จะรอ
จัดให้
ประวัติกองบิน 4 เฉพาะในส่วนที่ตั้งอยู่ที่ตาคลีแล้ว (บางส่วนตัดมาจาก
http://www.wing4.rtaf.mi.th/history/history.html และขอบคุณท่านเจ้าของภาพที่ผมดึงมาด้วยนะครับ)
ในปีพุทธศักราช ๒๔๘๔ เริ่มเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ ๒ และในวันที่ ๘ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๘๔ ญี่ปุ่นได้ส่งกองทัพเข้าสู่ประเทศไทยเพื่อทำการรุกเข้าไปต่อยังประเทศพม่า และมลายู ซึ่งกองกำลังของทหารญี่ปุ่นส่วนหนึ่งได้เข้ามาจั้งอยู่ใกล้หมู่บ้านหนองสีนวล ตำบลตาคลี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ และเมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๘๖ ทางราชการได้ทำข้อตกลงเรื่องการใช้สนามบินกับกองทัพ ญี่ปุ่นโดยขอให้งดเว้นการใช้สนามบินลพบุรี และจะดำเนินการสำรวจพื้นที่เพื่อสร้างสนามบินทดแทน ซึ่งกองทัพญี่ปุ่นได้ติดต่อกับกองทัพอากาศไทย ขอให้ช่วยเหลือในการหาพื้นที่และการซื้อที่ดินจากราษฎรให้ ในที่สุดก็ได้เลือกพื้นที่ทางทิศตะวันตกของเขาตาคลี บริเวณหมู่บ้านดงพลับ อยู่ติดถนนสาย ตาคลี - ชัยนาท ห่างจากสถานีรถไฟตาคลีประมาณ ๗ กิโลเมตร และเริ่มดำเนินการสร้างตั้งแต่วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๘๖โดยทหารญี่ปุ่น เป็นผู้ออกแบบสนามบิน มี ๒ ทางวิ่ง มีที่กำบังสะเก็ดระเบิด , คลังเชื้อเพลิง , คลังวัตถุระเบิด , และอาคารที่พักทหารจำนวนมาก โดยใช้งบประมาณของกองทัพญี่ปุ่น และจ้างแรงงานไทยในพื้นที่ดำเนินการก่อสร้าง และได้ดำเนินการก่อสร้างเรื่อยมาจนถึงวันที่ ๑๕ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๘๗ ญี่ปุ่นจึงได้ขอรับมอบสนามบินตาคลีไปดำเนินการสร้างเองจะเสร็จ
ครั้นเมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ สิ้นสุดลงในวันที่ ๑๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๘ ญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้สงคราม โดยไม่มีเงื่อนไข สนามบินตาคลีและที่ดินจึงตกอยู่ในความดูแลของกองทัพอากาศเรื่อยมาจนถึงปีพุทธ-ศักราช ๒๔๙๓ กองทัพอากาศได้พิจารณาเห็นว่าสนามบินตาคลีแห่งนี้ มีความเหมาะสมในทางยุทธศาสตร์อย่างยิ่ง กล่าวคือ ตั้งอยู่บริเวณกึ่งกลางประเทศเหมาะในการใช้กำลังทางอากาศและมีการป้องกันทางลึกได้ดีประกอบกับการคมนาคมสะดวกทั้งทางบกและทางอากาศ ง่ายต่อการส่งกำลังบำรุงจากส่วนกลาง กองทัพอากาศจึงได้พัฒนาสนามบินตาคลีเป็นฐานบินหลักของกองทัพ โดยได้ทำการสำรวจและซ่อมแซมสนามบิน ลานจอดและสร้างสถานที่ราชการ บ้านพักอาศัยเพิ่มเติม จนถึงวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๙๖ ทางราชการจึงได้มีคำสั่งให้ย้ายกองบินน้อยที่ ๔ จากจังหวัดลพบุรี ไปยังบ้านหนองสีนวล บ้านเลขที่ ๓๐๕ หมู่ ๕ ตำบลตาคลี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ และในวันที่ ๑๐ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๐๖ ทางราชการได้มีคำสั่งให้เปลี่ยนชื่อจาก กองบินน้อยที่ ๔ มาเป็น กองบิน ๔ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
เนื่องจากบริเวณที่ตั้ง กองบิน ๔ แห่งนี้ มีสภาพเป็นป่าทึบ มีงูจงอางชุกชุม จึงได้รับการขนานนามโดยทั่วไปว่า " ดินแดนแห่งชาวจงอาง " หรือ " LAND OF THE KING COBRA " และใช้รูปงูจงอางเป็นสัญลักษณ์ประจำกองบินมาตราบเท่าทุกวันนี้ ในปีพุทธศักราช ๒๕๐๒ ได้เกิดสงครามเวียดนามขึ้น ประเทศไทยได้ให้การช่วยเหลือกองทัพสหรัฐ ฯ และเวียดนามใต้ โดยจัดกองกำลังทหารเข้าร่วมสงครามและอำนวยความสะดวกให้กองทัพอากาศสหรัฐ ฯ ได้ใช้ฐานบินในประเทศไทยหลายฐานบิน อาทิเช่น
ฐานบินอุดร , ฐานบินอุบล ฯ , ฐานบินโคราช , ฐานบินอู่ตะเภาและฐานบินตาคลี เป็นต้น
ซึ่งกองทัพอากาศสหรัฐ ฯ ได้เริ่มเข้ามาวางกำลังในปีพุทธศักราช ๒๕๐๗ และใช้เป็นฐานทัพในการปฏิบัติการทางอากาศในสงครามเวียดนาม โดยเฉพาะที่สนามบินตาคลีซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่ง มีรัศมีปฏิบัติการครอบคลุมถึงเป้าหมายในเวียดนาม กองทัพอากาศสหรัฐ ฯ ได้เข้ามาวางกำลังเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๗ ถึง ๒๖๑๖ โดยบรรจุฝูงบินรบที่ ๓๕๕ มีเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ F - 100 , F - 105 และ F - 4 เข้าประจำการ และได้ถอนกำลังออกไปในชั่วระยะหนึ่ง เนื่องจากปัญหาการเมืองของสหรัฐ ฯ
ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๕๑๗ กองทัพอากาศสหรัฐ ฯ ได้กลับมาอีกครั้งหนึ่ง โดยบรรจุฝูงบิน ๓๖๖ มีเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบ F - 4 และ F - 111 เข้าประจำการ เมื่อครั้งสงครามเวียดนามสิ้นสุดลงในปีพุทธศักราช ๒๕๑๘ กองทัพสหรัฐ ฯ ได้ถอนกำลังออกจกประเทศไทยทั้งหมด
กองบิน ๔ ตาคลี ได้พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว มีเครื่องบินรบที่เคยประจำการมาแล้วในอดีต โดยบรรจุอยู่ที่ ฝูงบินขับไล่ที่ ๔๓ ( ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น ฝูงบิน ๔๓ และในปีพุทธศักราช ๒๕๒๐ ได้มีคำสั่งให้เปลี่ยนชื่อเป็น ฝูงบิน ๔๐๓ ) ในสมัยนี้มีเพียง ๑ ฝูงบิน ซึ่งย้ายจากกองบินน้อยที่ ๔ จังหวัดลพบุรี มาประจำการอยู่ที่สนามบินตาคลีแห่งนี้เมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๙๖ และในปัจจุบันถือว่า วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็นวันสถาปนาฝูงบิน ๔๐๓
