เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤศจิกายน 19, 2024, 05:32:57 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.ยินดีต้อนรับสุภาพชนทุกท่าน กรุณาใช้คำสุภาพด้วยครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เศรษฐกิจล้ม ระวังกันบ้างเน้อ!  (อ่าน 3263 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 13 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
nars รักในหลวงและแผ่นดินไทย
Website Sponsor
Hero Member
****

คะแนน 303
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 4897


« เมื่อ: สิงหาคม 27, 2007, 01:35:28 AM »

แฉความจริงเศรษฐกิจไทย เตือน "ขิงแก่" เร่งเยียวยาก่อนพังพาบ [27 ส.ค. 50 - 21:51]
 


นับแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปี พ.ศ. 2550 ผ่านการลงประชามติจากประชาชน จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง ลงพระปรมาภิไธยโปรดเกล้าฯให้มีรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 ส.ค.ที่ผ่านมา

คนไทยทุกคนต่างก็มุ่งหวังให้ “การเลือกตั้งทั่วไป” เกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด เพื่อให้ประเทศกลับเข้าสู่ภาวะปกติ และมีรัฐบาลจากการเลือกตั้งตามครรลองของระบอบประชาธิปไตยเข้ามาบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อกอบกู้เศรษฐกิจประเทศที่อยู่ในภาวะทรุดตัวลงอย่างไม่ควรจะเป็นให้กลับมาขยายตัวได้อีกครั้ง

หากไม่มีอะไรผิดพลาด พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ให้สัญญาว่า การเลือกตั้งครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นแน่นอนในวันที่ 23 ธ.ค. 2550 หรืออีก 4 เดือนนับจากวันนี้ไป

แต่ในขณะที่คนไทยกำลังฝากความหวังไว้กับการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในปลายปีนี้ว่า จะเป็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์หรือไม่ ทีมเศรษฐกิจ ขอนำเสนอผลการตรวจเช็กชีพจรเศรษฐกิจ ทั้งในระดับมหภาค และจุลภาค ซึ่งเจาะลงลึกไปถึงผลประกอบการของแต่ละภาคธุรกิจที่ล้วนอยู่ในขั้นน่าวิตก

ทั้งนี้ ก็เพื่อสะท้อนให้รัฐบาลได้มองเห็นปัญหา และตระหนักว่า การเข้ามาทำหน้าที่เพียงเพื่อเป็นรัฐบาลขัดตาทัพ หรือลอยตัวอยู่เหนือปัญหาอย่างที่ผ่านๆมานั้น

นอกจากจะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์โภชผลแก่ประเทศชาติ และคนไทยโดยรวมแล้วยังอาจสร้างปัญหา และความเสียหายแก่เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองไทยอย่างไม่ควรจะเป็นอีกด้วย

ที่สำคัญ ความไม่รู้ ไม่เข้าใจ และไม่สามารถหยั่งรากลึกถึงปัญหาของชาติได้ ยังมีผลให้ความเชื่อมั่นของประชาชน ภาคธุรกิจ และภาคอุตสาหกรรมลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.ค.ที่ลดลงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ 4 ปี และต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 16 ที่ระดับ 72.7

อสังหาฯ-ก่อสร้างทรุด

ชีพจรของเศรษฐกิจไทย 6 เดือนแรกของปี ยังอยู่ในสภาพไข้หนัก เพราะนอกจากการใช้จ่ายภาคเอกชนที่ติดลบ 0.2% และการลงทุนภาคเอกชนที่ติดลบ 3.3% จากช่วงเดียวกันปีก่อนแล้ว การท่องเที่ยวที่เคยเป็นรายได้หลักของไทยขยายตัวเพียง 3.9% จากความไม่มั่นใจในความปลอดภัยของประเทศ

ขณะที่การค้าการขายเริ่มฝืดเคือง เห็นได้ชัดเจนจากยอดค้าปลีกที่ติดลบ 2% จากระยะเดียวกันของปีก่อน ยอดขายรถยนต์ติดลบ 12% ขณะที่ยอดขายจักรยานยนต์หดตัวลง 22% ยอดจำหน่ายปูนซีเมนต์ลดลง 7% ในครึ่งปีแรก ขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่มเก็บได้ลดลงจากปีก่อนตั้งแต่เดือน พ.ค.ที่ผ่านมา


บริษัทยักษ์ใหญ่อย่างปูนซิเมนต์ไทย เผยผลประกอบการ 6 เดือนแรกของปี พบว่า ยอดขายและกำไรลดลงอย่างน่าใจหาย กำไรสุทธิลดลง 1% จากที่เคยมีกำไร 17,028 ล้านบาท ขณะที่กำไรจากการดำเนินงานลดลง 13% และยังคาดว่าผลการดำเนินงานสิ้นปีจะพลาดเป้าที่ตั้งไว้ 250,000 ล้านบาทด้วย

ผลจากปัญหาการส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาท และปัญหาการจำหน่ายในประเทศที่ลดลง จากผลของการก่อสร้างภาคเอกชนและภาครัฐที่เผชิญกับภาวะหดตัวอย่างรุนแรง ทำให้ยอดขายผลิตภัณฑ์หลักลดลงทุกกลุ่ม อาทิ
ปูนซีเมนต์ไตรมาส 2 ลดลง 4% ขณะที่ธุรกิจวัสดุก่อสร้าง ยอดขายในประเทศหายไปถึง 20% โดยเฉพาะกลุ่มหลังคา, เซรามิก, สุขภัณฑ์ใช้ในบ้านเรือน ขณะที่กลุ่มกระดาษ แม้ยอดขายจะเพิ่ม แต่ผลกำไรลดลงถึง 38%สอดคล้องกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่กำลังประสบปัญหา บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ส่วนใหญ่มีกำไรลดลงแทบทั้งสิ้น ผลจากผู้บริโภคยังลังเลไม่กล้าตัดสินใจซื้อ ยอดการขายบ้านและคอนโดชะลอตัวลง ขณะที่ต้องแบกภาระต้นทุนการจัดการโครงการที่ยังขายไม่ได้ และค่าใช้ จ่ายการทำตลาด แข่งขันที่รุนแรงขึ้น

บริษัทแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เผยผลประกอบการว่าไตรมาส 2 ปีนี้
บริษัทมีกำไรรวม 699 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 726 ล้านบาท ขณะที่ 6 เดือนแรก มีกำไรรวม 1,229 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนที่มีกำไร 1,438 ล้านบาท ขณะที่บริษัทแสนสิริ ไตรมาส 2 มีกำไร 46 ล้านบาท ลดลงจากที่มีกำไร 101 ล้านบาท ขณะที่ 6 เดือน มีกำไร 87 ล้านบาท ลดลงจากที่มีกำไร 236 ล้านบาท
รากหญ้าสะดุดหยุดใช้จ่าย

การชะลอตัวของเศรษฐกิจครั้งนี้ ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงกับผู้คนระดับรากหญ้า ธุรกิจยักษ์ใหญ่ในเครือสหพัฒน์ฯ ซึ่งขายสินค้าอุปโภคบริโภคจึงได้รับผลกระทบโดยตรง
ปีนี้เครือสหพัฒน์ฯต้องใช้กลยุทธ์การตลาดที่ติดลบ (ไมนัสมาร์เก็ตติ้ง) โดยปรับลดเป้ายอดรายได้รวมของกลุ่มฯลงเป็นติดลบ 5% จากเดิมที่ตั้งเป้าเติบโตต่อเนื่องมากกว่า 10% ต่อปี

ซึ่งไม่เคยทำมาก่อนในรอบ 60 ปีที่ดำเนินธุรกิจมา แม้แต่ปี 2540 ยังทำแค่ใช้กลยุทธ์ ซีโร่มาร์เก็ตติ้ง หรือประคองรายได้ไม่ให้ตกหรือเติบโต 0%

โดยปีนี้คาดว่ายอดรายได้โดยรวมของทั้งเครือจะไม่ถึง 130,000 ล้านบาท เพราะแค่เพียง 5 เดือนแรกของปี การใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลงอย่างมาก ยอดขายสินค้าของบริษัทในเครือฯลดลง โดยกลุ่มสินค้าอุปโภค เช่น เสื้อผ้า เครื่องสำอาง ยอดขายตกรูดถึง 20-30% แต่ยอดขาย บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปตรามาม่ากลับโตเพิ่มขึ้นถึง 10-15% ส่งผลให้ผลประกอบการครึ่งปีแรกของปี 50 บริษัทฯมียอดขายต่ำกว่าเป้าหมาย 5-6% ซึ่งเป็นผลจากยอดขายในห้างสรรพสินค้าลดลงกว่า 10-20%
ขณะที่กลุ่มบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร (ซีพีเอฟ) แค่เพียงครึ่งปีแรก ผลการดำเนินงานของทั้งกลุ่มก็ติดลบถึง 111% จากที่เคยมีกำไรสุทธิถึง 1,573 ล้านบาท ส่งผลให้ผู้ถือหุ้นหมดสิทธิ์รับเงินปันผล แต่หากคิดงบการเงินเฉพาะกิจการ ไตรมาส 2 มีกำไรสุทธิ 550 ล้านบาท ลดลง 74% จากปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 2,133 ล้านบาท โดยคาดรายได้ส่วนใหญ่จะมาจากกิจการที่ไปลงทุนในต่างประเทศ มิใช่การบริโภคภายในประเทศ

ส่งออกกระอักพิษบาทแข็ง

หลังจากที่ปล่อยให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว และต่อเนื่องนับจากปี 2549 เป็นต้นมา
จนกระทั่งถึงกลางปี 2550 ที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นไปมากกว่า 23% ในที่สุด ผู้ส่งออกก็ทนพิษของการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนไม่ไหว ทำให้ต้องลดการส่งออกลง และผ่องถ่ายคำสั่งซื้อไปยังประเทศอื่นแทน
ดังจะเห็นได้จากตัวเลขการส่งออกในเดือน ก.ค.ที่ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 29 เดือน หรือขยายตัวเพียง 5.9% ในมูลค่า 11,801.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

เฉพาะตลาดสหรัฐฯซึ่งเป็นตลาดหลักของประเทศไทย ลดลงถึง 13.6%
ส่งผลให้การส่งออกที่รัฐบาลคุยฟุ้งว่าน่าจะขยายตัวต่อเนื่องอีกปี มีแนวโน้มว่าจะไปไม่ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ 15% ในมูลค่า 149,000 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 5.1 ล้านล้านบาท (34.50 บาทต่อดอลลาร์)

นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสหลายคนเตือนรัฐบาลมาตลอดเวลาว่า ถ้าไม่ขวนขวายหามาตรการให้ค่าเงินบาทอ่อนตัว ลงในระดับที่สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆในเวทีการค้าโลกได้ ที่สุดผู้ส่งออกก็จะขยาดกับการขาดทุน และชะลอการส่งออกลง ซึ่งเมื่อถึงสภาพการณ์เช่นว่า ภาคการผลิต โดยเฉพาะภาคการเกษตรก็จะได้รับผลกระทบไปด้วย ขณะที่การส่งออกเป็นภาคเดียวที่ทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศยามนี้

