http://www.thaiarmedforce.com/taf-military-news/55-rtaf-news/159-gripen-news-july-2010.htmlข่าวสารเกี่ยวกับโครงการจัดหา Gripen ทั้งทางบวกและทางลบในช่วงนี้ PDF Print E-mail
Written by Administrator
Friday, 23 July 2010 06:59
เกิดข้อกล่าวหาตามหน้าหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่กริพเพนจากประเทศสวีเดนว่า กองทัพอากาศไทยจัดหากริพเพนแพงกว่ากองทัพอากาศโรมาเนียกว่า 1,200 ล้านบาทต่อลำ เมื่อวัดจากข้อเสนอการขายกริพเพน 24 ลำในวงเงินราว 4 หมื่นล้านบาท ในขณะที่กองทัพอากาศชี้แจงว่าแพ็คเก็ตที่ไทยได้รับนั้นแตกต่างจากโรมาเนียจึงไม่สามารถคิดแบบจำนวนเงินของโครงการหารด้วยจำนวนลำได้
TAF สนับสนุนสมาชิกทุกท่านให้เปิดรับข้อมูลทั้งสองด้าน สำหรับท่านที่เห็นด้วยกับโครงการเราสนับสนุนให้ท่านรับฟังความเห็นในเชิงลบต่อโครงการ และสำหรับท่านที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการเราก็สนับสนุนให้ท่านรับฟังความเห็นในเชิงบวกต่อโครงการเช่นกัน และนำข้อมูลมาพิจารณาว่าสมควรจะสนับสนุนโครงการนี้ต่อไปหรือไม่ด้วยตัวท่านเองครับ
สมาชิกที่สนใจสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการนี้ได้ที่กระทู้นี้ในเว็บบอร์ดครับ
"รวบรวมข่าว บ.ข. 20 Gripen 39 C/D"
http://www.thaiarmedforce.com/distribution/viewtopic.php?f=7&t=16เพจนี้รวมรวมข่าวบางข่าวทั้งทางบวกและลบเพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณาครับ
วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เวลา 09:13:27 น. มติชนออนไลน์
ชำแหละฝูงบิน"กริพเพน" เทียบ 5ประเทศ"ไทย"ซื้อแพงสุด
ถ้า นายเจอร์รี่ ลินเบิร์จ (Jerry Lindbergh) ตัวแทนของรัฐบาลสวีเดนไม่ออกมาประกาศเสนอขายเครื่องบินขับไล่ "ยาส 39 ซี/ดี กริพเพน" ให้กับรัฐบาลโรมาเนีย ในราคาชนิดทั้งแจกทั้งแถมออพชั่นพิเศษ 24 ลำ รวม 1,000 ล้านยูโร หรือเทียบเท่า 40,000 ล้านบาท
ข่าว"กริพเพ น"คงไม่มีโอกาสถูกนำมาเสนอในหน้า 1 ของหนังสือพิมพ์ "มติชน" อีกครั้งเพราะเหตุว่า โครงการจัดซื้อ "กริพเพน" ซึ่งเป็นรุ่นเดียวกับที่สวีเดนเสนอขายให้กับ "โรมาเนีย" รัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้อนุมัติจัดซื้อล็อตแรก 6 ลำไปนานแล้วตั้งแต่ปี 2551
แม้มีเสียงทักท้วงตั้งแต่แรกว่า การซื้อ"กริพเพน" แพงกว่าที่ประเทศอื่นๆ
แต่กระนั้นรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ ผลักดันซื้อเป็นผลสำเร็จด้วยเงินงบประมาณงวดแรกรวมทั้งสิ้น 19,000 ล้านบาท
ล็อต ที่สอง รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไฟเขียวให้ซื้อด้วยเงินงบประมาณ 16,000 ล้านบาท ตั้งแต่เดือนมกราคม 2553
ห้วง เวลาที่ผ่านมาเนิ่นนาน เพียงพอที่ทำให้ข่าว "กริพเพน"หลุดจากกระแสความสนใจ บังเอิญมีผู้หวังดีนำข้อมูลที่เผยแพร่ในสื่อต่างๆ ของสวีเดนและโรมาเนียมาให้ "มติชน" พร้อมตั้งคำถามว่า ทำไมรัฐบาลไทยจึงซื้อเครื่องบินขับไล่ "กริพเพน" แพงกว่าประเทศอื่นๆ ทั้งๆ ที่ข้อเสนอซื้อจากรัฐบาลสวีเดนที่มีให้กับรัฐบาลไทย แทบไม่แตกต่างกันเท่าไหร่
