยที่ ๑ ที่อาคารพญาไทพลาซ่า และติดต่อขอซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์กับจำเลยที่ ๓ ซึ่งเป็นพนักงานขายของจำเลยที่ ๑ พยานได้แจ้งถึงความต้องการใช้งานที่ทำโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนว่า ต้องการใช้ทำงานเกี่ยวกับการทำจดหมายหรือเอกสารหรือเวิร์ดโปรเซสซิง โปรแกรมเกี่ยวกับการทำบัญชี การทำฐานข้อมูลและการทำรูปภาพต่าง ๆ จำเลยที่ ๓ ก็บอกชื่อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับการใช้งานดังกล่าว และจำเลยที่ ๓ ยังบอกว่าครื่องคอมพิวเตอร์ของจำเลยที่ ๑ มีโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการใช้งานต่าง ๆ ดังกล่าวติดตั้งอยู่ในเครื่องด้วย แต่เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้จากเจ้าของลิขสิทธิ์ และราคาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จำเลยที่ ๑ ขายนั้นรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้รับอนุญาตดังกล่าวนี้ด้วยแล้ว จากนั้นจำเลยที่ ๓ ได้แสดงการทำงานของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ให้พยานดู เช่น โปรแกรมวินโดว์ ๙๕ และโปรแกรมไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ แต่ก็ได้ความว่า จำเลยที่ ๓ ยังบอกพยานด้วยว่า ถ้าพยานต้องการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้รับอนุญาตก็มีขายให้ แต่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม ในที่สุดพยานก็ตกลงซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์กับจำเลยที่ ๓ โดยไม่ได้ตกลงซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้รับอนุญาตที่ต้องจ่ายเงินเพิ่มตามที่จำเลยที่ ๓ บอกให้ทราบแล้วแต่อย่างใด แสดงให้เห็นว่า นายสตีเฟ่นตกลงซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์โดยต้องการให้มีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้รับอนุญาตอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตกลงซื้อกับจำเลยที่ ๓ ด้วย

          ทั้งยังได้ความจากคำเบิกความนายสตีเฟ่นและบันทึกการสนทนาพร้อมคำแปลอีกว่า จำเลยที่ ๓ บอกพยานว่าจะต้องใช้เวลาในการประกอบเครื่องและลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จึงนัดให้พยานมารับเครื่องวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ ครั้นถึงวันนัดรับเครื่อง พยานก็เดินทางไปที่สำนักงานของจำเลยที่ ๑ ดังกล่าว จำเลยที่ ๓ พาพยานไปที่ห้องแสดงสินค้าและได้พบกับช่างชื่อนายนัทหรือคันธสิทธิ พบกล่องเปล่าวางที่พื้นและเครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมจอภาพวางอยู่บนโต๊ะ จำเลยที่ ๓ กับนายนัทได้สาธิตการใช้เครื่องให้พยานดูจนเป็นที่พอใจแล้ว พยานจึงชำระเงินค่าซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน ๓๓,๙๐๐ บาทให้แก่จำเลยที่ ๓ ต่อมาจำเลยที่ ๓ นำใบเสร็จรับเงินและใบรับประกันของจำเลยที่ ๑ ให้พยาน และจำเลยที่ ๓ กับนายนัทนำเครื่องคอมพิวเตอร์บรรจุลงกล่องปิดผนึก พยานได้ดูใบเสร็จรับเงินที่มีข้อความเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ซึ่งหมายถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จึงสอบถามจำเลยที่ ๓ และจำเลยที่ ๓ ตอบว่า ซอฟต์แวร์นี้ไม่ได้รับอนุญาต จึงมีการเขียนในใบเสร็จรับเงินว่า เครื่องคอมพิวเตอร์นี้ไม่มีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Software) แต่ที่จริงเครื่องคอมพิวเตอร์นี้มีซอฟต์แวร์อยู่ เวลาที่บริษัทจำเลยที่ ๑ ส่งเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ลูกค้า จำเลยที่ ๑ จะลบซอฟต์แวร์ทั้งหมด เพราะว่าไม่ได้รับอนุญาต แต่ถ้าคนใช้งานนำเครื่องคอมพิวเตอร์ไปใช้งานที่บ้านก็ไม่จำเป็นที่จะมีใบอนุญาต พยานถามอีกว่ามีการเขียนว่าไม่มีซอฟต์แวร์แต่จริง ๆ มีซอฟต์แวร์อยู่ จำเลยที่ ๓ ก็ตอบว่า ผมให้ซอฟต์แวร์คุณ จากคำเบิกความของนายสตีเฟ่นและบันทึกการสนทนาพร้อมคำแปลดังกล่าว เห็นได้ว่า แม้ในตอนแรกนายสตีเฟ่นเบิกความถึงคำพูดของจำเลยที่ ๓ ที่พูดกับนายสตีเฟ่นในวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ โดยจำเลยที่ ๓ อ้างว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ของจำเลยที่ ๑ มีโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับการใช้งานตามที่นายสตีเฟ่นแจ้งแก่จำเลยที่ ๓ ติดตั้งอยู่แล้ว แต่เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้รับอนุญาตและราคาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ขายรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าวด้วยแล้ว และจำเลยที่ ๓ ยังบอกว่า จะต้องมีการประกอบเครื่องและลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์จึงนัดให้นายสตีเฟ่นมารับเครื่องในวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ อันมีลักษณะที่แสดงว่าจำเลยที่ ๑ ไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีการทำซ้ำบันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ลงในแผ่นบันทึกข้อมูลถาวรของเครื่องอยู่ก่อนที่นายสตีเฟ่นจะไปล่อซื้อ แต่จะมีการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วมีการทำซ้ำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในเครื่องคอมพิวเตอร์หลังจากที่นายสตีเฟ่นตกลงซื้อกับจำเลยที่ ๓ แล้ว และปรากฏว่าในวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ เมื่อนายสตีเฟ่นไปรับเครื่องและได้สอบถามเกี่ยวกับข้อความในใบเสร็จรับเงินที่ระบุว่าไม่มีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Software) จำเลยที่ ๓ กลับบอกว่า จำเลยที่ ๑ จะลบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทั้งหมดออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ส่งให้แก่ลูกค้า แต่ซอฟต์แวร์นี้จำเลยที่ ๓ ให้นายสตีเฟ่น ซึ่งคำพูดของจำเลยที่ ๓ ในตอนหลังนี้ส่อแสดงให้เห็นทำนองว่า ตามปกติจำเลยที่ ๑ ไม่ต้องการลงโปรแกรมให้แก่ผู้ซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์แต่อย่างใด แต่จำเลยที่ ๓ ต้องการแถมโปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าวให้แก่นายสตีเฟ่นตามที่ได้ตกลงกันไว้ในวันที่นายสตีเฟ่นไปล่อซื้อ

