เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
ตุลาคม 11, 2024, 03:27:23 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.ยินดีต้อนรับสุภาพชนทุกท่าน กรุณาใช้คำสุภาพด้วยครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 1146 1147 1148 [1149] 1150 1151 1152 ... 35779
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เพื่อนคอปืน...ด้ามขวาน  (อ่าน 25804370 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 134 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
PU45™
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 3692
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 62457



« ตอบ #17220 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2007, 09:38:22 AM »



สมันหรือเนื้อสมัน                            ละองหรือละมั่ง                          เก้งหม้อ
Cervus schomburki                         Cervus eldi                         Muntiacus feai                               



กูปรีหรือโคไพร                    เลียงผาหรือเยืองหรือกูรำหรือโครำ                        ควายป่า
   Bos sauveli                           Capricornis sumatraensis                         Bubalus bubalis




บันทึกการเข้า

                
PU45™
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 3692
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 62457



« ตอบ #17221 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2007, 09:43:53 AM »



           กระซู่                                       สมเสร็จ                                       แมวลายหินอ่อน
Dicerorhinus sumatrensis                Tapirus indicus                             Pardofelis marmorata



          กวางผา                                          พะยูนหรือหมูน้ำ                                 แรด
Naemorhedus griseus                               Dugong dugon                     Rhinoceros sondaicus



 
บันทึกการเข้า

                
PU45™
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 3692
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 62457



« ตอบ #17222 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2007, 09:46:14 AM »

                     
                                                    นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร
                                                Pseudochelidon sirintarae
 

ลักษณะ : นกนางแอ่นที่มีลำตัวยาว ๑๕ เซนติเมตร สีโดยทั่วไปมีสีดำเหลือบเขียวแกมฟ้า โคนหางมีแถบสีขาว ลักษณะเด่นได้แก่ มีวงสีขาวรอบตา ทำให้ดูมีดวงตาโปนโตออกมา จึงเรียกว่านกตาพอง นกที่โตเต็มวัย มีแกนขนหางคู่กลางยื่นยาวออกมา ๒ เส้น

อุปนิสัย : แหล่งผสมพันธุ์วางไข่ และที่อาศัยในฤดูร้อนยังไม่ทราบ ในบริเวณบึงบอระเพ็ด นกเจ้าหญิงสิรินธรจะเกาะนอน อยู่ในฝูงนกนางแอ่นชนิดอื่นๆ ที่เกาะอยู่ตามใบอ้อ และใบสนุ่นภายในบึงบอระเพ็ด บางครั้งก็พบอยู่ในกลุ่มนกกระจาบ และนกจาบปีกอ่อน กลุ่มนกเหล่านี้มีจำนวนนับพันตัว อาหารเชื่อได้ว่าได้แก่แมลงที่โฉบจับได้ในอากาศ

ที่อยู่อาศัย : อาศัยอยู่ตามดงอ้อและพืชน้ำในบริเวณบึงบอระเพ็ด

เขตแพร่กระจาย : พบเฉพาะในประเทศไทย พบในช่วงเดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาว

สถานภาพ : นกชนิดนี้สำรวจพบครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๑ จังหวัดนครสวรรค์ หลังจากการค้นพบครั้งแรกแล้วมีรายงานพบอีก ๓ ครั้ง แต่มีเพียง ๖ ตัวเท่านั้น นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร เป็นสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.๒๕๓๕

สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์: นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร เป็นนกที่สำคัญอย่างยิ่งในด้านการศึกษาความสัมพันธ์ของนกนางแอ่น เพราะนกชนิดที่มีความสัมพันธ์กับนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรมากที่สุด คือนกนางแอ่นคองโก ( Pseudochelidon euristomina ) ที่พบตามลำธารในประเทศซาอีร์ ในตอนกลางของแอฟริกาตะวันตก แหล่งที่พบนกทั้ง ๒ ชนิดนี้ห่างจากกันถึง ๑๐,๐๐๐ กิโลเมตร ประชากรในธรรมชาติของนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรเชื่อว่ามีอยู่น้อยมาก เพราะเป็นนกชนิดที่โบราณที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน แต่ละปีในฤดูหนาวจะถูกจับไปพร้อมๆกับนกนางแอ่นชนิดอื่น นอกจากนี้ที่พักนอนในฤดูหนาว คือ ดงอ้อ และพืชน้ำอื่นๆที่ถูกทำลายไปโดยการทำการประมง การเปลี่ยนหนองบึงเป็นนาข้าว และการควบคุมระดับน้ำในบึงเพื่อการพัฒนาหลายรูปแบบ สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดผลเสียต่อการคงอยู่ของพืชน้ำ และต่อนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรมาก
บันทึกการเข้า

                
PU45™
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 3692
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 62457



« ตอบ #17223 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2007, 09:47:27 AM »

                               