เครื่องบินขับไล่"กริพเพน" ผลิตโดยบริษัทซาบ แห่งสวีเดน มีประเทศต่างๆ ในโลกซื้อเข้าประจำการรวมทั้งสิ้น 5 ประเทศ ได้แก่ สวีเดน,ฮังการี,สาธารณรัฐเช็ก,แอฟริกาใต้ และล่าสุดคือประเทศไทย ส่วนประเทศโรมาเนีย ยังอยู่ระหว่างเสนอลดราคา
รัฐบาลสวีเดนต้องการ ซื้อเครื่องบิน"กริพเพน" 200 ลำ แต่ประสบภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ จึงลดเหลือเพียง 100ลำ โดย 31 ลำเป็นรุ่น เอ/บี นำมาปรับปรุงใหม่ให้เป็นรุ่น ซี/ดี ที่เหลือเอาไปขายให้ประเทศอื่นๆ
รัฐบาล ฮังการี ทำสัญญาเช่าและจัดซื้อเครื่องบิน รุ่นซี/ดี เมื่อปี 2546 จำนวน 14ลำ มูลค่า1,000ล้านเหรียญ(ราว 40,000 ล้านบาท-ค่าเงิน 1 เหรียญ/40 บาท) รัฐบาลสวีเดนจัดระบบวางแผนการรบ ระบบเติมน้ำมันกลางอากาศ ระบบเอวิโอนิกส์
การ เจรจาระหว่างรัฐบาลฮังการีกับสวีเดน ใช้เวลานานถึง 4 ปี กว่าสวีเดนจะยินยอมในข้อเสนอว่าด้วยผลตอบแทนทางเศรษฐกิจให้กับรัฐบาลฮังการี โดยเฉพาะการปรับปรุงทักษะคุณภาพแรงงานของฮังการี
ปี 2548 รัฐบาลเช็ก ต้องการเช่า "กริพเพน" เป็นระยะเวลา 10 ปี คิดเป็นเงินงบประมาณทั้งสิ้น 800 ล้านเหรียญสหรัฐ ราว 32,000 ล้านบาท (เทียบค่าเงิน 1 เหรียญเท่ากับ 40 บาท) ทางรัฐบาลสวีเดน จัดให้ตามความต้องการ ได้แก่กริพเพนรุ่น ซี/ดี 14 ลำ เครื่องจำลองการบิน ระบบวางแผนการรบ ระบบสนับสนุน การฝึกนักบินและเจ้าหน้าที่ภาคพื้นดิน นอกจากนี้รัฐบาลสวีเดนยังยินยอมให้ข้อเสนอการตอบแทนทางอุตสาหกรรม หรือ Industrial offsetแก่สาธารณรัฐเช็ก เป็นเวลา 10 ปี คิดเป็นมูลค่า 130 เปอร์เซ็นต์ของสัญญาเช่าเครื่องบิน
นอกจากนี้แล้ว รัฐบาลสวีเดน ยังยินยอมในข้อเสนอผลตอบแทนแก่ "เช็ก" (offset agreement) ประกอบด้วยผลตอบแทนโดยตรง (direct offset) เทียบเท่า 20 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าการสนับสนุนและการพัฒนาอุตสาหกรรมอากาศยานและการ ป้องกัน ในกลางปี 2551 สวีเดนจัด 28 โครงการเพื่อสนับสนุนการส่งออกสินค้าของ"เช็ก"
แอฟริกาใต้ จัดซื้อ "กริพเพน" ซี/ดี จำนวน 26 ลำ เมื่อปี 2551 ทางรัฐบาลสวีเดนจัดตั้งศูนย์ฝึกบิน และโรงประกอบเครื่องบินของซาบ พร้อมกับถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการบินให้แก่ชาวแอฟริกาใต้ จำนวนกว่า 200คน นอกจากนั้นรัฐบาลสวีเดนยังให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจผ่านออฟเซ็ตโปรแกรม เพื่อสร้างเศรษฐกิจใหม่ให้กับประเทศแอฟริกาใต้ คิดเป็นมูลค่า 5.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งทางด้านการส่งออก การเข้าไปมีส่วนร่วมของอุตสาหกรรมต่างๆ รวมกว่า 100 กิจการทั้งด้านเหมืองแร่ การสนับสนุนด้านวิจัยการแพทย์ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมไม้แปรรูป อุตสาหกรรมเกษตร สนับสนุนภาคบริการและการส่งออก
"การ จัดซื้อกริพเพนครั้งนี้ จะช่วยสร้างเสริมอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศ และเศรษฐกิจให้แอฟริกาใต้เกิดความแข็งแกร่งอีกด้วย" เอกสารของ "กริพเพน" ระบุ