โดยหากพิจารณาสถิติของกรมโรงงาน จะพบว่า มีโรงงานที่ปิดกิจการตัวเองเพราะพ่ายพิษเศรษฐกิจไปแล้วจำนวนมากแค่
เพียง 6 เดือนแรกของปี มีโรงงานที่เลิกกิจการแล้วทั้งสิ้น 1,254 ราย คิดเป็นเงินลงทุน 94,861 ล้านบาท คนงานที่ถูกเลิกจ้าง 35,614 คน
ผู้ประกอบการทั้งกลุ่มสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม และรองเท้า ต่างยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่า โรงงานขนาดเล็กได้ทยอยปิดกิจการไปแล้วจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มสิ่งทอพบว่า ตั้งแต่ต้นปี

นี้ปิดกิจการแล้วเกือบ 200 ราย หากค่าเงินบาท ยังแข็งค่าต่อไปเรื่อยๆ มีโอกาสที่จะปิดกิจการอีกมาก และแรงงานในอุตสาหกรรมนี้ประมาณ 2 ล้านคนจะได้รับความเดือดร้อน ส่งผลต่อเนื่องให้เกิดปัญหาสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

บลูชิพหุ้นไทยกำไรลด

ถ้าจะดูผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ก็จะพบว่า ในงวด 6 เดือน สิ้นสุด ณ วันที่ 30 มิ.ย. 2550
บริษัทจดทะเบียน 469 แห่ง จากทั้งสิ้น 492 แห่ง ที่นำส่งงบการเงิน มีผลกำไรสุทธิลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนถึง 47,674 ล้านบาท หรือลดลง 17%

โดยมีผลกำไรสุทธิรวมทั้งสิ้น 229,403 ล้านบาท ในจำนวนนี้ 367 บริษัท ที่มีกำไรสุทธิ ส่วนอีก 102 บริษัทขาดทุน ขณะที่ผลการดำเนินงานโดยรวมในสิ้นไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ มีกำไรสุทธิ 114,578 ล้านบาท ลดลง 10% เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
สาเหตุสำคัญมาจากต้นทุนการขายที่เพิ่มขึ้น ประกอบกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ลดลง ซึ่ง เป็นผลมาจากเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง

รวมถึงกลุ่มธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินมีการตั้ง สำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ใหม่ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ต้องการให้สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศใหม่ (IAS 39) ที่นำมาใช้ ยอดสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์จึงขยายตัวเพียง 3.5%
แต่กลับมีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของลูกหนี้รายใหม่เพิ่มขึ้นกว่า 63,000 ล้านบาท
ส่งผลไตรมาสที่ 2 ที่ผ่านมา มีกำไรลดลง 54% ธนาคารพาณิชย์หลายธนาคารเปลี่ยนจากการโชว์ผลกำไรเป็นขาดทุน โดยธนาคารพาณิชย์ที่ขาดทุนสูงสุดในระบบคือ กรุงศรีอยุธยา 8,806.43 ล้านบาท เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสูงถึง 1,610.22 ล้านบาท ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ขาดทุน 206 ล้านบาท เทียบกับปีก่อนที่มีกำไร 460 ล้านบาท ขณะที่ไทยธนาคาร ขาดทุน 68 ล้านบาท
ขณะที่กลุ่มทรัพยากรในหมวดพลังงาน สาธารณูปโภค และเหมืองแร่ กำไรลดลง 8% กลุ่มธุรกิจการเงิน และประกันภัย กำไรลดลง 48% กลุ่มบริการ การท่องเที่ยว และโลจิสติกส์ กำไรลดลง 23% ขณะที่กลุ่มเทคโนโลยี และการสื่อสาร กำไรลดลง 26% กลุ่มเกษตร และอุตสาหกรรมอาหาร กำไรลดลง 44% ส่วนกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค กำไรลดลง 31%

งบรัฐฝืดไม่จ่ายไม่ลงทุน

หันมาดูการใช้จ่ายของภาครัฐและรัฐวิสาหกิจต่างๆที่พอจะ พึ่งพาอาศัยให้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปข้างหน้าได้ยามที่ภาคการส่งออกชะลอตัว เอกชนโดยทั่วไปชะลอการลงทุน และประชาชนขาดความเชื่อมั่นในการจับจ่ายใช้สอย แต่ก็ต้องผิดหวังอีก

เมื่อกระทรวงการคลังพบว่า นอกจากการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2550 จะล่าช้าไปจากงบประมาณปีปกติ 3 เดือน หรือมีเวลาให้เบิกจ่ายได้เพียง 9 เดือน เนื่องจากมีการปฏิวัติรัฐประหารแล้ว

งบลงทุนที่จำเป็นของบรรดารัฐวิสาหกิจใหญ่ๆหลายแห่งยังมีการเบิกจ่ายต่ำกว่าประมาณการมาก ขณะที่เหลือเวลาอีกเพียง 3 เดือนก็จะสิ้นสุดปีงบประมาณนี้แล้ว

ในรายงานของกระทรวงการคลังที่แจ้งต่อที่ประชุม ครม.เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ระบุว่า มีรัฐวิสาหกิจถึง 11 แห่ง ที่ต้องเร่งรัดเจ้ากระทรวงให้มีการเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อการลงทุนตามแผนการที่วางไว้มากขึ้น หลังจากที่หลายแห่งถูกเจ้ากระทรวงกระตุกขาเสียเอง หรือไม่ก็ไม่มีความชัดเจนในนโยบายการลงทุน เช่น การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) สามารถเบิกจ่ายงบลงทุนได้เพียง 220 ล้านบาท จากยอดที่ได้รับอนุมัติทั้งสิ้น 15,553 ล้านบาท ส่วนการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) มียอดอนุมัติทั้งสิ้น 25,348 ล้านบาท แต่เบิกจ่ายไปเพียง 1,355 ล้านบาท เนื่องจากการก่อสร้างล่าช้ากว่ากำหนดมาก