               นอกจากนี้พยานโจทก์ไม่มีผู้ใดเบิกความยืนยันได้ว่าการทำซ้ำลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในแผ่นบันทึกข้อมูลถาวรของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ล่อซื้อนั้น ได้กระทำที่ไหน กระทำเมื่อใด แต่ปรากฏจากคำเบิกความของนายสตีเฟ่นดังกล่าวอีกว่า ในวันที่นายสตีเฟ่นไปรับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น จำเลยที่ ๓ พานายสตีเฟ่นไปที่ห้องแสดงสินค้าและพบกับช่างชื่อนายนัท ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ได้อยู่ในกล่อง แต่ถูกนำมาตั้งบนโต๊ะแล้ว ซึ่งเป็นพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นได้ว่า เมื่อจำเลยที่ ๑ ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ที่โรงงานเสร็จ และได้ส่งไปที่สำนักงานจำเลยที่ ๑ อาคารพญาไทพลาซ่า เพื่อรอส่งมอบแก่ลูกค้าที่สั่งซื้อคือนายสตีเฟ่นแล้ว หลังจากนั้นในช่วงระยะเวลาก่อนที่นายสตีเฟ่นจะมารับเครื่องตามเวลาที่นัดไว้มีผู้นำเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นออกจากกล่องมาวางบนโต๊ะ จึงมีความเป็นไปได้ที่พนักงานของจำเลยที่ ๑ อาจนำแผ่นบันทึกข้อมูลถาวรเครื่องต้นแบบเข้ามาใช้เป็นต้นแบบบันทึกถ่ายโปรแกรมคอมพิวเตอร์ลงไปในแผ่นบันทึกข้อมูลถาวรของเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องที่นายสตีเฟ่นล่อซื้อในช่วงระยะเวลาดังกล่าว

                 จึงเห็นได้ว่า พยานหลักฐานของโจทก์เองแสดงให้เห็นว่า การทำซ้ำบันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ลงในแผ่นบันทึกข้อมูลถาวรของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่นายสตีเฟ่นล่อซื้อนั้น เป็นการทำซ้ำอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์หลังจากวันที่นายสตีเฟ่นไปล่อซื้อแล้ว โดยเป็นการทำซ้ำเพื่อมอบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำซ้ำนั้นให้แก่นายสตีเฟ่นตามที่นายสตีเฟ่นได้ล่อซื้อนั่นเอง มิใช่เป็นการทำซ้ำโดยผู้กระทำมีเจตนากระทำผิดอยู่แล้วก่อนการล่อซื้อ ดังนี้ จึงน่าเชื่อว่าการที่มีผู้กระทำผิดด้วยการทำซ้ำบันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ลงในแผ่นบันทึกข้อมูลถาวรของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ล่อซื้อและแจกจ่ายตามฟ้องนั้น เกิดขึ้นเนื่องจากการล่อซื้อของนายสตีเฟ่นซึ่งได้รับจ้างให้ล่อซื้อจากโจทก์ เท่ากับโจทก์เป็นผู้ก่อให้ผู้อื่นกระทำผิดดังกล่าวขึ้น โจทก์ย่อมไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยที่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒ (๔) และมาตรา ๒๘ (๒) ซึ่งปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องดังกล่าวนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาลงโทษจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ มานั้น ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่เห็นพ้องด้วย และไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ อีกต่อไป เพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง

          พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ ๑ และที่ ๒


บันทึกการเข้า
SingCring
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #252201 เมื่อ: ตุลาคม 02, 2010, 11:09:24 AM »

          แต่จากคำพิพากษาดังกล่าว ศาลฎีกามิได้วินิจฉัยว่า หากจำเลยจำหน่ายสินค้าที่ละเมิดลิขสิทธิ์ไปเพราะมีการล่อซื้อ ไม่เป็นความผิด แต่ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีที่เกิดขึ้น เนื่องจากการล่อซื้อของนายสตีเฟ่นซึ่งได้รับจ้างให้ล่อซื้อจากโจทก์ เท่ากับโจทก์เป็นผู้ก่อให้ผู้อื่นกระทำผิดดังกล่าวขึ้น โจทก์ย่อมไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยที่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒ (๔) และมาตรา ๒๘ (๒) ก็คือโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้นเอง เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องแล้ว ศาลต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์เท่านั้น

          ดังนั้นจึงต้องแยกเรื่องการกระทำผิด กับเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ออกจากกัน

            ข้อเท็จจริงตามกระทู้ แม้ในตอนแรกเจ้าของร้านจะปฏิเสธไม่ไรท์แผ่นให้ในคราวแรกก็ตาม แต่พอนางนกต่อกลับมาอีกครั้ง เจ้าของร้านกลับไรท์แผ่นเพลงให้และคิดค่าไรท์แผ่นเพลงเป็นเงิน ๕๐ บาท จึงเป็นการกระทำความผิดตาม พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ ครบถ้วนแล้ว
            เพราะตามข้อเท็จจริงที่เจ้าของร้านเล่ามาปรากฏชัดว่า เจ้าของร้านรายนี้มีเพลงที่ละเมิดลิขสิทธิ์อยู่ในเครื่องอยู่แล้ว แต่พฤติการณ์ที่ไม่จำหน่ายในครั้งแรก เพราะไม่รู้จักนางนกต่อ แต่พอนางนกต่ออ้างว่ารู้จักคนนู้นนี่ ตนเองกลับไรท์เพลงให้ และยังคิดเงิน ๕๐ บาท ด้วย ย่อมแสดงให้เห็นว่า เจ้าของร้านมีเจตนาที่จะทำซ้ำอันเป็นผลงานที่ละเมิดลิขสิทธิ์และเพื่อแสวงหากำไรจากการทำซ้ำนั้นอยู่แล้วมาแต่ต้น เพียงแต่จะเลือกจำหน่ายให้แก่บุคคลที่รู้จักเท่านั้น จึงไม่ใช่เป็นกรณีที่เจ้าของร้านไม่มีเจตนาที่จะละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อการค้าหากำไรมาแต่ต้นนั้นเองครับ

          ซึ่งแตกต่างกับข้อเท็จจริงในคำพิพากษาของศาลฎีกา ที่วินิจฉัยว่า จำเลยที่ ๑ คือบริษัทเอเทค คอมพิวเตอร์ จำกัด  และจำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นผู้จัดการบริษัท ไม่มีเจตนาที่จะลงโปรแกรมละเมิดลิขสิทธิ์มาแต่ต้น และนโยบายบริษัทจะไม่ลงโปรแกรมละเมิดลิขสิทธิ์ให้แก่ลูกค้า แต่เหตุที่จำเลยที่ ๓ พนักงาน ซึ่งเป็นผู้ลงโปรแกรมละเมิดเลิขสิทธิ์ในเครื่องที่ผู้แทนโจทก์มาล่อซื้อ ก็เนื่องจากนายสตีเฟน ผู้แทนโจทก์ได้แจ้งให้แก่จำเลยที่ ๓ ว่าตกลงที่จะเอาโปรแกรมละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะหากลงของแท้ขจะต้องจ่ายเงินเพิ่ม ตรงนี้ศาลฎีกาจึงมองว่า โจทก์เป็นผู้ก่อให้จำเลยที่ ๓ กระทำความผิดนั้นเอง
   
บันทึกการเข้า
SingCring
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #252202 เมื่อ: ตุลาคม 02, 2010, 11:09:47 AM »

       หากมองภาพง่ายๆ หากการจำหน่ายสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิ่งอื่นที่ผิดกฎหมาย เพราะการล่อซื้อ ไม่มีความผิดแล้ว ในกรณีที่พนักงานสอบสวนสืบสวน ทำการล่อซื้อยาเสพติดจากผู้ค้า และได้ของกลางเป็นยาเสพติด เหตุใด ศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดทุกกรณี นั้นก็หมายความว่า การขายสินค้าจากการละเมิดลิขสิทธิ์จากล่อซื้อ นั้นมันเป็นความผิดในตัวอยู่แล้ว แต่ผู้กระทำจะต้องรับโทษหรือถูกลงโทษหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่าผู้กระทำมีเจตนาที่จะกระทำผิดมาแต่ต้นหรือไม่

