กองทัพอากาศเอกวาดอร์สูญเสียเฮลิคอปเตอร์ Dhruv จากอุบัติเหตุเป็นเครื่องที่ 4 ในรอบ 5 ปีEcuador loses another Dhruv helo to crash
As the only export customer of the type, Ecuador has now lost four of its seven Dhruv helicopters to accidents.
India, which manufactures and also operates the helicopter (pictured), has grounded the Dhruv on several
occasions over safety concerns. Source: HAL
http://www.janes.com/article/48382/ecuador-loses-another-dhruv-helo-to-crashกองทัพอากาศเอกวาดอร์ซึ่งเป็นลูกค้ารายเดียวของเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปขนาดเบา Dhruv รุ่นสำหรับกองทัพ
ซึ่งออกแบบและสร้างโดย Hindustan Aeronautics Limited (HAL) อินเดีย ได้สูญเสีย ฮ. Dhruv จากอุบัติเหตุไปแล้ว
4 เครื่อง จากจำนวน 7 เครื่อง ซึ่งอุบัติเหตุครั้งล่าสุดนี้มีรายงานว่าเกิดขึ้นวันที่ 27 มกราคม 2015 ใกล้เมือง Tena
ซึ่งเป็นพื้นที่ห่างไกลภายในประเทศเอกวาดอร์
อย่างไรก็ตามอุบัติเหตุในครั้งล่าสุดนี้นักบินและผู้โดยสารในเครื่องทั้ง 4 นาย ทางการรายงานว่าไม่ได้รับบาดเจ็บร้ายแรง
แต่อย่างใด แต่ในสื่อท้องถิ่นกลับระบุว่าทั้งหมดเสียชีวิต โดยกองทัพอากาศเอกวาดอร์ได้สูญเสีย ฮ.Dhruv ไปจากอุบัติเหตุ
ครั้งแรกวันที่ 28 ตุลาคม 2009 ครั้งที่สอง 22 กุมภาพันธ์ 2014 และครั้งที่สามเมื่อ 13 มกราคม 2015 นี้เอง
เอกวาดอร์ได้ลงนามจัดหา ฮ.HAL Dhruv จากอินเดียจำนวน 7เครื่องในปี 2008 และเริ่มได้รับมอบเครื่องในปี 2009
วงเงิน $45 million โดยมีแผนจะจัดส่งเป็นชุดมาทำการประกอบในเอกวาดอร์ แต่มีการยกเลิกแผนการดังกล่าว
โดย ฮ.ทั้งหมดถูกประกอบสร้างในอินเดีย ซึ่งกองทัพอากาศเอกวาดอร์นำ ฮ.Dhruv ประจำการที่ ฝูงบินรบ 2211
กองบินรบ 221 ฐานทัพอากาศ Simon Bolivar อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นสี่ครั้งทำให้กองทัพอากาศเอกวาดอร์เหลือ ฮ.Dhruv
อยู่เพียง 5 เครื่อง นับเป็นการสูญเสียถึงร้อยละ 60 ภายในเวลาเพียง 5 ปี ที่นำเครื่องเข้าประจำการ ในการสอบสวน
การเกิดอุบัติเหตุมีอย่างน้อยกรณีหนึ่งระบุสาเหตุว่ามาจากความผิดพลาดของนักบิน
อย่างไรก็ตามกองทัพอินเดียทั้งสามเหล่าทัพซึ่งเป็นผู้ใช้งานรายใหญ่สุดของ ฮ.Dhruv เองตั้งแต่นำเครื่อเข้าประจำการ
ในปี 2002 ก็มีการสูญเสีย ฮ.ไปแล้วหลายเครื่องเช่นกัน และอินเดียเคยมีการสั่งงดบิน ฮ.Dhruv เพื่อตรวจสอบ
ความปลอดภัยเครื่องมาแล้วหลายครั้ง ทำให้ภาพลักษณ์ความน่าเชื่อถือของเครื่องดูแย่มาก นั่นทำให้ความเป็นไปได้
ของการส่งออก ฮ.Dhruv ให้กับลูกค้ารายใหม่ได้เพิ่มเติมนั้นดูจะไม่มีโชคเอาเสียเลยครับ
http://aagth1.blogspot.com/2015/01/dhruv-45.htmlฝีมือการผลิตไม่ถึง น่าเสียวครับ