ขณะที่บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เบิกจ่ายงบลงทุนไป 4,040 ล้านบาท จากยอดที่ได้รับ 16,672 ล้านบาท เนื่องจากการก่อสร้างส่วนต่อขยายเฟส 2 ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิถูกระงับไป และให้มีการไปใช้ท่าอากาศยานดอนเมืองแทน นอกจากนี้ การจัดซื้อจัดจ้างยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบความถูกต้องหลายขั้นตอน

เช่นเดียวกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ที่เบิกจ่ายงบลงทุนได้ 4,120 ล้านบาท จากยอดที่อนุมัติ 26,361 ล้านบาท เพราะรถไฟฟ้าสายสีแดงยังอยู่ในขั้นตอนการจัดหาบริษัทรับเหมาก่อสร้าง สำหรับบางโครงการอย่างโรงงานปิโตรเคมีของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ มูลค่า 100,000 ล้านบาท ก็มีอันต้องสะดุดไป เพราะถูกเจ้ากระทรวงระงับการลงทุน โดยเหตุที่มัวไปเชื่อเอ็นจีโอที่กล่าวหาว่ามาบตาพุดมีปัญหามลภาวะเกินกว่าค่ามาตรฐานนั่นเอง

เราได้แต่หวังว่า ผลการตรวจวัดชีพจรเศรษฐกิจข้างต้น จะทำให้รัฐบาลมองเห็นภาพรวมของปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ และสามารถบรรเทาผลกระทบที่อาจขยายวง กว้างออกไปได้ก่อนที่จะส่งมอบคืนให้แก่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในอีก 4-5 เดือนข้างหน้า

ถึงรัฐบาลจะถูกเรียกขานว่าขิงแก่ แต่ในความแก่ ย่อมไม่มีใครแก่เกินจะเรียนรู้ และแก้ไข ที่สำคัญ ถึงจะแก่ แต่ก็ต้องทำงาน ถ้าไม่ทำ หรือเอาแต่นั่งนิ่งๆ ปล่อยให้ปัญหาขยายวงกว้างออกไปกลายเป็นความเสียหาย ที่สุด เราๆท่านๆก็คงจะหลีกไม่พ้นต้องขอเงินเดือนคืน.


 http://www.thairath.co.th/news.php?section=economic02&content=58832

ระมัดระวังการใช้จ่ายเอาไว้บ้างก็ดีนะครับ ที่เขียนนี่ไม่ได้ต้องการทำลายขวัญกำลังใจแต่อย่างใด แต่การจะเข้าสู่สนามรบเรารู้ตัวเอาไว้ก่อนก็ดีว่าจะเจอคู่ต่อสู้(ทางเศรษฐกิจ)ร้ายกาจเพียงไหน ปัจจัยที่ส่งผลลบต่อเศรษฐกิจประเทศเราในเวลานี้มาจากการที่ฟองสบู่สหรัฐฯกำลังจะแตก และจะฉุดเศรษฐกิจทั่วโลกลงเหว ตอนนี้ฟองแรกที่แตกออกมาก่อนคือ สินเชื่ออสังหาซับไพร์มของสหรัฐฯ ซึ่งธนาคารกลางทั่วโลกอัดฉีดเงินเข้าระบบกว่า3แสนล้านus$(10เท่าของงบประเทศไทยทั้งปี)แล้วก็ยังเอาไม่อยู่ คาดว่าภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯจะตกต่ำอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะกระทบต่อประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เศรษฐกิจเราเดินมาผิดทางเป็นเวลานานหลายสิบปี โดยพึ่งพาการส่งออกสินค้าที่มีvalue added ต่ำได้แต่เพียงค่าแรงจากธุรกิจต่างชาติเท่านั้น โดยที่ยอดส่งออกเกือบ70% เป็นสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และรถยนต์ของบริษัทฯยักษ์ข้ามชาติ ในขณะที่เราต้องนำเข้าวัตถุดิบเกือบทั้งหมดแม้กระทั่งเหล็กซึ่งเป็นวัตถุดิบ มีแต่ยางรถยนต์และยางปัดน้ำฝนเท่านั้นที่เราผลิตได้เองในประเทศ กำไรก็ส่งสู่บริษัทแม่ที่ญี่ปุ่น ซึ่งในความเป็นจริงตัวเลขการได้ดุลการค้าที่เกิดขึ้นนั้นเป็นตัวเลขลวงในความเป็นจริงเราขาดดุลการค้าทุกปี  (ยกตัวอย่างให้เห็นง่ายๆเช่น ร้านของชำขายสินค้าได้100 บาท แต่เป็นสินค้าฝากขายเสีย70 บาท แต่กลับซื้อของใช้ภายในบ้านถึง90 บาท) และการสร้างตัวเลขเศรษฐกิจเทียมโดยการสร้างการบริโภคภายในประเทศให้เกิดการบริโภคภายประเทศโดยไม่มีการสร้างศักยภาพของประเทศมาตลอด5 ปีที่ผ่านมา เช่น การที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ที่กู้เงินกองทุนหมู่ไปเพื่อใช้จ่ายเช่นซื้อ รถ มอร์เตอร์ไซค์ โทรศัพท์โดยมิได้นำไปลงทุนสร้างรายได้แต่อย่างใด ตลอดเวลา 5 ปีที่ผ่านมาลองสังเกตุดูครับว่า มีสิ่งใด้ที่แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยเจริญขึ้น มีเทคโนโลยีและความรู้มากขึ้นที่จะสามารถแข่งขันกับชาวโลกได้บ้างครับ (หวังว่าคงไม่มีใครตอบว่า รถไฟฟ้าใต้ดิน ที่แม้แต่หัวขุดก็ต้องเช่าจากต่างประเทศขุดเสร็จก็ส่งกลับ หรือสนามบินสุวรรณภูมิที่เราไม่ได้ออกแบบแม้แต่น้อย เราใช้แต่แรงงานในการก่อสร้างเท่านั้น)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 27, 2007, 01:38:17 AM โดย nars » บันทึกการเข้า

ถ้าเสียงส่วนใหญ่คือความถูกต้อง
ผีเปรตในนรกมันคงโหวตให้พวกมันได้ขึ้นสวรรค์
จะแก้รัฐธรรมนูญไปทำไม! ต้นตอปัญหามันเกิดจากรธน.ไม่ดี หรือพวกแกมันเลว!
rute - รักในหลวง
Forgive , But not Forget .
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1960
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 22591


"ผลิดอกงามแตกกิ่งใบ..."