        หากข้อเท็จจริงตามกระทู้ เจ้าของร้านไม่มีเพลงอันละเมิดลิขสิทธิ์ในเครื่องเลยสักเพลง และไม่เคยไรท์แผ่นขายให้ใครมาก่อน  แต่ตัวแทนบริษัทเจ้าของลิขสิทธิ์มารบเร้าให้หาเพลงให้โดยเสนอเงินจำนวนหนึ่ง ทำให้เจ้าของร้านเกิดกิเลส ไปแสวงหามาไรท์ให้เพราะเห็นแก่เงินที่ผู้แทนลิขสิทธิ์เสนอมา แบบนี้จึงจะเรียกว่าเป็นการก่อให้เจ้าของกระทำความผิด เจ้าของร้านจึงไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้อง

        ดังนั้นข้อเท็จจริงตามกระทู้ และความเห็นของเจ้าของร้านจึงไม่น่าจะถูกต้องครับ
         แต่พออ่านข้อเท็จ หลังๆเหตุที่ตัวแทนบริษัทเพลงถอนแจ้งความไป
        ๑. คงไม่เข้าใจกฎหมายพอสมควร และ
        ๒. คงอิทธิพลตามคำเล่าของเจ้าของร้าน

        ซึ่งเรื่องนี้ หากขึ้นไปสู่ศาลจริง เจ้าของร้านคงหัวเราะไม่ออกหรอกครับ


ปล. เรื่องนี้มิได้ชี้นำพวกตัวแทนลิขสิทธิ์ที่ไปหากินโดยการไปขู่บังคับผู้ประกอบการ
แต่เพื่อให้ข้อคิดเห็นแก่ผู้ประกอบการเกี่ยวกับด้านนี้  ต้องระวังให้มากๆนะครับ
บันทึกการเข้า
SingCring
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #252203 เมื่อ: ตุลาคม 02, 2010, 11:10:19 AM »

นอกจากนี้ คดีนี้โจทก์คือบริษัทไมโครซอฟ เป็นโจทก์ยื่นฟ้องเอง จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย หากข้อเท็จจริงเปลี่ยนไปว่า โจทก์ไปแจ้งความและให้ทางพนักงานสอบสวนดำเนินการตามขั้นตอนแล้วจะเป็นอย่างไร

ฎีกานี้ แม้ศาลฎีกายกฟ้องจำเลยก็ตาม แต่มีหมายเหตุท้ายฎีกาที่น่าสนใจมากๆ

_________________________________

หมายเหตุ 

          ศาลฎีกาได้เคยวินิจฉัยเป็นบรรทัดฐานมาโดยตลอดว่า ผู้ได้รับความเสียหายโดยพฤตินัย หากมีส่วนร่วมในการกระทำความผิด ยินยอมให้มีการกระทำความผิดหรือพัวพันในการกระทำความผิดแล้วย่อมไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย

           คำพิพากษาศาลฎีกาเรื่องนี้เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการที่ผู้เสียหายโดยพฤตินัยมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดดังที่ศาลฎีกากล่าวว่า "การที่ผู้กระทำความผิดด้วยการทำซ้ำบันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ลงในแผ่นบันทึกข้อมูลถาวรของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ล่อซื้อและแจกจ่ายตามฟ้องนั้นเกิดขึ้นเนื่องจากการล่อซื้อของนายสตีเฟ่นซึ่งได้รับจ้างให้ล่อซื้อจากโจทก์เท่ากับโจทก์เป็นผู้ก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดดังกล่าวขึ้น โจทก์ย่อมไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยที่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้"

           มีข้อสังเกตว่าหากผู้เสียหายหรือตัวแทนมิได้ดำเนินการไปล่อซื้อเองแต่ไปร้องทุกข์ให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีให้ หากพนักงานสอบสวนแสวงหาพยานหลักฐานในการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิดด้วยวิธีการอย่างเดียวกับที่โจทก์ในคดีนี้กระทำทุกอย่าง ปัญหาว่าจะมีผลในทางกฎหมายอย่างไร

           การล่อให้กระทำความผิด หรือที่เรียกกันในภาษาอังกฤษว่า"Entrapment" นั้น ศาลฎีกาของสหรัฐอเมริกาเคยตัดสินไว้ว่า คือกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐก่อให้บุคคลซึ่งมิได้คิดจะกระทำความผิดนั้น ๆ เกิดความคิดที่จะกระทำนั้น ๆ และได้กระทำความผิดนั้น ๆ ขึ้น ซึ่งผลในทางกฎหมายคือ ถือว่าการกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดเพราะผู้บัญญัติกฎหมายไม่ประสงค์ให้ความผิดนั้น ๆ ครอบคลุมถึงบุคคลที่กระทำเพราะถูกเจ้าหน้าที่ของรัฐกระตุ้นให้กระทำ

         หลักสำคัญที่จะถือว่าเป็น Entrapment คือผู้กระทำตั้งใจที่จะกระทำความผิดนั้น ๆ อยู่ก่อนแล้วหรือไม่ หากพร้อมอยู่แล้วก็ไม่เป็นการล่อแม้ว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐจะใช้กลยุทธประการใด ๆ ในการแสวงหาพยานหลักฐานก็ตาม ศาลของสหรัฐอเมริกาได้วินิจฉัยไว้ด้วยว่าจะถือเป็นการล่อได้ ผู้ทำการล่อต้องเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือบุคคลที่เป็นตัวแทนเช่น สายลับของเจ้าหน้าที่ การกระทำของเอกชนคนหนึ่งที่กระตุ้นให้เอกชนอีกคนหนึ่งกระทำความผิดไม่ถือเป็นการล่อ

