เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
ตุลาคม 12, 2024, 01:25:33 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: อวป. มีจำหน่ายที่ สนามยิงปืนราชนาวี/สนามยิงปืนบางบัวทอง/สนามยิงปืนศรภ./
/สนามยิงปืนทอ./
สิงห์ทองไฟร์อาร์ม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 329 330 331 [332] 333 334 335 ... 1487
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เครื่องบินขับไล่ใหม่ กองทัพอากาศไทย  (อ่าน 3900579 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 17 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Udomkd
รักษ์ธรรมชาติ
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 3700
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 41046



« ตอบ #4965 เมื่อ: มกราคม 15, 2010, 08:37:15 AM »

ข้อมูลน้อย หรือไม่ก็หน่วยความจำ ยังไม่ได้อัพเกรตมั้งครับ อิๆ ไหว้
บันทึกการเข้า

รักมิตร รักเพื่อนรักผอง ดั่งขวานทอง ต้องมีด้ามขวาน
   รักมิตรรักเพื่อนรักผอง ดั่งขวานทอง ต้องมีคมขวาน
   รักมิตร รักเพื่อน
พญาจงอาง +รักในหลวง+
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1870
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10363



« ตอบ #4966 เมื่อ: มกราคม 15, 2010, 08:37:36 PM »

..ดึงกระทู้หน่อยตกไปหน้าสองแล้ว..ดูการแสดงก่อนตกของเครื่อง Sukhoi Su-27UB ของทอ.Belarus การบินโชว์อยู่นี้ ซักพักเครื่องก็ตกทำให้นักบินและต้นหนเสียชีวิตคาที่ ดีดตัวออกไม่ทัน เหตุเกิดที่ Poland เมื่อ August 28, 2009..อ้างอิ้งจาก..The plane crashed during the display August 30, 2009 causing the death of two pilots. อ๋อย

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 15, 2010, 08:51:17 PM โดย พญาจงอาง » บันทึกการเข้า

..The only thing neccessary for the triump of evil is for the good man to do nothing..
"สิ่งเดียวที่ทำให้คนชั่วได้รับชัยชนะ คือการที่คนดีๆนิ่งดูดาย "
พญาจงอาง +รักในหลวง+
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1870
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10363



« ตอบ #4967 เมื่อ: มกราคม 15, 2010, 08:53:20 PM »

..F-16เครื่องนี้ดูดีๆ มีคนขโมยซีนขึ้นไปนั่งที่ที่นั่งของนักบิน เท่ห์ซะไม่มี อิอิ.. เยี่ยม คิก คิก ขำก๊าก
บันทึกการเข้า

..The only thing neccessary for the triump of evil is for the good man to do nothing..
"สิ่งเดียวที่ทำให้คนชั่วได้รับชัยชนะ คือการที่คนดีๆนิ่งดูดาย "
prawin -รักในหลวง-
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 273
ออฟไลน์

กระทู้: 1218



« ตอบ #4968 เมื่อ: มกราคม 16, 2010, 12:43:06 PM »

..ดึงกระทู้หน่อยตกไปหน้าสองแล้ว..ดูการแสดงก่อนตกของเครื่อง Sukhoi Su-27UB ของทอ.Belarus การบินโชว์อยู่นี้ ซักพักเครื่องก็ตกทำให้นักบินและต้นหนเสียชีวิตคาที่ ดีดตัวออกไม่ทัน เหตุเกิดที่ Poland เมื่อ August 28, 2009..อ้างอิ้งจาก..The plane crashed during the display August 30, 2009 causing the death of two pilots. อ๋อย


วันเด็กที่อุบลก็ปล่อยลูกไฟแบบนี้เหมือนกันครับ แต่ไม่ถี่ขนาดนี้ ประมาณ12ลูก
บันทึกการเข้า

คนดีไม่มีคำว่าเป็นกลาง เพราะคนดีแยกแยะความผิด ความชั่ว และความดีออกจากกันได้
เมื่อเราเป็นคนดี และเราเห็นอยู่แล้วว่าอะไรดี อะไรชั่ว  แล้วเราจะยืนอยู่เป็นกลางได้อย่างไร
การเป็นกลางในสภาวะที่แข่งกันระหว่างความดีและความชั่ว เรียกว่าความกลัวแห่งคนขี้ขลาด
หยุดกลัว หยุดขี้ขลาด

อ.เสรี วงษ์มณฑา 18/11/5
SOAP47 รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 333
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5792



« ตอบ #4969 เมื่อ: มกราคม 16, 2010, 12:45:02 PM »

แล้วเครื่องบินโจมตีของ ทร.ล่ะครับน่าจะใช้ บ.แบบใดมาแทน A7
บันทึกการเข้า

THIS IS MY STEYR.
THERE ARE MANY LIKE IT, BUT THIS ONE IS MINE.
WITHOUT MY STEYR,I AM NOTHING.
WITHOUT ME, MY STEYR IS NOTHING.
686
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 471
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3988



