ขอเอารูปลงมาเพิ่มนะครับ ซ้ำกับข้างบน อิอิ
http://www.manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9550000017147ขึ้นบินถี่ๆ J-20 "สเตลธ์" จีนใกล้จริง ตัวเปลี่ยนดุลอำนาจเวหา
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 7 กุมภาพันธ์ 2555 14:29 น.
Uploaded with
ImageShack.usASTVผู้จัดการออนไลน์ -- กองทัพอากาศจีนเพิ่งจะบินทดสอบเครื่องบินต้นแบบ J-20 "เฉิงตู" อีกครั้งหนึ่งในวันเสาร์ 4 ม.ค.ที่ผ่านมา และครั้งนี้เป็นครั้งที่ 65 ซึ่งทำให้เชื่อว่าทุกอย่างใกล้จะลงตัว และ นักวิเคราะห์กล่าวว่าเครื่องบินที่ใช้เทคโนโลยีหลบเลี่ยงเรดาร์แบบ "สเตลท์" (Stealth) ของจีนกำลังเป็นตัวแปรแห่งดุลอำนาจทางอากาศในเอเชีย
การประดิษฐ์คิดค้นและทดลองสร้างเครื่องบิน J-20 ด้วยเทคโนโลยีของตนเอง ตลอดจนความมุมานะของจีนในการทดลองเพื่อความลงตัว เพื่อให้ "เฉิงตู" มีประสิทธิภาพสูงสุดตามที่ต้องการ กำลังทำให้เกิดการแข่งขันด้านสงครามทางอากาศขึ้นในเอเชีย เพื่อหาทางรับมือกับการ "ขยายอำนาจ" ของฝ่ายจีน
วันที่ 15 ม.ค.ที่ผ่านมาสำนักข่าวแห่งเดียวกันนี้ได้นำภาพ J-20 ขึ้นทดลองบินออกเผยแพร่มาครั้งหนึ่งโดยมิได้ให้รายละเอียด แต่การเผยแพร่ภาพอีชุดหนึ่งก่อนหน้านั้นในกลางเดือน ธ.ค.2554 มีการระบุว่า เป็นการทดลองขึ้นบินครั้งที่ 53 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าภายในเวลาชั่วข้ามเดือน จีนได้บินทดสอบเครื่องบินล่องหนถึง 12 ครั้ง
ภาพที่เผยแพร่ผ่านประชาคมออนไลน์ในช่วงเดือนที่ผ่านมานี้ ยังแสดงให้เห็นการพลิกแพลงผาดโผนอันแคล่วคล่องว่องไว อย่างน่าประหลาดใจของ J-20 ขณะบินทดสอบเหนือน่านฟ้านครเฉิงตู (Chengdu) มณฑลเสฉวน (Sichuan) ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้
ในช่วงเดียวกันนี้กองทัพอากาศจีนยังได้บินทดสอบเครื่องบินขับไล่โจมตี J-15 มาหลายครั้ง และ นี่คือเครื่องบินรบที่จีนเตรียมเอาไว้สำหรับเรือบรรทุกเครื่องบินที่กำลังสร้างขึ้นมาเป็นครั้งแรกด้วยเทคโนโลยีของตัวเองเช่นกัน
เครื่องบินรบ J-15 เป็น "Su-31" เวอร์ชั่นของจีนที่สร้างขึ้นจากเครื่องต้นแบบที่ซื้อจากสาธารณรัฐยูเครน โดยใช้เครื่องยนต์ไอพ่น อุปกรณ์ควบคุมการบิน อุปกรณ์นำร่อง และระบบบังคับอาวุธทันสมัยซึ่งเผลิตขึ้นด้วยเทคโนโลยีของจีนเอง