           ข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลฎีกาเรื่องนี้ใกล้เคียงกับเรื่องEntrapment ตามหลักกฎหมายอเมริกันดังกล่าว เพราะศาลฎีกากล่าวว่า"การทำซ้ำ ตามที่ ได้ล่อซื้อ มิใช่เป็นการทำซ้ำโดยผู้กระทำมีเจตนากระทำผิดอยู่แล้วก่อนการล่อซื้อ" ซึ่งหมายความว่าเพราะไปล่อซื้อจำเลยจึงกระทำผิด(ด้วยการทำซ้ำ) ซึ่งหากไม่ไปล่อซื้อจำเลยก็คงไม่ทำซ้ำ

           หากข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลฎีกาเรื่องนี้ถือเป็นการ "ล่อให้กระทำความผิด" คำพิพากษาศาลฎีกานี้ก็ถือเป็นบรรทัดฐานได้ว่า ผู้ที่ล่อหรือใช้ผู้อื่นเป็นตัวแทนในการล่อไม่ถือเป็นผู้เสียหายที่จะร้องทุกข์หรือฟ้องร้องผู้กระทำความผิด เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่า ไม่ใช่การล่อ กล่าวคือมิได้ก่อให้จำเลยกระทำความผิดโดยจำเลยมีเจตนากระทำความผิดอยู่แล้ว "ก่อน" การ "ล่อ"หากพิสูจน์ได้เช่นนั้นก็ถือว่าเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยได้

           หากการล่อที่เข้าลักษณะของ Entrapment(กล่าวคือก่อให้ผู้ที่ไม่ได้มีเจตนากระทำความผิดได้ตกลงใจและกระทำความผิดนั้น) กระทำโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือตัวแทนเช่นสายลับ ผลในทางกฎหมายจะเป็นอย่างไรนั้นยังไม่เคยมีคำพิพากษาศาลฎีกาในศาลไทยวินิจฉัยเลย

           แต่อย่างไรก็ตามน่าจะใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๒๒๖ ถือว่าพยานหลักฐานนั้นได้มาโดยมิชอบซึ่งมีผลคือทำให้พยานหลักฐานนั้น "รับฟังไม่ได้"(Inadmissible) ทั้งนี้เพื่อเป็นการปรามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

           คดีนี้เป็นคดีอาญาเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งบริษัทผู้เสียหายนำคดีมาฟ้องเอง ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางโดยให้ยกฟ้อง เนื่องจากการแสวงหาพยานหลักฐานของโจทก์เกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์ของจำเลย โดยใช้วิธีการล่อซื้อตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏนั้น เป็นการ"ก่อ" ให้จำเลยกระทำผิดดังกล่าวขึ้น "มิใช่เป็นการกระทำซ้ำโดยผู้กระทำมีเจตนากระทำผิดอยู่แล้วก่อนการล่อซื้อ" โจทก์จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยที่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๒(๔) และมาตรา ๒๘(๒)

คำพิพากษาศาลฎีกาฉบับนี้มีประเด็นที่น่าพิจารณา ดังนี้

๑. การล่อซื้อ โดยทั่วไปศาลจะไม่รับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาด้วยวิธีอันไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่น พยานหลักฐานที่เกิดขึ้นจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญหลอกลวงหรือโดยมิชอบโดยประการอื่น (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๒๒๖) แต่บางครั้งเจ้าพนักงานตำรวจอาจประสบความยุ่งยากในการแสวงหาหลักฐานในความผิดบางประเภทที่มีการแอบทำการอย่างลี้ลับ เช่นการซื้อขายยาเสพติด หรือของที่ผิดกฎหมายประเภทอื่น เป็นต้น การจับผู้กระทำผิดขณะกระทำผิดพร้อมของกลางนั้นเป็นสิ่งที่ยากลำบาก เจ้าพนักงานตำรวจจึงมักปลอมตัวหรืออาศัยสายลับไปกระทำการล่อซื้อสินค้าที่ผิดกฎหมายนั้นเองเพื่อให้ได้พยานหลักฐานมาดำเนินคดีต่อไป ซึ่งหากการล่อซื้อดังกล่าวมิได้เป็นการใส่ร้ายป้ายสีหรือยัดเยียดความผิดให้จำเลย หรือเป็นฝ่ายใช้อุบายชักชวนให้บุคคลอื่นเกิดความคิดและกระทำผิดขึ้น แต่เป็นการใช้สายลับติดต่อเพื่อหาหลักฐานจับกุมผู้ที่กำลังกระทำผิดอยู่เองแล้วในทางปฏิบัติศาลถือว่าการกระทำดังกล่าวเป็นเพียงวิธีการเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลย ไม่เป็นการแสวงหาหลักฐานโดยมิชอบ ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน รับฟังโทษจำเลยได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๒๖(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๕๙/๒๕๔๒) ในทางกลับกัน ถ้าเจ้าพนักงานตำรวจไม่มีเหตุสงสัยว่าผู้ใดกำลังจะกระทำผิดอยู่ใช้อุบายชักชวนให้ผู้นั้นเกิดความคิดและกระทำผิดขึ้นถือว่าเจ้าพนักงานตำรวจเป็นฝ่ายริเริ่มให้มีการกระทำความผิดขึ้นเอง จึงไม่อาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นนั้นได้

