ครับ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๘๘ บอกไว้ว่า ผู้ใดฆ่าผู้อื่นต้องระวางโทษ
จำคุก ... จำคุกตลอดชีวิต หรือประหารชีวิต
นี่คือบทกฎหมายไทย ที่ไม่ว่าใครก็ต้องปฏิบัติตาม
ยังมีกฎหมายรัฐธรรมนูญอีก กฎหมายสูงสุดที่พูดถึงเรื่องสิทธิเสรีภาพของบุคคลไว้
มีกฎหมายสิทธิมนุษญชนอีก เยอะครับ
ผมจำได้ว่าการฆ่าคนตายที่ไม่มีความผิดตามกฎหมายเลย น่าจะมีอยู่คือ
๑ ) แบบวิสามัญฆาตกรรม เจ้าหน้าที่จับผู้ร้าย เกิดต่อสู้ด้วยอาวุธ ยิงสวน
๒.) แบบป้องกันตัวพอสมควรแก่เหตุ คนดีกับคนร้าย หรือเจ้าหน้าที่กับคนร้าย
๓) พวกเพชรฆาต มือสังหาร ที่ทำตามคำสั่งศาลที่พิพากษาให้ประหารชีวิต
จำผิดขออภัยด้วยครับ น่าจะมีแค่นี้
ถ้านอกเหนือจากนี้ ไปฆ่าเขาส่งเดช ไม่ได้ ถือว่าทำผิดกฎหมายบ้านเมือง
ผิดศีลธรรมอันดี ผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายสูงสุดของประเทศ
และประเทศที่เจริญแล้วเขาก็ไม่ทำกัน
การฆ่าตัดตอน อาจถูกใจใครบางคนหรือหลายคน แต่ไม่ถูกกฎหมายบ้านเมือง
ที่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย
จึงทำไม่ได้ครับ ไม่ควรทำ แม้ว่าอยากจะทำก็ตาม เว้นแต่ว่าเป็นแบบวิสามัญฆาตกรรม
หรือป้องกันตัว เข้าเหตุนั้นจึงจะทำได้เท่านั้น
กฎหมายก็เป็นเครื่องมืออันหนึ่ง ที่ใช้วัดความดีความเลวของคนได้ใครทำถูกกฎหมาย ก็ย่อมสันนิษฐานได้ก่อนว่าเป็นคนดี
ใครชอบทำผิดกฎหมายก็ต้องสันนิษฐานได้ก่อนว่านายคือคนไม่ค่อยดี หรือไม่ดีเลย
แล้วเราจะไปสนันสนุนการฆ่าตัดตอนที่ผิดกฎหมายว่า เขาทำดีได้หรือครับ
ยิ่งไม่ได้ใหญ่เลยครับ ...
ถ้าสร้างบรรทัดฐานอย่างนั้น ใครทำผิดกฎหมายก็ยิงทิ้งได้หมด
แล้วบ้านเมืองจะอยู่กันอย่างไร ไว้เนื้อเชื่อใจใครได้บ้าง
การสวมรอยฆ่าจะเกิดขึ้นอีกกี่ครั้ง การกระทำโดยพลาดไปถึงผู้บริสุทธิ์จะเกิดอีกกี่ครา
ปล่อยให้เกิดแบบนั้นไม่ได้หรอกครับ
ลองคิดดูคนค้า/ขาย/เสพ ยาบ้า เขาทำผิดกฎหมาย เขาคือคนไม่ดี
ผู้ใหญ่สั่งยิงทิ้ง เพราะพวกนี้ค้ายาบ้าทำผิดกฎหมายเป็นคนไม่ดี
แต่อย่าลืมว่าคนสั่งฆ่า/คนฆ่า ก็เป็นคนไม่ดีเช่นกัน เพราะทำผิดกฎหมายฐานฆ่าคนตาย
จึงควรจะโดนเก็บไปด้วยเช่นเดียวกัน เพราะว่าใช้บรรทัดฐานคือเป็นคนที่ไม่ดีทำผิดกฎหมายเหมือนกัน
ดังนั้น จึงทำยังงั้นไม่ได้หรอก
เว้นเสียแต่ว่า คุณจะเขียนข้อนี้เอาไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายอาญา
ว่าให้ทำได้ จะได้ไม่ต้องพะวงกันอีกเวลาจะทำกัน