เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
ตุลาคม 13, 2024, 03:19:31 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.เป็นเพียงสื่อกลางช่วยให้ผู้ซื้อ และผู้ขาย ได้ติดต่อกันเท่านั้นและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับประโยชน์หรือความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น
ประกาศหรือแบนเนอร์ในเวบไม่ใช่ตัวบ่งชี้ว่าสินค้านั้นมีคุณภาพหรือไม่
โปรดใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจซื้อด้วยตัวเอง
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 [2] 3 4 5 6
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ทำไมต้องโรงไฟฟ้าพลังงานจากถ่านหินครับ  (อ่าน 15937 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
rockguns
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #15 เมื่อ: กันยายน 09, 2007, 04:43:29 PM »

       ทุกวันนี้เราก็ซื้อไฟฟ้าจากลาว  โดยเอกชนไปลงทุนในลาวแล้วเราก็ซื้อเข้าใช้ผมก็ว่าดีนะ แต่ถ่านหินก็ดี อยู่ที่ควบคุมมลพิษให้ได้ไม่สะเพร่า อีกสาเหตุคือลดต้นทุนเลยไม่มีการบำบัดอย่างถูกวิธี ปล่อยลงธรรมชาติ ให้ธรรมชาติบำบัดมลพิษเอง ทั้งที่ในโครงการต่างๆ เสนอเป็นตัวอักษรในแผนปฏิบัติการสมบูรณ์ทุกอย่าง แต่ผู้บริหารงานตัดออก เพื่อลดต้นทุนเพื่อกำไรตอบแทนเร็วขึ้น ก็ต้องละเลยมลพิษทำให้เป็นช่องว่าง เกิดปัญหาซะงั้น กลุ่มต่างๆเลยก่อตัวขึ้นมา ทำให้เกิดมีผลประโยชน์เป็นเงินเป็นทองกัน ความเสียหายเกิดกับเราประชาชนธรมดาที่ไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่มต่างๆ  ถ้าทำงานอย่างซื่อตรงหน่อยก็จะไม่มีค่อยมีปัญหากันมากมายแบบปัจจุบันนี้ครับ
บันทึกการเข้า
yod - รักในหลวง ครับ
ความรัก - เริ่ม - จากความรู้สึก หรือ ความคิด กันแน่นะ ..... ประวัติศาสตร์อาจจะย้อนรอยเดิม แต่คนไม่อาจย้อนอดีตได้
Hero Member
*****

คะแนน 1628
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 18173



« ตอบ #16 เมื่อ: กันยายน 09, 2007, 05:11:34 PM »

ถ้า ส่งเสริม ให้ การลงทุน ผลิต เซลล์แสงอาทิตย์แบบผลึกเดี่ยว (Mono-Crystalline PV modules)
ให้มีราคาที่ต่ำลง  จะเป็นการดี  เพราะบ้านเรา เมืองร้อน  รับแสงอาทิตย์ได้เกือบทั้งวัน และเป็นพลังงาน
สะอาดที่สุดแล้ว และระบบที่เกี่ยวข้อง ทั้ง Inverter แบตเตอรี่ 
เพียงแต่ ในตอนนี้ ลงทุนครั้งแรก จะสูง แต่จะคุ้มค่าในระยะยาว.....


http://www.yingthai-mag.com/detail.asp?ytcolumnid=2411&ytissueid=689&ytcolcatid=1&ytauthorid=77

บันทึกการเข้า

..สิ่งสำคัญจึงไม่ได้อยู่ที่ว่า...วันนี้เขาอยู่หรือจากไป
สำคัญที่ว่า...ช่วงที่เรามีเวลาอยู่ด้วยกัน
ขอให้มีความทรงจำที่ดี...ก็เพียงพอแล้ว
อย่างน้อย เราก็ยังมีอะไรดีดีให้นึกถึง
และยิ้มให้ความทรงจำนั้นได้ ...

..กรอบใดกักขังแค่กาย แต่ใจอย่าหมายกั้นได้
โซ่ตรวนรัดรึงตรึงไว้  แต่ใจนั้นใฝ่เสรี..
PPM
มีแต่หัวใจกับ ไกปืน(อย่างอื่นไม่มี)
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 18
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1246


"ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบทุกสิ่งที่ข้าพเจ้าได้กระทำ"


« ตอบ #17 เมื่อ: กันยายน 09, 2007, 08:09:08 PM »

