สมาคมนิยมอาวุธรัสเซีย Russia military fanclub.รัสเซียซุ่มพัฒนาเครื่องบินทิ้งระเบิดรุ่นใหม่ในราวปี 2025 เครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์รุ่นใหม่ของรัสเซีย PAK DA (promising aviation complex
long-range aviation) จะเข้าประจำการในกองทัพอากาศ คาดว่าจะเข้ามาทำหน้าที่แทน เครื่องบินทิ้งระเบิด
ทางยุทธศาสตร์ความเร็วเหนือเสียงแบบ Tu-160 และ TU-95
ตามรายงานของเจ้าหน้าที่กองทัพอากาศ Anatoly Zhiharev เครื่องต้นแบบเครื่องแรก จะขึ้นบินทดสอบในราวปี 2020
และก่อนปี 2025 เครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์รุ่นใหม่ PAK DA ก็พร้อมจะเข้าประจำในกองทัพ ผลจากความสำเร็จ
ในการปฏิบัติหน้าที่มาอย่างยาวนาน ของเครื่องบินทิ้งระเบิด Tu-160และTu-95 ทำให้วิศกรมีข้อมูลมากมายในการพัฒนา
เครื่องบินทิ้งระเบิดรุ่นถัดมา โดยเครื่องบินทิ้งระเบิด PAK DA อาจสร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยีล่องหน มีระบบการทำงาน
ที่สมบูรณ์แบบทั้งระบบนำร่อง ระบบสื่อสาร ระบบคอมพิวเตอร์ และสงครามอิเล็กทรอนิกส์ สามารถใช้อาวุธที่ประจำการ
อยู่ในปัจจุบัน และอาวุธรุ่นใหม่ๆ ในอนาคตได้เป็นอย่างดี โดยมีการวางกรอบของการส่งมอบเข้าประจำการในช่วงปี
ค.ศ.2025-2030 และมีการวางแผนงบประมาณของโครงการไว้ในปี 2020 จุดเริ่มต้นของโครงการพัฒนาเครื่องบินทิ้งระเบิด
PAK DA เริ่มต้นในปี 1990 ซึ่งขณะนั้นทางอเมริกาได้มีโครงการวิจัยเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์รุ่นใหม่ คาดว่าเพื่อ
เข้ามามีบทบาทแทนเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ B-52, B-1และ B-2 ตามรายงานข่าว คาดว่าจะเข้าประจำการในราว
ปี 2037 ข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องบินทิ้งระเบิดรุ่นใหม่ของรัสเซียจะมีข้อมูลเผยแพร่ออกมาน้อยมาก แหล่งข่าวในกระทรวง
กลาโหมกล่าวว่า PAK DA จะมีสมรรถนะอยู่ตรงกลาง ระหว่างเครื่องบินทิ้งระเบิดความเร็วเหนือเสียงแบบ Tu-160 และ
เครื่องบินทิ้งระเบิดเครื่องยนต์เทอร์โบพรอพ Tu-95 เครื่องบินทิ้งระเบิดความเร็วเหนือเสียง Tu-160 (เริ่มต้นพัฒนาในปี
1981 เข้าประจำการในปี 1987) ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อโจมตีเป้าหมายทางลึก ด้วยอาวุธนิวเคลียร์ และสถานที่สำคัญใน
ดินแดนของข้าศึก โดยมีพิสัยทำการระยะไกล ด้วยความเร็วในการเดินทางกว่า 2,000 ก.ม./ชั่วโมง ทำให้เข้าถึงเป้าหมาย
ได้อย่างรวดเร็ว และสามารถบินไปได้ทุกที่ในโลก เพื่อโจมตีทางอากาศในดินแดนของข้าศึก สามารถทำลาย และหลีกเลี่ยง
แนวป้องกันของข้าศึก Tu-160สามารถไต่ขึ้นไปในชั้นบรรยากาศ (ลูกเรือต้องสวมชุดแบบเดียวกับนักบินอวกาศ) ด้วย
ประสิทธิภาพของเครื่องยนต์แบบ dual-mode และยิงขีปนาวุธจากระดับความสูงดังกล่าว ช่องบรรทุกระบิดในลำตัว
สามารถบรรทุกอาวุธได้ถึง 45 ตัน ซึ่งจะประกอบไปด้วยCruise missile แบบ X-55 (จำนวน 12 ลูก) หรือขีปนาวุธ
Aeroballistic ความเร็วสูง X-15 (จำนวน 24 ลูก) รวมทั้งสามารถติดตั้งระเบิดอากาศ สู่พื้นขนาด 250 - 1,500 กก.
