บ.จล.๒ หรือ เครื่องบินโจมตีและลำเลียงแบบที่ ๒ ( Spooky ) Shot at 2007-07-25
สืบเนื่องจากสถานการณ์การก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ อันเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชาติที่กำลังมีความรุนแรงอยู่ในขณะนั้น กองทัพอากาศได้พิจารณา ถึงความเหมาะสมในการปฏิบัติภารกิจ จึงได้ดำเนินการดัดแปลงเครื่องบินแบบ บ.ล.๒ ( Dakota ) หรือเครื่องบินลำเลียงแบบที่ ๒ มาเป็น บ.จล.๒ หรือ เครื่องบินโจมตีและลำเลียงแบบที่ ๒ นามเรียกขาน spooky จำนวนหลายเครื่อง เริ่มแรกได้ติดตั้งปืนกลอากาศ ขนาด ๗.๖๒ มม., ปกอ.๗.๖๒-๑ (Gun, Machine, Cal.7.62 MM. Gun-2B/A Minigun) จำนวน ๓ กระบอก ได้ใช้งานมาจนกระทั้งกระสุน และอะไหล่ขาดแคลน จึงได้เปลี่ยนมาใช้ปืนกลอากาศขนาด .๕๐ นิ้ว ปกอ. .๕๐-๑ ก. (Gun, Machine, Cal.5O Browning An-m3) แทน
แต่เนื่องจากผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ได้ใช้กลยุทธ์ในการซ่อนพรางได้ดีขึ้น กองทัพอากาศจึงได้พิจารณาติดตั้งปืนที่มีอานุภาพการทำลายรุนแรงยิ่งขึ้นเพิ่มเติมอีก คือ ปืนด่อสู้อาศาศยาน ขนาต ๒๐ มม. ปตอ.๒๐-๑ (Gun, Automatic, Cal.2O MM. Madsen) จำนวน ๑ กระบอก และ ปกอ. .๕๐-๑ ก. จำนวน ๒ กระบอก ได้ใช้งานมาจนกระทั่งกระสุนของ ปตอ.๒๐-๑ ขาดแคลนจึงได้เปลี่ยนมาใช้ปืนใหญ่อากาศ ขนาด ๒๐ มม. ปญอ.๒๐-๓ (Gun, Automatic, Cal.2O MM. M197) จำนวน ๑ กระบอก และ ปกอ. .๕๐-๑ก. จำนวน ๒ กระบอก
Shot at 2007-07-24
ในปี พ.ศ.๒๕๒๗ กองทัพอากาศได้จัดส่งเครื่องบินเเบบ บ.จล.๒ (spooky) จำนวน ๔ เครื่อง มาประจำการที่ กองบิน ๔๖ จังหวัดพิษณุโลก เพื่อใช้ในภารกิจปฏิบัติการทางอากาศ ร่วมกับกองกำลังทางภาคพื้นของกองทัพบก หนึ่งในจำนวนนั้น มีเครื่องบินหมายเลข ๔๔/๑๘ (๑๕๒) ซึ่งบรรจุเข้าประจำการเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๘ โดยมีประวัติการรบมาอย่างโชกโชนทั่วทุกภาคของประเทศ เช่น เชียงใหม่ เชียงราย นครพนม อุดรธานี อุบลราชธานี ปราจีนบรี (วัฒนานคร) นครสวรรค์ (ตาคลี) สงขลา และ
พิษณุโลก
Shot at 2007-07-24