           หลักที่ถือปฏิบัติโดยศาลไทยนี้สอดคล้องกับหลักที่ถือปฏิบัติในต่างประเทศ เช่น ในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่อนุญาตให้จำเลยยกข้อต่อสู้ให้พ้นผิดในกรณี "entrapment" หรือการล่อให้กระทำความผิดโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งไปชักจูงหรือกระตุ้นผู้อื่นที่ไม่ได้ตั้งใจกระทำผิดตั้งแต่แรก ให้กระทำความผิดนั้น ๆ เพื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นจะนำพยานหลักฐานดังกล่าวมาดำเนินคดีกับผู้ที่ถูกล่อ แต่หากจำเลยกระทำความผิดทางอาญานั้น ๆ เป็นปกติอยู่แล้ว(regularlyengageincriminalconduct) หรือตั้งใจหรือพร้อมจะกระทำผิดอยู่แล้ว ก็มิอาจยกเรื่องentrapment มาเป็นข้อต่อสู้ได้ ส่วนในประเทศอังกฤษมีแนวปฏิบัติที่ต่างจากประเทศสหรัฐอเมริกาเนื่องจากโดยปกติศาลอังกฤษจะไม่อนุญาตให้จำเลยยกเรื่อง entrapment มาเป็นข้อต่อสู้ให้พ้นผิดได้ (nodefenceofentrapment)แต่ถ้าพยานหลักฐานใดได้มาโดย entrapment และการรับฟังพยานหลักฐานนั้นจะกระทบต่อความยุติธรรมในคดีแล้วศาลอาจใช้ดุลพินิจไม่รับฟังพยานหลักฐานนั้น ๆ

ผู้บันทึกมีข้อสังเกตเกี่ยวกับการวินิจฉัยในเรื่องการล่อซื้อตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๔๓๐๑/๒๕๔๓ ดังนี้
          ๑.๑ กรณีตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๔๓๐๑/๒๕๔๓ มิใช่เป็นกรณีที่ศาลไม่รับฟังพยานหลักฐานที่เกิดจากการล่อซื้อ โดยอาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๒๖ แต่เป็นการที่ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นผู้ก่อให้จำเลยกระทำผิด โจทก์จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยที่มีอำนาจฟ้องคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒(๔) และมาตรา ๒๘(๒)

        เมื่อเปรียบเทียบกับเรื่อง entrapmentdefence ของประเทศสหรัฐอเมริกาแล้ว แม้ว่าเรื่องนี้จะมีการยกฟ้องโดยอาศัยหลักการเดียวกัน คือ ยกฟ้องเนื่องจากมีการชักจูงหรือกระตุ้นจำเลยที่ไม่ได้ตั้งใจกระทำผิดตั้งแต่แรกให้กระทำผิด แต่แนวคำวินิจฉัยตามฎีกานี้ต่างจาก entrapmentdefenceเพราะ ประการแรก กรณีนี้มิใช่เป็นกรณีที่จำเลยยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้แต่ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองเนื่องจากเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ประการที่สอง หลักในเรื่อง entrapment ของสหรัฐ จะต้องเป็นกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้ล่อซื้อ แต่ในคดีนี้โจทก์ซึ่งเป็นเอกชนดำเนินการให้มีการล่อซื้อ และประการสุดท้ายหลักเกณฑ์เรื่อง entrapmentdefenceมีบัญญัติชัดเจนในกฎหมายสหรัฐ โดยศาลจะยกฟ้องหากมีการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าเงื่อนไขตามที่กฎหมายกำหนดซึ่งเป็นการวินิจฉัยว่าจำเลยไม่ได้กระทำผิด ส่วนการยกฟ้องของศาลฎีกาในคดีนี้ศาลมิได้วินิจฉัยว่าจำเลยไม่ได้กระทำผิด แต่พิพากษายกฟ้องเนื่องจากโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง


          ๑.๒ ในการวินิจฉัยว่าการที่จำเลยทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์เฉพาะของโจทก์นั้นจะเกิดโดยจำเลยมีเจตนากระทำผิดอยู่แล้วก่อนการล่อซื้อหรือจะเกิดขึ้นเนื่องจากการล่อซื้อของฝ่ายโจทก์นั้น ศาลฎีกาฟังว่าการทำซ้ำบันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์พิพาทลงในแผ่นบันทึกข้อมูลถาวรของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีการล่อซื้อ เป็นการทำซ้ำอันละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์"หลังจาก" วันที่มีการล่อซื้อเพื่อมอบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำซ้ำนั้นให้แก่ผู้ล่อซื้อ จึงมิใช่เป็นการทำซ้ำโดยผู้กระทำมีเจตนากระทำผิดอยู่แล้วก่อนการล่อซื้อ โจทก์จึงเป็นผู้ก่อให้ผู้อื่นกระทำผิดดังกล่าวขึ้น ซึ่งแสดงว่าศาลฎีกาถือช่วงเวลาในการทำซ้ำเป็นหลักสำคัญในการพิจารณาว่าผู้กระทำผิดอยู่แล้วก่อนการล่อซื้อหรือไม่