« ตอบ #4970 เมื่อ: มกราคม 16, 2010, 08:40:48 PM »

แล้วเครื่องบินโจมตีของ ทร.ล่ะครับน่าจะใช้ บ.แบบใดมาแทน A7

กองทัพเรือ ไม่มีงบประมาณ มากพอที่จะหา เครื่องบินขับไล่ ใหม่ อย่าง F/A -18 C/D หรือ ราฟาล อย่าง กองทัพเรือ อเมริกา หรือ ฝรั่งเศษ ได้

แค่มี กองบิน เฮลิค๊อปเตอร์ โจมตี ประจำเรือรบหลวง จักรกรี นฤเบศน์ อย่าง AH 1 W Super Crobra สักฝูง (ราว ๆ 10 ลำ) ก็ยังจัดหาไม่ได้เลย อย่าฝันที่จะหาเครื่องบิน ปีกตรึงที่ราคาสูงกว่าเลย

กองทัพบก ที่ได้ AH 1 F Crobra ก็ได้แบบ มือ 2 ไม่ไช่ของใหม่

ผิดกับ ชาติ เพื่อนบ้านโดยรอบ ของไทย ที่มี งบประมาณ ให้กับ กองทัพ เกิน 2% ของ GDP มีแต่ประเทศไทยเท่านัน ที่จัดงบประมาณ ให้กองทัพ ต่ำกว่า 2% ของ GDP
บันทึกการเข้า
Tarvor(รักในหลวง)
ชาว อวป. อิอิ
Sr. Member
****

คะแนน 36
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 812



เว็บไซต์
« ตอบ #4971 เมื่อ: มกราคม 16, 2010, 09:22:26 PM »

ผมอยากให้เครื่องที่มาเเทนA-7 อยากให้เป็น F/A-18C/Dครับ  เยี่ยม
เเต่คงจะอีกนานนนนน ล่ะครับ กว่ากองทัพเรือจะมีเครื่องบินสำหรับภารกิจขับไล่/โจมตี  หัวเราะร่าน้ำตาริน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 16, 2010, 09:41:58 PM โดย Tarvor » บันทึกการเข้า

เด็กดีในวันนี้ คือ ผู้ใหญ่ดีในวันหน้า
พญาจงอาง +รักในหลวง+
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1870
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10363



« ตอบ #4972 เมื่อ: มกราคม 17, 2010, 10:17:13 PM »

..ดึงกระทู้จ้า มาดูเครื่องF-5Bเครื่องแรกของโลก ปัจจุบันนี้เจ้าคุณปู่ได้พักผ่อนอย่างสงบแล้ว หลังจากท่านได้รับใช้ประเทศมาอย่างยาวนาน40ปี นักบินบ้างท่านที่ได้จับคันบังคับของเจ้าคุณปู่เครื่องนี้ ก็ได้ก้าวขึ้นเป็นผบ ทอ.. Rest In Peace..ครับผม.. เยี่ยม ไหว้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 17, 2010, 10:56:14 PM โดย พญาจงอาง » บันทึกการเข้า

..The only thing neccessary for the triump of evil is for the good man to do nothing..
"สิ่งเดียวที่ทำให้คนชั่วได้รับชัยชนะ คือการที่คนดีๆนิ่งดูดาย "
JUNGLE
ดีชั่วอยู่ที่ตัวทำ สูงต่ำอยู่ที่ทำตัว
Hero Member
*****

คะแนน 1204
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 17188


การต่อสู้คือชัยชนะ


« ตอบ #4973 เมื่อ: มกราคม 17, 2010, 10:30:29 PM »

ว่าด้วยเรื่องเครื่องบินโจมตี... ผมมันแฟนพันธุ์แท้เจ้าหมูป่าครับ... ถึงจะรู้ทั้งรู้ว่าไอ้กันไม่ยอมขายให้ใคร... Grin Grin Grin

บันทึกการเข้า
พญาจงอาง +รักในหลวง+
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1870
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10363



« ตอบ #4974 เมื่อ: มกราคม 17, 2010, 10:59:10 PM »

..เจ้าหมูป่าดีอยู่อย่างคืออึด โดนเท่าไหร่ก็ทนได้.. เยี่ยม คิก คิก
บันทึกการเข้า

..The only thing neccessary for the triump of evil is for the good man to do nothing..
"สิ่งเดียวที่ทำให้คนชั่วได้รับชัยชนะ คือการที่คนดีๆนิ่งดูดาย "
mrt
Full Member
***

คะแนน 62
ออฟไลน์

กระทู้: 459


« ตอบ #4975 เมื่อ: มกราคม 18, 2010, 03:20:08 PM »

