ธำรง
Hero Member
คะแนน 1727
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 8568
.....รักในหลวง.....
|
|
« ตอบ #15 เมื่อ: มิถุนายน 13, 2007, 12:13:47 PM » |
|
อยู่บ้านตัวเอง...พกปืนได้ไหม....
คำพิพากษาฎีกาที่ 3606/2525 จำเลยเช่าห้องอยู่อาศัยในแฟลตที่เกิดเหตุ แฟลตจึงเป็นเคหสถานซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยของจำเลย และดาดฟ้าของแฟลตเป็นบริเวณของแฟลตซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยนั้นด้วย การที่จำเลยพกพาอาวุธปืนอยู่บนดาดฟ้าของแฟลตจึงเป็นการพกพาอาวุธปืนในบริเวณที่อยู่อาศัยของตน ไม่เป็นความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในเมืองตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 (ที่แก้ไขแล้ว) มาตรา 8 ทวิ และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371
คำพิพากษาฎีกาที่ 8943/2542 บ้านเป็นเคหสถานซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยของจำเลยและบริเวณเพิงหน้าบ้านเป็นบริเวณของบ้านซึ่งใช้เป็นร้านค้าและที่อยู่อาศัยด้วย จำเลยพาอาวุธปืนติดตัวอยู่ในบริเวณที่อยู่อาศัยของตนจึงไม่เป็นความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในเมืองหมู่บ้าน
|
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 13, 2007, 12:38:07 PM โดย ธำรง »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ธำรง
Hero Member
คะแนน 1727
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 8568
.....รักในหลวง.....
|
|
« ตอบ #16 เมื่อ: มิถุนายน 13, 2007, 12:15:17 PM » |
|
พกปืน....อ้างว่าไปเก็บเงิน.....
คำพิพากษาฎีกาที่ 3027/2526 จำเลยเก็บปืนและเงิน 70,000 บาท ไว้ในลิ้นชักรถ เมื่อจำเลยนั่งรถไปด้วย ถือได้ว่าจำเลยพาอาวุธปืนติดตัวไป และการที่จำเลยขับรถไปส่งผู้เสียหายกับพวกแล้วพากันไปนั่งดื่มสุราและเบียร์ โดยทิ้งเงินไว้ในรถซึ่งจอดอยู่ห่างจากจำเลยประมาณ 5 - 6 วา แสดงว่าจำเลยมิได้ห่วงใยเกี่ยวกับความปลอดภัยของทรัพย์สิน การที่จำเลยพาอาวุธปืนติดตัวไปจึงถือไม่ได้ว่ามีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ธำรง
Hero Member
คะแนน 1727
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 8568
.....รักในหลวง.....
|
|
« ตอบ #17 เมื่อ: มิถุนายน 13, 2007, 12:17:52 PM » |
|
ยึดปืนไว้.....พากลับบ้าน....
คำพิพากษาฎีกาที่ 417/2528 การที่จำเลยที่ 1 ถือปืนกลับบ้านพร้อมจำเลยที่ 2 ผู้เป็นเจ้าของที่ได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืนไว้ในครอบครอง และการพาอาวุธปืนนั้นไปเป็นการป้องกันไม่ให้จำเลยที่ 2 นำไปใช้กระทำผิดและนำกลับบ้านเท่านั้น มิได้มีเจตนาพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะ จำเลยที่ 1 ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ มาตรา 8 ทวิ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ธำรง
Hero Member
คะแนน 1727
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 8568
.....รักในหลวง.....
