ทำไมต้องตอกเข็มรับน้ำหนักที่ก้นบ่อ หากไม่ใช่แถวอีสานที่พื้นดินแข็งมากแล้วล่ะก็ ตอกเถอะครับจะได้ไม่เป้นภาระของลูกหลาน รับน้ำหนักของบ่อและน้ำในบ่อ คอนกรีตหนึ่งคิวน้ำหนัก2.40ตันน้ำมวลเท่ากับ1ลิตร/1กิโลกรัม น้ำหนักมหาศาลมาก แรงดันของน้ำที่กระทำต่อด้านข้างอีก เหตุผลที่นิยมฝังดินด้วยคือ ให้ดินช่วยพยุงผนังบ่อ ผมเคยออกแบบถังเก็บน้ำขนาด4x8x3 เมตร เท่ากับเก็บน้ำได้ประมาณ 95คิว แรงดันภายในมหาศาลมาก ผนังถังคอนกรีตเสริมเหล็กtwo way หนา 20ซ.ม. เหล็กข้ออ้อย12 ม.ม. ขนาดนั้นยังต้องฝังในดินตั้งสองเมตร แต่ก็ยังมีบวมออกเล็กน้อย อย่าดูถูกแรงกระทำทางวิศวกรรมนะครับ ร้าวหน่อยเดียวไม่ได้เลยบ่อแบบนี้อ่ะ
แรงดันน้ำที่ความลึกต่างๆคำนวณได้จาก TVD (ft) x Density ( ppg ) x 0.052 จะได้ค่าแรงดันน้ำหน่วยเป้นปอนด์ต่อตารางนิ้วครับ Density = 8.32 ppg. TVD คือค่าความลึกในแนวดิ่งครับ
เห็นมะ น้าจงก็ออกแบบเองได้ อิอิ
ปัญหาก็คือ ผมคำนวณโครงสร้างไม่เป็นครับ ไม่รู้ว่าการที่จะทำให้ผนัง พื้น ทนแรงดันขนาดนี้ได้ต้องออกแบบอย่างไรนะครับ
เลยต้องรบกวนนายช่างแล้วละครับ
ยากไหร เอา H beam / I beam มาเชื่อมเป็นโครงสี่เหลี่ยมผืนผ้า แล้วเทปูนให้หนาๆ สักฟุต จบ
พังกะให้มันรู้ไป over engineering ซะขนาดนี้
กร๊ากๆ อย่านึกว่าบ้านเราไม่มีนะ โรงงานบ้านเราแห่งหนึ่งผมเห็นมาแล้ว แค่ชั้นเดียว โครงหลังคาไม่รับน้ำหนักอะไร
แต่ทำซ๊าๆๆๆ ผมว่าเอารถแบคโฮ ไปวิ่งบนหลังคาก็ยังได้ ใช้ H beam / I beam ขนาดใหญ่เป็นฟุตๆ เลย ทำโครงหลังคา
เพราะว่า มันเป็นโรงงานของสวิซฯ ใช้แปลนเดียวกับบอสัดแม่เขามาสร้าง ในเมืองไทย แต่คงลืมลดสเปคหลังคาลงมาให้เหมาะกะเมืองไทย
เพราะแปลนบ้านเขาหลังคาจะออกแบบให้แข็งแรงมากๆ เพื่อรับน้ำหนักหิมะตกได้ทั้งฤดูกาล แต่บ้านเราไม่มีหิมะ