เครื่องบินรบหลักที่ประจำการอยู่ที่กองบิน 4 ตาคลี ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
เครื่องบินขับไล่ แบบที่ ๑๔ Supermarine Spitfire
เครื่องบินขับไล่ แบบที่ ๑๕ F-8 F Bearcat
(เฉลยเลยว่าผมเสื้อขาวครับ) ลำนี้แว่ว ๆ ว่าถูกยกไปบูรณะขึ้นบินใหม่ตอนนี้ ปัจจุบันที่ตรงนี้เป็น A-37 B Dragonfly
เครื่องบินฝึก แบบที่ ๘ AT-6 D/G Texan
เครื่องบินขับไล่ แบบที่ ๑๖ F-84 G Thunderjet
เครื่องบินขับไล่ แบบที่ ๑๗ F-86 F Sabre ลูกชายของนักบิน F-86 ท่านหนึ่งเล่าให้ฟังว่า พ่อของท่านกำลังแลนดิ้งไม่ได้กางฐานล้อ บินแปะรันเวย์ไถลไปเครื่องไม่พลิกไม่คว่ำ เสียหายไม่มาก ผบ.ฝูง ถามว่าทำไมกางล้อไม่ออก นักบินตอบ "ลืม" หน้าตาเฉย
เครื่องบินขับไล่ แบบที่ ๖ A-37 B Dragonfly (โอนไปบรรจุประจำการ ณ ฝูง. ๒๑๑ บน. ๒๑ จ.อุบล ฯ เมื่อเดือนกันยายน ปีพุทธศักราช ๒๕๒๒) นักบินท่านเดียวกับที่ลืมกางฐานล้อข้างบน บินโจมตีฐานข้าศึกในการรบช่องบกหรือภูหินร่องกล้านี่แหละผมจำไม่ได้ โดนยิงด้วย ปตอ. ทะลุเข้าห้องนักบินนิ้วขาดไป 2 นิ้ว บินกลับฐานได้ปลอดภัย
เครื่องบินโจมตีลำเลียงแบบที่ ๒ C-47 Dakota ภายหลังดัดแปลงติดปืนใหญ่อากาศและปืนกลอากาศเป็น AC-47 Spooky
ฝูงบินพญายม
เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๐ กองทัพอากาศได้ออกคำสั่งย้ายเครื่อง บ จล.๒ ไปประจำกองบิน ๔ (ตาคลี) จังหวัดuครสวรรล์ จัตตั้งเป็น ฝูงบิน ๔๒ โดยมี น.ท.ประวิช พจนประพันธ์ เป็นผู้บังคับฝูงบิน (ยศและตำแหน่งในขณะนั้น ปัจจุบันท่านมียศ พล.อ.อ.) ใช้นามเรียกขานว่า spooky ได้ร่วมรบกับหน่วยกำลังภาคพื้นในการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ และกองกำลังต่างชาติที่รุกล้ำอธิปไตยของชาติตามแนวชายแดน
ตลอดเวลาที่ประจำการอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ ได้ปฎิบัติการรบทั้งกลางวัน กลางคืน จนได้รับสมญานามว่า "
ฝูงบินพญายม"จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๒๗ บ.จล.๔ ได้ย้ายมาประจำการที่ กองบิน ๔๖ ฝูงบิน ๔๖๑ จนกระทั่งสถานการณ์จากภัยผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์เบาบางลง กองทัพอากาศจึงมีคำสั่งถอดอาวุธปืนออกจาก spooky แล้วเปลี่ยนภารกิจเป็นเครื่องบินลำเลียง ย้ายโอนไปบรรจุที่กองบิน ๖ ฝูงบิน ๖๐๓ ดอนเมือง เมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์