กระทูหล่นไปหน้า 2 ครับ ยกกระทู้หน่อย
เอามาฝากครับ  ยุทธการบาบิโลน (Babylon Operation)  ในการจู่โจมเข้าทำลายโรงปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของอิรัก เมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2524 เห็นว่าน่าสนใจดี นำมาฝากครับ
จาก นาวิกศาสตร์ ปีที่ 86 เล่มที่ 1 มกราคม 2546
ที่มา  http://www.navy.mi.th/newwww/document/navic/86014.html
ถล่มแบกแดด
ตอนที่ 1
การเข้าโจมตี เป้าหมายนั้นเครื่องบินจะแบ่งออกเป็น ๒ หมู่ หมู่แรกทำหน้าที่ โจมตีเป้าหมาย ส่วนหมู่หลังจะทำหน้าที่คุ้มกัน เครื่องบิน F-16 ถูกเลือกให้เป็นเครื่องบินเข้าโจมตี เพราะมีขนาดที่เล็กกว่า ซึ่งยากต่อการตกเป็นเป้าของปืนต่อสู้อากาศยาน และอาวุธปล่อยพื้น-สู่-อากาศของอิรัก ขณะที่เครื่องบิน F-15 จะทำหน้าที่คุ้มกันอยู่ด้านบน ตามแผนที่กำหนดไว้ เครื่องบินที่เข้า โจมตีทั้งหมดจะใช้เวลาอยู่เหนือเป้าหมายไม่เกิน ๒ นาที ซึ่งห้วงเวลาดังกล่าวนี้ ระบบป้องกันภัยทางอากาศของอิรัก ที่ประกอบ ด้วย ปตอ. ZSU-23-4, SAM 6, SAM 9 หรืออาวุธปล่อย Crotale จะไม่มีเวลาตอบโต้ได้เลย
      การเลือกอาวุธเพื่อทำลายเป้าหมายนับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง ที่จะมีผลต่อความสำเร็จของภารกิจ ภารกิจครั้งนี้ อิสราเอลมีทางเลือกอยู่ทางเดียวคือ ต้องทำให้สำเร็จ เพราะหากภารกิจครั้งนี้ ไม่สำเร็จ อิสราเอลจะไม่มีโอกาสแก้ตัวเป็นครั้งที่ ๒ ดังนั้นเพื่อความมั่นใจ อิสราเอลจึงตัดสินใจเพิ่มจำนวนอาวุธที่ใช้ในการทำลายเป้าหมายมากขึ้นเป็น ๒ เท่าของจำนวน ที่เคยคาดการณ์ไว้ ซึ่งได้มีการคำนวณไว้ว่า จะต้องใช้ดินระเบิดเทียบเท่ากับ TNT เป็นจำนวนถึงประมาณ ๗ ตัน (หรือ ประมาณ ๑๕,๐๐๐ ปอนด์) ในการทำลายเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์นี้ ดังนั้นอิสราเอลจึงตกลงใจว่าจะใช้ดินระเบิดเทียบเท่ากับ TNT จำนวน๑๕ ตัน (หรือประมาณ ๓๒,๐๐๐ ปอนด์) ในการปฏิบัติการครั้งนี้
      กองทัพอากาศอิสราเอลขณะนั้น มีอาวุธที่ใช้ในการทำลายเป้าหมายบนพื้นดินหลายแบบด้วยกันเช่น อาวุธประเภทความ แม่นยำสูง (Precision Guided Munitions) แบบ GBU 15 อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศ-สู่-พื้น AGM 62 A Walleye, AGM 12 Bulleye, AGM 65 Maverick และรวมถึงลูกระเบิดธรรมดาแบบ MK 84 ด้วยอาวุธทั้งหมดนี้สามารถทำความเสียหายให้แก่เตาปฏิกรณ์ นิวเคลียร์ตามที่ต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาวุธความแม่นยำสูงGBU 15 และอาวุธปล่อยอากาศ-สู่-พื้น อย่างไรก็ตามอิสราเอล ตัดสินใจไม่เลือกเอาอาวุธประเภทนี้ เนื่องจากอาวุธดังกล่าวมี ข้อจำกัดในการใช้งาน หลายประการ เช่น จะต้องปล่อยจาก ความสูงไม่ต่ำกว่าความสูงที่กำหนดไว้ จะต้องรักษาแนวบินให้คงที่อย่างน้อย ๒๐ วินาที และจะต้องมีสภาพอากาศที่ดี เป็นต้น ซึ่ง ยุ่งยากต่อการปฏิบัติ เพราะเครื่องบินต้องเข้าโจมตีในระดับต่ำ ในขณะที่เป้าหมาย มีการระวังป้องกันหนาแน่นมาก อีก ประการหนึ่งอาวุธเหล่านี้ประกอบด้วย ชิ้นส่วนที่มีความเปราะบางหลายส่วนด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นระบบนำวิถี ระบบขับเคลื่อน และระบบทรงตัว ถ้าหากระบบใดระบบหนึ่งขัดข้อง ไปแล้วจะทำให้อาวุธใช้งานไม่ได้ นอกจาก นั้น อาวุธดังกล่าวอาจถูกรบกวน หรือ ต่อต้านด้วยมาตรการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ง่าย ทำให้ความมั่นใจในการทำลายเป้าลดลง ซึ่งแตกต่างจากระเบิดแบบ ธรรมดาที่ไม่มี สิ่งใดมารบกวนการทำงานของมันได้ เพราะระเบิดเหล่านี้ เข้าสู่เป้าหมายโดยแรงโน้มถ่วงของโลก ซึ่งไม่มีใคร สามารถเปลี่ยนแปลงได้นั่นเอง ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของลูกระเบิดแบบธรรมดานี้คือ สามารถทิ้งจากความสูงระดับต่ำได้ ดังนั้น อิสราเอลจึงตัดสินใจใช้ลูกระเบิดแบบ MK 84 เป็นอาวุธในการทำลายเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ของอิรัก โดยใช้เครื่องบินเข้าทิ้ง ระเบิดในระดับความสูง ๕๐ -๑๐๐ ฟุต ลูกระเบิด MK 84 มีน้ำหนักรวม ๒,๐๐๐ ปอนด์ (ประมาณ ๙๐๐ กิโลกรัม) ภายในมี ดินระเบิดแรงสูงเพียงพอที่จะทำลายเป้าหมายได้ ถึงแม้ว่าเป้าหมายนั้นจะอยู่ภายใต้ผนังคอนกรีตหนาถึง ๑๑ ฟุต ก็ตาม ทั้งนี้ อิสราเอลเชื่อว่ากำแพงคอนกรีตที่ป้องกันเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์นั้นจะมีความหนาน้อยกว่า ๑๑ ฟุต
บันทึกการเข้า
mrt
Full Member
***