« ตอบ #1 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2007, 02:06:24 AM »

ขอบคุณครับท่าน nars...

ผมสังเกตุมาช่วงหนึ่งแล้ว...

เศรษฐกิจเริ่มแย่ลงจริงๆ...

ตอนนี้ผมก็ประหยัดเท่าที่จะทำได้ครับ...

ปีนี้คาดว่าคงซื้อปืนอีกไม่เกินหนึ่งกระบอกครับ...ฮา...Cheesy
บันทึกการเข้า
FUFUFUFU
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #2 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2007, 03:40:25 AM »

   อยากมีเงินซื้อปืนแบบเก่าจังเลยครับ
  สมัยก่อนเปิดในเว็บทุกวันอยากได้กระบอกไหน โทรจองก่อนเลยไม่ต้องคิดเสียเวลา เรื่องเงินเด็กๆครับ
 แต่ปัจจุบัน จะซื้อกล้องติดปืนซักตัว ต้องเก็บตังจากค่าแรงที่เมียให้ครับ วันละ 200 บาท พูดแล้วเศร้า เฮ้อๆๆ
 
บันทึกการเข้า
น้าพงษ์...รักในหลวง
1911ต้อง.โค้ลท์.ที่เหลือคือก๊อปปี้.ลอกพี่.มะขิ่นครับ
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 508
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 9922


« ตอบ #3 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2007, 07:26:31 AM »

ขอบคุณครับ..ถ้าค้าขายจะทราบช่วงนี้เงียบจริงๆ.. Wink
บันทึกการเข้า

...ประเทศไทย.ไม่ใช่ที่สำหรับใครที่จะมา.ฝึกงาน...
yod - รักในหลวง ครับ
ความรัก - เริ่ม - จากความรู้สึก หรือ ความคิด กันแน่นะ ..... ประวัติศาสตร์อาจจะย้อนรอยเดิม แต่คนไม่อาจย้อนอดีตได้
Hero Member
*****

คะแนน 1628
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 18173



« ตอบ #4 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2007, 07:33:53 AM »

ขอบคุณครับ...
บันทึกการเข้า

..สิ่งสำคัญจึงไม่ได้อยู่ที่ว่า...วันนี้เขาอยู่หรือจากไป
สำคัญที่ว่า...ช่วงที่เรามีเวลาอยู่ด้วยกัน
ขอให้มีความทรงจำที่ดี...ก็เพียงพอแล้ว
อย่างน้อย เราก็ยังมีอะไรดีดีให้นึกถึง
และยิ้มให้ความทรงจำนั้นได้ ...

..กรอบใดกักขังแค่กาย แต่ใจอย่าหมายกั้นได้
โซ่ตรวนรัดรึงตรึงไว้  แต่ใจนั้นใฝ่เสรี..
Hong
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #5 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2007, 07:35:24 AM »

 ขอบคุณครับ  Cheesy
บันทึกการเข้า
ทุกปัญหาของชาติเริ่มต้นที่ "คอรัปชั่น"
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 74
ออฟไลน์

กระทู้: 667



« ตอบ #6 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2007, 07:54:32 AM »

ระมัดระวังการใช้จ่ายเอาไว้บ้างก็ดีนะครับ ที่เขียนนี่ไม่ได้ต้องการทำลายขวัญกำลังใจแต่อย่างใด แต่การจะเข้าสู่สนามรบเรารู้ตัวเอาไว้ก่อนก็ดีว่าจะเจอคู่ต่อสู้(ทางเศรษฐกิจ)ร้ายกาจเพียงไหน ปัจจัยที่ส่งผลลบต่อเศรษฐกิจประเทศเราในเวลานี้มาจากการที่ฟองสบู่สหรัฐฯกำลังจะแตก และจะฉุดเศรษฐกิจทั่วโลกลงเหว ตอนนี้ฟองแรกที่แตกออกมาก่อนคือ สินเชื่ออสังหาซับไพร์มของสหรัฐฯ ซึ่งธนาคารกลางทั่วโลกอัดฉีดเงินเข้าระบบกว่า3แสนล้านus$(10เท่าของงบประเทศไทยทั้งปี)แล้วก็ยังเอาไม่อยู่ คาดว่าภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯจะตกต่ำอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะกระทบต่อประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เศรษฐกิจเราเดินมาผิดทางเป็นเวลานานหลายสิบปี โดยพึ่งพาการส่งออกสินค้าที่มีvalue added ต่ำได้แต่เพียงค่าแรงจากธุรกิจต่างชาติเท่านั้น โดยที่ยอดส่งออกเกือบ70% เป็นสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และรถยนต์ของบริษัทฯยักษ์ข้ามชาติ ในขณะที่เราต้องนำเข้าวัตถุดิบเกือบทั้งหมดแม้กระทั่งเหล็กซึ่งเป็นวัตถุดิบ มีแต่ยางรถยนต์และยางปัดน้ำฝนเท่านั้นที่เราผลิตได้เองในประเทศ กำไรก็ส่งสู่บริษัทแม่ที่ญี่ปุ่น ซึ่งในความเป็นจริงตัวเลขการได้ดุลการค้าที่เกิดขึ้นนั้นเป็นตัวเลขลวงในความเป็นจริงเราขาดดุลการค้าทุกปี  (ยกตัวอย่างให้เห็นง่ายๆเช่น ร้านของชำขายสินค้าได้100 บาท แต่เป็นสินค้าฝากขายเสีย70 บาท แต่กลับซื้อของใช้ภายในบ้านถึง90 บาท) และการสร้างตัวเลขเศรษฐกิจเทียมโดยการสร้างการบริโภคภายในประเทศให้เกิดการบริโภคภายประเทศโดยไม่มีการสร้างศักยภาพของประเทศมาตลอด5 ปีที่ผ่านมา เช่น การที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ที่กู้เงินกองทุนหมู่ไปเพื่อใช้จ่ายเช่นซื้อ รถ มอร์เตอร์ไซค์ โทรศัพท์โดยมิได้นำไปลงทุนสร้างรายได้แต่อย่างใด ตลอดเวลา 5 ปีที่ผ่านมาลองสังเกตุดูครับว่า มีสิ่งใด้ที่แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยเจริญขึ้น มีเทคโนโลยีและความรู้มากขึ้นที่จะสามารถแข่งขันกับชาวโลกได้บ้างครับ (หวังว่าคงไม่มีใครตอบว่า รถไฟฟ้าใต้ดิน ที่แม้แต่หัวขุดก็ต้องเช่าจากต่างประเทศขุดเสร็จก็ส่งกลับ หรือสนามบินสุวรรณภูมิที่เราไม่ได้ออกแบบแม้แต่น้อย เราใช้แต่แรงงานในการก่อสร้างเท่านั้น)