                                                          นกกระเรียน
                                                        Grus antigone

ลักษณะ : เป็นนกขนาดใหญ่เมื่อยืนมีขนาดสูงราว ๑๕๐ เซนติเมตร ส่วนหัวและคอไม่มีขนปกคลุม มีลักษณะเป็นปุ่มหยาบสีแดง ยกเว้นบริเวณกระหม่อมสีเขียวอมเทา ในฤดูผสมพันธุ์มีสีแดงส้มสดขึ้นกว่าเดิม ขนลำตัวสีเทาจนถึงสีเทาแกมฟ้า มีกระจุกขนสีขาวห้อยคลุมส่วนหาง จะงอยปากสีออกเขียว แข้งและเท้าสีแดงหรือสีชมพูอมฟ้า นกอายุน้อยมีขนสีน้ำตาลทั่วตัว บนส่วนหัวและลำคอมีขนสีน้ำตาลเหลืองปกคลุม ในประเทศไทยเป็นนกกระเรียนชนิดย่อย Sharpii ซึ่งไม่มีวงแหวนสีขาวรอบลำคอ

อุปนิสัย : ออกหากินเป็นคู่และเป็นกลุ่มครอบครัว กินพวกสัตว์ เช่น แมลง สัตว์เลื้อยคลาน กบ เขียด หอย ปลา กุ้งและพวกพืช เมล็ดข้าวและยอดหญ้าอ่อน ทำรังวางไข่ในฤดูฝนราวเดือนมิถุนายน ปกติวางไข่จำนวน ๒ ฟอง พ่อแม่นกจะเลี้ยงดูลูกอีกเป็นเวลาอย่างน้อย ๑๐ เดือน

ที่อยู่อาศัย : ชอบอาศัยตามทุ่งหญ้าที่ชื้นแฉะ และหนองบึงที่ใกล้ป่า

เขตแพร่กระจาย : นกกระเรียนชนิดย่อยนี้ มีเขตแพร่กระจายจากแคว้นอัสสัมในประเทศอินเดีย ประเทศพม่า ไทย ตอนใต้ลาว กัมพูชา เวียดนามตอนใต้ ถึงเมืองลูซุนประเทศฟิลิปปินส์ บางครั้งพลัดหลงไปถึงประเทศมาเลเซีย และยังมีประชากรอีกกลุ่มหนึ่งในรัฐควีนแลนด์ประเทศออสเตรเลีย

สถานภาพ : นกกระเรียนเคยพบอยู่ทั่วประเทศ ครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๗ พบ ๔ ตัว ที่วัดไผ่ล้อม จังหวัดปทุมธานี จากนั้นมีรายงานที่ไม่ยืนยันว่าพบนกกระเรียน ๔ ตัว ลงหากินในทุ่งนาอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๒๘

สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์ : นกกระเรียนจะจับคู่กันอยู่ชั่วชีวิต มีความผูกพันธ์กับคู่สูงมาก เมื่อคู่ของมันถูกยิงเสียชีวิตหรือบาดเจ็บ นกตัวที่เหลือจะไม่ยอมไป จนมันถูกยิงเสียชีวิตไปด้วย การทำลายแหล่งหากิน และทำรังวางไข่โดยการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชุ่มน้ำเป็นนาข้าวในหลายบริเวณ รวมทั้งการล่านก เป็นสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้นกกระเรียนหมดสิ้นไปจากประเทศไทย นอกจากนี้ นกกระเรียนเป็นนกที่ขยายพันธุ์ได้น้อย ต้องใช้เวลาเกือบ ๓ ปี ในการเจริญพันธุ์ โอกาสที่จะเพิ่มจำนวนขึ้นตามธรรมชาติจึงมีน้อยมาก

 


บันทึกการเข้า

                
PU45™
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 3692
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 62457



« ตอบ #17224 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2007, 09:48:46 AM »

                                         

                                                                    นกแต้วแล้วท้องดำ
                                                                        Pitta gurneyi

ลักษณะ : เป็นนกขนาดเล็ก ลำตัวยาว ๒๑ เซนติเมตร จัดเป็นนกที่มีความสวยงามมาก นกตัวผู้มีส่วนหัวสีดำ ท้ายทอยมีสีฟ้าประกายสดใส ด้านหลังสีน้ำตาลติดกับอกตอนล่าง และตอนใต้ท้องที่มีดำสนิท นกตัวเมียมีสีสดใสน้อยกว่า โดยทั่วไปสีลำตัวออกน้ำตาลเหลือง ไม่มีแถบดำบนหน้าอกและใต้ท้อง นกอายุน้อยมีหัว และคอสีน้ำตาลเหลือง ส่วนอกใต้ท้องสีน้ำตาล ทั่วตัวมีลายเกล็ดสีดำ

อุปนิสัย : นกแต้วแล้วท้องดำทำรังเป็นซุ้มทรงกลม ด้วยแขนงไม้และใบไผ่ วางอยู่บนพื้นดิน หรือในกอระกำ วางไข่ ๓-๔ ฟอง ทั้งพ่อนกและแม่นก ช่วยกันกกไข่และหาอาหารมาเลี้ยงลูก อาหารได้แก่หนอนด้วง ปลวก จิ้งหรีดขนาดเล็ก และแมลงอื่นๆ