|
|
« ตอบ #18 เมื่อ: มิถุนายน 13, 2007, 12:19:45 PM » |
|
พกปืนหรือไม่.....ดูที่เจตนา
คำพิพากษาฎีกาที่ 3729/2528 การกระทำความผิดฐานพาอาวุธปืนนั้นต้องได้ความว่า จำเลยได้นำอาวุธปืนเคลื่อนที่ไปในถนนหรือทางสาธารณะหรือนำเข้าไปในหมู่บ้าน ซึ่งประกอบด้วยการกระทำที่เป็นสาระสำคัญคือการนำอาวุธปืนเคลื่อนที่ไปในขณะกระทำผิด หากปรากฏว่าจำเลยเพียงแต่หยิบเอาอาวุธปืนสั้นของเพื่อนที่วางไว้บนโต๊ะหน้าร้านขายอาหารริมถนนมาเหน็บไว้ที่เอว และคงนั่งอยู่ที่โต๊ะไม่ได้เคลื่อนย้ายไปไหน ดังนี้ ไม่เป็นความผิดฐานพาอาวุธปืน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ธำรง
Hero Member
คะแนน 1727
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 8568
.....รักในหลวง.....
|
|
« ตอบ #19 เมื่อ: มิถุนายน 13, 2007, 12:21:28 PM » |
|
พกปืนไปส่งสาวไม่ใช่เหตุเร่งด่วน.....แต่ศาลก็ปราณี...
คำพิพากษาฎีกาที่ 1053/2529 จำเลยพาอาวุธปืนไปที่หน้าโรงงานของบริษัทที่เกิดเหตุโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานให้มีอาวุธปืนติดตัว เนื่องจาก นาง ก. พานางสาว น. ไปพบบิดามารดาของจำเลยที่บ้านจำเลยเพื่อเจรจาในการที่จะสู่ขอนางสาว น. เป็นภรรยาจำเลย นาง ก. และนางสาว น. จะกลับบ้าน เป็นเวลาดึกมากแล้ว จำเลยจึงนั่งรถไปส่งบุคคลทั้งสองที่บริษัท การที่จำเลยพาอาวุธปืนไปดังกล่าว ถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่มีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ เพราะไม่แน่ว่าจะมีเหตุร้ายเกิดขึ้นแต่เป็นกรณีที่สมควรรอการลงโทษจำเลย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ธำรง
Hero Member
คะแนน 1727
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 8568
.....รักในหลวง.....
|
|
« ตอบ #20 เมื่อ: มิถุนายน 13, 2007, 12:23:47 PM » |
|
ยิงปืนขึ้นฟ้า....มีพยานรู้เห็น....เจอสองเด้ง
คำพิพากษาฎีกาที่ 1763/2529 คดีความผิดพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ และความผิดลหุโทษเกี่ยวกับอาวุธปืน แม้ไม่ได้อาวุธปืนและกระสุนปืนจากจำเลยเป็นของกลาง แต่ฟังได้ว่าจำเลยชักอาวุธปืนออกมายิงขึ้นฟ้า 1 นัด จำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนและไม่ได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว ก็ลงโทษจำเลยฐานมีอาวุธปืนและกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต พาอาวุธปืนไปในหมู่บ้าน ในเมืองและทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต และยิงปืนในเมืองหมู่บ้าน หรือที่ชุมชนได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ธำรง
Hero Member
คะแนน 1727
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 8568
.....รักในหลวง.....
|
|
« ตอบ #21 เมื่อ: มิถุนายน 13, 2007, 12:27:30 PM » |
|
เวลาโดนข้อหาพกพา.....อย่าด่วนรับสารภาพง่ายนัก....
คำพิพากษาฎีกาที่ 5177/2530 ความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมืองหมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธ โจทก์มีหน้าที่นำสืบว่าจำเลยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว ถ้าไม่นำสืบก็ลงโทษจำเลยไม่ได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ธำรง
Hero Member
คะแนน 1727
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 8568
.....รักในหลวง.....
|
|
« ตอบ #22 เมื่อ: มิถุนายน 13, 2007, 12:32:20 PM » |
|
ปืนต้องถูกยึดไว้เป็นหลักฐาน จนกว่าคดีจะสิ้นสุด เพราะ.....