ขอบพระคุณพี่ๆ ทุกท่าน ครับที่แสดงความเห็น บางสิ่งที่ไม่เคยได้รู้ก็ได้รู้ บางสิ่งที่เข้าใจผิดมานาน ก็ได้คำตอบ  ผมเชื่อว่าโรงไฟฟ้าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม ถ้าโครงการทำโดย โปร่งใส ได้มาตราฐานสากล  ไม่หมกเม็ด และตรวจสอบได้  ก็คงไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ถ้าประชาชนได้รับข้อมูลครบถ้วนทุกด้านครับ
     ว่ากันเรื่อง พลังงานแล้ว ขออนุญาต ถามพี่ๆ อีก หนึ่งเรื่องครับ พอดีได้คุยกับ วิศวกร ที่ทำงาน คุยกันเรื่องโรงไฟฟ้า แล้วก็คุยกันเรื่องประหยัดพลังงาน เค้าก็แนะนำมาหลายวิธี  แต่พี่เค้า ตบท้ายมาให้  ว่าจะให้ผู้ไฟฟ้าใช้ประหยัดพลังงานได้ดีที่สุด  แต่ไม่มีผู้หลักผู้ใหญ่พูดถึงเรื่องนี้ คือ  ให้การไฟฟ้าฯ ปรับแรงดัน ให้ได้มาตราฐานให้ได้ ว่าแล้วพี่เค้าก็คำนวนให้ดู(ผมไม่รู้วิธีการคำนวนหรอกครับว่าเค้าคำนวนยังไงแต่เค้ากดเครื่องคิดเลขคำนวนให้ดู) แต่ได้เปรียบเทียบแรงกันที่เราได้จริง กับ แรงดันมาตราฐาน ให้ดู ปรากฎว่า ค่า กำลังลดไปจริงๆครับ  โดยพี่เค้าพาไปดูโวลมิเตอร์ ที่ตู้ไฟฟ้า ได้แรงดันเกือบ 400 โวลท์แทบทุกเฟส  ซึ่งจริงๆ ต้องได้ 380 โวลท์  เป็นมันอย่างนี้ แทบทุกตึก พี่เค้าว่า ส่วนไฟตามบ้าน ก็ยังคงเกินอยู่  พี่เค้าว่ามาอย่างนั้น และได้ย้ำไว้ตอนท้ายอีกว่า "ที่เค้ารณรงค์ ให้ประหยัดพลังงาน น่ะดีแล้ว แต่มันต้องดีมาจากต้นทางด้วย"   ไม่ทราบว่า เรื่องนี้ พี่ๆ มีความเห็นอย่างไรบ้างครับ
บันทึกการเข้า

" ข้อ1.จ้าวนาย ถูกเสมอ  ข้อ2.ถ้าจ้าวนายผิด ให้ไปดูข้อ 1. "
Narin CZ
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #18 เมื่อ: กันยายน 09, 2007, 08:45:31 PM »

ผมสนับสนุนให้ผลิตกระแสไฟฟ้าจากแสงแดด หรือพลังงานจากลมมากกว่าพลังงานอย่างอื่นครับ ขนาดที่เยอรมันที่แสงแดดน้อยกว่าเราก็ยังมีระบบนี้มากมายเลยครับ แต่คิดว่าคงจะยากครับเพราะคงติดกับผลประโยชน์ระยะยาว..
บันทึกการเข้า
yod - รักในหลวง ครับ
ความรัก - เริ่ม - จากความรู้สึก หรือ ความคิด กันแน่นะ ..... ประวัติศาสตร์อาจจะย้อนรอยเดิม แต่คนไม่อาจย้อนอดีตได้
Hero Member
*****

คะแนน 1628
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 18173



« ตอบ #19 เมื่อ: กันยายน 09, 2007, 08:58:47 PM »

พลังงานลม  ถ้าในบ้านเรา ตามที่อ่าน ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบใบพัด  ถึงจะกินลมได้ แม้จะแรงน้อย
ที่ใช้กันตอนนี้ จะเป็นการสูบน้ำบาดาล กับ ตีกังหัน นากุ้ง



สถานีพลังงานทดแทนแหลมพรหมเทพ จ.ภูเก็ต
บริเวณแหลมพรหมเทพ จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นจุดที่มีข้อมูลบ่งชี้ว่า มีความเร็วลมเฉลี่ยตลอดปี ประมาณ 5 เมตรต่อวินาที เป็นสถานที่ตั้งของสถานีทดลองการผลิตไฟฟ้าจากกังหันลม ใช้ชื่อว่า สถานีพลังงานทดแทนพรหมเทพ โดยตั้งอยู่ทางทิศเหนือของแหลมพรหมเทพ ประมาณ 1 กิโลเมตร

http://www.egat.co.th/re/egat_wind/wind_phuket.htm
บันทึกการเข้า

..สิ่งสำคัญจึงไม่ได้อยู่ที่ว่า...วันนี้เขาอยู่หรือจากไป
สำคัญที่ว่า...ช่วงที่เรามีเวลาอยู่ด้วยกัน
ขอให้มีความทรงจำที่ดี...ก็เพียงพอแล้ว
อย่างน้อย เราก็ยังมีอะไรดีดีให้นึกถึง
และยิ้มให้ความทรงจำนั้นได้ ...

..กรอบใดกักขังแค่กาย แต่ใจอย่าหมายกั้นได้
โซ่ตรวนรัดรึงตรึงไว้  แต่ใจนั้นใฝ่เสรี..
51
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #20 เมื่อ: กันยายน 09, 2007, 09:09:36 PM »

