อ้อ เล่าเรื่องเพื่อนให้อ่านมั่งกะได้ ค่าที่อุตส่าตามไปถึงเรือนจำนครพนม...
ไอ้บ่าวที่ผมบอกว่า มันติดเชื้อโรคปลาสวยงามนั้น...มันไม่ได้มาด้วยเรื่องท้องเสีย เหมือนของเรีอนจำนครพนม
มันมาด้วย ไข้ กะ เป็นจ้ำเลือดสีคล้ำเกือบม่วง กระจายเต็มหลังเบย ทีแรกนางสาวแพทย์นั้นแกคิดว่าติดเชื้อไข้กาฬหลังแอ่นโด่ะ
พอเขาแจ้งมาที่งานระบาดวิทยา ถึงกะต้องออกสอบสวนโรค แล้วควบคุมโรคโดยด่วนแหล่ะ
ทั้งเจาะเลือด เจาะไขสันหลัง กวาดคอ เอาเชื้อไปส่งตรวจ ตามฉีดยา แจกยากินฆ่าเชื้อ หวางอีตามกันครบทั้งบ้าน ทั้งโรงเรียน ในรถโรงเรียน
พอครบสามวัน ผลตรวจเพาะเชื้อออกมา พบเชื้อก่อโรคในปลา ที่นี้ ทั้งหัวหมอ หางหมอ ทั้งทีมระบาด ทำท่าอีไปไม่โุถกเอาเด่ะ...
ไม่หอนพบนิ๊ ...ไม่โร้อีจบรายงานพรื่อแหล่ะทีนี้.
ไหน ๆ กะอุตส่าห์แก้เก้อให้ผม ก็ต่อเรื่องนี้สักหิดแล้วกัน
เติ้นบอกว่า "นางสาวแพทย์" ผมอนุมานเอาเองว่า คือหมอใช้ทุน รพ.ท้องถิ่น อาจจะเป็นปีแรก ๆ แถมด้วยเป็นแพทย์หญิงอีก
ออกตัวก่อนนะ ว่า ประเด็นนี้ เหมือนกับถูกเลี่ยงที่จะพูดถึงมานาน และผมเองก็ไม่อยากยกมาพูดถึง
ด้วยเหตุผลคำโตว่า "เขาเป็นหมอนะ ไม่เก่งจริงเป็นหมอไม่ได้หรอก"
ครับ ไม่เถียง เขาเก่งจริง ผมเคยสอนในมัธยมที่นักเรียนเกือบทั้งห้องเป็นว่าที่แพทย์ มันเก่งจริง ๆ
แต่พอไปทำงาน ความที่เขาเป็นคนที่ฐานันดรสูงสุดในที่นั้น แพทย์รุ่นพี่รุ่นน้าสองสามคนที่อยู่ก่อนก็ไม่ได้สอนอะไรมากมาย
เพราะไม่ว่าง ไปเปิดคลีนิคขายยามั่ง มั่วอยู่กับงานบริหารอยู่มั่ง ก็เลยไม่ได้รู้อะไรมากมายไปกว่าที่เรียนมาและอินเตอร์เน็ต
ครั้นจะปรึกษาพยาบาลแก่ ๆ หรือ ตัวเองเป็นถึงแพทย์จบมหาวิทยาลัย
เหมือนกับถูกสอนมาว่าห้ามถามห้ามปรึกษาคนที่ด้อยกว่างั้นแหละ
แล้วพยาบาลและ จนท.อื่น ๆ ก็เหมือนถูกสอนมาว่า ต้องว่าตามแพทย์สั่งทุกประการ ผิดพลาดรับผิดชอบไม่ไหวนะเอ้อ
.................
