กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น
กับปัญหาแนวทางการจัดหาเครื่องบินขับไล่ทดแทนMitsubishi F-2A
Japan's Fighter Procurement Crunch
http://www.defensenews.com/story/defense/air-space/strike/2015/06/06/japan-fighter-f35-jasdf-f15-f2-upgrade-situational-awareness-sensors/28379749/กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นได้ตัดสินเลือกเครื่องบินขับไล่ F-35A จำนวน 42เครื่อวงเงิน $8 billion ในปี 2011 เพื่อเป็น
เครื่องบินขับไล่ทดแทน F-4EJ ของกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น(JASDF: Japan Air Self Defense Force)
ที่ประจำการมาตั้งแต่ปี 1970s กระบวนการจัดหานั้นเป็นไปอย่างช้าๆแต่มั่นคง โดยในปี 2015 นี้กองกำลังป้องกันตนเอง
ทางอากาศได้รับงบประมาณ 103.2 พันล้านเยน($827.4 million) สำหรับการจัดหา F-35 จำนวน 6 เครื่อง และรัฐบาล
ญี่ปุ่นยังได้อนุมัติวงเงินเพิ่มเติมอีก 17.7 พันล้านเยน สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายขั้นต้นในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ
อุตสาหกรรมภายในประเทศ และอีก 18.1 พันล้านเยน สำหรับค่าใช้จ่ายด้านอุปกรณ์และการฝึก ทั้งนี้บริษัทอุตสาหกรรม
ของญี่ปุ่นมีแผนที่จะผลิตชิ้นส่วนของ F-35 จำนวน 24 ระบบ ด้วย
ซึ่ง Richard Aboulafia รองประธาน นักวิเคราะห์ ของ Teal Group ได้ให้ความเห็นว่าการจัดหา F-35 ของกองกำลังป้องกัน
ตนเองทางอากาศญี่ปุ่นเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง เนื่องจากเมื่อเปรียบเทียบกับตัวเลือกเครื่องบินขับไล่แบบอื่นที่เสนอมา
ในช่วงเวลานั้นเช่น F/A-18E/F Super Hornet หรือ Typhoon แล้ว แม้ว่าสมรรถนะพื้นฐานบางด้านเช่น ความเร็ว อัตราระดับ
การไต่ ความคล่องตัว พิสัยการบิน และน้ำหนักบรรทุกอาจจะด้อยกว่า แต่ F-35 มีขีดความสามารถในด้านคุณสมบัติการ
ตรวจจับได้ยาก(Stealth) และระบบตรวจจับที่ดีกว่ามาก ทำให้ F-35 จะเพิ่มขีดความสามารถของกองกำลังป้องกันตนเอง
ทางอากาศญี่ปุ่นในอนาคตให้สูงมากยิ่งขึ้น ทาง Corey Wallace นักวิเคราะห์นโยบายความมั่นคงของสถาบันการศึกษา
เอเชียตะวันออก วิทยาลัย Freie นคร Berlin ก็ได้ให้ความเห็นว่า ขีดความสามรถของระบบตรวจจับและการหยั่งรู้สถานการณ์
ขั้นสูงของ F-35 นั้นจะช่วยเสริมขีดความสามารถในการป้องกันประเทศของกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นมากขึ้น เช่นการ
เชื่อมโยงการรบแบบเครือข่ายร่วมกับเรือพิฆาต Aegis ของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการป้องกัน
และโจมตีตอบโต้กลับ ซึ่งเป็นความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างญี่ปุ่นและสหรัฐฯในการพัฒนาระบบร่วมกันอีกด้าน อย่างไร
ก็ตามญี่ปุ่นต้องการที่จะให้อุตสาหกรรมภายในประเทศมีส่วนร่วมกับการจัดซื้อกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศ เพื่อเป็น