คะแนน 62
ออฟไลน์

กระทู้: 459


« ตอบ #4976 เมื่อ: มกราคม 18, 2010, 03:20:52 PM »

ตอนที่ 2
เครื่องบิน F-16 ที่กำหนดให้เป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดทำลายเป้าหมายนั้น สามารถบรรทุกระเบิดได้ถึง ๑๕,๒๐๐ ปอนด์ (หรือประมาณ ๖,๙๐๐ กิโลกรัม) สำหรับโจมตีเป้าหมายระยะใกล้ แต่ถ้าเป้าหมาย อยู่ไกลออกไป ซึ่งต้องมีการเติมน้ำมัน เชื้อเพลิงเต็มที่แล้ว จะบรรทุกระเบิด ได้เพียง ๑๒,๐๐๐ ปอนด์ (หรือประมาณ ๕,๔๐๐ กิโลกรัม) เท่านั้น ในการปฏิบัติการ ครั้งนี้เป้าหมายอยู่ในระยะทางที่ไกลจากฐานบินมาก และอิสราเอลไม่ต้องการให้มีการเติมน้ำมันกลางอากาศ ดังนั้น จึงต้อง ติดตั้งถังเชื้อเพลิงภายนอกให้กับเครื่องบิน เป็นผลให้บรรทุกระเบิดได้น้อยลง ซึ่งผู้วางแผนได้กำหนดให้เครื่องบิน F-16 บรรทุกระเบิด MK 84 ไปเพียงลำละ ๒ ลูก หรือคิดเป็นน้ำหนักลูกระเบิดเพียง ๔,๐๐๐ ปอนด์เท่านั้นเอง ในกรณีที่ต้องการ น้ำหนักระเบิดในการทำลายเป้าหมายรวมทั้งสิ้น ๓๒,๐๐๐ ปอนด์ จึงต้องใช้เครื่องบิน F-16 ในการโจมตีทิ้งระเบิดรวมทั้งสิ้น ๘ ลำ หรือคิดเป็นลูกระเบิดทั้งสิ้น ๑๖ ลูก ในจำนวนนี้ หากมี ลูกระเบิดเพียง ๒ - ๔ ลูก ทิ้งถูกเป้าหมายอย่างจัง ๆ แล้ว ก็จะ สามารถจะทำลาย เป้าหมายได้อย่างแน่นอน การที่ผู้วางแผนกำหนดใช้ลูกระเบิดถึง ๑๖ ลูก จึงเป็นการประกันว่าจะไม่มี การผิดพลาด และตามแผนจะต้องใช้เครื่องบินคุ้มกันไปในจำนวนที่เท่า ๆ กับจำนวนเครื่องบินทิ้งระเบิดด้วย นั่นหมายความ ว่าต้องใช้เครื่องบิน F-15 จำนวน ๘ ลำ เช่นเดียวกัน ฉะนั้นในการปฏิบัติการครั้งนี้อิสราเอลจึงใช้เครื่องบินทั้งสิ้นถึง ๑๖ ลำ
      ปัจจัยแห่งความสำเร็จที่อาจถือได้ว่าเป็นหัวใจของการปฏิบัติการในครั้งนี้ คือ การที่เครื่องบินทั้งหมดเดินทางเข้าสู่ เป้าหมายได้สำเร็จโดยไม่ถูกตรวจจับและสกัดกั้น การเดินทางสู่เป้าหมายต้องใช้เวลาประมาณเกือบ ๒ ชั่วโมง ในขณะที่ ใช้เวลาโจมตีเพียงแค่ ๒ นาทีเท่านั้นเอง อิสราเอลจะทำอย่างไรที่จะทำให้เครื่องบินรบ ทั้ง ๑๖ เครื่อง หลุดรอดสายตาของอิรัก หรือชาติอาหรับอื่น ๆ ไปจนถึงเป้าหมายได้
