ในระหว่างปี ค.ศ.1943-1944 Frank J. Atwood เป็นผู้ตรวจสอบคุณภาพของ เรมิงตัน แรนด์ 1911A1 ครับ
ซึ่งจะต้องมีตราประทับ FJA อยู่ที่โครงปืน ครับ
ถ้าตราประทับผู้ตรวจสอบคุณภาพเป็น FK
จะเป็นของ Ithaca ครับ
กระบอกของผมตีตราด้านซ้ายว่า FJA ด้วยล่ะครับพี่ 51
กรณีตราประทับ Crossed Cannon (ภาพปืนใหญ่สองกระบอกไขว้กันนั้น)
และตราประทับ FJA ปืน M1911A1 ของ Ithaca ก็จะมีประทับ เช่นกันครับ
สิ่งหนึ่งที่ผมผิดสังเกต (แต่ไม่แน่ชัด) ก็คือ
ตราประทับตัว S และตัว H ด้านขวาของโครงปืน
ซึ่งปกติการประทับตราบริเวณนี้
จะพบในโครงปืนของ Ithaca มากกว่า Remington Rand ครับ
ยอมรับว่า...จากการสืบค้น พบว่า โครงปืนของ Ithaca
คล้ายกับโครงปืนของ Remington Rand มาก ๆ ครับ
จากนิ้ว...ที่จิ้มแป้น...
กรณี หมายเลขประจำปืนที่ถูกย้ำใหม่นั้น
แน่นอนครับ ไม่มีปัญหา...หมายเลขดังกล่าว เป็นของ Remington Rand ครับ
จากนิ้ว...ที่จิ้มแป้น...
เรื่องเลขประจำปืน ผมยิ่งงงใหญ่เลยล่ะครับ ถ้าจะดู ต้องไปดูที่ไหนเหรอครับ
สังเกตดี ๆ ครับ จะเห็นตราประทับ Crossed Cannon (ภาพปืนใหญ่สองกระบอกไขว้กัน)
ลักษณะจาง ๆ อยู่ที่ด้านขวาของโครงปืน ใกล้เคียงประกับด้าม
และจะมีตราประทับ...อยู่บริเวณโกร่งไกด้านขวา เช่นกัน ครับ
ปืนที่แสดงในภาพเป็น M1911A1 ของ Ithca ครับ
ต้องขออนุญาตและขออภัยอย่างสูงนะครับ...
ผมเอง 1935mania ครับ.....ไม่มี 1935-24 ใช้กับเค้าหรอกครับ...คริ คริ
จากนิ้ว...ที่จิ้มแป้น...
กระบอกนี้ก็สวย สมบูรณ์มากๆครับ
กรณีตราประทับ Crossed Cannon (ภาพปืนใหญ่สองกระบอกไขว้กันนั้น)
และตราประทับ FJA ปืน M1911A1 ของ Ithaca ก็จะมีประทับ เช่นกันครับ
เสริมนะท่านพี่ครับ.....ตรา"Crossed Cannon"เริ่มใช้ในปี1942กับโคลท์ที่มีซีเรียล นัมเบอร์ประมาณ830000...และReminton RandและIthacaทุกกระบอก ส่วนในUS&Sไม่มี...
เปิดตําราตอบ...อิๆ
ตำราเล่มไหนครับ คุณ Diamyo ผมจะไปหามาศึกษา หรือว่าต้องเปิด Net ถ้าเปิด Net บอกเวปหน่อยจิ
ผมว่ากระบอกนี้ผมเคยเห็นแล้วครับ เมื่อ 4 เดือนก่อนมีคนมาถามขายผม แต่ผมไม่เอา หากพูดตรงๆ แบบเพื่อนฝูงกัน สอบไม่ผ่าเรื่องเลขประจำปืนครับ ตอกใหม่ครับ ควรตรวจสอบก่อนที่จะซื้อ เพราะจะมีปัญหาหานะครับ
นั่นสิครับ ถ้าโอนไม่ได้ขึ้นมาละก็ จึ๋ย.... กระบอกนี้ที่ใบ ป.4 มีเลข ซึ่งตรงกับโครงปืนด้วยครับ เรื่องปืนเก่าๆเนี่ยะ ผมก็ไม่ค่อยแม่นหรอก ปืนขึ้นทะเบียนปี 18 เท่าที่เห็นมีหลายรูปแบบเหมือนกันแฮะ เคยเห็นที่ต้องตอกเลขใหม่ และไม่ต้องตอกเลขใหม่ และที่ไม่มีเลข ทำไมถึงต้องเป็นได้ทั้งสามอย่าง ทำไมนายทะเบียนไม่ทำอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือว่าอยู่ที่ดุลยพินิจของนายทะเบียนในสมันโน้น ยกตัวอย่าง ปืน โค้ลท์ S70 ของญาติผมที่ ตจว. บริเวณเลขปืน เห็นได้ชัดว่าปั่นเลขทิ้งไป เชื่อมพอกเนื้อเหล็กด้วยลวดเชื่อม แล้วรมดำใหม่ นานๆเข้ารมดำลอก เห็นชัดแจ๋วเลยว่าทำมา แล้วที่มาที่ไปเป็นอย่างไร ท่านใดพอจะให้ข้อมูลได้ไหมครับ ต้องขอขอบคุณทุกท่านนะครับที่ให้ข้อมูล ส่วนผมหน่ะยังเด็กน้อยนัก ในเรื่องประวัติศาสตร์ปืนในยุคนั้น ก็ได้รู้อีกหลายเรื่องเลยหล่ะ