ขอบคุณครับ ในความเห็นผมว่ารัฐบาลที่แล้วเน้นการบริโภคในประเทศ เป็นหลักนะครับ เพราะรัฐบาลเก่าๆ เน้นแต่การส่งออกทำให้เวลามีปัญหา ก็จะไม่มีทางเลือกมากนั้กและไปผูกเศรษฐกิจไว้กับต่างชาติมากเกินไป ทุกรัฐบาลที่ผ่านมาไม่ให้ความสำคัญกับด้านเกษตรจริงจัง พ่อค้าคนกลางรวยครับ แต่รัฐบาลที่แล้วทำให้พ่อค้าคนกลางขาดรายได้ไปมากเพราะสินค้าเกษตรราคาสูงมาก และไม่ค่อยง้อพ่อค้าคนกลางนัก

ในส่วนผลงานนั้นผมให้เครดิตสนามบินสุวรรณภูมิมากครับ เพราะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ และใช้ระยะเวลาการสร้างยาวนานมาก ถ้าไม่ได้รัฐบาลที่แล้วทำ ไม่มีวันเสร็จครับ ถึงจะมีคนตำหนิในปัญหาต่างๆมากมาย แต่ผมว่าสนามบินนี้ก็ไม่ได้ขี้เหร่ซักเท่าไหร่ ผมว่าดีเสียอีกที่ได้ใช้ซะที หลังจากรอมานานกว่าครึ่งอายุคน ส่วนการออกแบบนี่เป็นความนิยมส่วนบุคคลครับ ต่อให้เอาคนไทยออกแบบก็มีปัญหาอยู่ดีแหละครับ

อย่างรัฐบาลที่แล้วที่ดูเหมือนจะฮั้วกับสิงคโปร์ แต่ลองวิเคราะห์ดูดีๆครับ การที่สนามบินสุวรรณภูมิเสร็จ และมีโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า การสื่อสารที่ดีขึ้น นี่เหมือนหอกข้างแคร่ที่คอยทิ่มแทงประเทศเพื่อบ้านนะครับ โดยเฉพาะสิงคโปร์ ในใจผมคิดว่าโครงการพวกนี้สร้างไม่เคยเสร็จเพราะมีการแทรกแซงจากภายนอกครับ เพราะสภาพภูมิประเทศ สิ่งแวดล้อมของไทยน่าจะเรียกได้ว่าดีที่สุดในภูมิภาคก็ว่าได้ น่าจะเป็นชาติมหาอำนาจของเอเซียรองจากจีนและรัสเซียเท่านั้น แต่ติดที่ว่ามีคนไทยมาอยู่เท่านั้นเอง การที่เกิดสนามบินขึ้นนี่สิงคโปร์สะดุ้งครับ โดยเฉพาะถ้าตัดคอคอดกระ ให้เรือผ่านได้และทำท่าเรือน้ำลึดที่อ่าวไทย นี่สิงคโปร์จบข่าวแน่นนอน แต่ไม่ทำกันครับด้วยเหตุผลที่คิดไว้ในใจละกันครับ

ส่วนรถไฟฟ้านั้นการเช่าหัวขุดเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เพราะการซื้อน่าจะไม่คุ้ม เช่นจะสร้างบ้าน 20 หลังซื้อปั้นจั่นใหม่ ซื้อรถแม็คโคร ซื้อเครื่องจักรใหม่หมด นี่พอสร้างเสร็จก็เอาไปขายราคาเดิมไม่ได้มีแต่ขาดทุนครับ

รัฐบาลที่แล้วเรามีรัฐบาลที่อาจจะเรียกได้ว่าผู้นำต่างๆให้ความสนใจมาก และเป็นการนำประเทศไปสู่การบริหารประเทศในเชิงรุกซึ่งผมว่าเป็นสิ่งที่ดี ประเทศในยุโรปไม่ยอมรับสินค้าเราก็ต่อรองไม่ซื้อสินค้าเขาเช่นเครื่องบินได้ ไม่ใช่ไปแบมือขอ GSP เขาอย่างเดียว และไม่ว่าจะเป็นการริเริ่มเอเชียบอนด์, การฮั้วราคาสินค้าเกษตรในภูมิภาค และอื่นๆอีกมากครับ