การรับประกันในการจัดหา F-35 ในปี 2020s ด้านนาย Aboulafia กล่าวว่า "ในประเทศอื่น F-35 ถูกติดราคาขายที่สูง ซึ่งนั้น
เป็นปัญหาร้ายแรงในการที่ควรจะทดแทนเครื่องเก่าด้วยเครื่องที่มีราคาแพงน้อยกว่า แต่สำหรับญี่ปุ่นแล้วญี่ปุ่นได้จ่ายในราคา
ที่สูงมากสำหรับการจัดหาเครื่องบินขับไล่ของตน นั่นทำให้ F-35 ไม่แตกต่างจาก F-15 และ F-2 ในแง่ช่วงระยะเวลาค่าใช้จ่าย"
ด้านเครื่องบินขับไล่ยุคที่4 ที่เป็นกำลังหลักของกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่นในปัจจุบันคือ F-15J และ F-2 นั้นก็จะ
มีการปรับปรุงสมรรถนะให้สูงขึ้น โดย F-15J นั้นมีการปรับปรุงให้ทันสมัยขึ้นเพื่อรองระบบอาวุธและอุปกรณ์ใหม่ๆ เช่น Link 16,
Helmet Mounted Sight และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศแบบใหม่อย่าง AAM-5 (มักถูกเรียกด้วยสื่อและนักวิเคราะห์
ภายในประเทศว่า F-15J Kai) ส่วน F-2 นั้นจะมีการปรับปรุงเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรบแบบอากาศสู่อากาศให้สูงขึ้น
แต่อย่างไรก็ตามแนวทางการปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ทั้งสองแบบนั้นไม่ใช่แนวทางที่ยั่งยืน เพราะในอนาคตอันใกล้เครื่องบิน
ขับไล่ทั้งสองแบบจำเป็นจะต้องถูกปลดประจำการลง ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการจัดการโครงสร้างกำลังของกองกำลัง
ป้องกันตนเองทางอากาศในอีก 10 ปี ข้างหน้า สำหรับ F-2 นั้นคาดว่าอาจจะเริ่มมีการปลดประจำการในช่วงปลายปี 2020s
ส่วน F-15J ที่จะประจำการมาก่อนตั้งแต่ปี 1980s จะปลดประจำการภายหลังจากนั้น ทั้งนี้มีนักวิเคราะห์ทางทหารของญี่ปุ่น
รายหนึ่งได้กล่าวไว้ว่า "F-2 เป็นเครื่องบินที่ห่วยลองถาม JASDF ดูสิ มันจำเป็นที่จะต้องถูกปลดทิ้งเพื่อนำเงินมาใช้กับ F-15
แต่ก็ไม่มีการจัดหาเครื่องทดแทน F-15 (ที่จริง F-22 ควรจะมาทดแทน F-15 มากกว่าที่จะจัดหา F-35 แต่สหรัฐฯไม่อนุมัติ
การส่งออก F-22 ให้ญี่ปุ่น) ซึ่ง F-15 แบกรับภาระบนอายุขัยของโครงสร้างมันมาหลายทศวรรษ พวกเขาจำเป็นต้องลงเงิน
เพื่อการปรับปรุงโครงสร้างภายใน(ของJASDF) กองทัพอากาศสหรัฐฯนั้นมีแผนที่ประจำการ F-15 ไปถึงปี 2040 ญี่ปุ่นควร
จะร่วมมือกับสหรัฐฯอย่างใกล้ชิด เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการพัฒนา Technology ในการยืดอายุการใช้งาน F-15 ของทั้งสอง
ประเทศต่อไปในอนาคต" และนั่นเป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อกำลังเครื่องบินขับไล่ของกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศ
ญี่ปุ่นในอนาคต ซึ่งอาจจะต้องให้ความหวังกับโครงการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ยุคที่ 5 ของตนเอง อย่าง ATD-X Shinshin
ที่เครื่องต้นแบบจะทำการบินครั้งแรกราวปลายปีนี้ด้วยครับ
http://aagth1.blogspot.com/2015/06/blog-post_10.html