รวมทั้งมีขีดความสามารถในการยิง ขีปนาวุธติดหัวรบนิวเคลียร์ได้ด้วย เมื่อเร็ว ๆ นี้ ภาระกิจของเครื่องบินทิ้งระเบิด
Tu-160 ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ นอกเหนือจากการโจมตีด้วยระเบิดนิวเคลียร์แล้ว ยังเป็นเครื่องบิน
ทิ้งระเบิดทางยุทธวิธี รวมถึงการสนับสนุนการภาระกิจตอบโต้การก่อการร้าย ภายใต้แนวคิดนี้ ทำให้เกิดโครงการ
พัฒนาขีปนาวุธโจมตีพิสัยไกล (Cruise missile)รุ่นใหม่ ที่มีความแม่นยำสูงแบบ X-101 และ X-555 ขีปนาวุธ X-101
มีน้ำหนัก รวม 2,400 กิโลกรัม โดยมีหัวรบหนัก 400 กิโลกรัมพิสัยทำการ 5,500 กม.จรวดสามารถกำหนดเส้นทางการ
เข้าสู่เป้าหมายล่วงหน้าโดยมีการเปลี่ยนแปลง ระดับความสูง และทิศทางตลอดเวลา สามารถบินเกาะภูมิประเทศใน
ระดับความสูงตั้งแต่ 30 - 6,000 เมตรเหนือพื้นดิน ความเร็วสูงสุด270 ม./วินาที ทำให้มันสามารถหลบหลีกการตรวจจับ
จากระบบเรดาร์เตือนภัยขีปนาวุธได้เป็นอย่างดี
ในช่วงสุดท้ายของการโคจร จะนำร่องด้วยระบบ Opto-Electronic ด้วยกล้องโทรทัศน์ประสิทธิภาพสูงซึ่งช่วยสร้าง
ความมั่นใจ ถึงความถูกต้องในการโจมตีเป้าหมาย โดยมีระยะผิดพลาด 12-20 เมตร สำหรับขีปนาวุธรุ่น X-555 มีพิสัย
ทำการ 2,500 กิโลเมตร ใช้ระบบนำร่องด้วยดาวเทียม โดย Tu-160 ในปัจจุบันจะได้รับการปรับปรุงให้สามารถทิ้งระเบิด
นำวิถีแบบ KAB-1500 ได้ด้วย แต่ปัญหาก็คือ "เครื่องยนต์" ของเครื่องบินทิ้งระเบิดความเร็วเหนือเสียง บริโภคน้ำมัน
เชื้อเพลิงอย่างมหาศาล รวมทั้งค่าใช้จ่าย/ชั่วโมงบินและการซ่อมบำรุงทีสูงลิบลิ่ว ทางออกคือการปรับปรุงเครื่องบิน
ทิ้งระเบิดรุ่นเก่า แบบกังหันใบพัด Tu-95 ซึ่งประจำการมาตั้งแต่ปี 1956 โดยขณะนี้ เครื่องบินทั้งหมดได้รับการปรับปรุง
เป็นรุ่นTu-95MS และ Tu-95MSM ยุคของการเปลี่ยนผ่านของเครื่องบินทิ้งระเบิดร่วมสมัย Tu-95 จะได้รับการติดตั้ง
ระบบเล็งอาวุธแบบใหม่ และระบบนำร่องซึ่งจะใช้ร่วมกับ ขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์แบบ X-101 นอกจากนี้ยังมีการ
ปรับปรุงห้องนักบินใหม่โดยใช้มาตรฐาน ของ GLONASS มีการวางแผนอัพเกรดเครื่องบินทิ้งระเบิดรุ่นนี้จำนวนหนึ่ง
เพื่อยืดอายุการใช้งานไปจนถึงปี 2025 ขุมกำลังสำหรับ PAK DA คาดว่าจะใช้เครื่องยนต์ รุ่น NK-32 ซึ่งได้รับการ
ปรับปรุงมาจาก เครื่องยนต์ที่ติดตั้งใน Tu-160 ซึ่งผลิตโดย UEC (United Engine Corporation) สำหรับเหตุผล
ที่กองทัพอากาศรัสเซียมีความต้องการเครื่องบินทิ้งระเบิดความเร็วต่ำกว่าเสียง ประการแรก คือค่าใช้จ่ายในการผลิต
และค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการจะลดลงอย่างมาก ประกอบกับสถานการณ์ในปัจจุบันก็ไม่จำเป็นต้องบินเดินทาง
ออกจากดินแดนของตัวเองเพื่อที่จะโจมตีเป้าหมายในซีกโลกอื่น ๆ เนื่องจากระยะทำการที่เพิ่มขึ้นอย่างมากของ
ขีปนาวุธโจมตี (Cruise missile)ตัวอย่างเช่น X-101 และ X-555 หรือขีปนาวุธโจมตีรุ่นใหม่ๆ Boris Obnosov
ซีอีโอของโครงการ "Tactical Missiles" กล่าวว่าการทดสอบขีปนาวุธรุ่นใหม่สำหรับ PAK DA จะเริ่มขึ้นภายในปีนี้
เทคโนโลยีล่องหนซึ่งจะยืมมาจากเครื่องบินรบ T-50 ใช้วัสดุผสมคาร์บอนโพลิเมอร์ขั้นสูง มีน้ำหนักเบากว่าอลูมิเนียม
มากกว่า 2 เท่า ขณะที่มีความแข็งแรงมากกว่า 4-5 เท่า และเป็น 2 เท่า เมื่อเทียบกับไทเทเนียมโดย เครื่องบินทิ้งระเบิด
PAK DA จะมีการใช้วัสดุผสมชนิดใหม่นี้ คิดเป็นร้อยละ 70 โดยมีน้ำหนักรวมน้อยกว่า 4 เท่าเมื่อเทียบกับวัสดุทั่วไป