บ.จล.๒ (Spooky) หมายเลข ๔๔/๑๘ (๑๕๒) ก่อนปลดประจำการ ซึ่งบรรจุเข้าประจำการเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๘ โดยมีประวัติการรบมาอย่างโชกโชนทั่วทุกภาคของประเทศ เช่น เชียงใหม่ เชียงราย นครพนม อุดรธานี อุบลราชธานี ปราจีนบรี (วัฒนานคร) นครสวรรค์ (ตาคลี) สงขลา และพิษณุโลก
สำหรับประวัติการรบของ บ.เครื่องนี้นั้น ถูกฝ่ายตรงข้ามยิงด้วยอาวุธนานาชนิดหลายครั้ง หลายหนแต่ลูกเรือปลอดภัยทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็น นักบิน เจ้าหน้าที่ ช่างอากาศ สื่อสาร สรรพาวุธ แม้แต่ก่อนจะปลดประจำการในช่วงที่ยังประจำการที่ กองบิน ๔๖ ปลายปี พ.ศ.๒๕๒๗ ได้ออกปฎิบัติภารกิจปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ที่จังหวัดนชียงในม่ได้ถูกกระสุนปืนของข้าศึกที่บริเวณปีกขวาได้รับความเสียหาย แต่ก็สามารถกลับมาลงที่สนามบินโดยปลอดภัย จะเห็นได้ว่า บ.เครื่องนี้ใด้ผ่านการปฏิบัติภารกิจเพื่อความมั่นคงของประเทศ เพื่อความอยู่เย็นเป็นสุขของปวงชนชาวไทยมาอย่างยาวนาน
เครื่องบินโจมตีและลำเลียงแบบที่ ๙ Normad เมื่อ AC-47 Spooky ถึงแก่ความชราภาพมีอายุการใช้งานมานานหลายสิบปี ชิ้นส่วนอะใหล่ขาดแคลน กองทัพอากาศจึงได้จัดหาเครื่องบินแบบ Nomad ของประเทศออสเตรเลียมาทดแทน Spooky โดยในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ Nomad ๒ ลำแรก ได้บินจากประเทศออสเตรเลียมาถึงประเทศไทย และเข้าบรรจุในฝูงบิน ๔๐๒ กองทัพอากาศได้ทำการดัดแปลงจากเครื่องบินลำเลียงเป็นเครื่องบินลำเลียงโจมติดอาวุธปืนใหญ่อากาศขนาด ๒๐ มม. (M197) และให้นามเรียกขานว่า "Vampire" (บ.จล.๙) เพื่อสานต่อภารกิจของ spooky
กระทั่งเมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๒๗ Vampire ได้เคลื่อนย้ายกำลังมาประจำการที่กองบิน ๔๖
เครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์แบบที่ ๑๘ ข / ค หรือ F-5 E/F Tigershark II (Sharknose) ซึ่งกองทัพอากาศได้จัดซื้อและเข้าประจำการ ณ ฝูงบิน ๔๐๓ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๒๔ ถึง ๒๕๓๗ รวมระยะเวลาได้ประมาณ ๑๔ ปี
จากภาพเป็น F-5E/F รุ่น Sharknose ซึ่งเคยประจำการอยู่ที่ตาคลี (หัวแบนทั้งหมด) ตอนนี้อยู่ฝูง 211 ได้ปรับปรุงระบบเอวิโอนิคส์ ใส่หมวกบินติดสูนย์เล็งแล้ว F-5 E/F ที่ประจำการใน ทอ. ไทย มีสองรุ่นคือรุ่นเก่าหัวกลมกับรุ่นใหม่หัวแบน Sharknose ข้อแตกต่างนอกจากหัวกลมหรือแบนแล้ว ยังมีที่แพนหางดิ่งของรุ่นหัวกลมจะไม่มีแผ่นแบนติดอยู่ที่ปลายบนสุดของแพนหางดิ่ง