ปัญหาสะสมมาตั้งแต่ 2475 ครับ จะให้แก้ได้ดังใจอยู่แค่ 4 ปีทำอะไรไม่ได้หรอกครับ ต้องอยู่เหมือน มหาเธ ของมาเลเซียครับ 20 ปีขึ้นไป

ในใจผมว่าลองพิจารณาดูให้ดีครับ นายดีมีเสีย นายเสียมีดีครับ เศรษฐกิจจะแข็งแกร่งไม่ได้ถ้าเรามัวแต่พึ่งคนอื่นมากเกินไป คือพึ่งการส่งออกมากเกินไปครับ

อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัวครับ หากผิดพลาดต้องขออภัยครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 27, 2007, 08:17:56 AM โดย Sripoom » บันทึกการเข้า

"ไม่เคยคิดหวังเป็นวีรบุรุษ แต่ก็สุดจะเห็นชาติพินาศสลาย"
Nattapol
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #7 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2007, 07:58:37 AM »

ขออนุญาตเจ้าของกระทู้นะครับ

แบบนี้ธุรกิจเงินกู้นอกระบบเฟื่อฟูแน่ๆ  รวมถึงอาญชากรรมด้วย

*********************************************

50 ลูกค้าบัตรเครดิตแห่ร้องตร. 4 สถาบันการเงินหมิ่น [27 ส.ค. 50 - 04:53]
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (26 ส.ค.) นายอิฐบูรณ์ อ้นวงษา หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค นำลูกค้าบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลกว่า 50 คน เข้าแจ้งความพนักงานสอบสวนกองปราบปราม เพื่อให้ดำเนินคดีกับสถาบันการเงิน 4 แห่ง ประกอบด้วย บริษัท จีอี แคปปิตอล (ประเทศไทย) จำกัด ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) บริษัทสินเชื่อเงินสดควิกแคช และสำนักงานวรินทร์ทนายความ ในข้อหาหมิ่นประมาท กรรโชกทรัพย์ และข่มขู่ทำให้เกิดความหวาดกลัว หลังจากผู้เสียหายตกเป็นหนี้บัตรเครดิต เนื่องจากไม่สามารถหาเงินมาชำระค่าสินค้าได้

 

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า สถาบันการเงินเจ้าหนี้ดังกล่าว จึงว่าจ้างให้บริษัทรับทวงหนี้ มาทวงหนี้โดยวิธีการไม่สุภาพ ทั้งข่มขู่ และกรรโชก ด้วยถ้อยคำหยาบคาย รวมทั้งส่งเอกสารทวงหนี้ไปที่ทำงาน และที่บ้านหลายครั้ง เพื่อให้เกิดความอับอาย นอกจากนี้ ยังทำจดหมายเลียนแบบหมายศาล เพื่อให้ลูกหนี้เข้าใจผิดว่าเป็นคำสั่งศาล หากไม่ใช้หนี้จะถูกยึดทรัพย์
 
 
http://thairath.com/online.php?section=newsthairathonline&content=58908
บันทึกการเข้า
อั๋น
ยอมแพ้ในวันนี้ เพื่อชนะในวันพรุ่งนี้
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 139
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3109



« ตอบ #8 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2007, 08:21:06 AM »

ขอขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า

มาด้วยใจ ไปด้วยกัน
<<Z80>>
Jr. Member
**

คะแนน 9
ออฟไลน์

กระทู้: 85



« ตอบ #9 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2007, 08:37:35 AM »

อ่านดูแล้วดูมันสวนทางกันกับ ข่าวหรือการให้สัมภาษณ์ของภาครัฐทางทีวีแล้ว บอกว่าพื้นฐานเศรษฐกิจของไทยยังแย็งแกร่ง โรงงานที่ขอเปิดใหม่มีมากกว่าที่ปิดตัวลงไป แรงงานเข้าสู่ตลาดแรงงานมากกว่าคนตกงาน
บันทึกการเข้า
พราน
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 35
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 910



« ตอบ #10 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2007, 08:41:11 AM »

ใครพอมีข้อมูลเปรียบเทียบไหมครับว่าระหว่างการบริหารของรัฐบาลที่แล้วกับการรัฐประหารและการบริหารโดยรัฐบาลข้าราชการอย่าไหนทำความเสียหายให้กับประเทศมากกว่ากัน
บันทึกการเข้า
นายโป่งจิงฮง ทะลวงปืน - รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 110
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1407


รักโค้ลท์ แต่มอบหัวใจให้ บาเร็ตต้า


« ตอบ #11 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2007, 09:05:30 AM »

โดยส่วนตัว ไม่ได้คลั่งไคล้ทักษิน แต่ก็ไม่ชอบ(มากๆ)การปฏิวัติ โดยเฉพาะการที่ผู้มีอำนาจเอารถถังออกมาวิ่ง ผมละเซ็งเลย วันแรกที่เพื่อนผมโทรมาบอกว่า รถถังออกมาแล้วนะ ผมรู้ทันทีเลย งานนี้เตรียมตัวได้เลย ขาดทุนยาวววววแน่ๆ และก็จริงครับ รัฐบาลบอกว่าเศรฐกิจดี แต่จริงๆชาวบ้านระดับรากหญ้า แม่ค้า ร้านรวง แย่มากๆๆๆๆ ครับ ผมละอยากจะถามความรู้สึกของคนที่นำดอกไม้ไปให้ ไปถ่ายรูป ไปให้กำลังใจ บุคคลดังกล่าวในวันยึดอำนาจ ว่าตอนนี้รู้สึกยังไง ผมขาดทุนมา 15 เดือนแล้ว ตั้งแต่ ท๊ากสิน ออกไป ๆๆๆๆ  อีก 10 เดือน หมดสัญญาเช่าที่ สงสัยจะไม่ไหวแล้ว 15 เดือนที่ผ่านมาขายปืนไปเกือบหมดแล้วครับ สรุปว่า พอเขาอยู่ ก็ไล่ พอเขาไป ก็ร้องหา ณ.วันนี้ ก็ยังไม่มีตัวเลือกที่ดีเหมือนเดิมครับ
บันทึกการเข้า