ที่อยู่อาศัย : นกแต้วแล้วท้องดำชนิดนี้พบอาศัยอยู่เฉพาะในบริเวณป่าดงดิบต่ำ

เขตแพร่กระจาย : พบตั้งแต่ตอนใต้ของประเทศพม่า ลงมาจนถึงเขตรอยต่อระหว่างประเทศไทย กับประเทศมาเลเซีย

สถานภาพ : เคยพบชุกชุมในระยะเมื่อ ๘๐ ปีก่อน แต่ไม่มีรายงานทางวิทยาศาสตร์เลยตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๙๕ จนมีรายงานพบครั้งล่าสุดเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๑ นกแต้วแล้วท้องดำ ได้รับการจัดให้เป็นสัตว์ชนิดที่หายากชนิดหนึ่ง ในสิบสองชนิดที่หายากของโลก

สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์ : นกชนิดนี้ จัดเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่เฉพาะในป่าดงดิบต่ำ ซึ่งกำลังถูกตัดฟันอย่างหนัก และสภาพที่อยู่เช่นนี้มีน้อยมากในบริเวณเขตคุ้มครองในภาคใต้ นอกจากนี้ เนื่องจากเป็นนกที่หายากเป็นที่ต้องการของตลาดนกเลี้ยง จึงมีราคาแพง อันเป็นแรงกระตุ้นให้นกแต้วแล้วท้องดำถูกล่ามากยิ่งขึ้น
 

 


บันทึกการเข้า

                
PU45™
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 3692
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 62457



« ตอบ #17225 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2007, 09:50:07 AM »

                                 

                                                                 สมันหรือเนื้อสมัน
                                                              Cervus schomburki

    ลักษณะ : เนื้อสมันเป็นกวางชนิดหนึ่งที่เขาสวยงามที่สุด ในประเทศไทย เมื่อโตเต็มวัยจะมีความสูงที่ไหล่ประมาณ ๑ เมตร สีขนบนลำตัวมีสีน้ำตาลเข้มและเรียบเป็นมัน หางค่อนข้างสั้น และมีสีขางทางตอนล่างสมันมีเขาเฉพาะตัวผู้ ลักษณะเขาของสมันมีขนาดใหญ่ และแตกกิ่งก้านออกหลายแขนง ดูคล้ายสุ่มหรือตะกร้า สมันจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กวางเขาสุ่ม

อุปนิสัย : ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็กๆ โดยเฉพาะในฤดูผสมพันธุ์ หลังจากหมดฤดูผสมพันธุ์ และตัวผู้จะแยกตัวออกมาอยู่โดดเดี่ยว สมันชอบกินหญ้าโดยเฉพาะหญ้าอ่อน ผลไม้ ยอดไม้ และใบไม้หลายชนิด

ที่อยู่อาศัย : สมันจะอาศัยเฉพาะในทุ่งโล่ง ไม่อยู่ตามป่ารกทึบ เนื่องจากเขามีกิ่งก้านสาขามาก จะเกี่ยวพันพันกับเถาวัลย์ได้ง่าย

เขตแพร่กระจาย : สมันเป็นสัตว์ชนิดที่มีเขตแพร่กระจายจำกัด อยู่ในบริเวณที่ราบภาคกลางของประเทศเท่านั้น สมัยก่อนมีชุกชุมมากในที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณจังหวัดรอบกรุงเทพฯ เช่น นครนายก ปทุมธานี และปราจีนบุรี และแม้แต่บริเวณพื้นที่รอบนอกของกรุงเทพฯ เช่น บริเวณพญาไท บางเขน รังสิต ฯลฯ

สถานภาพ :  สมันได้สูญพันธุ์ไปจากโลกและจากประเทศไทยเมื่อเกือบ ๖๐ ปีที่แล้ว สมันยังจัดเป็นป่าสงวนชนิดหนึ่งใน ๑๕ ชนิดของประเทศไทยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมซาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขาของสมันไม่ให้มีการส่งออกนอกราชอาณาจักร

สาเหตุของการสูญพันธุ์ : เนื่องจากแหล่งที่อยู่อาศัยได้ถูกเปลี่ยนเป็นนาข้าวเกือบทั้งหมด และสมันที่เหลืออยู่ตามที่ห่างไกลจะถูกล่าอย่างหนักในฤดูน้ำหลากท่วมท้องทุ่ง ในเวลานั้นสมันจะหนีน้ำขึ้นไปอยู่รวมกันบนที่ดอนทำให้พวกพรานล้อมไล่ฆ่าอย่างง่ายดาย
บันทึกการเข้า

                
PU45™
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 3692
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 62457



« ตอบ #17226 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2007, 09:51:21 AM »

                                           

                                                                    ละองหรือละมั่ง
                                                                      Cervus eldi