คำพิพากษาฎีกาที่ 45/2537 โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีอาวุธปืนและกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและพาอาวุธปืนติดตัวไปในหมู่บ้านโดยมิได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว จำเลยให้การปฏิเสธ โจทก์ไม่ได้อาวุธปืนของกลางมาเป็นพยานหลักฐานและไม่ได้นำพยานมาสืบว่าจำเลยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ให้มีอาวุธปืนไว้ในครอบครองตามกฎหมายและไม่ได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว คงมีเพียงพนักงานสอบสวนเบิกความว่าจำเลยให้การรับสารภาพชั้นสอบสวนเท่านั้น พยานโจทก์ไม่พอฟังลงโทษจำเลย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ธำรง
Hero Member
คะแนน 1727
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 8568
.....รักในหลวง.....
|
|
« ตอบ #23 เมื่อ: มิถุนายน 13, 2007, 12:33:56 PM » |
|
เรื่องของเสี่ยปอ....เก็บปืนมาคืน
คำพิพากษาฎีกาที่ 293/2537 จำเลยเป็นพนักงานขับรถของมูลนิธิปอเต็กตึ้งได้ขับรถยนต์ไปที่เกิดเหตุรถชนกัน มีผู้นำถุงบรรจุอาวุธปืนมามอบให้แจ้งว่าเป็นของผู้ได้รับบาดเจ็บจำเลยได้ติดตามหาเจ้าของเพื่อมอบอาวุธปืนคืนเมื่อไม่พบก็ตั้งใจจะมอบให้แก่เจ้าพนักงานตำรวจ แต่ถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับเสียก่อน ดังนี้จำเลยไม่มีความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และพกพาไปในทางสาธารณะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ธำรง
Hero Member
คะแนน 1727
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 8568
.....รักในหลวง.....
|
|
« ตอบ #24 เมื่อ: มิถุนายน 13, 2007, 12:39:22 PM » |
|
ปืนสวัสดิการต้องเสียภาษีนะจ๊ะ......
คำพิพากษาฎีกาที่ 283/2543 การที่กองทัพอากาศจำเลยได้ทำการจัดซื้ออาวุธปืนพกและนำเข้ามาในราชอาณาจักรตามความต้องการของข้าราชการในสังกัด โดยใช้เงินที่ได้มาจากข้าราชการที่ต้องการจะมีอาวุธปืนดังกล่าวไว้ใช้ ซึ่งจำเลยจะหักเงินเดือนของข้าราชการผู้นั้นใช้หนี้จนครบ และมีข้อกำหนดว่าเมื่อครบกำหนด 5 ปี ข้าราชการผู้ซื้ออาวุธปืนดังกล่าวจะได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ การกระทำดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นการนำเข้ามาเพื่อจำหน่ายให้แก่ข้าราชการของจำเลยเป็นการส่วนตัว ไม่เกี่ยวกับส่วนราชการ ถือไม่ได้ว่าเป็นยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในราชการอันอยู่ในข่ายที่จะได้รับการยกเว้นอากรตาม พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ภาค 4 ประเภท 13 จำเลยจึงต้องรับผิดเสียภาษีอากร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ธำรง
Hero Member
คะแนน 1727
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 8568
.....รักในหลวง.....
|
|
« ตอบ #25 เมื่อ: มิถุนายน 13, 2007, 12:40:54 PM » |
|
รับจำนำปืน.....แล้วไงล่ะ....
คำพิพากษาฎีกาที่ 7803/2543 ตาม พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 มาตรา 7 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดทำ ซื้อ มี ใช้ สั่ง หรือนำเข้า ซึ่งอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืน เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่" การที่นาย ส. จำนำอาวุธปืนไว้แก่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 รับมอบอาวุธปืนไว้ในครอบครองเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 มีอาวุธปืนไว้ในครอบครองแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ให้มีอาวุธปืนไว้ในครอบครอง จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 มาตรา 72 วรรคสาม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ธำรง
Hero Member
คะแนน 1727
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 8568
.....รักในหลวง.....
|
|
« ตอบ #26 เมื่อ: มิถุนายน 13, 2007, 12:43:30 PM » |
|
พกปืน...ในท้องไร่ท้องนา....