ทุกวันนี้เราก็ซื้อไฟฟ้าจากลาว โดยเอกชนไปลงทุนในลาวแล้วเราก็ซื้อเข้าใช้ผมก็ว่าดีนะ แต่ถ่านหินก็ดี อยู่ที่ควบคุมมลพิษให้ได้ไม่สะเพร่า อีกสาเหตุคือลดต้นทุนเลยไม่มีการบำบัดอย่างถูกวิธี ปล่อยลงธรรมชาติ ให้ธรรมชาติบำบัดมลพิษเอง ทั้งที่ในโครงการต่างๆ เสนอเป็นตัวอักษรในแผนปฏิบัติการสมบูรณ์ทุกอย่าง แต่ผู้บริหารงานตัดออก เพื่อลดต้นทุนเพื่อกำไรตอบแทนเร็วขึ้น ก็ต้องละเลยมลพิษทำให้เป็นช่องว่าง เกิดปัญหาซะงั้น กลุ่มต่างๆเลยก่อตัวขึ้นมา ทำให้เกิดมีผลประโยชน์เป็นเงินเป็นทองกัน ความเสียหายเกิดกับเราประชาชนธรมดาที่ไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่มต่างๆ ถ้าทำงานอย่างซื่อตรงหน่อยก็จะไม่มีค่อยมีปัญหากันมากมายแบบปัจจุบันนี้ครับ

ผมขอเรียนยืนยัน ครับ...
ปัจจุบัน...หน่วยงานในระบบจำหน่ายไฟฟ้าของไทย
ยังไม่มีการรับซื้อไฟฟ้าจาก สปป.ลาว ครับ

ในส่วนของ อ.ท่าลี่ จ.เลย ซึ่งตรงข้ามกับเมืองแก่นท้าว...ของ สปป.ลาว นั้น
เป็นการเชื่อมโยงระบบจำหน่ายของสองประเทศ
โดยการดำเนินงานจากหน่วยงานของไทยฝ่ายเดียว...
เพื่อดำเนินการจำหน่ายไฟฟ้าให้แก่ประเทศเพื่อนบ้าน ครับ

เนื่องมาจาก...การเชื่อมโยงระบบจำหน่ายของ สปป.ลาว
จากส่วนอื่นของลาวเอง มายังเมืองแก่นท้าว ต้องมีงบประมาณค่าใช้จ่ายสูงมากครับ
ถ้าเทียบกับ...การเชื่อมโยงระบบจำหน่ายของไทยไปยังเมืองแก่นท้าว


และในส่วนของเขื่อนน้ำงึม...สปป.ลาว นั้น
การติดตั้งเครื่องผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ...ได้ถูกดำเนินการไปแล้วในบางส่วน
แต่ระบบจำหน่ายที่เชื่อมโยงระหว่างเขื่อนน้ำงึม...มายังฝั่งไทย...
ยังไม่ถูกดำเนินการใด ๆ ครับ



จากนิ้ว...ที่จิ้มแป้น...

บันทึกการเข้า
ไม่ค่อยแม่น รักในหลวง
ฉายเดี่ยวหมื่นลี้
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 218
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 7436


นิสัยน่ารัก แต่ปากหมามุ่ย


« ตอบ #21 เมื่อ: กันยายน 09, 2007, 09:12:40 PM »

ขออนุญาตถามประดับความรู้หน่อยครับท่าน.......

ที่ทางใต้ตั้งโรงไฟฟ้า เข้าใจว่าเป็นของเอกชน แรกตอนตั้งว่าจะใช้ไม้ยางพาราเป็นวัตถุดิบในการผลิต

แต่ปัจจุบัน ชาวบ้านเขาสงสัยว่าจะแอบเอาถ่านหินมาเป็นวัตถุดิบ

 คือผมสงสัยว่าโรงงานจะเปลี่ยนเครื่องจากใช้ไม้ยางพารามาเป็นถ่านหิน มันต้องเปลี่ยนเครื่องใหม่ทั้งชุดหรือเปลี่ยน

เฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใด ซึ่งต้องลงทุนกับการคุมทุนหรือไม่อย่างไร

 หรือโรงไฟฟ้าหลอกชาวบ้านแต่แรกเลย ว่าใช้ไม้ยางพาราในการผลิต แต่ความจริงใช้ถ่านหินในการผลิตนั้นแหละ..... Huh

โรงไฟฟ้าที่ว่าน่ะไม่ทราบว่าอยู่ที่จังหวัดอะไรครับ

 ที่กระบี่(กฟผ.)แต่ก่อนใช้ลิกไนต์ ตอนนี้สร้างใหม่ ใช้น้ำมันเตา โรงไฟฟ้าที่ขนม (KEGCO) ใช้ก๊าซธรรมชาติ สุราษรฎ์ฯ( กฟผ.) ก็น่าจะเป็นน้ำมัน

ขออนุญาตครับ  กระบี่ตอนนี้เดินน้อยมากครับ

เดินเลี้ยงแค่ 10-20% เชื้อเพลิงแพง  ไม่คุ้ม   หยุดก็ไม่ได้  ถ้า Load เพิ่มจะ Start ไม่ทันการ

ขนอมเดินตลอด  มีโรงแยกก๊าซ ปตท.อยู่ข้างๆเลยด้วย

สุราษฯ ผมเข้าใจว่าหยุดแล้วนะครับ  อันนี้ไม่แน่ใจ

ส่วนที่พี่ NAPALM ถาม ผมเข้าใจว่าเป็นโรงไม่ใหญ่ ไม่น่าจะเกิน 10 MW โรงพวกนี้มีทั่วไปตามโรงงานครับ

เป็นโรงความร้อน  คือใช้หม้อต้มน้ำ(Boiler) ต้มเอาไอน้ำไปปั่น Gen กำลังไม่น่าจะสูง

หลายบริษัทที่ใช้ไฟฟ้ามากๆ จะทำกันครับ  ส่วนใหญ่จะใช้เชื้อเพลิงราคาถูก  หรือสิ่งที่เหลือจากการผลิต