ส่วนข้อเสนอที่รัฐบาลสวีเดนให้กับไทย ในการจัดซื้อ "กริพเพน"12 ลำ ได้แก่ ความช่วยเหลือในประเทศ (ไม่มีรายละเอียด) การถ่ายโอนเทคโนโลยีด้านการบินการอวกาศและการป้องกันให้กับไทย โดยจะวางรากฐานของภาคอุตสาหกรรมท้องถิ่นของไทยในโครงการพัฒนาในอนาคตรวมถึง โครงการกริพเพน แต่ไม่มีการแจกแจงรายละเอียด
รัฐบาลสวีเดน มอบเครื่องบินให้ 2 ลำ ได้แก่เครื่องบินซาบ 340 พร้อมระบบควบคุมเตือนภัยล่วงหน้ากลางอากาศ หรือ Erieye เครื่องบินซาบ 340 สำหรับการฝึกและขนส่งทางอากาศ
ขณะที่รัฐบาลสวีเดน เสนอขายเครื่องบินกริพเพน 24 ลำให้โรมาเนีย ในราคาหั่นแหลกแข่งกับเครื่องมือสอง เอฟ-16 ของสหรัฐ แค่ 40,000 ล้านบาท พร้อมกับเงื่อนไขล่อใจอย่างมาก อาทิ การชำระหนี้ 15 ปี ฝึกนักบินให้30คน เจ้าหน้าที่ภาคพื้นดินอีก 60 คน แถมออฟเซ็ต ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจกับประเทศโรมาเนีย 100 เปอร์เซ็นต์ โดยจะสร้างงานให้ชาวโรมาเนียอย่างต่ำ 5 พันตำแหน่ง
ข้อเสนอต่างๆ ที่รัฐบาลสวีเดนจัดให้ประเทศต่างๆ นั้น หากเปรียบเทียบกับไทยแล้วจะเห็นได้ว่า รัฐบาลไทยซื้อในราคาแพง
แม้ ว่าตัดออพชั่นเครื่องบินที่เป็นของแถมได้แก่ ซาบ 340 ติดตั้งระบบอีรีอาย และซาบ 340 สำหรับการฝึกออกไป ราคาก็ยังแพงกว่าอยู่ดี
เนื่อง จากซาบ 340 ติดตั้งระบบอีรีอาย รัฐบาลสวีเดนเพิ่งขายให้กับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 2 ลำในราคา 148.3 ล้านยูโร หรือประมาณ 6 พันล้านบาท ตกลำละ 3,000 ล้านบาท
เมื่อ มองย้อนไปหลังในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
กองทัพอากาศพยายาม ผลักดันเสนอซื้อ "กริพเพน" โดยผ่านทาง พล.อ.อ.คงศักดิ์ วันทนา ผู้บัญชาการทหารอากาศในสมัยนั้น
ถ้าพลิกย้อนข่าวเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2547 พล.อ.อ.คงศักดิ์ ให้สัมภาษณ์โครงการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ กริพเพน รุ่น ยาส-39 ดังนี้
"รัฐบาล สวีเดนยินดีขายกริพเพนให้กับกอง ทัพอากาศไทยในราคามิตรภาพ ตกราคาลำละประมาณ 600 ล้านบาท กองทัพอากาศมีความสนใจในเครื่องบินขับไล่รุ่นนี้เช่นกัน เพราะเป็นเครื่องบินรบที่มีศักยภาพสูงและเป็นที่นิยมใช้ในหลายประเทศ ทั้งนี้กองทัพอากาศมีแผนที่จะจัดหาอากาศยานที่มีศักยภาพสูงและราคาไม่แพงมาก นักจำนวน 1 ฝูง หรือ 16 ลำนำมาใช้ประจำการเพื่อปฏิบัติงานในภารกิจต่างๆ ทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบโอวี-เท็น (นอ-10) ที่กองทัพได้ปลดประจำการไปแล้ว รวมทั้งเครื่องบินขับไล่แบบ เอฟ-ห้า อีเอฟ (F-5 EF ) ที่กำลังจะปลดประจำการในเร็วๆ นี้"
พล.อ.อ.คงศักดิ์ยังบอกอีกว่า การจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ฝูงใหม่นี้ จะใช้วิธีการแลกเปลี่ยนสินค้าเกษตรแทนการจ่ายเงิน เนื่องจากรัฐบาลไม่ต้องการให้ขาดดุลเงินบัญชีเดินสะพัดระหว่างประเทศ เลยใช้วิธีการแลกเปลี่ยนสินค้าเกษตรแทน
เวลาห่างกันเพียง 4 ปีเศษ ราคา "กริพเพน" 39 ซี/ดี ที่รัฐบาลสวีเดนขายให้ไทย มีราคาขยับพุ่งเป็นลำละ 2,866 ล้านบาท ทั้งๆ ที่เมื่อรวมออพชั่นที่ไม่ต่างจากประเทศอื่นเท่าไหร่ แต่กระนั้นรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์และรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ อนุมัติจัดซื้ออย่างไม่ตะขิดตะขวงใจ!
