อ้อ ยังเหลืออีกที่ เป็นสวนป่า ปลูกไม้จำปาทองไว้ ยี่สิบกว่าปีแระ
พอเส้นรอบวงถึงสองร้อยทุกต้น ก็จะขายเหมา.... แบ่งสี่ส่วน ให้ลูกสี่คน
ที่เหลือคือที่ดิน เป็นของผม ผบ.ขอไว้ ว่าอย่าปลูกยางได้ไหม เท่าที่มีก็หลายแล้ว
ผบ.ขอปลูกทุเรียนหมอนทอง พืชที่ต้องใช้วิชาขั้นสูงในการทำทะวายเพื่อเอาราคาสูง
ทั้งแปลง คำนวณหยาบ ๆ ไร่ละ ๒๒ ต้น จะได้สองร้อยกว่าต้น
ผลผลิตเต็มที่ ได้ต้นละสี่ห้าร้อยกิโล (นี่แค่เบาะ ๆ นะ) จะได้ราวสิบตัน....
.... ราคาทะวาย อย่างหมา ๆ ก็ ห้าหกสิบ .... ครึ่งปีเกือบล้าน
ปีละสองหน...... โห....
เป็นเสี่ยนี่ เค้าต้องเตรียมตัวยังไงมั่งอ่ะน้าเบิ้ม
ล้ำมากอะจานปาด เกินชาวสวนละเติน
ไว้ผมเกษียณจะแวะไปเที่ยวครับ
ไม่ใช่จำปาทอง แต่เป็นตะเคียนครับ
สวนตะเคียนร้อยปี ณ ร่มไม้ รีสอร์ท ชุมพร
ตามชื่อไม่ได้เป็นสวนตะเคียนอุายร้อยปีนะครับ แต่เป็นตะเคียนทองที่ปลูกมาแค่สิบปีแต่ตั้งใจจะไม่ให้ตัดถ้าอายุไม่ถึงร้อยปี ผมคุยกับชายนิรนาม(เพราะลืมถามชื่อเขา)อยู่เสียพักใหญ่ และได้แนวคิดดีๆมามากมายเชียวครับ
บนพื้นที่แค่สิบห้าไร่ ชายนิรนามแบ่งพื้นที่เป็นสามส่วนเท่าๆครับ คือโซนของบ้านพักรีสอร์ทด้านหน้า ห้าไร่ถัดไปเป็นโซนของบ่อน้ำและป่าตะเคียนรายล้อม และโซนด้านหลังสุด เป็นป่าตะเคียนเดี่ยวๆที่ปลูกเก็บป่าไปอย่างนั้น จำนวนตะเคียนที่ลงไปก็ 1,600 กว่าต้น เฉลี่ยไร่ละร้อยต้นเท่านั้นครับ ภาพที่ออกมะจึงมีระยะห่างกันอย่างสวยงาม
ที่น่าสนใจคือที่นี่ออกแบบผังงานปลูกไว้ก่อนงานก่อสร้างครับ เรียกว่าหักปากกาเซียน(ที่ชอบปลูกบ้านก่อนปลููกต้นไม้)ไปหลายด้าม ยกตัวอย่างที่ตั้งบ้านพักแต่ละหลัง ตั้งอยู่ในวงล้อมของต้นตะเคียนทั้งสิ้น ถามความจริงเป็นเช่นที่เล่ามาหรือไม่ ผมตอบได้ว่าเป็นอย่างนั้นจริงๆเพราะรีสอร์ที่พัก เพิ่งขึ้นมาเมื่อปีกว่าๆนี้เองครับ ผมกลับบ้านเกือบทุกเดือน ขับผ่านทีไรก็ชอบมองมาที่สวนตะเคียนแห่งนี้ครับมันโก้ชะมัด
แนวถนนซ้ายมือนั่นแหละครับ ถนนสายเอเชียที่วิ่งตรงไปยังมาเลเซีย เรียกว่าสวนนี้อยู่ในจุดดักผู้เข้าพักได้สบายๆ ที่ดินแบบนี้เอาไปทำการค้าพาณิชย์ได้มากวิธี แต่ชายนิรนามคนนี้เลือกปลูกต้นไม้ครับ
ใครบอกปลูกต้นไม้ป่ากว่าจะได้เก็บกินนี่ต้องรอกันาน เห็นไหมครับว่าต้นไม้มันตอบโจทย์ธุรกิจในมิติที่มากกว่าที่เราคิด อย่างในกรณีนี้ สวนตะเคียนร้อยปีเป็นจุดขายที่ดึงลูกค้าเข้ามาพักได้ไม่น้อยไปกว่าสิ่งปลูกสร้างอลังการที่ต้องใช้เงินเนรมิต ต้นทุนไม่กี่บาทแรงงานเล็กน้อยกับต้นไม้1,600ต้น ทดแทนทุนเงินมหาศาล เอากันแค่ซื้อกล้าไม้ป่ากับขนไม้ล้อมมาลงหลุมนี่ก็ใช้เงินคนละขนาดกันแล้วครับ
ใครผ่านไปแถวนั้นลองแวะเข้าไปพักเข้าไปพูดคุยกับชายนิรนามดูครับ คนนี้ไม่ธรรมดา แนวคิดสร้างสวนตะเคียนร้อยปีมีรายละเอียดที่น่าสนใจกว่านี้มากนัก แต่ผมต้องกั๊กไว้ก่อน เพราะความจริงบางอย่างมันอาจไปทำลายฝันของใครหลายๆคน แต่พอดีกับที่ผมก็ไม่มีฝัน(ตามสมัยนิยม)อย่างนั้นเลยแชร์ความคิดแบบเดียวกันได้ลงตัว
ณ ร่มไม้รีสอร์ท ครั้งนึงเป็นแค่เพียงสวนตะเคียนเชิงเดี่ยวธรรมดาๆที่น่าสนใจ ในวันนี้มันมีหลายอย่างถูกแต่งเติมเข้าไปจนทำให้คนผ่านมาผ่านไปเริ่มเข้าใจแล้วว่าเขาทำอะไรกันอยู่ในสวนสวยๆแห่งนั้น ไม่ได้แค่บ้าปลูกต้นไม้ไปเรื่อยเปื่อย แต่แผนงานอันแยบยลมันซ่อนอยู่ในระหว่างทางครับ
ปล.คำถามโง่ๆ(ที่ผมถาม)ว่า "ทำไมถึงเลือกตะเคียน" ได้คำตอบกลับมาน่าฟังครับว่า ในบรรดาต้นไม้สูงใหญ่ที่ทรงต้นเปลาตรง ถ้าไม่ใช่ยางนาก็จะเป็นตะเคียน ผมคิดในใจว่าเขาเลือกตะเคียนเพราะสุดท้ายถ้าจะตัดขายในรุ่นหลานรุ่นเหลน คงตัดได้ง่ายกว่า(ด้วยกฏหมายปัจจุบัน)และเนื้อไม้มีมูลค่าสูงกว่า แต่คำตอบที่กลับมาง่ายกว่านั้นครับคือ "ตะเคียนเนื้อแข็งกว่ายางนาไม่ต้องกังวลเรื่องการหักโค่นใส่สิ่งก่อสร้าง ใบเล็กกว่าช่วยกรองแสงในระดับที่พอเหมาะ ไม่มืดทึบจนเกินไป" ......บอกแล้วไงครับว่าเขาวางแผนไว้ในใจหมดทุกคำถามเลยจริงๆ