สำหรับประวัติการรบของ บ.เครื่องนี้นั้น ถูกฝ่ายตรงข้ามยิงด้วยอาวุธนานาชนิดหลายครั้ง หลายหนแต่ลูกเรือปลอดภัยทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็น นักบิน เจ้าหน้าที่ ช่างอากาศ สื่อสาร สรรพาวุธ แม้แต่ก่อนจะปลดประจำการในช่วงที่ยังประจำการที่ กองบิน ๔๖ ปลายปี พ.ศ.๒๕๒๗ ได้ออกปฎิบัติภารกิจปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ที่จังหวัดนชียงในม่ได้ถูกกระสุนปืนของข้าศึกที่บริเวณปีกขวาได้รับความเสียหาย แต่ก็สามารถกลับมาลงที่สนามบินโดยปลอดภัย จะเห็นได้ว่า บ.เครื่องนี้ใด้ผ่านการปฏิบัติภารกิจเพื่อความมั่นคงของประเทศ เพื่อความอยู่เย็นเป็นสุขของปวงชนชาวไทยมาอย่างยาวนาน
Shot at 2007-07-24
ปลายปี พ.ศ.๒๕๒๗ หลังจากภัยคุกคามจากผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์เบาบางลง และเพื่อความเหมาะสมกับสถานการณ์ กองทัพอากาศจึงได้ดัดแปลง บ.จล.๒ ใหม่อีกครั้ง โดยการถอดปืนออกและให้กลับไปใช้ชื่อเดิม คือ บ.ล.๒ เพื่อปฏิบัติภารกิจที่เหมาะสมต่อไป
ในปี ๒๕๒๙ ได้โอนเครื่องบินทั้ง ๔ เครื่องไปสังกัด กองบิน ๖ ฝูง ๖๐๓ แต่เนื่องด้วยมีอายุการใช้งานมายาวนาน จึงได้มีคำสั่งปลดประจำการในเวลาต่อมา
นาวาอากาศเอก ชาญชัย ชาญชิดชิงชัย ผู้บังคับการกองบิน ๔๖ (ยศและตำแหน่งในขณะนั้น) ได้ขออนุมัติให้ บ.จล.๒ หมายเลข ๔๔/๑๘ (๑๕๒) มาตั้งแสดงเป็น อากาศยานานุสรณ์ ประจำกองบิน ๔๖ เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ระลึกถึง เกียรติประวัติอันเกรียงใกรในอดีต ณ บริเวณทางเข้ากองบิน ๔๖ (ช่องทาง จ.๑) ซึ่งอยู่ทางด้านทิศเหนือของท่าอากาศยานพิษณุโลก ต่อมาในสมัย นาวาอากาศเอก สุพล วิทยาเวช เป็นผู้บังคับการกองบิน (ยศและตำแหน่งในสมัยนั้น) ได้มีการปรับปรุงและย้ายสถานที่ตั้ง มาตั้งแสดงอยู่บริเวณพื้นที่ว่างทางด้านทิศเหนือของกองบังคับการกองบิน ๔๖ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๕ จวบจนถึงปัจจบัน
สมรรถนะ บ.จล.๒ (AC-47), Spooky
ประเภท : เครื่องบินลำเลียงขนาดเบา
(ผู้โดยสารสูงสุด ๓๖ ที่นั่ง/ลำเลียงทหารพร้อมอาวุธ ๒๘ คน)
ผู้สร้าง : บริษัท เเมคโดแนล ดักลาส คอเปอเรชั่น (สหรัฐอเมริกา)
เครื่องยนต์ : ลูกสูบ แพรทท์ แอนด์ วิทนีย์ R-๑๘๓๐-๙๐, R-๑๘๓๐-๙๐D, R-๑๘๓๐-๙๒
กำลังเครื่องยนต์ละ ๑,๒๐๐ แรงม้า จำนวน ๒ เครื่อง
กางปีก : ๒๘.๙ ม. (๙๕ ฟุต)
ยาว : ๑๙.๖๓ ม.
สูง : ๕.๒ ม. (๑๖ ฟุต ๑๑ ๑/๒ นิ้ว)
น้ำหนักเปล่า : ๘,๐๓๐ กก. (๑๗,๗๒๐ ปอนด์)
อัตราเร็วสูงสุด : ๓๔๖ กม./ ชม. (๒๑๕ ไมล์/ ชม.)
อัตราเร็วเดินทาง : ๒๙๖ กม./ ชม. (๑๘๕ ไมล์/ ชม.)