**ที่มาหนังสือพิมพ์มติชน**
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1279160046&grpid=&catid=02 'กริพเพน'ส่งกลิ่น มาร์คสั่งสอบ แพงกว่าโรมาเนีย
นายกฯข้องใจ กองทัพซื้อเครื่องบินขับไล่ "กริพเพน" แพงกว่าโรมาเนียถึง 1,200 ล้าน ด้านปลัดกลาโหมรุดแจงขอตรวจสอบรายละเอียดก่อน โดยเฉพาะเงื่อนไขที่มากกว่าราคา...
เมื่อวันที่ 12 ก.ค. ที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) จังหวัดนนทบุรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่รัฐบาลโรมาเนีย ซื้อเครื่องบินขับไล่กริพเพนจาก ประเทศสวีเดนได้ราคาถูกกว่าประเทศไทย ถึง 1,200 ล้านบาทว่า เมื่อตนได้สอบถาม พล.อ.อภิชาต เพ็ญกิตติ ปลัดกระทรวงกลาโหม ซึ่งท่านบอกว่าจะให้หน่วยงานเกี่ยวข้องได้ชี้แจง แต่เบื้องต้นคงต้องไปดูรายละเอียด เพราะการเปรียบเทียบตัวเลขภาพรวมอย่างเดียวมันไม่พอ มันต้องดูการซื้อว่าเงื่อนไขการซื้อต่างกันอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น สิ่งที่เป็นข้อตกลงในเรื่องทั้งอุปกรณ์และการฝึกทั้งอะไรด้วย ว่ามันแตกต่างกันอย่างไร แต่ว่าทุกโครงการจะต้องตรวจสอบได้อยู่แล้ว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ทางกระทรวงกลาโหม ได้ชี้แจงหรือไม่ว่า มีเครื่องลักษณะอื่นที่มีศักยภาพใกล้เคียงกับเครื่องบินกริพเพน นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า โครงการที่อนุมัติไปเมื่อปี 50 หรือปี 51 แต่คาดว่า จะเป็นปี 50 มากกว่า และมาถึงรัฐบาลนี้มันเข้าสู่ระยะที่ 2 เมื่อถามว่า แต่ขณะนี้มีบริษัทที่เขาผูกขาดการจัดซื้ออาวุธอยู่หลายรายการ นายอภิสิทธิ์ ไม่ได้ตอบคำถามดังกล่าวแต่อย่างใด.
http://www.thairath.co.th/content/pol/95753 'ประวิตร'ยันซื้อกริพเพนโปร่งใส
ประวิตร ยืนยัน ซื้อ เครื่องบิน กริพเพน ไม่แพง โปร่งใส ตรวจสอบได้ ชี้ ผู้บัญชาการทหารอากาศ แจงชัดเจนเรื่องนี้น่าจบ...
