ในสมรภูมิบ้านร่มเกล้า ระหว่างปี พ.ศ. 2530-2531 ต่อจาก การรบที่ช่องบก 2528-2530 โดยการวางแผนของ เวียดนาม ไทยได้บทเรียนในการรบมาอีกหลายบท.......ที่เราไม่เคยคาดคิดว่าประเทศ เล็กๆ จะมีเทคโนโลยีทางทหารบางอย่างที่เหนือกว่าเรา ในความเห็นของผม
ทหารที่รบกับเราเป็นกองกำลังผสมระหว่างเวียดนามและลาว โดยมีโซเวียตและมิตรประเทศ เป็นที่ปรึกษา โดยเลือกชัยภูมิที่ได้เปรียบ คือ เนิน 1182, 1370, และ 1428 โดยวางแผนล่วงหน้ามานานแล้ว
ลาวมีระบบเรดาห์จับที่ตั้งฐานปืนใหญ่
ลาวใช้ยุทธวิธี โดยใช้ ฮ.ยกปืนใหญ่ ยิงแล้ว ย้ายฐานที่ตั้งไปเรื่อยๆ
ลาวมีกระสุนปืนใหญ่เหลือเฟือ ยิงทิ้งยิงขว้าง ไทยยิงจนกระสุนปืนใหญ่เกือบหมดสต็อก ต้องยืมมาก่อนอย่างเร่งด่วน ทั้งจากในประเทศอาเซียนและจากจีน ในเวลาต่อมาจึงเกิดคลังอาวุธร่วมไทย-สหรัฐ
ลาวมีอาวุธต่อต้านอากาศยานแบบประทับบ่า(แซม7) เหลือเฟื่อ ยิงที เป็นสิบๆ ลูก ลูกละ หลายล้าน(ทำยังกับยิงบ้องไฟ)
ป.ร.ส. ปืนไร้แรงสะท้อนถอยหลัง เป็นอาวุธที่เหมาะสำหรับรบบนภูเขา ระหว่างเนินต่อเนิน
ลาวมีเทคโนโลยีเครื่องแจมมิ่งและดักฟังวิทยุที่มีความสามารถสูง ทางลาวทำการรบกวนระบบการสื่อสารของไทย มีการดักฟัง ถอดรหัส และมีการเลียนเสียงการสั่งการ ซึ่งได้รับอุปกรณ์ที่ทันสมัยจากโซเวียต
ทหารที่บาดเจ็บและเสียชีวิตส่วนมากมาจากกับระเบิด
เนิน 1428 ลาวได้ทำบังเกอร์ถาวร (คอนกรีตเสริมเหล็ก) ขุดอุโมงค์เชื่อมต่อกับรอบฐาน ปรับพื้นที่ ขุดร่องเหลด พอเรายึดบังเกอร์ฝ่ายลาวได้ ปรากฏ บังเกอร์เป็นคอนกรีต เสริมเหล็ก ที่มีความทนทานต่อการทิ้งระเบิดและปืนใหญ่ ถุงปูนซิเมนต์ยี่ห้อดังบ้านเรา เหล็กเส้น ผงชูรส ยุทธปัจจัยเครื่องใช้ต่างๆ ผลิตจากบ้านเรา
กรณีพิพาทระหว่างไทยกับลาวเป็นแผนการที่ลาวได้รับจากเวียดนามและโซเวียตในการรวมภาคอีสานของไทย ลาว เขมร เวียดนาม เป็นสหพันธ์อินโดจีน โดยมีเวียดนามเป็นผู้นำ
ในกรณีการทิ้งระเบิดใส่ฝ่ายเดียวกัน เกิดจากความผิดพลาดในการประสานงานระหว่างกองกำลังภาคพื้นดิน และเครื่องบินที่จะเข้าทำการทิ้งระเบิด ทหารไทยยึดฐานทหารลาวได้ก่อนกำหนด มีการปะทะติดพัน ไม่สามารถแยกแนวรบที่ชัดเจน ตอนที่นักบินทิ้งระเบิดลงไปโจมตี