ลักษณะ : เป็นกวางที่มีขนาดโตกว่าเนื้อทราย แต่เล็กกว่ากวางป่า เมื่อโตเต็มวัยมีความสูงที่ไหล่ ๑.๒-๑.๓ เมตร น้ำหนัก ๑๐๐-๑๕๐ กิโลกรัม ขนตามตัวทั่วไปมีสีน้ำตาลแดง ตัวอายุน้อยจะมีจุดสีขาวตามตัว ซึ่งจะเลือนกลายเป็นจุดจางๆ เมื่อโตเต็มที่ในตัวเมีย แต่จุดขาวเหล่านี้จะหายไปจนหมด ในตัวผู้ตัวผู้จะมีขนที่บริเวณคอยาว และมีเขาและเขาของละอง จะมีลักษณะต่างจากเขากวางชนิดอื่นๆ ในประเทศไทย ซึ่งที่กิ่งรับหมาที่ยื่นออกมาทางด้านหน้า จะทำมุมโค่งต่อไปทางด้านหลัง และลำเขาไม่ทำมุมหักเช่นที่พบในกวางชนิดอื่นๆ

อุปนิสัย : ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ตัวผู้ที่โตเต็มวัยจะเข้าฝูงเมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ ออกหากินใบหญ้า ใบไม้ และผลไม้ทั้งเวลากลางวันและกลางคืน แต่เวลาแดดจัดจะเข้าหลบพักในที่ร่ม ละอง ละมั่งผสมพันธุ์ในเดือนกุมภาพันธ์จนถึงเดือนเมษายน ตั้งท้องนาน ๘ เดือน ออกลูกครั้งละ ๑ ตัว

ที่อยู่อาศัย : ละองชอบอยู่ตามป่าโปร่ง และป่าทุ่ง โดยเฉพาะป่าที่มีแหล่งน้ำขัง

เขตแพร่กระจาย : ละองแพร่กระจายในประเทศอินเดีย พม่า ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม และเกาะไหหลำ ในประเทศไทยอาศัยอยู่ในบริเวณเหนือจากคอคอดกระขึ้นมา

สถานภาพ : มีรายงานพบเพียง ๓ ตัว ที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี ละอง ละมั่งจัดเป็นป่าสงวนชนิดหนึ่งใน ๑๕ ชนิดของประเทศไทย และอนุสัญญา CITES จัดอยู่ใน Appendix

สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์ : ปัจจุบัน ละอง ละมั่งกำลังใกล้จะสูญพันธุ์หมดไปจากประเทศไทย เนื่องจากสภาพป่าโปร่ง ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยถูกบุกรุกทำลายเป็นไร่นา และที่อยู่อาศัยของมนุษย์ ทั้งยังถูกล่าอย่างหนักนับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา

บันทึกการเข้า

                
PU45™
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 3692
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 62457



« ตอบ #17227 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2007, 09:52:22 AM »

                                     

                                                                  เก้งหม้อ
                                                             Muntiacus feai

ลักษณะ : เก้งหม้อมีลักษณะโดยทั่วไป คล้ายคลึงกับเก้งธรรมดา ขนาดลำตัวไล่เลี่ยกัน เมื่อโตเต็มที่น้ำหนักประมาณ ๒๐ กิโลกรัม แต่เก้งหม้อจะมีสีลำตัวคล้ำกว่าเก้งธรรมดา ด้านหลังสีออกน้ำตาลเข้ม ใต้ท้องสีน้ำตาลแซมขาว ขาส่วนที่อยู่เหนือกีบจะมีสีดำ ด้านหน้าของขาหลังมีแถบขาวเห็นได้ชัดเจน บนหน้าผากจะมีเส้นสีดำอยู่ด้านในระหว่างเขา หางสั้นด้านบนสีดำตัดกับสีขาวด้านล่างชัดเจน

อุปนิสัย : เก้งหม้อชอบอาศัยอยู่เดี่ยว ในป่าดงดิบ ตามลาดเขา จะอยู่เป็นคู่เฉพาะฤดูผสมพันธุ์เท่านั้น ออกหากินในเวลากลางวันมากกว่าในเวลากลางคืน อาหารได้แก่ ใบไม้ ใบหญ้า และผลไม้ป่า ตกลูกครั้งละ ๑ ตัว เวลาตั้งท้องนาน ๖ เดือน

ที่อยู่อาศัย : ชอบอยู่ตามลาดเขาในป่าดงดิบและหุบเขาที่มีป่าหนาทึบและมีลำธารน้ำไหลผ่าน

เขตแพร่กระจาย : เก้งหม้อมีเขตแพร่กระจาย อยู่ในบริเวณตั้งแต่พม่าตอนใต้ลงไปจนถึงภาคใต้ตอนบน ของประเทศไทยเท่านั้น ในประเทศไทยพบในบริเวณเทือกเขาตะนาวศรีลงไปจนถึงเทือกเขาภูเก็ต ในบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง ในจังหวัดระนอง สุราษฎร์ธานีและพังงา

สถานภาพ : องค์การสวนสัตว์ ได้ประสบความสำเร็จในการเพาะเลี้ยงเก้งหม้อมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๒๘ ในปัจจุบันเก้งหม้อจัดเป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งใน ๑๕ ชนิดของประเทศไทย และองค์การ IUCN จัดเก้งหม้อให้เป็นสัตว์ป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์

สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์ : ปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าที่หายากและใกล้จะสูญพันธุ์หมดไปจากประเทศ เนื่องจากมีเขตแพร่กระจายจำกัด และที่อยู่อาศัยถูกทำลายหมดไปเพราะการตัดไม้ทำลายป่า การเก็บกักน้ำเหนือเขื่อนและการล่าเป็นอาหาร เก้งหม้อเป็นเนื้อที่นิยมรับประทานกันมาก