นี่คือเครื่องบินรบตระกูล Su-27/Su-30 ที่มีชื่อเสียงของค่ายโซเวียต ที่พัฒนามาต่อเนื่อง และ Su-31 เป็นรุ่นดัดแปลงให้สามารถขึ้นลงในระยะทางสั้นๆ ได้ เป็นเครื่องบินประจำเรือบรรทุกเครื่องบินของรัสเซียในปัจจุบัน
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานในสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาระบุว่า ประชาคมระหว่างประเทศกำลัง "รู้สึกอยู่ไม่เป็นสุข" กับการเสริมสร้างกำลังรบของจีน รวมทั้งการค่ำบาตรต่ออิหร่านของโลกตะวันตกได้ทำให้หลายประเทศทั้งในเอเชียและตะวันออกกลางต้องทุ่มงบประมาณเพื่อสร้างเสริมกำลังทางอากาศของตนเอง
"กำลังมีการเน้นเป็นอย่างมากในเรื่อง.. เครื่องบินรบกับสิ่งต่างๆ ที่ใช้กับเครื่องบิน -- ขีปนาวุธ ลูกระเบิด อากาศยานสนับสนุน เครื่องบินเตือนภัยล่วงหน้าทางอากาศ เครื่องบินเติมน้ำมันกับสิ่งอื่นๆ ในเรื่องเหล่านี้" รอยเตอร์อ้างคำพูดของนายซีโมน วีซแมน (Siemone Wezeman) นักวิจัยอาวุโสด้านการซื้อขายอาวุธแห่งสถาบันวิจัยสันติสุขระหว่างประเทศแห่งกรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน
เดือน ธ.ค.2554 ญี่ปุ่นประกาศทุ่มเงินมหาศาล 7,000 ล้านดอลลาร์เพื่อซื้อ F-35 เครื่องบินรบทันสมัยล่าสุดของสหรัฐฯ ที่ใช้เทคโนโลยีสเตลธ์ จำนวน 42 ลำ และเชื่อว่าเกาหลีใต้ก็กำลังจะเดินตามรอยเดียวกัน อันเป็นผลโดยตรงจากการพัฒนากำลังทางอากาศของจีน
เดือน ม.ค. เกาหลีได้เชิญผู้แทนบริษัทล็อกฮีดมาร์ติน ผู้ผลิต F-35 บริษัทผู้ผลิตเครื่องบินรบยูโรไฟเตอร์ และ ค่ายบริษัทโบอิ้งสหรัฐฯ เข้าเสนอรายละเอียดต่างๆ รวมทั้งราคาของ "เครื่องบินรบก้าวหน้า" จำนวน 60 ลำ ที่คาดว่าจะมีมูลค่ากว่า 7,000 ล้านดอลลาร์
ขึ้นบินถี่ยิบ
ประชาคมออนไลน์
ภาพชุดการขึ้นบินทดสอบครั้งที่ 65 ของเครื่องต้นแบบ J-20 "เฉิงตู" ในวันเสาร์ 4 ม.ค.2555 ถูกนำออกเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ข่าวการทหารในเวลาเพียงข้ามวันเท่านั้น อีก 1 วันถัดมาคือ 6 ม.ค.2555 ก็มีการนำเอาภาพเจ้าหมายเลข 2001 ลำเดียวกันนี้อีกชุดทั้งเก่าและใหม่แพร่ในประชาคมออนไลน์และก่อนหน้านั้นเพียงเดือนเศษ ภาพการขึ้นบินทดสอบครั้งที่ 53 ได้ออกว่อนในเน็ตมาก่อน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจีนทดสอบเครื่องบินรบเทคโนโลยีสเตลธ์ของตนถี่ยิบกว่า 10 ครั้งในช่วงปลายปีจนถึงต้นปีนี้ นักวิเคราะห์มองว่าเครื่องบิน "ล่องหน" ของจีนเริ่มใกล้ความจริง.