ผมมองแตกต่างไปนิดหน่อย
ว่า พยาบาลแก่ ๆ นั่นน่ะ อยู่มาก่อนหมอใช้ทุนราวสามสิบปีได้มั๊ง เจอมาสารพัดโรคสารพัดอาการ
หมอใช้ทุน เด็กอายุยี่สิบกว่า ๆ เพิ่งออกงานท้องถิ่นนั้นได้ปีเศษ ๆ แต่ถูกสอนมาให้มั่นใจตัวเองสุด ๆ
โดยลำดับการบังคับบัญชาตามสายงาน แพทย์เวร(ซึ่งมักเป็นหมอใช้ทุนอยู่โยงเข้าเวรทั้งปีทั้งชาติ) จะมีตำแหน่งสูงสุดในตอนนั้น
ก็ต้องตัดสินใจ แล้วเพื่อรักษาฟอร์ม รักษาลุกของแพทย์ ก็จะไม่ปรึกษาหรือขอความเห็นพยาบาล......
..............
เตยหอมเป็นโรคหอบหืด ทีแรกก็ไม่ได้ร้ายแรงอะไรหรอก
ไปหาหมอที่ รพ.ท้องถิ่น ....หมอเวรที่เจอทุกหัวค่ำทุกดึก คือหมอใช้ทุนอายุราวเบญจเพส ผอมบางใส่แว่นแต่หน้าอกเบ้อเริ่มเทิ่ม
สิ่งที่ได้มาคือ การโอเวอร์โดสทุกครั้งที่ยาเก่าไม่ได้ผล หรือมีอาการคล้ายดื้อยา....
และเปลี่ยนตัวยาเป็นตัวที่มีผลข้างเคียงมองเห็นได้ชัด.....(ที่เตยหอมอ้วนปั๊กอยู่ทุกวันนี้ไงล่ะ )
ผมมารู้ว่า วิธีนั้นไม่ถูกต้องเท่าไหร่นัก ก็เมื่อประชุมผู้ปกครองนักเรียน มีคุณแม่ของนักเรียนห้องผมคนหนึ่งเป็นแพทย์หญิงโรคเด็ก....
แกใกล้ ๆ จะหกสิบแล้ว แกคุยกับผม แล้วรีบให้ผมพาลูกไปหาแกที่คลีนิค...
แล้วแกให้คำปรึกษาที่ผมมองว่า นี่ไงล่ะ ค่าของประสปการณ์.....
แกบอกว่า "การโอเวอร์โดสยานั้น ไม่ได้ผลเท่ากับการควบคุมวินัยการให้ยาของผู้ป่วย"
ยังไงล่ะ หมายถึงว่า ถ้ายาตัวนั้น บอกว่า ๔ ชั่วโมงต่อครั้ง ก็ต้องหมายความตามนั้นเป๊ะ ๆ ชนิดตั้งนาฬิกาปลุกกันเลย
แล้วผมก็ทำตามนั้น... แล้วก็ได้ผล...จนพอดีกับเตยหอมเริ่มมีภูมิคุมกันด้วย
..........
การเรียนรู้ มีหลากหลายวิธี.....
หมอ เรียนรู้โดยวิธีถ่ายทอดมาจากครูบาอาจารย์ และจากการฝึกงาน ดูงาน ในเวลาจำกัดหกเจ็ดปี แล้วก็มาทำงาน
พยาบาล เรียนรู้วิธีเดียวกัน แต่เพียงสองปี/สี่ปี แล้วก็มาทำงาน เจอของจริง เรียนรู้ ซึมซับประสบการณ์จากของจริงหลายสิบปี
ถามว่า .... แพทย์เกียรตินิยม มาใช้ทุนได้สองปี...จะมีความรู้มากกว่าพยาบาลลูกที่ที่ทำงานมาสามสิบปี ทุกเรื่องหรือไม่ ??............
เรื่องนี้ ถูกเลี่ยงที่จะพูดถึงมาตลอด เพราะบุคคลภายนอกไม่มีใครสาระแนเข้าไปอยู่แล้ว(นอกจากไอ้เถือกนี่)
ส่วนบุคคลภายใน ก็อยู่ภายใต้ระเบียบปฏิบัติตามสายการบังคับบัญชา....ไม่ออกมาร้องแรกแหกกะเฌอแน่นอน
แล้วส่วนใครที่อ่านจนจบก็แปลว่า เข้าขั้นสนใจเรื่องเพื่อนถึงขนาด.......