ที่วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 16 ก.ค.2553 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีการจัดซื้อเครื่องบินกริพเพน จากประเทศสวีเดน ว่า ยืนยันไม่มีการซื้อแพงตามที่เป็นข่าว การจัดซื้อยุทโธปกรณ์ของกองทัพโปร่งใส่ ทั้งนี้ พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ.) ได้อธิบายเรื่องนี้ชัดเจนว่าการจัดซื้อเครื่องบินกริพเพน เป็นไปตามขั้นตอน มีการตรวจสอบตามขั้นตอนผ่านคณะกรรมการทุกคณะ ทำตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี สามารถชี้แจงเรื่องราคา แบบ สมรรถนะ หรือ ออพชั่นได้ ที่สำคัญหน่วยใช้ต้องเป็นผู้พิจารณาตามลำดับขั้นก่อนจะมาถึงผู้บังคับบัญชา ระดับสูงพิจารณาว่าสมควรอย่างไร การเปรียบเทียบอาวุธยุทโธปกรณ์แต่ละประเทศในการจัดหา เพราะเรารู้เป็นภาษีประชาชนเราต้องใช้อย่างเหมาะสมสามารถใช้ป้องกันประเทศ ได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อ ผบ.ทอ. ได้ชี้แจงเรื่องนี้ชัดเจนแล้ว เรื่องนี้ก็น่าจะจบ
ผมยืนยันตั้งแต่นั่งตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ทำทุกอย่างด้วยความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ทุกเรื่อง และพร้อมจะชี้แจงให้ประชาชนที่ไม่เข้าใจได้ทุกเรื่อง ดังนั้น ผมหรือแต่ละเหล่าทัพคงไม่กังวลใจในเรื่องนี้ โดยเฉพาะกำลังพลกองทัพอากาศรับทราบการดำเนินการจัดซื้อเครื่องบินกริพเพนมา ตลอด นอกจากนี้ ได้ให้เสรีแต่ละเหล่าทัพในการจัดซื้อยุทโธปกรณ์ กลาโหมจะไม่เข้าไปยุ่ง เพราะเรารู้แต่ละเหล่าทัพต้องการยุทโธปกรณ์อะไรที่เหมาะสมต่อสถานการณ์ ปัจจุบัน โดยมีการกำหนดยุทธศาสตร์ชัดเจน เพราะการซื้อยุทโธปกรณ์ของแต่ละเหล่าทัพสามารถตรวจสอบได้ ไม่ใช่อยู่ดีๆอยากซื้อก็ซื้อ ไม่ใช่ซื้อขนม รมว.กลาโหม ระบุ
เมื่อถามว่า กองทัพอากาศดำเนินการตามขั้นตอน แต่มีข่าวเกิดขึ้น เพราะอาจมีผู้เสียผลประโยชน์ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ตนตอบไม่ได้ เรื่องนี้ต้องหารายละเอียดกันเอง
http://www.thairath.co.th/content/pol/96719 ทอ.ซื้อ"กริพเพนแบบมี"ออปชั่น"
คมชัดลึก : กลายเป็นประเด็นร้อนถกเถียงกันอย่างกว้างขวางกับกรณีการจัดซื้อเครื่องบิน ขับไล่ กริพเพน หรือกริพเพน 39 ซี/ดี เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ แบบที่ 18 ก/ข หรือ เอฟ-5 บี/อี ที่ประจำการอยู่ที่ฝูงบิน 701 จ.สุราษฎร์ธานี ที่จะปลดประจำการ ซึ่งโครงการดังกล่าวได้ผ่านกระบวนการมาจนถึงการอนุมัติจัดซื้อเมื่อเดือน ตุลาคม 2550 สมัยที่ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี จำนวน 1 ฝูงบิน หรือ 12 เครื่อง
โครงการการจัดซื้อเครื่องบิน กริพเพน แบ่งออกเป็น 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 จำนวน 6 เครื่อง โดยมีอุปกรณ์ อะไหล่ การฝึกอบรม และการปรับปรุงอาคารสถานที่ โดยใช้งบประมาณผูกพัน 5 ปี ตั้งแต่ 2551-2555 วงเงินจำนวน 1.9 หมื่นล้านบาท