เช่นโรงสีข้าว  ใช้แกลบ  อันนี้มีมากที่เดียว  ผมเองก็เกี่ยวพันกับโรงพวกนี้ไม่น้อย

เคยได้ยินว่าทางใต้ใช้กาก และกะลาปาล์มเป็นเชื้อเพลิงด้วย ในโรงงานหีบปาล์มน้ำมัน แบบนี้ยังไม่เคยได้สัมผัสจริงจัง

ความเห็นผมว่าไม่น่าจะมีใครเอาไม้ยางมาเผาปั่นไฟนะครับ  มันไม่สมเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์

ไม้ยางเป็นของที่สามารถขายเพิ่มมูลค่าได้อยู่แล้ว  และแน่นอนครับ เชื้อเพลิงแต่ละชนิด จะให้พลังงานความร้อนที่แตกต่างกัน

และการทำงานของเตาเผาเชื้อเพลิงต่างชนิดกัน  ก็แตกต่างกันมาก  จึงไม่สามารถจะเปลี่ยนเชื้อเพลิงเฉยๆได้ทันที

อันนี้เป็นข้อมูลจากประสบการณ์ของผมนะครับ 

ด้วยความเคารพครับ

ปล.ผมไม่ได้ทำงานการไฟฟ้าครับ 
บันทึกการเข้า

"อยากไปไหน ไปทุกที่  ถ้ามีตังค์"

ถึงจะไม่ได้รวยล้นฟ้า  แต่ข้าก็มีแผ่นดินจะอาศัย

ถึงจะไม่ได้มีอำนาจมากมาย  แต่ก็ได้ตายในแผ่นดินเกิด.....ล่ะวะ
51
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #22 เมื่อ: กันยายน 09, 2007, 09:15:06 PM »

ถ้าหลายท่านสงสัยว่า  เพราะเหตุใด...ไทยถึงไม่ยอมลงทุนใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากประเทศใกล้เคียง
ผมขอเรียนให้ทราบครับ...ว่า...
ประเทศใกล้เคียง...ซึ่งถือว่าเป็นเพื่อนบ้านของไทย...
ต่างพร้อมกันจำหน่ายไฟฟ้าในราคาต่อหน่วยที่สูงมากกว่าที่ไทยผลิตเองครับ...
ทั้ง ๆ ที่ระบบจำหน่ายและการเชื่อมโยง...
รวมถึงขั้นตอนการผลิตทั้งหมดตั้งแต่สร้างโรงงานไปจนถึงกลายเป็นไฟฟ้า

หน่วยงานของไทยเป็นผู้ลงทุนและดำเนินการเองทั้งสิ้น

ค่าไฟฟ้าที่ไทยต้องจ่าย...ให้
ถูกกำหนดเป็นค่าสัมปทาน...ครับ


จากนิ้ว...ที่จิ้มแป้น...

บันทึกการเข้า
ไม่ค่อยแม่น รักในหลวง
ฉายเดี่ยวหมื่นลี้
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 218
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 7436


นิสัยน่ารัก แต่ปากหมามุ่ย


« ตอบ #23 เมื่อ: กันยายน 09, 2007, 09:23:17 PM »

พี่ 51 เป็นมนุษย์ไฟฟ้าครับ

เพื่อนแบทแมน Grin
บันทึกการเข้า

"อยากไปไหน ไปทุกที่  ถ้ามีตังค์"

ถึงจะไม่ได้รวยล้นฟ้า  แต่ข้าก็มีแผ่นดินจะอาศัย

ถึงจะไม่ได้มีอำนาจมากมาย  แต่ก็ได้ตายในแผ่นดินเกิด.....ล่ะวะ
51
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #24 เมื่อ: กันยายน 09, 2007, 09:44:49 PM »

...มีการยืนยันที่ผู้ที่รับผิดชอบทั้งในด้านผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ
ว่า  การผลิตและจำหน่าย....เป็นภารกิจที่สำคัญยิ่งในปัจจุบันและอนาคต
ตราบใด...ที่องค์กรทุกองค์กร...ยังอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติ...
ตราบใดที่...ไฟฟ้ายังคงเป็นสาธารณูปโภค และมีสถานะที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของคนไทยทุกคน


ด้วยสำนึกในความเป็น "ข้าราชการ" ของเจ้าหน้าที่รัฐ


องค์กร...มีความพยายามทุกวิถีทาง
ที่จะมุ่งไปสู่ความประนีประนอมและความสมานฉันท์ในทุกภาคส่วน


แม้กระทั่งในส่วนของการบัญชีที่ซับซ้อน
ซึ่งถูกกันไว้ระหว่าง "งบลงทุน" กับ "งบดำเนินการ"
ทำให้ถูกมองว่า...ผลตอบแทน คือ "กำไร"

แต่คงไม่หน่วยงานใด...หรือองค์กรใด   หากมิใช่ของรัฐ...
ที่จะกล้าลงทุน...เสาไฟทุกต้น...สายไฟทุกเมตร
ปูนทุกถุง...ที่ถูกแปรสภาพเป็นเขื่อน
แก็ส...ทุกลิตร...ที่ถูกนำมาแปรเป็น พลังงานไฟฟ้า....
น้ำมันเตาทุกหยด...ที่ถูกนำมาเป็นเชื้อเพลิง...

ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าไปทั่วทุกภาคของประเทศ..ได้ครอบคลุมมากกว่าร้อยละ 95 ในปัจจุบัน
มาตั้งแต่ พุทธศักราช 2503 หรอกครับ...


ทุกท่านลองหันไปดู...ค่าไฟฟ้าต่อหน่วยของบ้านท่านดูซิครับ
โดยเฉพาะในส่วนภูมิภาค  ถ้าไม่นับค่า "ต้นทุนการผลิต" หรือ Ft แล้ว
ท่านจะทราบว่า ค่าไฟฟ้าของท่านราคาต่อหน่วย ใน 100 Unit แรก
มีราคาไม่ถึง 3.- บาท...ซึ่งถือได้ว่า ถูกมากกว่าหลาย ๆ ประเทศ ครับ


ลองสอบถามพี่ boon หรือพี่งูฯ ดูซิครับ
ว่า ค่าไฟฟ้าในบ้านของพี่เค้า 100 Unit แรก...คิดราคาเท่าใด ครับ


ใจเย็น ๆ ครับ...
ถึงแม้ว่า  พลังงานไฟฟ้า อาจมีการขาดแคลน...ไปบ้าง
แต่นั้น ก็มิได้หมายถึง วิกฤต....
หากเราทุกท่าน ร่วมมือ ร่วมใจกัน ประหยัดพลังงานไฟฟ้า ตั้งแต่วันนี้...

จากนิ้ว...ที่จิ้มแป้น...
บันทึกการเข้า
Footballmania
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 31
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1603


รักในหลวง


« ตอบ #25 เมื่อ: กันยายน 09, 2007, 09:50:22 PM »

ขอบพระคุณพี่ๆ ทุกท่าน ครับที่แสดงความเห็น บางสิ่งที่ไม่เคยได้รู้ก็ได้รู้ บางสิ่งที่เข้าใจผิดมานาน ก็ได้คำตอบ ผมเชื่อว่าโรงไฟฟ้าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม ถ้าโครงการทำโดย โปร่งใส ได้มาตราฐานสากล ไม่หมกเม็ด และตรวจสอบได้ ก็คงไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ถ้าประชาชนได้รับข้อมูลครบถ้วนทุกด้านครับ
 ว่ากันเรื่อง พลังงานแล้ว ขออนุญาต ถามพี่ๆ อีก หนึ่งเรื่องครับ พอดีได้คุยกับ วิศวกร ที่ทำงาน คุยกันเรื่องโรงไฟฟ้า แล้วก็คุยกันเรื่องประหยัดพลังงาน เค้าก็แนะนำมาหลายวิธี แต่พี่เค้า ตบท้ายมาให้ ว่าจะให้ผู้ไฟฟ้าใช้ประหยัดพลังงานได้ดีที่สุด แต่ไม่มีผู้หลักผู้ใหญ่พูดถึงเรื่องนี้ คือ ให้การไฟฟ้าฯ ปรับแรงดัน ให้ได้มาตราฐานให้ได้ ว่าแล้วพี่เค้าก็คำนวนให้ดู(ผมไม่รู้วิธีการคำนวนหรอกครับว่าเค้าคำนวนยังไงแต่เค้ากดเครื่องคิดเลขคำนวนให้ดู) แต่ได้เปรียบเทียบแรงกันที่เราได้จริง กับ แรงดันมาตราฐาน ให้ดู ปรากฎว่า ค่า กำลังลดไปจริงๆครับ โดยพี่เค้าพาไปดูโวลมิเตอร์ ที่ตู้ไฟฟ้า ได้แรงดันเกือบ 400 โวลท์แทบทุกเฟส ซึ่งจริงๆ ต้องได้ 380 โวลท์ เป็นมันอย่างนี้ แทบทุกตึก พี่เค้าว่า ส่วนไฟตามบ้าน ก็ยังคงเกินอยู่ พี่เค้าว่ามาอย่างนั้น และได้ย้ำไว้ตอนท้ายอีกว่า "ที่เค้ารณรงค์ ให้ประหยัดพลังงาน น่ะดีแล้ว แต่มันต้องดีมาจากต้นทางด้วย" ไม่ทราบว่า เรื่องนี้ พี่ๆ มีความเห็นอย่างไรบ้างครับ

ถูก แต่ไม่ทั้งหมดครับ แรงดันไฟฟ้าจากต้นทาง(หม้อแปลง)ถึงปลายสาย แรงดันจะลดลงเรื่อยๆ ไม่เท่ากันทุกจุด

ถ้าบ้านคุณอยู่ต้นทาง จ่ายแรงดันให้ 380 โวล์ท ปลายสายจะเหลือเท่าไหร่? แรงดันอาจจะตกจนใช้อุปกรณ์ใฟฟ้าไม่ได้เลย

การไฟฟ้าฯจึงกำหนดเป็นมาตรฐานการจ่ายแรงดัน +-10% ครับ
บันทึกการเข้า

51
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #26 เมื่อ: กันยายน 09, 2007, 09:54:24 PM »