น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด : ๑๔,๐๘๐ กก. (๓๑,๐๐๐ ปอนด์)
อัตราไต่ : ๕.๔ ม./ วินาที (๑,๐๗๐ ฟุต / นาที)
เพดานบิน : ๗,๓๔๐ ม. (๒๔,๑๐๐ ฟุต)
พิสัยการบิน : ๕๖๓ กม. (๓๕๐ ไมล์) เมื่อมีการบรรทุกสูงสุด ๓,๐๐๐ กก. (๖,๖๒๐ ปอนด์) และ ๒,๔๓๐ กก. (๑,๕๑๐ ปอนด์) เมื่อเติมเชื้อเพลิงเต็มที่
ย้อนอดีต ๓๕ ปี กองบิน ๔๖, ๒๕๔๓, หน้า ๘๑
ภายหลังจากเกิดเหตุการณ์ในสงครามเวียดนาม กองทัพอากาศจัดส่งเครื่องบินลำเลียงแบบ ซี - ๔๗ จำนวน ๒ เครื่อง คือ หมายเลข ๙๑๙ และ ๔๑๘ ไปทำการดัดแปลงที่เวียดนามใต้ โดย ทอ. สหรัฐฯ เป็นผู้ดำเนินการให้ติดปืนกลอากาศ ๗.๖๒ มม. มินิกันหลายลำกล้อง ๓ ชุดยิงต่อหนึ่งเครื่อง กำหนดชื่อเป็น "บ.จล.๒" กลับมาบรรจุที่ กองบิน ๖ ฝูงบิน ๖๔ ดอนเมือง ในเดือน ธันวาคน ๒๕๑o
Spooky หรืออีกฉายาหนึ่งที่ฝรั่งเรียกว่า Gunship AC-47 ได้ออกใปปฎิบัติหน้าที่ยังสนามชายแดน ที่สนาภบินนครพนม ในวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๑๑ ส่วนอีกเครื่องไปประจำที่สนามบินเชียงใหม่ แต่เนื่องจากสถานการณ์ภัยจาก ผกค. ทวีความรุนแรงมากขึ้น กองทัพอากาศไทยจึงดำเนินการดัดแปลงเคื่รอง ซี-๔๗ เพิ่มเติมให้เป็นกันชิป แล้วส่งไปบรรจุที่สนามบินอุบลฯ และสงขลา
ฝูงบินพญายม
เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๐ กองทัพอากาศได้ออกคำสั่งย้ายเครื่อง บ จล.๒ ไปประจำกองบิน ๔ (ตาคลี) จังหวัดuครสวรรล์ จัตตั้งเป็น ฝูงบิน ๔๒ โดยมี น.ท.ประวิช พจนประพันธ์ เป็นผู้บังคับฝูงบิน (ยศและตำแหน่งในขณะนั้น ปัจจุบันท่านมียศ พล.อ.อ.) ใช้นามเรียกขานว่า spooky ได้ร่วมรบกับหน่วยกำลังภาคพื้นในการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ และกองกำลังต่างชาติที่รุกล้ำอธิปไตยของชาติตามแนวชายแดน
ตลอดเวลาที่ประจำการอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ ไดปฎิบัติการรบทั้งกลางวัน กลางคืน จนได้รับสมญานามว่า "ฝูงบินพญายม"จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๒๗ บ.จล.๔ ได้ย้ายมาประจำการที่ กองบิน ๔๖ ฝูงบิน ๔๖๑ จนกระทั่งสถานการณ์จากภัยผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์เบาบางลง กองทัพอากาศจึงมีคำสั่งถอดอาวุธปืนออกจาก spooky แล้วเปลี่ยนภารกิจเป็นเครื่องบินลำเลียง ย้ายโอนไปบรรจุที่กองบิน ๖ ฝูงบิน ๖๐๓ ดอนเมือง เมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๙
ปี พ.ศ.๒๕๑๐ ทอ.ได้ส่ง บ.ล.๒ จำนวน ๒ เครื่อง ไปยังสาธารณรัฐเวียดนาม ทำการดัดแปลงเป็นเครื่องบินโจมตีลำเลียง เป็นแบบ บ.จล.๒ โดยติดปืนกลอากาศขนาด ๗.๖๒ มม. จำนวน ๓ กระบอก/เครื่อง ส่งไปประจำการฐานบินนครพนม เมื่อ ธ.ค.๒๕๑๐ และประจำการฐานบินเชียงใหม่ เมื่อ ๒๖ ม.ค.๒๕๑๑ หลังจากนั้น ทอ.สามารถดัดแปลง บ.ล.๒ เป็น บ.จล.๒ ได้เอง โดยดัดแปลงเพิ่มขึ้น ๕ เครื่อง ส่งไปประจำการฐานบินอุบลราชธานี และฐานบินสงขลา เพื่อสนับสนุนการปราบปรามผู้ก่อการร้าย ต่อมาได้มีการพัฒนาขีดความสามารถของ บ.จล.๒ ในการทิ้งพลุส่องสว่าง และติดตั้งปืนใหญ่อากาศขนาต ๒๐ มม. (แมดเสน) ร่วมกับปืนกลอากาศขนาด ๐.๕๐ นิ้ว ๒ กระบอก ซึ่งในรุ่นต่อมายังได้เปลี่ยนเป็นปืนใหญ่อากาศขนาด ๒๐ มม.(เอ็ม-๑๙๗) แทนแบบ แมดเสน โดย ทอ.เป็นผู้ดำเนินการ