เครื่องบินตรวจการณ์และลำเลียงแบบที่ ๗ Arava ในปี พ.ศ. 2522 กองทัพอากาศซื้อเครื่องบินตรวจการณ์แบบ อาราวา (IAI Arava 201) จำนวน 3 เครื่อง จากประเทศอิสราเอล เพื่อใช้ในภารกิจลาดตระเวนทางอิเล็กทรอนิกส์ กำหนดชื่อเรียกเป็น บ.ตล.7 (เครื่องบินตรวจการณ์/ลำเลียงแบบที่ 7) ประจำการในกองทัพอากาศ: พ.ศ. ๒๕๒๒ - ปัจจุบัน ปัจจุบันเหลือลำเดียว
เครื่องบินฝึกแบบที่ บ.ฝ.๑๘ และ ๑๘ ก. Fan Trainer 400/600 พ.ศ. ๒๕๒๕ กองทัพอากาศ กับ บริษัท ไรท์-ฟลุคซอยบาว จำกัด ประเทศสาธารณรัฐเยอรมัน ได้เริ่มโครงการผลิต เครื่องบินฝึก แฟนเทรนเนอร์ FT-400/600 โดยบริษัท RFB เป็นผู้ผลิตชุดลำตัว สำหรับ ทอ. เป็นผู้ออกแบบและสร้างโลหะ การประกอบเครื่องบินนั้น กองทัพอากาศเป็นผู้ประกอบเองที่โรงซ่อมดอนเมือง
เครื่องบินตรวจการณ์และลำเลียงแบบที่ ๑๒ Learjet 35A (ตกไปแล้วเมื่อไม่นานนี้)
เครื่องบินขับไล่ฝึกแบบที่ 1 L-39 ZA/ART Albatros เป็น L-35 ที่ใช้ระบบเอวิโอนิกส์และระบบอาวุธของอิสราเอล สามารถใช้อาวุธมาตรฐานตะวันตกที่เรามีอยู่แล้วได้ และสามารถใช้จรวดอากาศสู่อากาศระยะใกล้นำวิถีด้วยความร้อน Phyton III ของอิสราเอลได้ด้วย
เครื่องบินขับไล่แบบ ๑๙/ ก หรือ F-16 A/B Falcon โดยบรรจุเข้าประจำการที่ฝูงบิน ๔๐๓ กองบิน ๔ กองพลบินที่ ๓ และพิจารณาปรับย้ายเครื่องบิน F-5 E/F ไปบรรจุเข้าประจำการณ ฝูงบิน ๒๑๑ กองบิน ๒๑ กองพลบินที่ ๒ จ. อุบลราชธานี แทนเครื่องบินโจมตีแบบที่ ๖ หรือ A-37 B ซึ่งปลดประจำการ การย้าย F-5 E/F จากฝูงบิน ๔๐๓ ฯ ไปกองบิน ๒๑ ฯ F-16 A/B ของฝูง 403 เป็นรุ่นที่พิเศษกว่าฝูง 103 ซึ่งซื้อมาก่อนหน้าคือ เป็น F-16 A/B Block 15 OCU ที่มีโครงสร้างเป็นรุ่น C/D แล้ว (สามารถอัพเป็น C/D ได้ง่ายกว่าของฝูง 103) ติดตั้งกระเปาะชี้เป้า Atlis II กระเปาะเดินกาศ Rubis และจรวจนำวิถีอากาศสู่พื้น AGM-64 Maverick มาด้วย ซึ่งทำให้สามารถบินโจมตีเป้าหมายได้ทุกกาลอากาศทั้งกลางวันและกลางคืน จึงได้สมญานามว่า Night Falcon
Rubis ช่วยเดินอากาศ
Atlis II ชี้เป้า
AGM-64 Marverick
ขอบคุณครับคุณใหม่ ผมละชอบดูรูปสงครามเวียดนามที่เกี่ยวกับไทยจริงๆ
เข้า google แล้วพิมพ์หาคำว่า Vietnam war และ Thailand รวมกันดูสิครับ หรืออาจะเพิ่ม Takhli Ubon Udorn ไปด้วยก็ได้ ใน wikipedia ก็มีครับ หรือ TLCB (The Thailand, Laos, Cambodia Brotherhood / TLC Brotherhood) ครับ