บันทึกการเข้า

                
PU45™
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 3692
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 62457



« ตอบ #17228 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2007, 09:53:31 AM »

                                     
 
                                                                       กูปรีหรือโคไพร
                                                                          Bos sauveli

ลักษณะ : กูปรีเป็นสัตว์ป่าชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับ กระทิงและวัวแดง เมื่อโตเต็มที่มีความสูงที่ไหล่ ๑.๗-๑.๙ เมตร น้ำหนัก ๗๐๐-๙๐๐ กิโลกรัม ตัวผู้มีขนาดลำตัวใหญ่กว่าตัวเมียมาก สีโดยทั่วไปเป็นสีเทาเข้มเกือบดำ ขาทั้ง ๔ มีถุงเท้าสีขาวเช่นเดียวกับกระทิง ในตัวผู้ที่มีอายุมาก จะมีเหนียงใต้คอยาวห้อยลงมาจนเกือบจะถึงดิน เขากูปรีตัวผู้กับตัวเมียจะแตกต่างกัน โดยเขาตัวผู้จะโค้งเป็นวงกว้าง แล้วตีวงโค้งไปข้างหน้า ปลายเขาแตกออกเป็นพู่คล้ายเส้นไม้กวาดแข็ง ตัวเมียมีเขาตีวงแคบแล้วม้วนขึ้นด้านบน ไม่มีพู่ที่ปลายเขา

อุปนิสัย : อยู่รวมกันเป็นฝูง ๒-๒๐ ตัว กินหญ้า ใบไม้ดินโป่งเป็นครั้งคราว ผสมพันธุ์ในราวเดือนเมษายน ตั้งท้องนาน ๙ เดือน จะพบออกลูกอ่อนประมาณเดือนธันวาคมและมกราคม ตกลูกครั้งละ ๑ ตัว

ที่อยู่อาศัย : ปกติอาศัยอยู่ตามป่าโปร่ง ที่มีทุ่งหญ้าสลับกับป่าเต็งรังและในป่าเบญจพรรณที่ค่อนข้างแล้ง

เขตแพร่กระจาย : กูปรีมีเขตแพร่กระจายอยู่ในไทย เวียดนาม ลาว และกัมพูชา

สถานภาพ : ประเทศไทยมีรายงานว่าพบกูปรีอยู่ตามแนวเทือกเขาชายแดนไทย-กัมพูชา และลาว เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๕ มีรายงานพบกูปรีในบริเวณเทือกเขาพนมดงรัก กูปรีจัดเป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งใน ๑๕
ชนิดของประเทศไทย และอยู่ใน Appendix I ตามอนุสัญญา CITES

สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์ : ปัจจุบันกูปรีเป็นสัตว์ป่าที่หายากกำลังใกล้จะสูญพันธุ์หมดไปจากโลก เนื่องจากการถูกล่าเป็นอาหารและสภาวะสงครามในแถบอินโดจีน ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยเฉพาะกูปรี ทำให้ยากในการอยู่ร่วมกันในการอนุรักษ์กูปรี


บันทึกการเข้า

                
นายกระจง
Cement For Life.....
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2938
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 31460


ช่างมันเถอะ


« ตอบ #17229 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2007, 09:54:39 AM »

พี่ปูครับ

ขออภัยคั่นโฆษณานิดนะครับ

นวดธรรมดา ๒๐ นาที ๒๕๐๐ เยน  ๔๐ นาที ๔๐๐๐ เยนครับ เด็กนั่งดริ๊งค์ ก่อนสามทุ่มชั่วโมงละ ๓๐๐๐ เยน หลังสามทุ่มชั่วโมงละสี่พันเยน อย่างอื่นยังไม่ได้ถามเพราะคุยกันไม่รู้เรื่อง ค่าเงินแปลงเป็นบาท เอา เยนคูณกับ ๐.๒๘ ครับ เก็บตังค์ไว้กินบะหมี่ชามละ ๙๕๐ เยนครับ

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า

เกิดเป็นคนต้องอดทน ไม่อดทนก็อดตาย
 
PU45™
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 3692
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 62457



« ตอบ #17230 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2007, 09:55:23 AM »

               

                                                                           เลียงผา,เยือง,กูรำ,โครำ
                                                                           pricornis sumatraensis

ลักษณะ : เลียงผาเป็นสัตว์จำพวกเดียวกับ แพะและแกะ เมื่อโตเต็มที่มีความสูงที่ไหล่ประมาณ ๑ เมตร ขายาวและแข็งแรง ใบหูยาวคล้ายใบหูลา ขนตามลำตัวค่อนข้างยาว หยาบและมีสีดำ ด้านท้องขนสีจางกว่า มีขนเป็นแผงยาวบนสันคอและสันหลัง มีเขาทั้งในตัวผู้และตัวเมีย เขามีลักษณะตอนโคนกลม หยักเป็นวงแหวนโดยรอบค่อยๆ เรียวไปทางปลายเขาโค้ง ไปทางด้านหลังเล็กน้อย

