ตอบตรงนี้ก็ได้ ระบบแบบนั้น ผมใช้อยู่สองตัว ใช้มอเตอร์ขนาด แรงครึ่งหรือสองแรงนี่แหละ จำไม่แม่น อิๆ
พี่เข้มครับ
พี่ดุลย์ ไม่ถามเรื่องระบบนะครับ แกถามเรื่องกินไฟ หรือไม่กินนะครับ ผมอี้ตอบที่กระทู้นู้ไปว่าถ้าหลวงไม่ตัดไฟมันก้าติด ถ้าหลวงตัดไฟ สงสัยว่าดับ กลัวพี่ดุลย์แกจะถีบผมหงายหลังครับ เลยตอบมั่วๆไปนิครับ
ปั๊มแบบหอยโข่งเมื่อสร้างแรงดันได้ถึงจุดที่มันทำได้แล้วก็จะไม่สร้างเพิ่มครับ เพราะทางเข้า ไม่ได้มีวาวล์กันกลับไว้ด้วย เลยทำให้แรงดันสามารถวีกลับไปยังทางเข้าได้ครับ
ขอบคุณครับ
เอาล่ะๆ เรื่องนี้มันมีประเด็นและที่มา และผมเห็นว่ามันเป็นประโยชน์กับชาวบ้านหลายคนเลยเอามาเผยแพร่......เรื่องมันมีอยู่ว่า
ตอนผมจบใหม่ๆ และเข้าทำงานที่โรงงานแห่งหนึ่งในแผนกซ่อมบำรุงนั้น ในแผนกเราจะมีวิศวกรซ่อมบำรุงอยู่สองคน ผมไฟฟ้า
คู่กับอีกคนคือเครื่องกล ทีนี้เรามีเครื่องจักรอันหนึ่งที่เป็นลูกกลิ้งหมุนและอัดไอน้ำให้ความร้อนกะลูกกลิ้งนี้ด้วย และก็มีปั๊มน้ำหอยโข่งอัดน้ำเย็น
เข้าไปหล่อแกนกลางที่กลวงด้วยเพื่อรักษาอุณภูมิไม่ให้ร้อนเกินไปด้วย
ปัญหามันคือปั๊มตัวนี้มอเตอร์มันใหม้บ่อยต้องเปลี่ยนตัวใหม่อยู่เรื่อย....แต่ตัวใหม่ที่เอามาเปลี่ยนมันก็สเปคเดิม งานนี้ก็เพื่อนผมวิศวะเครื่องกล
เขาเลือกปั๊มมาเองติดตั้งเอง ทางผมแค่รับผิดชอบจ่ายไฟให้..ปัญหานี้ผมได้คุยกะมันว่าสาเหตุที่แท้จริงมันอยู่ตรงไหน
ผมคิดว่าโฟลว์เรทมันไม่เพียงพอทำให้ปั๊มเกินกำลังจนใหม้...แต่เพื่อนผมมันคิดว่าไม่น่าใช่
มันคิดว่าที่ปั๊มมันใหม้น่าจะเกิดจากที่โอเปอร์เรเตอร์ปิดวาล์วทางน้ำออกแล้วลืมเปิดจนปั๊มมันอั้นจนโอเวอร์โหลด มันจึงใหม้ ผมเถียงกะมันว่า
ไม่น่าจะใช่เพราะถ้าปิดไม่ให้น้ำออกก็เท่ากะว่า ไม่เกิดงานขึ้นทางฟิสิกส์ (งาน = แรง x ระยะทาง) เมื่อไม่เกิดงานขึ้น มอเตอร์ก็น่าจะกินกระแสน้อยลง
และมันก็จะไม่ใหม้....เรื่องนี้มันตรงกันข้ามกะความคิดแบบชาวบ้านเลยว่า น้ำไปไหนไม่ได้มันก็อั้นน่ะซิ....นั่นมันใช่กะปั๊มลูกสูบ แต่ไม่ใช่กะปั๊มหอยโข่ง
เมื่อเกิดปัญหานี้ขึ้นมาผมก็เสนอว่า เราต้องพิสูจน์ วิธีการพิสูจน์มันก็ไม่ยากเลยผมจะเอา คลิปแอมป์ จับกระแสมอเตอร์ให้ดูกันชัดๆว่า
ถ้าหากเราสตาร์ทปั๊มแล้วหรี่วาล์วทางออกจากเปิดมากไปเปิดน้อยหรือปิดวาล์วแล้วดูกระแสของมอเตอร์เราก็จะทราบทันทีว่าเกิดอะไรขึ้น
ผมไปเตรียมอุปกรณ์มาคือ คลิปแอมป์ คล้องเข้าที่เฟสหนึ่งของไฟฟ้าสามเฟสที่เข้ามอเตอร์และทำการ สตาร์ทปั๊ม ผลออกมาได้ดังนี้ครับ
สตาร์ทปั๊มแล้วเปิดวาล์วน้ำทางออกเต็มที่กระแสของมอเตอร์ขึ้นสูงสุดครับ แสดงว่ามอเตอร์กำลังรับโหลดเต็มที่ กินกระแสไฟสูงสุดเลย
ต่อมาค่อยๆหรี่วาล์วปิดน้ำลงเรื่อยๆ ปรากฎว่ากระแสไฟฟ้าลดลงมาเรื่อยๆ ตามการหรี่วาล์วเลยครับ
และถ้าหากปิดวาล์วให้สนิทเลย กระแสของมอเตอร์น้อยสุดครับเท่ากับกระแส no load เลยครับ
ตอนนั้นผมคิดว่ามีทฤษฎีเดียวที่อธิบายปรากฎการเรื่องนี้ได้คือ งาน = แรง x ระยะทาง เมื่อมีแต่แรงคือปั๊มที่ถูกขับโดยมอเตอร์ แต่ไม่สามารถผลักดันน้ำออกไปได้
นั่นก็คือ ไม่มีระยะทาง เมื่อ ตัวคูณเป็นศูนย์ตามสมการ งาน = แรง x ระยะทาง (0)
งาน = 0 นั่นคือ น้ำไม่ไหล มอเตอร์ก็อยู่ในสภาวะ no load คือ ไม่มี งาน เกิดขึ้น
นั่นคือสิ่งที่ผมคิดในตอนนั้น แต่เรื่องนี้ทางทฤษฎีของวิศวกรรมเครื่องกลน่าจะมีทฤษฎีในเรื่องของปั๊มที่ตรงๆกว่านี้
เพราะในการเลือกปั๊มมันมีองค์ประกอบที่ต้องนำมาคิดเยอะครับเช่น เส้นผ่านศูนย์กลางของท่อ เฮดเดอร์ ความยาวของท่อน้ำ ซึ่งเรื่องนี้ผมไม่ชำนาญครับ
เมื่อเราได้ผลการทดลองดังนั้นแล้วการแก้ปัญหาก็ไม่ยากครับ สั่งปั๊มใหม่ที่สามารถทำ flow rate ได้มากขึ้น มอเตอร์ขนาดแรงม้าสูงขึ้น ปั๊มก็ไม่ใหม้อีกเลย