ตำนานอัศจรรย์ของ มหาโพธิสัตว์ ศรีมหาราช พังพกาฬ
เมื่อพูดถึงเรื่องพังพกาฬ คนเฒ่าคนแก่มักจะเล่าให้ฟังว่าที่มาของคำพังเพยในถิ่นภาคใต้ของเรา คำว่า "ตายด้วยดาบ
ปาเข" เรื่องมีอยู่ว่า พังพกาฬ เป็นลูกชาวบ้านธรรมดา ซึ่งอาศัยอยู่นอกกำแพงเมืองนครศรีธรรมราช แถบบ้านมะม่วงสองต้นใน
ปัจจุบัน ในวัยเด็กของพังพกาฬชอบเล่นเป็นนักรบและเป็นหัวหน้าของเด็กทั้งหลาย ส่วนพ่อแม่ญาติผู้ใหญ่เห็นลูกหลานเล่นกันเป็น
นักรบบ้าง เป็นทหารบ้าง ต่างเห็นดีเห็นงามช่วยกันทำหอกทำดาบไม้เป็นอาวุธให้เด็กๆ ใช้เล่น ส่วนพ่อของเด็กชายพังพกาฬก็ทำ
ดาบด้วยไม้ปาเข (เป็นไม้เนื้ออ่อนชนิดหนึ่งขึ้นอยู่ริมน้ำ) ให้ลูกของตน เช่นกันเพื่อใช้เป็นอาวุธเล่นกับเพื่อนๆ ตามปกติ แต่วันนั้นการ
เล่นถูกแบ่งเป็นสองกลุ่ม สมมติกันว่าเป็นทหารสองกองทัพกำลังทำการสู้รบกัน เด็กชายพังพกาฬจับได้ตัวแม่ทัพฝ่ายตรงข้ามไว้ได้
จึงนำตัวแม่ทัพนั้นไปประหารชีวิตและลงมือประหารด้วยตนเอง โดยใช้ดาบไม้ปาเขที่ใช้เป็นอาวุธกันนั้น ฟันคอแม่ทัพฝ่ายตรง
ข้ามขาดใจตายไปจริงๆ ทั้งๆ ที่เป็นการเล่นกัน จึงได้มีคำพังเพยเล่าลือสืบกันต่อมาคือ คำว่า "ตายด้วยไม้ปาเข" ความหมายคือ
ตายในเรื่องที่ไม่เป็นเรื่องนั้นเอง
บรรดาพ่อแม่ของเด็กที่ตายโกรธ นำความไปฟ้องต่อเจ้าเมืองเพื่อให้ลงโทษ เจ้าเมืองกลับเห็นเป็นเรื่องอัศจรรย์ ที่เด็ก
ใช้ไม้ฟันเด็กด้วยกันคอขาดตาย จึงบัญชาสั่งให้นำตัวเด็กชายพังพกาฬ พร้อมผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าไปไต่สวนหาความจริงในเมือง ผล
การไต่สวนเป็นประการใดผู้เล่าไม่ได้กล่าวถึง เพียงแต่เล่าต่อว่า เจ้าเมืองได้ชุบเลี้ยงเด็กชายพังพกาฬเอาไว้ในเมืองครั้นเติบใหญ่
พังพกาฬถูกแต่งตั้งให้เป็นนายทหารคู่ใจ ออกรบทัพจับศึกไม่ว่าศึกเล็กศึกใหญ่พังพกาฬรบชนะมาตลอดไม่เคยปรากฏว่าพังพกาฬ
จะเพลี่ยงพล้ำแก่ศัตรูเลยซักนิด จนได้แต่งตั้งให้เป็น "พระยาขนทวน" เพราะเป็นคนที่มีลักษณะพิเศษคือ ขนที่งอกออกมาจะกลับ
เข้าหาตัวหรือทวนขึ้น ลักษณะเส้นขนจะไม่ลู่ไปตามลำตัวเหมือนคนทั่วไป
พังพกาฬกับพระยาทวน จะเป็นคนเดียวกันหรือไม่นั้นผู้เขียนมิกล้ายืนยัน เพราะที่ได้เล่าสู่กันฟังมาทั้งหมดก็เป็นเรื่อง
ที่ได้รับฟังมาตั้งแต่เด็ก แต่กิตติศักดิ์คำเล่าลือที่ได้ยินต่อๆ กันมาว่า พระยาขนทวนหรือพระยาพังพกาฬ เป็นผู้มีเวทมนต์คาถา
อาคมแก่กล้ายิ่งนักไม่เคยเกรงกลัวหลบลี้หนีหายจนหมดสิ้น และนี่คือความเชื่อในที่มาของ "มหาโพธิสัตว์ ศรีมหาราช พังพกาฬ"
--------------------------------------------------------------------------------
ที่มา ------------->
http://www.siristore.com/Products/Jatukam_Mongkonshewit1.aspหมายเหตุ "พังพกาฬ" ครับไม่ใช่ พังพระกาฬ ....... ส่วนผ้ายันต์สอบถามหลายท่านแล้วไม่มีใครทราบครับ