ส่วนสาเหตุสำคัญ  ที่หน่วยงานด้านการผลิต
จำต้องคงโรงไฟฟ้าพลังน้ำไว้ นั้น

เนื่องมาจากเพราะ...ไฟฟ้าที่ได้จากพลังน้ำ
จะเป็นพลังงานไฟฟ้าที่สามารถผลิตได้ในทันที  ที่ใบพัดถูกน้ำทำให้หมุน ครับ

ซึ่งสามารถนำไปทดแทน load หรือแรงดัน...ที่ลดลงไปในระบบจำหน่ายไฟฟ้า
ได้อย่างทันการณ์ ในทันทีที่มีการเพิ่มขึ้นของการใช้ไฟฟ้าในประเทศ

ระบบพลังน้ำนี้ แตกต่างไปจากระบบในการผลิตอื่น ๆ ทั่วไป
คือไม่มี หม้อต้มหรือ boiler ครับ
ซึ่งระบบอื่น ๆ ต้องนำเชื้อเพลิงไปทำให้หม้อต้มเดือด
และนำไอน้ำมาเป็นพลังงานในการผลิตไฟฟ้าก่อนครับ
ซึ่งกินเวลามากกว่า 2-3 ชั่วโมง....กว่าจะมีไฟฟ้ามาให้ทุกท่านได้ใช้กัน


ความมั่นคงในระบบไฟฟ้า...นี่เอง...
เป็นสาเหตุสำคัญ  ที่ทำให้หน่วยงานด้านการผลิต
ต้องคง..โรงไฟฟ้าพลังน้ำไว้จนถึงขณะนี้...ครับ


จากนิ้ว...ที่จิ้มแป้น...


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 09, 2007, 09:56:49 PM โดย 51 » บันทึกการเข้า
ทัดมาลา ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป
มืออ่อน หมัดแข็ง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 857
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6569


เตสาหัง สิรสา ปาเท วันทามิ ปุริสุตตเม


« ตอบ #27 เมื่อ: กันยายน 10, 2007, 03:37:13 AM »

เพิ่มเติมครับ

ประหยัดสุด คือพลังน้ำ

คล่องตัวสุด คือ กังหันก๊าซครับ.....


พลังน้ำ ยังมีข้อจำกัดค่อนข้างมาก เพราะขึ้นกับการวางแผนทางชลประทานด้วย ปล่อยน้ำมาก น้ำไม่พอ ปลายฤดูก็แห้งแล้ง

ส่วนกังหันก๊าซ มีความคล่องตัวมากกว่า แม้จะใช้เวลาเริ่มต้นมากกว่าเพียงเล็กน้อย แต่สั่งได้ ขึ้น-ลงได้ตลอด....


เรื่อง NGV เราเรียกผิดกันมาตลอด... NGV ย่อมากจาก  Natural Gas Vehicle...... แปลว่า ยานยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ  ตัวรถครับ ไม่ใช่ตัวก๊าซ

ตัวก๊าซที่นำมาใช้ คือ มีเทน  ถ้าใช้กับรถเรียก CNG Compress natural Gas.....  ก๊าซธรรมชาติอัด   

พอเอาไปใช้กับโรงไฟฟ้า เรียก ก๊าซธรรมชาติ เพราะขนส่งทางท่อ และยังมีการอัดตัวน้อย.....


มาว่าต่อที่แม่เมาะ ลิกไนท์ที่เรามีจัดเป็นถ่านเกรดต่ำ กำมะถันเยอะ เถ้าลอยมาก แต่ก็แก้ไขกันเป็นขั้นๆ เช่นการผสมถ่านหินจากแหล่งอื่นเพื่อปรับปรุงคุณภาพ 

เมื่อเผาไหม้เสร็จแล้ว เกิดเถ้าและควันลอยมาก็ดักจับผ่าน Electrostatic Precipitator เหมือนเครื่องฟอกอากาศในบ้านในรถนี่แหละครับ แต่ขนาดใหญ่กว่ากันมหาศาล  เมื่อดักเถ้าลอยได้ ก็เอาไปทำส่วนผสมของคอนกรีตได้เป็นอย่างดี

ก๊าซที่เหลือหลังจากผ่านการดักเถ้าลอยแล้ว ยังมีความเป็นกรดสูง เพราะเป็นก๊าซที่มีกำมะถัน คือ ซัลเฟอร์ไดออกไซต์ และไนโตรเจนไดออกไซด์สูง

ก็ถูกนำมาบำบัดอีกครั้งใน FGD หรือ Flue Gas Desulfurization  โดยการฉีดน้ำหินปูนเป็นละอองฝอยให้โดนตัวก๊าซ เพื่อดักจับซัลเฟอร์ออกจากก๊าซ หรือ ควันที่เกิดจากการเผาไหม้นั้น

น้ำหินปูนที่ดักจับก๊าซแล้ว จะตกตะกอนลงล่าง เอาตะกอนเหล่านี้ ไปผลิต ยิปซั่มได้ต่อ......