      การเลือกเส้นทางเข้าสู่เป้าหมาย จึงนับว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก ภูมิภาคตะวันออกกลางในเวลานั้นยังคงเป็นดินแดนแห่ง สงครามและความขัดแย้ง ประเทศต่าง ๆ อยู่ในภาวะตื่นตัวตลอดเวลา และมีการวางระบบเครือข่ายเรดาร์ตรวจจับไว้อย่าง หนาแน่น และครอบคลุมไปทั่วภูมิภาค เพื่อป้องกันภัยจากการถูกโจมตีทางอากาศ ซึ่งทุกประเทศตระหนักดีว่าเป็นภัยคุกคาม อันใหญ่หลวง ดังนั้นการหลีกเลี่ยงการตรวจจับจากเครือข่ายเรดาร์ต่าง ๆ ที่มีอยู่นั้น อิสราเอลได้กำหนดแผนการไว้ดังนี้ คือ จะต้องเลือกใช้เส้นทางบินที่อยู่ในจุดอับหรือจุดบอดของการตรวจจับด้วยเรดาร์ จากสถานีต่าง ๆ เนื่องจากไม่สามารถใช้เส้น ทางบินไปยัง กรุงแบกแดดได้โดยตรง ถึงแม้ว่าจะเป็นเส้นทางที่สั้นที่สุด เพราะเส้นทางดังกล่าวจะต้องผ่านตอนเหนือของ จอร์แดนหรือ ตอนใต้ของซีเรีย ซึ่งมีการเฝ้าตรวจอย่างใกล้ชิดจากทั้ง ๒ ประเทศ อิสราเอลจึงเลือกใช้เส้นทางที่มุ่งลงทางใต้ แล้ววกเข้าซาอุดีอาระเบีย จากนั้นจึงตัดขึ้นไปทางตะวันออกเฉียงเหนือมุ่งไปยังกรุงแบกแดด โดยใช้วิธีบินระดับต่ำเรี่ยพื้น เพื่อไม่ให้เรดาร์ ตรวจจับได้ และทำการบินเกาะหมู่ให้ชิดกันมากที่สุด ถ้าหากเรดาร์จับเป้าเครื่องบินเหล่านี้ได้ ก็จะปรากฏ เป็นจุด ๆ เดียวบนจอเรดาร์เท่านั้น ซึ่งไม่เป็นที่สงสัยมากเพราะ จะดูเหมือนเป็นเป้าเครื่องบินเพียงลำเดียวเท่านั้นเอง ทั้งนี้ อิสราเอลตัดสินใจให้ เครื่องบินออกเดินทางจากฐานทัพอากาศ Etzion ใกล้ ๆ กับเมือง Eilat ถึงแม้ว่าฐานทัพอากาศแห่งนี้ จะห่างจากประเทศจอร์แดนเพียงแค่ ๑๕ ไมล์ ซึ่งจอร์แดนมีเรดาร์เฝ้าตรวจอยู่อย่างใกล้ชิดตลอดเวลา แต่อิสราเอลก็สามารถ หลีกเลี่ยงการตรวจจับนี้ด้วยการบินลงต่ำให้มากที่สุด เมื่อออกจากฐานทัพไปแล้ว เครื่องบินทั้งหมด จะบินในระดับเรี่ยยอดไม้ ในความสูงประมาณ ๓๐ - ๖๐ ฟุต เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจจับจากเรดาร์ของซาอุดีอาระเบีย และจากเครื่องบิน AWACS ของ สหรัฐ ฯ ที่บินลาดตระเวนอยู่ในแถบนั้นด้วย ถึงแม้ว่าการบินระดับต่ำเรี่ยพื้นจะเป็นผลดี แต่การบินในระดับต่ำ ตามแผนที่ วางไว้นี้นอกจากจะมีอันตรายตามปกติของการบินต่ำ ๆ แล้ว นักบินจะต้องมีความเชี่ยวชาญและมีประสาทที่แข็งแกร่งมาก ผ่านการฝึกอย่างหนักเป็นพิเศษ เนื่องจากการบินระดับต่ำมากกว่าปกติ จะมีความยุ่งยากในการบังคับเครื่อง และยังสิ้นเปลือง เชื้อเพลิงมากขึ้นด้วย ส่งผลให้ระยะปฏิบัติการสั้นลง
บันทึกการเข้า
mrt
Full Member
***

คะแนน 62
ออฟไลน์

กระทู้: 459


« ตอบ #4977 เมื่อ: มกราคม 18, 2010, 03:22:07 PM »

