ชะมดเช็ด เลี้ยงชะมดเอาไข
ปัจจุบันชะมดเช็ดกำลังจะเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่น่าจับตามอง เช็ดชะมด หรือไขมันจากชะมดเช็ด
เป็นที่ต้องการของตลาดในและต่างประเทศ เพื่อนำไปผลิตยาหอม ยาไทยแผนโบราณ-น้ำอบไทย-
น้ำมันระเหยที่ใช้สำหรับสปา นอกจากนี้ยังเลี้ยงให้ผลกาแฟ เพื่อผลิต "กาแฟขี้ชะมด" สร้างรายได้
เป็นอย่างดีได้อีก ทำให้อาชีพการเลี้ยงชะมดเช็ดเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่มีรายได้งดงาม
ทุกวันนี้คนยังไม่นิยมมากเนื่องจากชะมดเช็ดเป็นสัตว์ป่าที่เพาะพันธุ์ยาก และนี่จึงเป็นเหตุให้องค์การ-
สวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ งานวิจัยเชิงประยุกต์ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงได้
ร่วมมือกับ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.) สนับสนุนการค้นคว้าวิจัยการเพาะพันธุ์ชะมดเช็ด
จนประสบความสำเร็จ พร้อมได้นำองค์ความรู้เผยแพร่ไปยังท้องถิ่นที่มีพื้นฐานการเลี้ยงชะมดเช็ดมา
อย่างช้านาน ณ ตำบลทับคาง อำเภอเขาย้อย จ.เพชรบุรี
ดร.อัมภา ทองภักดี รักษาการหัวหน้าฝ่ายวิจัย สำนักอนุรักษ์วิจัย และการศึกษา บอกว่าคนไทยรู้จักใช้
ประโยชน์ของชะมดเช็ดมาตั้งแต่โบราณโดยมากนิยมจับชะมดเช็ดมาจากธรรมชาติเพื่อใช้ประโยชน์จาก
ไขชะมด และไม่นิยมเพาะพันธุ์เอง เนื่องจากไม่มีความรู้ทางด้าน กระบวนการเพาะพันธ์ และส่วนใหญ่มัก
เกรงว่าชะมดเช็ดเป็นสัตว์ดุร้ายอาจกัดกินลูกตัวเองได้หากถูกรบกวน จึงยิ่งไม่นิยมเลี้ยงเพื่อเพาะพันธุ์มากขึ้น
ฉะนั้นเมื่อมีความพยายามที่จะเพาะพันธุ์ชะมดเช็ดจึงเป็นเหตุให้นักวิจัยต้องลงไปศึกษาวงจรชีวิตของ
ชะมดเช็ด เพื่อสร้างความเข้าใจด้านการเพาะเลี้ยงเพาะพันธุ์อย่างเป็นธรรมชาติ เพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งทาง
สังคม เศรษฐกิจ และแนวทางอนุรักษ์ที่จะสามารถลดการจับชะมดเช็ดจากธรรมชาติได้ พร้อมปูทางไปสู่การ
พัฒนาเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง
โครงการนี้เริ่มต้นมาจากการความต้องการในการอนุรักษ์พันธุ์ชะมดเช็ด จึงได้กำหนดขั้นตอนของการศึกษา
เป็นการสำรวจ และเก็บข้อมูลพร้อมตั้งเป้าไว้ว่า เราอยากได้ชะมดเช็ดที่เชื่องและปลอดโรคเพื่อทำให้เกษตรกร
มีเศรษฐกิจที่ดี ไม่ประกอบอาชีพแบบทรมานสัตว์ด้วย
http://eureka.bangkokbiznews.com/detail/525920ไขชะมดเช็ด กิโลกรัมละ4แสน
ไม้ที่เสียบด้านบนให้ชะมดไว้เช็ดไขนั้น จะใช้ ไม้โมก
เพราะเวลาที่ขูดเอาไขออกจากไม้ เนื้อไม้จะไม่หลุดออกมาด้วย
http://howjob.blogspot.com/2011/02/blog-post_9442.html