คำพิพากษาฎีกาที่ 7356/2546 การกระทำอันจะเป็นความผิดฐานพาอาวุธปืนตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง 72 ทวิ วรรคสอง จะต้องเป็นการพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว และไม่ใช่กรณีที่ต้องมีอาวุธปืนติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยพาอาวุธปืนติดตัวไปที่ขนำนากุ้งไม่มีเลขที่ หมู่ที่ 3 ตำบลปากพนัง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยจำเลยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว ทั้งไม่มีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์อันจะต้องพาอาวุธปืนติดตัวไป ฟ้องของโจทก์ดังกล่าวไม่ปรากฏเลยว่าจำเลยพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะ ทั้งไม่ได้ความว่าขนำนากุ้งดังกล่าวเป็นเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะแต่อย่างใด เพียงการพาอาวุธติดตัวไปที่ขนำนากุ้งหาเป็นความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้นไม่ ฟ้องเช่นนี้ย่อมเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด เป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) และลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ ไม่ได้ ปัญหาว่าฟ้องคดีอาญาชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกา มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้จำเลยจะมิได้ฎีกา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ธำรง
Hero Member
คะแนน 1727
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 8568
.....รักในหลวง.....
|
|
« ตอบ #27 เมื่อ: มิถุนายน 13, 2007, 12:45:54 PM » |
|
ปืนเถื่อน........
คำพิพากษาฎีกาที่ 406/2547 การมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต มีความผิดมาตั้งแต่เริ่มครอบครองเป็นกรรมหนึ่ง และเมื่อพาอาวุธปืนดังกล่าวไปในหมู่บ้าน และทางสาธารณะโดยผิดกฎหมายก็เป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง จึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ธำรง
Hero Member
คะแนน 1727
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 8568
.....รักในหลวง.....
|
|
« ตอบ #28 เมื่อ: มิถุนายน 13, 2007, 12:49:33 PM » |
|
มี ป.4 ก็คุมถึงกระสุนด้วย......
คำพิพากษาฎีกาที่ 200/2518 พิพากษาว่า จำเลยเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนออโตเมติก ขนาด 11 มม.จากนายทะเบียนท้องที่ตามใบอนุญาตที่ 1876/2515 กระสุนปืนและปลอกกระสุนปืนของกลางขนาด 11 มม. (จำนวน 128 นัด กับ 30 ปลอก ) ใช้กับอาวุธปืนของจำเลยได้ดังนี้ การมีกระสุนปืนรวมทั้งปลอกกระสุนปืนที่ใช้ยิงแล้ว หากมีไว้สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้โดยชอบด้วยกฎหมาย ย่อมไม่เป็นความผิดตามนัยแห่งมาตรา 8 แห่งพ.ร.บ.อาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 ซึ่งเป็นข้อยกเว้นของมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงถือได้ว่ากระสุนปืนกับปลอกกระสุนปืน จำเลยมีไว้สำหรับใช้กับอาวุธปืนของจำเลย ที่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้ เป็นการที่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้กระสุนปืนไปในตัวโดยไม่ต้องมีใบอนุญาตพิเศษ จำเลยจึงไม่มีความผิด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Don Quixote
Only God delivers the judgement, we only deliver the suspects.
ชาว อวป.
Hero Member
คะแนน 987
ออฟไลน์
เพศ:
กระทู้: 16169
,=,"--- X Santiago... !!
เว็บไซต์
|
|
« ตอบ #29 เมื่อ: มิถุนายน 13, 2007, 04:39:05 PM » |
|
ขอบคุณมากครับพี่ธำรง หลายเรื่องมีประโยชน์พิมพ์เก็บติดรถไว้แสดงได้เวลามีการตรวจ อิ อิ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
Thou shalt have guns. Thou shalt have tons of ammo. Thou shalt shoot well. Thou shalt not rely on help from the stranger.
|
|
|
|