           ด้วยความเคารพอย่างสูงต่อคำพิพากษาศาลฎีกาฉบับนี้ เห็นว่าในทางปฏิบัติรูปแบบการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวกับการจำหน่ายเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีการติดตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ปลอมอาจเป็นไปได้ทั้งสองกรณี กล่าวคือรูปแบบที่ ๑ ซื้อขายเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประกอบเสร็จแล้วพร้อมติดตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ปลอม กรณีนี้ผู้ซื้อสามารถรับของไปได้เลย และรูปแบบที่ ๒ ซื้อขายเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ยังประกอบและติดตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ปลอมยังไม่เสร็จ ผู้ซื้อต้องรอรับของภายหลัง ซึ่งอาจมองได้ว่าฝ่ายโจทก์ในคดีนี้ไปล่อซื้อสินค้าที่มีการประกอบธุรกิจในรูปแบบที่สอง มีข้อน่าคิดว่าหากพิสูจน์ได้ว่าจำเลยประกอบธุรกิจในรูปแบบดังกล่าวเป็นปกติอยู่แล้วช่วงเวลาในการทำซ้ำจะยังเป็นหลักสำคัญในการพิจารณาว่าผู้กระทำมีเจตนากระทำผิดอยู่แล้วก่อนการล่อซื้อหรือไม่ เนื่องจากการล่อซื้ออาจเป็นเพียงการไปสุ่มเอาพยานหลักฐานที่เกิดจากการกระทำผิดเป็นปกติอยู่แล้วออกมา แต่มิได้ไปก่อให้ผู้ที่มิได้คิดจะกระทำผิดอยู่ก่อนกระทำความผิดขึ้น

           อย่างไรก็ตาม แนวคำวินิจฉัยของศาลฎีกาในคดีนี้แสดงให้เห็นว่าแม้ศาลฎีกามิได้ปฏิเสธการแสวงหาพยานหลักฐานด้วยการล่อซื้อโดยเอกชนหากการล่อซื้อนั้นกระทำโดยชอบ แต่ศาลฎีกาก็พิจารณาพยานหลักฐานในส่วนที่เกี่ยวกับการล่อซื้อโดยเอกชนด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่งซึ่งนับว่ามีเหตุผลและมีความจำเป็น เพราะการล่อซื้อโดยเอกชนมีเพียงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๒๖ กำหนดกรอบเอาไว้ ทั้งไม่ปรากฏแนวบรรทัดฐานของคำพิพากษาศาลฎีกาในเรื่องนี้ขณะที่การล่อซื้อโดยเจ้าพนักงานตำรวจหรือตัวแทนนอกจากจะมีประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๒๖ กำหนดขอบเขตไว้ ยังอาจมองว่ากฎหมายให้อำนาจทำได้โดยเข้าลักษณะการแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๒(๑๐) ทั้งยังปรากฏหลักที่ถือปฏิบัติและแนวคำพิพากษาศาลฎีกาสนับสนุนไว้อย่างชัดเจน


๒. สิทธิดำเนินคดีแก่ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ทางแพ่ง

           มีประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับคำวินิจฉัยของศาลฎีกาในตอนต้นเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ในการดำเนินคดีแก่ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยศาลฎีกากล่าวถึงสิทธิทั้งในทางแพ่งและในทางอาญา พร้อมระบุด้วยว่ามีวิธีพิจารณาคดีและการรับฟังพยานหลักฐานที่แตกต่างกันและเมื่อพิจารณาประกอบกับความเคร่งครัดของศาลฎีกาในการปรับใช้และตีความประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแล้ว คล้ายกับศาลฎีกาให้ข้อเตือนใจว่าโจทก์ยังมีทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่งในการดำเนินคดีแก่ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์โดยอาศัยการเยียวยาทางแพ่ง ซึ่งแม้คำวินิจฉัยของศาลฎีกาในตอนท้ายที่ว่าโจทก์เป็นผู้ก่อให้ผู้อื่นกระทำผิดดังกล่าวขึ้นจึงไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยที่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาได้นั้นอาจกระทบต่อการที่โจทก์ในคดีนี้จะนำคดีไปฟ้องใหม่เป็นคดีแพ่งก็ตามข้อเตือนใจนี้น่าจะทำให้เจ้าของลิขสิทธิ์หรือเจ้าของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาโดยทั่วไปหันมาพิจารณาทางเลือกในการดำเนินคดีละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาเป็นคดีแพ่ง ซึ่งมีวิธีพิจารณาคดีที่ยืดหยุ่นกว่าโดยเฉพาะในส่วนของการแสวงหาพยานหลักฐานที่มีพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๓๙ และข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๔๐ กำหนดมาตรการต่าง ๆ ไว้ โดยรวมถึงมาตรการขอให้สืบพยานหลักฐานไว้ก่อนกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินซึ่งเจ้าของสิทธิอาจขอให้ศาลมีคำสั่งให้ยึดหรืออายัดเอกสารหรือวัตถุที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานได้ แม้ว่ายังไม่มีการฟ้องคดีในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินว่าพยานหลักฐานดังกล่าวจะถูกทำให้เสียหายสูญหาย ทำลาย หรือมีเหตุอื่นใดที่จะทำให้ยากแก่การนำมาสืบในภายหลังได้ (พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาตรา ๒๙ และข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาฯ ข้อ ๒๐ ถึง ๒๒)