Uploaded with
ImageShack.us บริษัทเหล่านี้กำลังชายตามองไปยังมาเลเซีย สิงคโปร์ ออสเตรเลีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และคูเวตเช่นกันรอยเตอร์กล่าว
ส่วนอินเดียที่เป็นไม้เบื่อไม่เมาข้ามศตวรรษกับจีน ปลายเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา ได้ประกาศซื้อเครื่องบินรบราฟาล (Rafale) รวดเดียว 179 ลำ
ผู้ผลิตในฝรั่งเศสกล่าวว่า ราฟาลเหนือกว่า F-18 กับ F-16 ของค่ายสหรัฐฯ ในทุกทาง แต่ขณะเดียวกันอินเดียยังเจรจาขอซื้อเครื่องบินเตือนภัยล่วงหน้ากับเครื่องบินเติมน้ำมันกลางอากาศจากสหรัฐฯ เพิ่มเติมอีกจำนวนหนึ่ง และในอนาคตอินเดียอาจเป็นลูกค้า F-35 ที่สหรัฐฯ จะต้องให้ความสำคัญอีกรายหนึ่ง
ส่วนในเวียดนามยังไม่มีผู้ใดทราบแน่ชัดว่าปัจจุบันได้รับมอบเครื่องบินรบ Su-30MK2 ไปทั้งหมดกี่ลำ ขณะที่สื่อในรัสเซียรายงานอ้างการเปิดเผยของผู้บริหารบริษัทซูคอยว่า เวียดนามมีแผนจัดซื้อทั้งหมด 44 ลำ และ อาจจะเปลี่ยนไปเป็น Su-35 ที่เป็นเครื่องบินรบ ยุค 4 ++ ที่ใช้เทคโนโลยีสเตลธ์ จำนวนหนึ่งด้วย
วุฒิสมาชิกชั้นนำของสหรัฐฯ ที่ไปเยือนเวียดนามเดือนที่แล้วกล่าวว่า มีคนจำนวนมากในรัฐสภาที่ต้องการสนับสนุนให้สหรัฐฯ ขายอาวุธแก่เวียดนาม แต่ยังติดที่ปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน
แต่ในขณะเดียวกัน เวียดนามซึ่งเป็นคู่พิพาทน่านน้ำทะเลจีนใต้ที่อยู่ใกล้จีนมากที่สุด ยังมีชื่อในบัญชีลูกค้าของเครื่องบิน T-50 "สเตลธ์" ของค่ายรัสเซีย
รัสเซียก็เช่นเดียวกับจีนคือ อยู่ระหว่างการทดลองเครื่องบินรบที่ใช้เทคโนโลยีล่องหนของตน และ กองทัพอากาศรัสเซียมีแผนการที่จะนำเข้าประจำการเครื่อง T-50 PAK-FA ภายในปี 2558 นี้
นายริชาร์ด อาบูลาเฟีย (Richard Aboulafia) แห่งทีลกรู๊ป (Teal Group) ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาคาดว่า จนถึงปี 2564 มูลค่าการซื้อขายเครื่องบินอาจจะสูงถึง 178,000 ล้านดอลลาร์.
ปีมังกรผงาดฟ้า
ประชาคมออนไลน์
ภาพชุดข้างล่างมีทั้งภาพเก่าและภาพใหม่ ถูกนำออกเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ข่าวการทหารของจีนและแพร่ออกประชาคมออนไลน์ในวันจันทร์ 6 ม.ค.2555 โดยตั้งชื่อเรื่องว่า "J-20 แห่งปีมังกร" การบินทดสอบ J-20 "เฉิงตู" เคยเป็นความลับสุดยอดมาก่อน แต่ปัจจุบันได้กลายเป็นสิ่งหนึ่งที่ดูเหมือนว่าจีนอยากจะอวด และอาจจะบ่งบอกว่าการทดสอบกำลังงวดเข้ามาทุกขณะก่อนผลิตออกมาใช้งานจริง นักวิเคราะห์ตะวันตกมองว่า เครื่องบินรบเทคโนโลยีสเตลธ์ของจีนกำลังสร้างความเปลี่ยนแปลงในดุลอำนาจทางอากาศในเอเชียทำให้หลายประเทศที่หวาดผวา "อำนาจจีน" โดยเฉพาะอย่างย่ิงเกาหลี ญี่ปุ่น รวมทั้งอินเดีย ต่างกำลังหาเขี้ยวเล็บเพื่อพัฒนาอำนาจเหนือน่านฟ้าของตัวเองบ้าง.. ไม่ต้องกล่าวถึงเวียดนาม.
Uploaded with
ImageShack.usUploaded with
ImageShack.usUploaded with
ImageShack.usUploaded with
ImageShack.usUploaded with
ImageShack.us