อุปนิสัย : ในเวลากลางวันจะพักอาศัยอยู่ในถ้ำ หรือในพุ่มไม้ ออกหากินในตอนเย็นถึงพลบค่ำ และในเวลาเช้ามืด อาหารได้แก่พืชต่างๆ ทุกชนิด เลียงผามีประสาทหู ตา และรับกลิ่นได้ดี ผสมพันธุ์ในช่วงปลายเดือนตุลาคม ตกลูกครั้งละ ๑-๒ ตัว ใช้เวลาตั้งท้องราว ๗ เดือน ในที่เลี้ยง เลียงผามีอายุยาวกว่า ๑๐ ปี

ที่อาศัย : เลียงผาอาศัยอยู่ตามภูเขาที่มีหน้าผาสูงชันมีป่าปกคลุม

เขตแพร่กระจาย : เลียงผามีเขตแพร่กระจาย ตั้งแต่แคว้นแคชเมียร์ มาตามเทือกเขาหิมาลัยจนถึงแคว้นอัสสัม จีนตอนใต้ พม่า อินโดจีน มลายู และสุมาตรา ในประเทศไทยพบอาศัยอยู่ตามภูเขาสูงในหลายภูมิภาคของประเทศ เช่น เทือกเขาตะนาวศรี เทือกเขาถนนธงชัย เทือกเขาเพชรบูรณ์ และภูเขาทั่วไปในบริเวณภาคใต้ รวมทั้งบนเกาะในทะเลที่อยู่ไม่ห่างจากแผ่นดินใหญ่มากนัก

สถานภาพ : เลียงผาจัดเป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งใน ๑๕ ชนิดของประเทศไทย และอนุสัญญา CITES จัดเรียงผาไว้ใน Appendix I
สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์ : ในระยะหลังเลียงผามีจำนวนลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการล่าอย่างหนักเพื่อเอาเขา กระดูก และน้ำมันมาใช้ทำยาสมานกระดูก และพื้นที่หากินของเลียงผาลดลงอย่างรวดเร็ว จากการทำการเกษตรตามลาดเขา และบนพื้นที่ที่ไม่ชันจนเกินไป


บันทึกการเข้า

                
PU45™
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 3692
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 62457



« ตอบ #17231 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2007, 09:57:19 AM »

                       

                                                            ควายป่า
                                                      Bubalus bubalis

ลักษณะ : ควายป่าเป็นสัตว์ชนิดเดียวกับ ควายบ้าน แต่มีลำตัวขนาดลำตัวใหญ่กว่า มีนิสัยว่องไว และดุร้ายกว่าควายบ้านมาก ตัวโตเต็มวัยมีความสูงที่ไหล่เกือบ ๒ เมตร น้ำหนักมากกว่า ๑,๐๐๐ กิโลกรัม สีลำตัวโดยทั่วไปเป็นสีเทา หรือสีน้ำตาลดำ ขาทั้ง ๔ สีขาวแก่ หรือสีเทาคล้ายใส่ถุงเท้าสีขาว ด้านล่างของลำตัวเป็นลายสีขาวรูปตัววี ( V ) ควายป่ามีเขาทั้ง ๒เพศ เขามีขนาดใหญ่กว่าควายเลี้ยง วงเขากางออกกว้างโค้งไปทางด้านหลัง ด้านตัดขวางเป็นรูปสามเหลี่ยม ปลายเขาเรียวแหลม

อุปนิสัย : ควายป่าชอบออกหากินในเวลาเช้า และเวลาเย็น อาหารได้แก่ พวกใบไม้ หญ้า และหน่อไม้ หลังจากกินอาหารอิ่มแล้ว ควายป่าจะนอนเคี้ยวเอื้องตามพุ่มไม้ หรือนอนแช่ปรักโคลนตอนช่วงกลางวัน ควายป่าจะอยู่ร่วมกันเป็นฝูง ฤดูผสมพันธุ์อยู่ราวๆ เดือนตุลาคมและพฤศจิกายน ตกลูกครั้งละ ๑ ตัว ตั้งท้องนาน ๑๐ เดือน เท่าที่ทราบควายป่ามีอายุยืน ๒๐-๒๕ ปี

เขตแพร่กระจาย : ควายป่ามีเขตแพร่กระจายจากประเทศเนปาลและอินเดีย ไปสิ้นสุดทางด้านทิศตะวันออกที่ประเทศเวียดนาม ในประเทศไทยปัจจุบันมีควายป่าเหลืออยู่บริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี

สถานภาพ : ปัจจุบันควายป่าที่เหลืออยู่ในประเทศไทยมีจำนวนน้อยมาก จนน่ากลัวว่าอีกไม่นานจะหมดไปจากประเทศ ควายป่าจัดเป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งใน ๑๕ ชนิดของประเทศไทย และอนุสัญญา CITES จัดควายป่าไว้ใน Appendix III

สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์ : เนื่องจากการถูกล่าเพื่อเอาเนื้อและเอาเขาที่สวยงาม และการสูญเชื้อพันธุ์ เนื่องจากไปผสมกับควายบ้าน ที่มีผู้เอาไปเลี้ยงปล่อยเป็นควายปละในป่า ในกรณีหลังนี้บางครั้งควายป่าจะติดโรคต่างๆ จากควายบ้าน ทำให้จำนวนลดลงมากยิ่งขึ้น