ตอนที่ 3
โดยสรุปแล้ว อิสราเอลมีแผนการทำลายเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของอิรัก โดยใช้เครื่องบิน F-16 จำนวน ๘ ลำ บรรทุกระเบิด MK 84 ลำละ ๒ ลูก บินเข้าไปทิ้งระเบิดต่อเป้าหมายโดยมีเครื่องบิน F-15 จำนวน ๘ ลำ เป็นเครื่องบินคุ้มกันเครื่องบินทั้งหมด จะบินออกจากฐานทัพอากาศในทะเลทรายซินาย โดยใช้การบินระดับต่ำและรูปกระบวนชิดกันมาก มุ่งสู่ทางใต้แล้ววกไป ทางตะวันออกเข้าซาอุดีอาระเบียก่อนที่จะตัดขึ้นไปทางตะวันออกเฉียงเหนือสู่ กรุงแบกแดด เมื่อห่างเป้าหมายประมาณ ๔๐ ไมล์ เครื่องบิน F-15 จะบินขึ้นสูงในระดับ ๑๒,๐๐๐ ถึง ๑๘,๐๐๐ ฟุต เพื่อเข้าควบคุมพื้นที่เป้าหมายและคุ้มกันเครื่องบิน F - 16 ที่จะไต่ระดับขึ้นมาพิสูจน์ทราบเป้าหมาย ในความสูง ๑,๕๐๐ ถึง ๒,๐๐๐ ฟุต และเมื่อเห็นเป้าหมายแล้วจะบินเข้าทิ้งระเบิด ด้วยการดำดิ่งเข้าทิ้งระเบิดในระดับความสูงประมาณ ๕๐ - ๑๐๐ ฟุต การโจมตีจะใช้เวลาอยู่เหนือเป้าหมายไม่เกิน ๒ นาที และหลังจากปลดระเบิดเข้าสู่เป้าหมายแล้ว เครื่องบิน F-16 จะไต่ระดับขึ้นไปสมทบกับเครื่องบิน F-15 ที่ คุ้มกันอยู่ข้างบน จากนั้นเครื่องบิน F-15 จะเข้าจับคู่ให้การคุ้มกันต่อเครื่องบิน F - 16 เป็นคู่ ๆ ใช้เพดานบินสูงมาก แยกย้ายกันบินกลับฐานที่ตั้ง โดยเส้นทางขากลับนี้อิสราเอลเลือกใช้เส้นทางจากแบกแดด ไปยังตอนเหนือของอิสราเอลโดยตรง โดยผ่านทางจอร์แดน เพราะเป็นเส้นทางที่สั้นที่สุด ถึงแม้จะมีความเสี่ยงต่อการถูกตรวจพบและสกัดกั้น แต่เมื่อได้ทำลาย เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ของอิรักไปแล้วอิสราเอลไม่จำเป็นต้องปกปิดตัวเองอีกต่อไป และถึงแม้จะถูกสกัดกั้นไม่ว่าจากอิรักหรือจอร์แดนก็ตาม อิสราเอลก็มั่นใจว่านักบินกับสมรรถภาพของเครื่องบินและอาวุธไม่ว่าจะเป็น อาวุธปล่อยจากอากาศ-สู่-อากาศ Sparrow และ Sidewider หรือแม้แต่ Shafir MK III ที่อิสราเอลผลิตขึ้นเองจะสามารถต่อกรกับเครื่องบินข้าศึกได้ อีกทั้งขณะนั้นเครื่องบิน ทั้งหมดจะเหลือ น้ำมันเชื้อเพลิงอยู่ไม่มากนัก จึงจำเป็น จะต้องหาทางกลับอิสราเอลให้ได้โดยเร็วที่สุด
      อิสราเอลวางแผนการปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อโจมตีเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของอิรักเสร็จเรียบร้อยในเดือนตุลาคม ค.ศ.๑๙๘๐ หลังจากนั้นจึงมีการคัดเลือกนักบินเพื่อปฏิบัติภารกิจนี้ประมาณ ๒๐ คน เข้ารับการฝึกอย่างหนักเกี่ยวกับการบินระดับต่ำ การบินเกาะหมู่ระยะประชิด และการปฏิบัติเมื่อมีการเผชิญหน้ากับเครื่องบินข้าศึก รวมทั้งการฝึกเข้าโจมตีทิ้งระเบิดต่อ เป้าหมายด้วยการบินระดับต่ำ เพื่อจำกัดเวลาปฏิบัติการให้อยู่ภายใน ๒ นาที ซึ่งหมายความว่าเครื่องบินแต่ละลำจะเข้าโจมตี ที่หมาย ในเวลาที่ห่างกันแต่ละลำประมาณ ๑๕ - ๒๐ วินาทีเท่านั้นเอง นักบินทุกคนจะต้องฝึกเพื่อให้มั่นใจ และรู้ว่าจะต้องทำ อะไรบ้างในแต่ละช่วงเวลาของการปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม ทุกคนจะต้องรู้ทั้งหน้าที่ของตนเองและหน้าที่ของนักบินคนอื่น ๆ ด้วย เพื่อให้สามารถสอดประสานและทำงานร่วมกันได้โดยไม่มีการติดขัด
      เมื่อถึงตอนนี้นักบินทุกคน ที่ผ่านการฝึกจะรู้ทุกอย่าง ชนิดที่เรียกว่า แม้หลับตาก็ทำได้ และพร้อมแล้วที่จะออกปฏิบัติการ แต่สิ่งที่นักบินยังไม่รู้ก็คือดีเดย์ (D-Day) วันและเวลาที่เริ่มปฏิบัติการนั่นเอง หลังจากได้มีการเลื่อนการปฏิบัติมาถึง ๒ ครั้ง ด้วยเหตุที่สงสัยว่าแผนปฏิบัติการนี้ อาจมีการรั่วไหลสู่คนภายนอก แต่ในที่สุดเวลาที่นักบินรอคอยก็มาถึง เมื่อผู้บังคับการ ฐานบินได้มาแจ้งข่าวให้นักบินทราบถึงคำสั่งการปฏิบัติตามแผนยุทธการบาบิโลน (Babylon Operation) ที่กำหนดไว้ โดยแจ้ง ให้ทราบภายในเวลาไม่ถึง ๒๔ ชั่วโมง ก่อนเริ่มการปฏิบัติเท่านั้นเอง
บันทึกการเข้า
mrt
Full Member
***