นายโป่ง จิงฮงทะลวงปืน โทร. 081-927 5960 / 082-717 3057
<<Z80>>
Jr. Member
**

คะแนน 9
ออฟไลน์

กระทู้: 85



« ตอบ #12 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2007, 09:26:08 AM »

โดยส่วนตัว ไม่ได้คลั่งไคล้ทักษิน แต่ก็ไม่ชอบ(มากๆ)การปฏิวัติ โดยเฉพาะการที่ผู้มีอำนาจเอารถถังออกมาวิ่ง ผมละเซ็งเลย วันแรกที่เพื่อนผมโทรมาบอกว่า รถถังออกมาแล้วนะ ผมรู้ทันทีเลย งานนี้เตรียมตัวได้เลย ขาดทุนยาวววววแน่ๆ และก็จริงครับ รัฐบาลบอกว่าเศรฐกิจดี แต่จริงๆชาวบ้านระดับรากหญ้า แม่ค้า ร้านรวง แย่มากๆๆๆๆ ครับ ผมละอยากจะถามความรู้สึกของคนที่นำดอกไม้ไปให้ ไปถ่ายรูป ไปให้กำลังใจ บุคคลดังกล่าวในวันยึดอำนาจ ว่าตอนนี้รู้สึกยังไง ผมขาดทุนมา 15 เดือนแล้ว ตั้งแต่ ท๊ากสิน ออกไป ๆๆๆๆ อีก 10 เดือน หมดสัญญาเช่าที่ สงสัยจะไม่ไหวแล้ว 15 เดือนที่ผ่านมาขายปืนไปเกือบหมดแล้วครับ สรุปว่า พอเขาอยู่ ก็ไล่ พอเขาไป ก็ร้องหา ณ.วันนี้ ก็ยังไม่มีตัวเลือกที่ดีเหมือนเดิมครับ

ยังดีนะครับที่คุณมีปืนหลายกระบอกเอาออกมาขายกู้เศรษฐกิจไว้ได้ระยะหนึ่ง     ก็คงต้องรอการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลใหม่หละครับ ตอนนี้ก็ทนๆไปก่อนเผื่อว่าอะไรๆ มันจะดีขึ้น
บันทึกการเข้า
พราน
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 35
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 910



« ตอบ #13 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2007, 10:13:09 AM »

โดยส่วนตัว ไม่ได้คลั่งไคล้ทักษิน แต่ก็ไม่ชอบ(มากๆ)การปฏิวัติ โดยเฉพาะการที่ผู้มีอำนาจเอารถถังออกมาวิ่ง ผมละเซ็งเลย วันแรกที่เพื่อนผมโทรมาบอกว่า รถถังออกมาแล้วนะ ผมรู้ทันทีเลย งานนี้เตรียมตัวได้เลย ขาดทุนยาวววววแน่ๆ และก็จริงครับ รัฐบาลบอกว่าเศรฐกิจดี แต่จริงๆชาวบ้านระดับรากหญ้า แม่ค้า ร้านรวง แย่มากๆๆๆๆ ครับ ผมละอยากจะถามความรู้สึกของคนที่นำดอกไม้ไปให้ ไปถ่ายรูป ไปให้กำลังใจ บุคคลดังกล่าวในวันยึดอำนาจ ว่าตอนนี้รู้สึกยังไง ผมขาดทุนมา 15 เดือนแล้ว ตั้งแต่ ท๊ากสิน ออกไป ๆๆๆๆ อีก 10 เดือน หมดสัญญาเช่าที่ สงสัยจะไม่ไหวแล้ว 15 เดือนที่ผ่านมาขายปืนไปเกือบหมดแล้วครับ สรุปว่า พอเขาอยู่ ก็ไล่ พอเขาไป ก็ร้องหา ณ.วันนี้ ก็ยังไม่มีตัวเลือกที่ดีเหมือนเดิมครับ

ยังดีนะครับที่คุณมีปืนหลายกระบอกเอาออกมาขายกู้เศรษฐกิจไว้ได้ระยะหนึ่ง ก็คงต้องรอการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลใหม่หละครับ ตอนนี้ก็ทนๆไปก่อนเผื่อว่าอะไรๆ มันจะดีขึ้น
ผมก็มีความรู้สึกเหมือนนายโป่งแต่ถ้าพูดมากก็เหมือนเราไปคลั่งไคล้ทักษิน ผมอาจจะมองโลกแง่ร้ายไปหรือเปล่าผมมองดูผู้นำการเมืองที่เสนอตัวมาทั้งหมดไม่มีศักยภาพพอที่จะนำประเทศฝ่าวิกฤติข้างหน้าสักคน พร้อมทั้งกลัวจะได้ปลัดประเทศคนใหม่จริงๆ หัวเราะร่าน้ำตาริน
บันทึกการเข้า
andaman
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #14 เมื่อ: สิงหาคม 27, 2007, 10:23:29 AM »

คนเรานั้นต่างความคิด ต่างสถานะ ต่างหน้าที่ ย่อมมีมุมมองที่ต่างกันไปครับคุณพราน ผมเชื่อว่าหลายๆคนก็คิดเช่นคุณ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.1 วินาที กับ 22 คำสั่ง