                   
บันทึกการเข้า

                
PU45™
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 3692
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 62457



« ตอบ #17232 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2007, 09:59:20 AM »

                              

                                                         กระซู่
                                        Dicerorhinus sumatrensis

ลักษณะ : กระซู่เป็นสัตว์จำพวกเดียวกับแรด แต่มีลักษณะลำตัวเล็กกว่า ตัวโตเต็มวัยมีความสูงที่ไหล่ ๑-๑.๕ เมตร น้ำหนักประมาณ ๑,๐๐๐ กิโลกรัม มีหนังหนาและมีขนขึ้นปกคลุมทั้งตัว โดยเฉพาะในตัวที่มีอายุน้อย ซึ่งขนจะลดน้อยลงเมื่อมีอายุมากขึ้น สีลำตัวโดยทั่วไปออกเป็นสีเทา คล้ายสีขี้เถ้า ด้านหลังลำตัว จะปรากฏรอยพับของหนังเพียงพับเดียว ตรงบริเวณด้านหลังของขาคู่หน้า กระซู่ทั้งสองเพศมีนอ ๒ นอ นอหน้ามีความยาวประมาณ ๒๕ เซนติเมตร ส่วนนอหลังมีความยาวไม่เกิน ๑๐ เซนติเมตร หรือเป็นเพียงตุ่มนูนขึ้นมาในตัวเมีย

อุปนิสัย : กระซู่ปีนเขาได้เก่ง มีประสาทรับกลิ่นดีมาก ออกหากินในเวลากลางคืน อาหาร ได้แก่ พวกใบไม้ และผลไม้ป่าบางชนิด ปกติกระซู่จะใช้ชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยว ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์ หรือตัวเมียเลี้ยงลูกอ่อน ตกลูกครั้งละ ๑ ตัว มีระยะตั้งท้อง ๗-๘ เดือน ในที่เลี้ยงกระซู่มีอายุยืน ๓๒ ปี

ที่อยู่อาศัย : กระซู่อาศัยอยู่ตามป่าเขาที่มีความหนารกทึบ ลงมาอยู่ในป่าที่ราบต่ำ ในตอนปลายฤดูฝนซึ่งในระยะนั้นมีปรักและน้ำอยู่ทั่วไป

เขตแพร่กระจาย : กระซู่มีเขตแพร่กระจายตั้งแต่แคว้นอัสสัมในประเทศอินเดีย บังคลาเทศ พม่า ไทย เวียดนาม มลายู สุมาตรา และบอเนียว ในประเทศไทยมีรายงานว่าพบกระซู่อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหลายแห่งได้แก่ ภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ เขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี ทุ่งใหญ่นเรศวร จังหวัดกาญจนบุรี และคลองแสง จังหวัดสุราษฏร์ธานี และในบริเวณอุทยานแห่งชาติหลายแห่ง ได้แก่ แก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี และเขื่อนบางลาง จังหวัดยะลา และบริเวณป่ารอยต่อระหว่างประเทศกับมาเลเซีย

สถานภาพ : ปัจจุบันกระซู่จัดเป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งใน ๑๕ ชนิดของประเทศไทย อนุสัญญา CITES จัดไว้ใน Appendix I และ U.S. Endanger Species Act จัดไว้ในพวกที่ใกล้จะสูญพันธุ์

สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์ : กระซู่ปัจจุบันใกล้จะสูญพันธุ์ไปจากโลก เนื่องจากถูกล่าเพื่อเอานอ และอวัยวะทุกส่วนของตัว ซึ่งมีฤทธิ์ในทางเป็นยา กระซู่จึงถูกล่าอยู่เนืองๆ ประกอบกับกระซู่มีอยู่ในธรรมชาติน้อย และประชากรแต่ละกลุ่มและแม้แต่กลุ่มเดียวกันก็อยู่ห่างกันมากไม่มีโอกาสจับคู่ขยายพันธุ์ได้

บันทึกการเข้า

                
PU45™
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 3692
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 62457



« ตอบ #17233 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2007, 10:01:29 AM »

                   

                                                        สมเสร็จ
                                                  Tapirus indicus

ลักษณะ : สมเสร็จเป็นสัตว์กีบคี่ เท้าหน้ามี ๔ เล็บ และเท้าหลังมี ๓ เล็บ จมูกและริมฝีปากบนยื่นออกมาคล้ายงวง ตามีขนาดเล็ก ใบหูรูปไข่ หางสั้น ตัวเต็มวัยมีน้ำหนัก ๒๕๐-๓๐๐ กิโลกรัม ส่วนหัวและลำตัวเป็นสีขาวสลับดำ ตั้งแต่ปลายจมูกตลอดท่อนหัวจนถึงลำตัว บริเวณระดับหลังของขาคู่หน้ามีสีดำ ท่อนกลางตัวเป็นแผ่นขาว ส่วนบริเวณโคนหางลงไปตลอดขาคู่หลัง จะเป็นสีดำ ขอบปลายหูและริมฝีปากขาว ลูกสมเสร็จลำตัวมีลายเป็นแถบ ดูลายพร้อยคล้ายลูกแตงไทย