คะแนน 62
ออฟไลน์

กระทู้: 459


« ตอบ #4978 เมื่อ: มกราคม 18, 2010, 03:22:42 PM »

ตอนที่ 4
วันอาทิตย์ที่ ๗ มิถุนายน ค.ศ.๑๙๘๑ เป็นวันที่ท้องฟ้าปลอดโปร่งและอากาศแจ่มใสดีมากวันหนึ่ง เมือง Eilat ซึ่งเป็นเมือง ท่องเที่ยวและตากอากาศ ริมอ่าวอะกาบาในทะเลแดง กำลังคราคร่ำไปด้วยนักท่องเที่ยวนับพันจากประเทศกลุ่มสแกนดิเนเวีย เยอรมัน รวมทั้งจากอิสราเอลเอง ซึ่งเหตุการณ์ภายนอกฐานดูเหมือนจะเป็นไปตามปกติของวันหยุดทั่วไป แต่ภายในฐานทัพ อากาศแห่งนั้น การลาพักต่าง ๆ รวมทั้งการเดินทางเข้าเมืองต้องถูกยกเลิก โทรศัพท์ถูกตัดสายลงยกเว้นในส่วนที่เกี่ยวข้อง ทางยุทธการในกองบัญชาการ ทั้งนี้เพื่อป้องกันข่าวการปฏิบัติรั่วไหลไปยังภายนอก ตอนสายของวันนั้นผู้บัญชาการทหารสูงสุด ของอิสราเอล พลโท Raphael Eitan พร้อมด้วยผู้บัญชาการทหารอากาศ พลอากาศตรี David Ivri และนายทหารระดับสูงคนอื่น ๆ ได้เดินทางมาถึงฐานทัพอากาศแห่งนี้ หลังจากเฮลิคอปเตอร์ได้ ลงจอดแล้ว นายทหารทั้งหมดได้เข้าร่วมฟัง การบรรยายสรุป ร่วมกับนักบินที่จะไปปฏิบัติภารกิจทำลายเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ทั้ง ๑๖ นาย นั้นด้วยเพื่อซักซ้อมความเข้าใจเป็นครั้งสุดท้ายใน ห้องบรรยายสรุป ขณะที่ในโรงเก็บเครื่องบินใต้ดินภายนอกนั้น ช่างเครื่อง ช่างเทคนิค และช่างอาวุธกำลังทำการตรวจสอบ และติดตั้งอาวุธให้กับเครื่องบิน F-15 และ F-16 ทั้ง ๑๖ ลำ เพื่อให้แน่ใจว่าระบบอาวุธและระบบต่าง ๆ ของเครื่องจะอยู่ในสภาพที่ พร้อมปฏิบัติงานได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด โดยเจ้าหน้าที่เหล่านั้นเอง ก็ยังไม่ทราบเลยว่าเป้าหมายของเครื่องบินเหล่านี้อยู่ที่ไหน หลายคนคาดเดาว่าน่าจะเป็นฐานปล่อยอาวุธนำวิถีพื้น-สู่-อากาศ ที่ติดตั้งอยู่ในหุบเขา Bekkah ของซีเรีย ที่กำลังสร้างปัญหาให้ อิสราเอลอยู่
      ก่อนเวลา ๑๕๐๐ เล็กน้อย (เวลาท้องถิ่นของอิสราเอล) นักบินจึงเริ่มทยอยกันออกมาขึ้นเครื่อง ต่อมาอีกไม่นานเครื่องบิน F-15 และ F-16 ที่บรรทุกอาวุธและน้ำมันเชื้อเพลิงเต็มพิกัดก็ทะยานบินขึ้นฟ้าทีละคู่ และหายลับออกไปทางขอบฟ้าระดับต่ำ มุ่งหน้าไปทางทิศใต้ เครื่องบินทั้งหมด บินผ่านนักท่องเที่ยวที่คราคร่ำอยู่ที่ชายหาดโดยไม่มีใครได้เฉลียวใจเลยว่า บัดนี้ เหตุการณ์ครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์กำลังจะเริ่มขึ้น ทุกคนคิดว่าเป็นเพียงการฝึกบินตามปกติของนักบินเท่านั้นเอง