กลับมาว่าเรื่องถ่านหิน การที่จะใช้ถ่านหินแทนไม้ยางพารา ถ้าไม่มีการดัดแปลงระบบ ยากครับ เพราะถ่านหินที่นำไปเผาไหม้นั้น จะต้องบดให้ละเอียด แล้วเป่าออกเป็นละอองฝุ่น จึงจะเกิดการระเหิดและเผ่าไหม้ได้  ใช้เป็นก้อนๆเหมือนถ่านหุงข้าวไม่ได้ครับ


โรงไฟฟ้า ในแบบโรงงานน้ำตาล โรงบ่มยาง โรงงานกระดาษ โรงหีบน้ำมันปาล์มนั้น เรียกว่า Co-Generation  จริงๆจุดประสงค์หลักคือ การต้มน้ำร้อน เพื่อนำไอน้ำมาใช้งานในกระบวนการผลิต  แต่ ไอน้ำส่วนที่เหลือสามารถนำมาผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก ใช้งานภายในโรงงาน หรือถ้ามีเหลือใช้ก็ขายคืนกลับมายังการไฟฟ้าได้....เชื้อเพลิงส่วนใหญ่ก็คือ ส่วนที่เหลือจากการผลิตในโรงงานนั้นๆ เช่นแกลบ เศษไม่ยาง เปลือกปาล์ม ฯลฯ

โรงไฟฟ้าในต่างประเทศ ต้องดูขนาดและที่ตั้งของโรงไฟฟ้าเป็นสำคัญ

ยิ่งถ้าเป็นเมืองหนาว จะพบว่า ส่วนใหญ่เป็นโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก ในตัวเมืองๆเดียว อาจมีโรงไฟฟ้า สามถึงสี่แห่ง กระจายอยู่รอบๆตัวเมือง  เพราะจุดประสงค์หลักจริงๆ คือการผลิตไอน้ำมาจ่ายให้แก่อาคารบ้านเรือนต่างๆ เพื่อใช้ในเครื่องกำเนิดความร้อน หรือฮีทเตอร์  ในหนังฝรั่งจะเป็นท่อขาวๆ ขดไปมาอยู่แถวผนังนั่นแหละครับ

แต่ถ้าเป็นโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ มักจะใช้เพื่อผลิตไฟฟ้าเป็นสำคัญ......


โรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซเทอร์ไบน์ ของ กฟผ. มีอีกที่ ลานกระบือครับ


ลองดูว่า โรงไฟฟ้าของ กฝผ. แต่ละแห่งเป็นชนิดใด ใช้เชื้อเพลิงอะไร

http://pr.egat.co.th/prweb/webnews/callcenter/data/capacity1.pdf

 
บันทึกการเข้า

บรรพบุรุษของไทยแต่โบราณ ปกบ้านป้องเมืองคุ้มเหย้า
เสียเลือดเสียเนื้อมิใช่เบา หน้าที่เรารักษาสืบไป
      
ลูกหลานเหลนโหลนภายหน้า จะได้มีพสุธาอาศัย
อนาคตจะต้องมีประเทศไทย มิยอมให้ผู้ใดมาทำลาย
flyingkob-รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 361
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2396


"สุวิชาโน ภวัง โหติ" ผู้รู้ดี เป็นผู้เจริญ


« ตอบ #28 เมื่อ: กันยายน 10, 2007, 07:58:44 AM »

ประเทศเยอรมันนีเป็นประเทศที่มีการนำพลังงานจากธรรมชาติมาดัดแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าเพื่อลดมลภาวะ คือพลังงานแสงอาทิตย์ โดยมีอัตราเฉลี่ยสูงที่สุดในโลก นั้นแสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ของประชาชนของเขา ทำไมเราไม่นำเทคโนโลยีอย่างนี้มาใช้บ้าง ทั้งๆที่ประเทศเรามีพลังงานจากธรรมชาติเหลือเฟือ แดดมีกันทั้งปีมากกว่าเยอรมันเสียอีก
สัมปทานเหมืองถ่านหิน ใครเป็นผู้ได้รับอนุญาต
สัมปทานแก๊ซธรรมชาติ ใครเป็นผู้ได้รับอนุญาต
เขาเหล่านี้จึงไม่ให้ความสนใจต่อพลังงานธรรมชาติ ทั้งแสงอาทิตย์ ลม เป็นต้น เพราะทำให้ขาดรายได้มหาศาล คิดแล้วน่าสงสารประเทศไทยจัง
บันทึกการเข้า

ตึกยาวหลังนี้ สอนให้เรารู้สำนึกถึงบุญคุณของแผ่นดิน
ไม่ค่อยแม่น รักในหลวง
ฉายเดี่ยวหมื่นลี้
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 218
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 7436


นิสัยน่ารัก แต่ปากหมามุ่ย


« ตอบ #29 เมื่อ: กันยายน 10, 2007, 11:17:22 AM »

เพิ่มเติมครับ

ประหยัดสุด คือพลังน้ำ

คล่องตัวสุด คือ กังหันก๊าซครับ.....


พลังน้ำ ยังมีข้อจำกัดค่อนข้างมาก เพราะขึ้นกับการวางแผนทางชลประทานด้วย ปล่อยน้ำมาก น้ำไม่พอ ปลายฤดูก็แห้งแล้ง

ส่วนกังหันก๊าซ มีความคล่องตัวมากกว่า แม้จะใช้เวลาเริ่มต้นมากกว่าเพียงเล็กน้อย แต่สั่งได้ ขึ้น-ลงได้ตลอด....