       
    เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์,สุทธิพล ทวีชัยการ

บันทึกการเข้า
SingCring
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #252204 เมื่อ: ตุลาคม 02, 2010, 11:12:12 AM »

ยังขำตัวเอง ตอบไปได้ไงขนาดนั้น Cool Cool Cool
บันทึกการเข้า
นายกระจง
Cement For Life.....
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2938
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 31460


ช่างมันเถอะ


« ตอบ #252205 เมื่อ: ตุลาคม 02, 2010, 11:13:07 AM »

หวัดดีครับพี่น้องด้ามขวาน กทม อากาศร้อนครับ ใครมีเลขเด็ด เลขดัง แจ้งด้วยครับจะหาทุนไปงานมีตติ้งด้ามขวาน อิอิ

                 ๘   ๗   ๑   ครับน้าดา   .........    เบอร์เรือรบที่ไปปราบสลัดโอมาน   คิก คิก

                 แต่ถ้าเบอร์หลักกิโลที่เขาไปไหว้กันนี่ นู่ไม่รุ๊    Tongue Tongue    อะไรก็เป็นตัวเลขไปหมด   เศร้า





โซมาเลียครับลุง ให้ข้อมูลที่ถูกต้องด้วยนะครับ เดี๋ยวน้าดามึนๆๆๆๆ
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นคนต้องอดทน ไม่อดทนก็อดตาย
 
Southlander
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 5711
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 48212



« ตอบ #252206 เมื่อ: ตุลาคม 02, 2010, 11:13:10 AM »

ผมอ่านยังไม่จบแต่เกลียดมากกะพวกหากิน กับ กม ลิขสิทธิ์
บันทึกการเข้า

๏ทุกวันนี้ศึกไกลยังไม่ห่วง  แต่หวั่นทรวงศึกใกล้ไล่ข่มเหง
ถ้าคนไทยหันมาฆ่ากันเอง   จะร้องเพลงชาติไทยให้ใครฟัง
                      
                             โดย:นภาลัย สุวรรณธาดา พศ.๒๕๑๐
Pandanus
Hero Member
*****

คะแนน 6378
ออฟไลน์

กระทู้: 40175


เรื่องบังเอิญไม่มีจริง


« ตอบ #252207 เมื่อ: ตุลาคม 02, 2010, 11:25:37 AM »

ผมอ่านยังไม่จบแต่เกลียดมากกะพวกหากิน กับ กม ลิขสิทธิ์

พูดยังกะมีใครอ่านจบ   คิก คิก
บันทึกการเข้า
salinee19
ออยล์คนที่ต้องดูแลตัวเอง.
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 627
ออฟไลน์

เพศ: หญิง
กระทู้: 6525


.....^.^


« ตอบ #252208 เมื่อ: ตุลาคม 02, 2010, 11:26:23 AM »

พี่สาม มาหาดใหญ่เหรอ นอนหาดใหญ่ หรือ นอนหาดแก้ว  Grin

น้องสี่อยากนอนที่ใหน พี่ได้เพครับ  Cheesy Cheesy


เดี๋ยวถาม ผบ. ก่อนว่าติดธุระไหร๋มั้ง  ถ้า ผบ. ไป ผมก่าไป  Grin


ป.ล. หาดแก้วหว๋า อีได้ใช้สิทธิ์ไอ้ออลย์ลดราคาห้องพักด้วยไง เผื่อค่ำ ๆ มีลุ้น คิก คิก

โอเค สถานีหาดแก้ว เจอกันครับ  จูบบบบ จูบบบบ จูบบบบ


เจ้าออยล์ไปใหนแล้ว เตรียมห้องที่ดอมกันได้ ด่วน  Grin Grin


บ่ายสามรู้ผลครับว่าได้ไปไหม  รอให้ ผบ. กลับจากงานเลี้ยงเกษียณก่อน Cheesy

ยินดีค่ะ..มาโทรนะค่ะ 080-3644463  ไหว้
บันทึกการเข้า

...--*
babor
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #252209 เมื่อ: ตุลาคม 02, 2010, 11:27:58 AM »


สิงห์ฉ็อง ฉ็องสิงห์ ว่างบ่ เย็นนี้

มาสุราษฏร์รึ

มาท่าหลารึ


มาท่าแครึ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 16811 16812 16813 [16814] 16815 16816 16817 ... 35779
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.358 วินาที กับ 22 คำสั่ง