เห็นด้วยที่ความน่ากลัวอยู่ที่หัวกระสุนเจาะเกราะ DU แต่ไม่เห็นด้วยที่ "แถมมีความเป็นพิษสูงจากกัมมันตภาพรังสี"
ผมเห็นว่าวัตถุประสงค์คงไม่ใช่การจะแพร่กระจายรังสีหรอกครับ .... เพราะรังสีไม่มีตา มันแพร่ใส่พวกเดียวกันได้ด้วย (ดูเหมือนจะมีกรณีฟ้องร้องเหมือนกัน)
แต่ยูเรเนียม ที่หมดรังสีแล้ว (
) มันหนักกว่าตะกั่ว แข็งกว่าทังสเตน เวลายิงแล้วรักษาพลังงานได้ดี และดูเหมือนยังหาเกราะป้องกันกระสุนชนิดนี้ได้ยาก .....
พลังงานจลน์ระดับหลายเท่าเสียง ไปหยุดอยู่ที่รถคันไหน ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงพลังงานไปเป็นความร้อน จุดไฟเผาเหล็กได้ทุกที ....
ผมมองในประเด็นเรื่องสารพิษตกค้างจากการใช้กระสุน DU ครับคุณ Jakrit97
เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า DU หรือ Deplete Uranium ก็คือแร่ของธาตุ U-238 ซึ่งมีความเข้มข้นของไอโซโทปคือธาตุ U-235 ปนอยู่ด้วยเล็กน้อย จึงไม่เหมาะที่นำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์หรือทำเป็นหัวรบนิวเคลียร์ที่ต้องการความเข้มข้นของ U-235 มากกว่า รวมทั้งมีการแพร่กระจายกัมมันตรังสีในระดับต่ำจึงเก็บรักษาได้ง่าย และมีคุณสมบัติที่เราทราบกันดีอยู่ 2 ข้อคือ การลุกติดไฟได้เอง (Pyrophoric) และการเหลาตัวเองให้แหลมตลอดเวลาเมื่อกระทบเป้าหมาย ซึ่งกระสุนแบบทังสเตนคาร์ไบด์ไม่มีคุณสมบัติ 2 อย่างนี้
ปกติกระสุนเจาะเกราะพลังงานจลน์ความเร็วสูงในยุคก่อน ถ้าเป็นหัวกระสุนแบบทังสเตนคาร์ไบด์ (WC) ก็จะไม่มีปัญหาเรื่องสารพิษตกค้าง เพราะธาตุทังสเตนมันไม่มีคุณสมบัติเรื่องการแพร่กัมมันตรังสี เมื่อยิงใส่เป้าหมายไปแล้วก็จบกันไปไม่มีสารพิษตกค้าง ผิดกับกระสุน DU เมื่อยิงไปแล้วจะมีการฟุ้งกระจายของกัมมันตรังสีในรูปของของแข็ง เช่น การแตกเป็นเศษผงออกไซด์ หรือก๊าซจากไอระเหิดตัวของ DU จากความร้อนสูง และที่น่ากลัวกว่าคือสารพิษพวกนี้มีครึงชีวิตยาวนานมาก (U-238 มีครึ่งชีวิตประมาณ 4.5 พันล้านปี) จึงอยู่ในสภาพแวดล้อมได้หลายล้านปีครับ
ในสงครามอ่าวฯครั้งแรก มีทหารของสหรัฐฯและอิรัก ตลอดจนพลเรือนชาวอิรักได้รับผลกระทบจากกระสุน DU โดยเรียกว่า "Persian Gulf War syndrome (GWS) เนื่องจากทหารหรือพลเรือนเหล่านี้ได้เข้าไปสัมผัสซากยานพาหนะตลอดจนอาคารบ้านเรือนที่ถูกยิงด้วยกระสุน DU โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ รวมทั้งยังมีเรื่องของกระแสลมที่พัดพากัมมันตรังสีพวกนี้ให้แพร่กระจายออกไป และมีการซึมลงไปปนเปื้อนในน้ำและดินอีก ในช่วงหลังถึงได้มีการประท้วงและแก้ไขเรื่องการใช้กระสุนชนิดครับ
ถ้าเป็นไปได้ผมไม่อยากให้นำมาใช้บนแผ่นดินไทยสักเท่าไหร่ เพราะเราไม่สามารถกำหนดได้ว่าเมื่อสิ้นสุดการรบไปแล้ว สารพิษพวกนี้จะสลายตัวไปเมื่อไหร่ และเราก็ไม่อาจคาดคะเนได้ว่ามันจะฟุ้งกระจายไปในทิศทางไหน ถ้ามันพัดหรือถูกชะล้างไหลไปทางฝั่งเขมรก็ดีไป แต่ถ้าพัดหรือไหลมาทางฝั่งไทยราษฎรเราจะแย่เอาครับ เพราะสารพิษพวกนี้อยู่ในน้ำ ในดินได้หลายสิบปีจนกว่าจะหมดครึ่งชีวิตของมันเลยครับ