เรื่อง NGV เราเรียกผิดกันมาตลอด... NGV ย่อมากจาก Natural Gas Vehicle...... แปลว่า ยานยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ ตัวรถครับ ไม่ใช่ตัวก๊าซ

ตัวก๊าซที่นำมาใช้ คือ มีเทน ถ้าใช้กับรถเรียก CNG Compress natural Gas..... ก๊าซธรรมชาติอัด

พอเอาไปใช้กับโรงไฟฟ้า เรียก ก๊าซธรรมชาติ เพราะขนส่งทางท่อ และยังมีการอัดตัวน้อย.....


มาว่าต่อที่แม่เมาะ ลิกไนท์ที่เรามีจัดเป็นถ่านเกรดต่ำ กำมะถันเยอะ เถ้าลอยมาก แต่ก็แก้ไขกันเป็นขั้นๆ เช่นการผสมถ่านหินจากแหล่งอื่นเพื่อปรับปรุงคุณภาพ

เมื่อเผาไหม้เสร็จแล้ว เกิดเถ้าและควันลอยมาก็ดักจับผ่าน Electrostatic Precipitator เหมือนเครื่องฟอกอากาศในบ้านในรถนี่แหละครับ แต่ขนาดใหญ่กว่ากันมหาศาล เมื่อดักเถ้าลอยได้ ก็เอาไปทำส่วนผสมของคอนกรีตได้เป็นอย่างดี

ก๊าซที่เหลือหลังจากผ่านการดักเถ้าลอยแล้ว ยังมีความเป็นกรดสูง เพราะเป็นก๊าซที่มีกำมะถัน คือ ซัลเฟอร์ไดออกไซต์ และไนโตรเจนไดออกไซด์สูง

ก็ถูกนำมาบำบัดอีกครั้งใน FGD หรือ Flue Gas Desulfurization โดยการฉีดน้ำหินปูนเป็นละอองฝอยให้โดนตัวก๊าซ เพื่อดักจับซัลเฟอร์ออกจากก๊าซ หรือ ควันที่เกิดจากการเผาไหม้นั้น

น้ำหินปูนที่ดักจับก๊าซแล้ว จะตกตะกอนลงล่าง เอาตะกอนเหล่านี้ ไปผลิต ยิปซั่มได้ต่อ......


กลับมาว่าเรื่องถ่านหิน การที่จะใช้ถ่านหินแทนไม้ยางพารา ถ้าไม่มีการดัดแปลงระบบ ยากครับ เพราะถ่านหินที่นำไปเผาไหม้นั้น จะต้องบดให้ละเอียด แล้วเป่าออกเป็นละอองฝุ่น จึงจะเกิดการระเหิดและเผ่าไหม้ได้ ใช้เป็นก้อนๆเหมือนถ่านหุงข้าวไม่ได้ครับ


โรงไฟฟ้า ในแบบโรงงานน้ำตาล โรงบ่มยาง โรงงานกระดาษ โรงหีบน้ำมันปาล์มนั้น เรียกว่า Co-Generation จริงๆจุดประสงค์หลักคือ การต้มน้ำร้อน เพื่อนำไอน้ำมาใช้งานในกระบวนการผลิต แต่ ไอน้ำส่วนที่เหลือสามารถนำมาผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก ใช้งานภายในโรงงาน หรือถ้ามีเหลือใช้ก็ขายคืนกลับมายังการไฟฟ้าได้....เชื้อเพลิงส่วนใหญ่ก็คือ ส่วนที่เหลือจากการผลิตในโรงงานนั้นๆ เช่นแกลบ เศษไม่ยาง เปลือกปาล์ม ฯลฯ

โรงไฟฟ้าในต่างประเทศ ต้องดูขนาดและที่ตั้งของโรงไฟฟ้าเป็นสำคัญ

ยิ่งถ้าเป็นเมืองหนาว จะพบว่า ส่วนใหญ่เป็นโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก ในตัวเมืองๆเดียว อาจมีโรงไฟฟ้า สามถึงสี่แห่ง กระจายอยู่รอบๆตัวเมือง เพราะจุดประสงค์หลักจริงๆ คือการผลิตไอน้ำมาจ่ายให้แก่อาคารบ้านเรือนต่างๆ เพื่อใช้ในเครื่องกำเนิดความร้อน หรือฮีทเตอร์ ในหนังฝรั่งจะเป็นท่อขาวๆ ขดไปมาอยู่แถวผนังนั่นแหละครับ

แต่ถ้าเป็นโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ มักจะใช้เพื่อผลิตไฟฟ้าเป็นสำคัญ......


โรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซเทอร์ไบน์ ของ กฟผ. มีอีกที่ ลานกระบือครับ


ลองดูว่า โรงไฟฟ้าของ กฝผ. แต่ละแห่งเป็นชนิดใด ใช้เชื้อเพลิงอะไร

http://pr.egat.co.th/prweb/webnews/callcenter/data/capacity1.pdf

 

คนนี้เป็นอดีตมนุษย์ไฟฟ้า
บันทึกการเข้า

"อยากไปไหน ไปทุกที่  ถ้ามีตังค์"

ถึงจะไม่ได้รวยล้นฟ้า  แต่ข้าก็มีแผ่นดินจะอาศัย

ถึงจะไม่ได้มีอำนาจมากมาย  แต่ก็ได้ตายในแผ่นดินเกิด.....ล่ะวะ
หน้า: 1 [2] 3 4 5 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.088 วินาที กับ 22 คำสั่ง