ระยะที่ 2 จำนวน 6 เครื่อง พร้อมอุปกรณ์ อะไหล่ การส่งกำลังบำรุง การฝึกอบรม การปรับปรุงอาคารสถานที่ และการบริหารโครงการ รวมทั้งการรับข้อเสนอพิเศษและความร่วมมือระดับทวิภาคี โดยใช้งบประมาณผูกพัน 5 ปี ตั้งแต่ปี 2554-2558 วงเงินจำนวน 16,266 ล้านบาท
ก่อนหน้านี้ กองทัพอากาศ เองก็ไม่ได้มองแค่เครื่องบิน กริพเพน อย่างเดียว แต่นั่นหมายถึง เครื่องบินซู-30 ของประเทศรัสเซีย ก็ถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณา แต่เนื่องด้วยเครื่องบินซู-30 ที่มีขนาดใหญ่ และมีเครื่องยนต์ 2 เครื่อง ซึ่งจะทำให้สิ้นเปลืองเชื้อเพลิง
ขณะที่เครื่องบินเอฟ-16 ซี/ดี ของประเทศสหรัฐอเมริกา ก็มีความเหมาะสม ที่กองทัพอากาศหวังที่จะได้มาเสริมเขี้ยวเล็บให้แก่ประเทศไทย แต่ติดอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ไม่ขายให้กองทัพอากาศไทย เนื่องจากประเทศสหรัฐอเมริกามีข้อกำหนดที่จะไม่มีการซื้อขายกับประเทศที่มี การ ปฏิวัติ-รัฐประหาร
ทำให้รัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.สุรยุทธ์ ในเวลานั้น ต้องพิจารณาจัดซื้อจัดหาเครื่องบินขับไล่มาแทนเครื่องบินเอฟ-5 บี/อี ที่ต้องปลดประจำการในปี 2553 จึงได้ข้อสรุปมาที่เครื่องบิน กริพเพน ของประเทศสวีเดน ตามที่ พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ ในเวลานั้น
เพราะสิ่งที่น่าสนใจของเครื่องบิน กริพเพน เป็นเครื่องบินในยุคที่ 4.5 หรือ ยุค 4.5 เจเนเรชั่น ไฟเตอร์ ที่มีความอ่อนตัว และคล่องตัว สามารถปฏิบัติภารกิจได้หลากหลายรูปแบบในลักษณะมัลติ-โรล เมื่อประกอบเข้ากับระบบบัญชาการและควบคุมที่ได้รับการพัฒนาขึ้นจากการจัดหา
สิ่งที่น่าสนใจไปกว่านั้น คือมีความทันสมัย สามารถใช้งานระบบอาวุธสมัยใหม่ที่มีความแม่นยำ พิสัยยิงไกล มีระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธีระหว่างเครื่องบินในหมู่บิน และระหว่างเครื่องบินกับหน่วยบัญชาการและควบคุม ผนวกกับเครื่องบินแจ้งเตือนทางอากาศ ซาบ 340 เออีดับเบิลยู ที่ประเทศสวีเดนเพิ่มเติมให้
โดยจะสามารถตรวจจับเป้าหมาย และการเคลื่อนไหวของกำลังฝ่ายข้าศึกทั้งในอากาศ และบนพื้นได้ในระยะไกล รวมทั้งส่งข้อมูลการตรวจจับเป้าหมายให้แก่หน่วยบัญชาการและควบคุม ซึ่งระบบบัญชาการและควบคุมที่มีความทันสมัย
สามารถรับข้อมูลการตรวจจับเป้าหมายและความ เคลื่อนไหวของกำลังฝ่ายข้าศึกทั้งจากเครื่องบินซาบ 340 เออีดับเบิลยู และระบบเรดาร์ภาคพื้นของกองทัพอากาศ เพื่อใช้ในการประมวลผลและสร้างภาพสถานการณ์การรบได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ ทันต่อสถานการณ์ ตลอดจนสามารถควบคุมและสั่งการ การปฏิบัติภารกิจของเครื่องบินกริพเพน 39 ซี/ดี ผ่านระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี
ระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธีระหว่างเครื่องบินกริพเพนในหมู่บิน (Tactical Information Data Link System : TIDLS) และระหว่างเครื่องบินกริพเพน กับหน่วยบัญชาการและควบคุม (Ground-to-Air Data Link System : GADLS) ซึ่งขีดความสามารถในการใช้ระบบอาวุธสมัยใหม่ ตลอดจนได้รับอาวุธนำวิถีอากาศสู่พื้น อาร์บีเอส-5 เพื่อใช้ในการโจมตีเรือผิวน้ำ ซึ่งเป็นขีดความสามารถใหม่ ที่ยังไม่เคยมีใช้งานในกองทัพอากาศ
พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ กล่าวว่า กองทัพอากาศสามารถชี้แจงได้ว่า แต่ละประเทศซื้อหาไม่เท่ากัน ตัวเครื่องบินก็เป็นตัวเครื่องบินเปล่า แต่ขณะที่ตัวเครื่องบินจะมีซอฟต์แวร์ อุปกรณ์หลากหลาย หรือออปชั่นที่สามารถใส่เข้าไปได้ เพราะฉะนั้นความต้องการของแต่ละประเทศก็อาจจะกำหนด ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ อาวุธ วิทยุ หรืออะไรต่างๆ ไม่เหมือนกัน
เป็นเรื่องยากที่จะเอามาเปรียบเทียบว่าประเทศไหนซื้อแพง หรือถูกกว่ากัน เพราะแต่ละประเทศกำหนดความต้องการไม่เหมือนกัน เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนก่อนจะเอาตัวเลขมาเปรียบเทียบ และทำให้เกิดความเสียหาย โดยเฉพาะการนำเอาเอกสารมาเปิดเผย เรามีความเป็นห่วงว่าจะมีเอกสารที่เป็นความลับ ถ้าเป็นความเสียหายต่อกองทัพเราต้องดำเนินการเรื่องนี้
พล.อ.อ.อิทธิพรขยายเนื้อหาอีกว่า ปกติกองทัพอากาศต้องการเครื่องบิน 12 เครื่อง แต่กรอบงบประมาณผูกพันได้เพียง 5 ปี การจัดซื้อเฟสแรก วงเงิน 19,600 ล้านบาท จัดซื้อได้เพียง 6 ลำ ทั้งนี้ การจัดซื้อจะแพงหรือไม่ขึ้นอยู่กับรายละเอียดว่าในแต่ละประเทศมีการจัดหา และความต้องการของเขามีมากน้อยเพียงใด เพราะฉะนั้นสิ่งที่เป็นข่าวออกมา ซึ่งมีการระบุเป็นประเทศโรมาเนีย และประเทศนี้มีความสนใจเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา แต่เอกอัครราชทูตได้มีหนังสือแจ้งว่าในช่วงนั้นประเทศโรมาเนีย ขอข้อเสนออย่างเดียว และยังไม่มีการจัดซื้อจัดหาเลย รวมถึงครั้งนี้ด้วย
ประเทศโรมาเนียยังไม่ได้มีการจัดซื้อเครื่องบินกริพเพน เพราะฉะนั้นตัวเลขที่ออกมาว่าเป็นจำนวนเงินเท่านั้นเท่านี้ จะต้องดูจากข้อเท็จจริงก่อนที่จะมาสรุปว่า กองทัพอากาศซื้อแพง ผมขอยกตัวอย่างเช่น ดูจากรถยนต์คัมรี ถ้าถูกที่สุดเครื่องยนต์อยู่ที่ประมาณ 2.0 ราคาประมาณ 1.2 ล้านบาท แต่เป็นคัมรี 3.5 ราคาอยู่ที่ประมาณเกือบ 3 ล้านบาท ดังนั้นข้อแตกต่างจะต้องดูด้วยว่าอุปกรณ์มีออปชั่นเพิ่มเติมหรือไม่
ปัจจุบันเครื่องบินกริพเพน ที่ผลิตโดยประเทศสวีเดน มีประจำการอยู่ 5 ประเทศ ได้แก่ สวีเดน ฮังการี แอฟริกาใต้ สาธารณรัฐเช็ก อังกฤษ และไทย รวมจำนวนประมาณ 264 เครื่อง ซึ่งการจัดหาเครื่องบินกริพเพนของแต่ละประเทศ มีวิธีการจัดซื้อที่แตกต่างกันออกไป
สาธารณรัฐเช็ก จัดหามาใช้งานโดยการเช่า จำนวน 14 เครื่อง ระยะเวลา 10 ปี พร้อมระบบสนับสนุน และการตอบแทนทางอุตสาหกรรม รวมมูลค่าประมาณ 4.1 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ เครื่องบินที่จัดหานั้นไม่ได้ติดตั้งระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธีกับ ภาคพื้น
ประเทศฮังการี จัดหามาใช้งานโดยการเช่า จำนวน 14 เครื่อง ระยะเวลา 10 ปี พร้อมระบบสนับสนุน และการตอบแทนทางอุตสาหกรรม รวมมูลค่าประมาณ 4.8 หมื่นล้านบาท โดยเครื่องบินเป็นโครงสร้างของรุ่นเอ/บี แต่ระบบที่ติดตั้งเป็นของรุ่นซี/ดี และเครื่องยนต์วอลโว่ อาร์เอ็ม-12 บี และ เครื่องบินไม่ได้ติดตั้งระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธีกับภาคพื้น ทั้งนี้เมื่อหมดสัญญาจะเช่าซื้อเครื่องบินดังกล่าวใช้งาน
ประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ จัดหามาใช้งานโดยการซื้อ จำนวน 28 เครื่องพร้อมกับบริษัทฮอก อีกจำนวน 24 เครื่อง พร้อมระบบสนับสนุน และการตอบแทนทางอุตสาหกรรม รวมมูลค่าประมาณ 66,500 ล้านบาท โดยเครื่องบินติดตั้งระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธีกับภาคพื้นของตนเอง
ขณะที่ประเทศสวีเดนไม่เคยทำสัญญาซื้อขายเครื่องบินกับ ประเทศโรมาเนีย ดังที่ปรากฏเป็นข่าว เป็นเพียงการร้องขอให้ประเทศสวีเดนส่งข้อเสนอโครงการให้พิจารณาเท่านั้น
ส่วนการเปรียบเทียบราคาที่ปรากฏเป็นข่าว น.อ.มณฑล สัชฌุกร โฆษกกองทัพอากาศ กล่าวว่า การเปรียบเทียบราคาเครื่องบินโดยการนำวงเงินทั้งหมดของโครงการ แล้วหารด้วยจำนวนเครื่องบินที่จัดซื้อ ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบบนพื้นฐานข้อมูลในรายละเอียดที่แตกต่างกัน ซึ่งไม่ครอบคลุมข้อมูลพื้นฐานที่ประกอบกันเป็นระบบทั้งหมดที่ได้รับจากการ จัดซื้อ เช่น แบบและรุ่นของเครื่องบินและสมรรถนะที่ต้องการ อัตราค่าเงินและอัตราเงินเฟ้อ ระบบบัญชาการและควบคุมที่มีประสิทธิภาพ ระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ของเครื่องบิน ระบบอาวุธที่ทันสมัยและความหลากหลายในการติดตั้งอาวุธ ระบบส่งกำลังบำรุงและระบบสนับสนุนต่างๆ เป็นต้น
น.อ.มณฑลกล่าวอีกว่า การเปรียบเทียบราคาเครื่องบิน จึงไม่สามารถเปรียบเทียบแบบเครื่องต่อเครื่องได้ เพราะมีหลายปัจจัยที่มีผลกระทบกับราคาซื้อขาย ดังนั้นการพิจารณาเปรียบเทียบต้องมีองค์ประกอบอีกหลายส่วน ซึ่งแต่ละประเทศก็มีเงื่อนไขการขอซื้อที่แตกต่างกันไป จึงทำให้ราคาของโครงการไม่เท่ากัน ทั้งนี้อยากเปรียบเทียบให้ฟังว่า การเช่า คือราคาก็เหมือนกัน เมื่อเช่าซื้อไปแล้วเมื่อครบกำหนดก็จะต้องคืน เมื่อคืนแล้วจะได้อะไร ส่วนการเช่าซื้อก็จะต้องมีกรอบระยะเวลา แต่ก็จะต้องดูว่าจังหวะไหนงบประมาณเอื้ออำนวยขนาดไหน หากงบประมาณไม่มีก็จะต้องถูกยึดเหมือนกัน
การจัดซื้อเครื่องบินกริพเพน ของกองทัพอากาศไทย มีการกำหนดชัดเจนคืองบประมาณ 10 ปี โดยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ถ้าเราจ่าย 10 ปี ตามข้อกำหนดเครื่องบินกริพเพน ก็จะต้องเป็นของประเทศไทย หรืออย่างน้อยกองทัพอากาศก็มีไว้ใช้งานนานอีก 30-40 ปี ซึ่งอยากถามว่าอันไหนจะคุ้มกว่ากัน อีกทั้งประเทศไทยจะได้ทุนภาพรวมใหญ่ ทั้งเรื่องทุนการเรียนปริญญาโท โดยกองทัพอากาศได้แจกจ่ายไปยังสถาบันต่างๆ รวมถึงที่ประเทศสวีเดนจะมาร่วมทุนกับประเทศไทย ทั้งเรื่องอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ หรือตั้งโรงงานผลิตชิ้นส่วนต่างๆ เราก็ได้ประโยชน์หลากหลายไม่ได้มองแค่ทางการทหารอย่างเดียว และที่สำคัญการซื้อขายครั้งนี้เป็นการซื้อขายแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล และขณะนี้ก็มีการเปิดบัญชีจ่ายตามงวดระหว่างรัฐต่อรัฐแล้วเช่นกัน
http://www.komchadluek.net/detail/20100719/66919/ทอ.ซื้อกริพเพนแบบมีออปชั่น.html