อุปนิสัย : สมเสร็จชอบออกหากินในเวลากลางคืน กินยอดไม้ กิ่งไม้ หน่อไม้ และพืชอวบน้ำหลายชนิด มักมุดหากินตามที่รกทึบ ไม่ค่อยชอบเดินหากินตามเส้นทางเก่า มีประสาทสัมผัสทางกลิ่นและเสียงดีมาก ผสมพันธุ์ในเดือนเมษายนหรือเดือนพฤษภาคม ตกลูกครั้งละ ๑ ตัว ใช้เวลาตั้งท้องนานประมาณ ๑๓ เดือน สมเสร็จที่เลี้ยงไว้มีอายุนานประมาณ ๓๐ ปี

ที่อยู่อาศัย : สมเสร็จชอบอยู่อาศัยตามบริเวณที่ร่มครึ้ม ใกล้ห้วยหรือลำธาร

เขตแพร่กระจาย : สมเสร็จมีเขตแพร่กระจายจากพม่าตอนใต้ ไปตามพรมแดนด้านทิศตะวันตกของประเทศไทย ลงไปสุดแหลมมลายูและสุมาตรา ในประเทศไทยจะพบสมเสร็จได้ในป่าดงดิบตามเทือกเขาถนนธงชัย เทือกเขาตะนาวศรี และป่าทั่วภาคใต้

สถานภาพ : ปัจจุบันสมเสร็จจัดเป็นสัตว์ป่าสงวนชนิดหนึ่งใน ๑๕ ชนิดของประเทศไทย และจัดโดยอนุสัญญา CITES ไว้ใน Appendix I และจัดเป็นสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ตาม U.S. Endanger Species Act.

สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์ : การล่าสมเสร็จเพื่อเอาหนังและเนื้อ การทำลายป่าดงดิบที่อยู่อาศัยและหากิน โดยการตัดไม้ การสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำและถนน ทำให้จำนวนสมเสร็จลดปริมาณลงจนหาได้ยาก


บันทึกการเข้า

                
PU45™
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 3692
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 62457



« ตอบ #17234 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2007, 10:06:10 AM »

                                   

                                                                          แมวลายหินอ่อน
                                                                     Pardofelis marmorata

ลักษณะ : แมวลายหินอ่อนเป็นแมวป่าขนาดกลาง น้ำหนักตัวเมื่อโตเต็มที่ ๔-๕ กิโลกรัม ใบหูเล็กมนกลมมีจุดด้านหลังใบหู หางยาวมีขนหนาเป็นพวงเด่นชัด สีขนโดยทั่วไปเป็นสีน้ำตาลอมเหลือง มีลายบนลำตัวคล้ายลายหินอ่อน ด้านใต้ท้องจะออกสีเหลืองมากกว่า ด้านหลังขาและหางมีจุดดำ เท้ามีพังผืดยืดระหว่างนิ้ว นิ้วมีปลอกเล็บสองชั้น และเล็บพับเก็บได้ในปลอกเล็บทั้งหมด

อุปนิสัย : ออกหากินในเวลากลางคืน ส่วนใหญ่มักอยู่บนต้นไม้ อาหารได้แก่สัตว์ขนาดเล็กแทบทุกชนิดตั้งแต่แมลง จิ้งจก ตุ๊กแก งู นก หนู กระรอก จนถึงลิงขนาดเล็ก นิสัยค่อนข้าดุร้าย

ที่อยู่อาศัย : ในประเทศไทยพบอยู่ตามป่าดงดิบเทือกเขาตะนาวศรีและป่าดงดิบชื้น ในภาคใต้

เขตแพร่กระจาย : แมวป่าชนิดนี้มีเขตแพร่กระจายตั้งแต่ประเทศเนปาล สิกขิม แคว้นอัสสัม ประเทศอินเดีย ผ่านทางตอนเหนือของพม่า ไทย อินโดจีน ลงไปตลอดแหลมมลายู สุมาตราและบอร์เนียว

สถานภาพ : แมวลายหินอ่อนจัดเป็นสัตว์ป่าชนิดหนึ่งใน ๑๕ ชนิดของประเทศไทย และอนุสัญญา CITES จัดอยู่ใน Appendix I

สาเหตุของการใกล้จะสูญพันธุ์: เนื่องจากแมวลายหินอ่อนเป็นสัตว์ที่หาได้ยาก และมีปริมาณในธรรมชาติค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับแมวป่าชนิดอื่นๆ จำนวนจึงน้อยมาก และเนื่องจากถิ่นที่อยู่อาศัยถูกทำลาย และถูกล่าหรือจับมาเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีราคาสูง จำนวนแมวลายหินอ่อนจึงน้อยลง ด้านชีววิทยาของแมวป่าชนิดนี้ยังรู้กันน้อยมาก
บันทึกการเข้า

                
หน้า: 1 ... 1146 1147 1148 [1149] 1150 1151 1152 ... 35779
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.149 วินาที กับ 22 คำสั่ง