ผมว่าใช้ปืนใหญ่อากาศขนาด 30 มม.ยังพอทนครับ หากมันเป็นกระสุนแบบระเบิดแรงสูง (High Explosive ; HE) ทั่วไป แต่ไอ้ที่น่ากลัวกว่าคือพี่แกเล่นใช้กระสุนเจาะเกราะเพลิง (Armor Piercing Incendiary ; API) แบบ DU อย่างไอ้มะกันนี่สิครับ
ด้วยคุณสมบัติของเจ้า DU ก็คือสามารถลุกติดไฟได้เอง (Pyrotechnic) หากได้รับแรงกระแทกมากพอ แถมมีความเป็นพิษสูงจากกัมมันตภาพรังสี และมีเหลือเยอะแยะบานเบอะจากการสกัดแร่ U-238 ของมัน ไอ้มะกันจึงบังเกิดความคิดอันหัวใสใช้กากแร่ยูเรเนียม (DU) ทำกระสุนเจาะเกราะเพลิงของเครื่องบิน A-10 กับรถถัง M1 Abrams เสียเลย งานนี้นอกจากจะทะลุแผ่นเกราะแล้วเข้าไปลุกไหม้ข้างในรถแล้ว พวกศัตรูที่สัมผัสกับสารพวกนี้ก็มีอาการป่วยด้วยโรคมะเร็งเม็ดเลือขาวตามมาอีก ยิงตูมเดียวได้ 2 เด้งจริงๆ
สรุปว่างานนี้ไม่ตายเพราะโดนไฟไหม้ ก็ต้องตายด้วยมะเร็งจากพิษกัมมันตภาพรังสีของแร่ยูเรเนียมอยู่ดี
เห็นด้วยที่ความน่ากลัวอยู่ที่หัวกระสุนเจาะเกราะ DU แต่ไม่เห็นด้วยที่ "แถมมีความเป็นพิษสูงจากกัมมันตภาพรังสี"
ผมเห็นว่าวัตถุประสงค์คงไม่ใช่การจะแพร่กระจายรังสีหรอกครับ .... เพราะรังสีไม่มีตา มันแพร่ใส่พวกเดียวกันได้ด้วย (ดูเหมือนจะมีกรณีฟ้องร้องเหมือนกัน)
แต่ยูเรเนียม ที่หมดรังสีแล้ว (
) มันหนักกว่าตะกั่ว แข็งกว่าทังสเตน เวลายิงแล้วรักษาพลังงานได้ดี และดูเหมือนยังหาเกราะป้องกันกระสุนชนิดนี้ได้ยาก .....
พลังงานจลน์ระดับหลายเท่าเสียง ไปหยุดอยู่ที่รถคันไหน ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงพลังงานไปเป็นความร้อน จุดไฟเผาเหล็กได้ทุกที ....