      ทุกอย่างเป็นไปตามแผนที่ได้กำหนดไว้ หลังจากบินขึ้นได้ครู่หนึ่ง เครื่องบินทั้งหมดก็เลี้ยวผ่านเข้าสู่ทะเลทรายอันเวิ้ง ว้างไร้ผู้คนทางตอนเหนือของซาอุดีอาระเบียในระดับความสูงประมาณ ๓๐ - ๖๐ ฟุตจากพื้นดิน นักบินแต่ละคนใจจดใจจ่อ อยู่กับแผงหน้าปัดควบคุมการบิน ที่อยู่ในเครื่องของตนเอง เพื่อให้รักษาระดับการบินให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในขณะเดียวกัน ก็จะต้องคอยมองตำแหน่งของเครื่องบินลำอื่น ๆ ด้วย เพื่อรักษาระยะต่อของเครื่องบินให้เหลือน้อยที่สุด รวมทั้งต้องคอยมองดูว่า มีเครื่องบินข้าศึกหรืออาวุธปล่อยพื้น-สู่-อากาศขึ้นมาสกัดกั้นบ้างหรือเปล่า
     หลังจากเวลาผ่านไปประมาณ ๑ ชั่วโมง ขบวนทั้งหมดก็ผ่านเข้าสู่น่านฟ้า ของอิรักในเวลาประมาณ ๑๖๐๐ ซึ่งในช่วงนี้เอง เครื่องบิน F-15 ลำหนึ่งได้แยกออกจากขบวน มาบินในระดับสูง เพื่อให้การคุ้มกันขบวนรวมทั้งทำการก่อกวนทาง อิเล็กทรอนิกส์ ส่วนเครื่องบินลำอื่นที่เหลือยังคงรักษาระดับการบินให้อยู่ในระดับ เรี่ยยอดไม้ต่อไปอีก โดยมุ่งหน้าไปยัง เป้าหมาย ซึ่งขณะนี้อยู่ห่างไปทางตะวันออกเฉียงเหนือของ ขบวน เวลา ๑๗๓๓ หัวหน้าหมู่บินสามารถพิสูจน์ทราบเป้าหมาย ได้แล้ว ที่หมาย คือ โดมคอนกรีตสูง ๖๐ ฟุต อันเป็นที่ตั้งของโครงการ Tamnuz นั่นเอง เครื่องบิน F-15 ทั้งหมดจึงเริ่มไต่ระดับ ขึ้นสู่ความสูง ๑๒,๐๐๐ - ๑๘,๐๐๐ ฟุต ตามที่กำหนดไว้ เพื่อควบคุม พื้นที่ไม่ให้เครื่องบินอิรัก เข้ามาขัดขวางการปฏิบัติการ ครั้งนี้ได้ ส่วนเครื่องบิน F-16 หลังจากพิสูจน์ทราบเป้าหมายได้แล้ว ก็ดำดิ่งทะยานเข้าสู่เป้าหมายทันที เครื่องบิน F-16 ลำแรก ดิ่งเข้าหาตึกโดมคอนกรีตขนาดใหญ่ที่ครอบเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของอิรักไว้ อีก ๕ วินาที ต่อมาเครื่องบินก็เชิดหัวขึ้น อีกครั้งหนึ่ง หลังจากปลดระเบิดออกไปแล้ว ลูกระเบิด MK 84 ๒ ลูกแรกลอยละลิ่วเข้าสู่เป้าหมาย ตกบนหลังคาตึก ดังกล่าว อย่างแม่นยำ แรงระเบิดจากลูกระเบิดขนาด ๒,๐๐๐ ปอนด์ ทำให้หลังคาตึกแตกกระจัดกระจายออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยทันที ในขณะที่เครื่องบิน F-16 ลำที่ ๒ และลำอื่น ๆ ทยอยลงมาทิ้งระเบิดต่อเป้าหมายดังกล่าวทีละลำ โดยมีช่วงเวลาห่างกันลำละ ไม่เกิน ๑๕ วินาที ขณะนี้ปืนต่อสู้อากาศยาน ZSU - 23 - 4 ของอิรักเริ่มตอบโต้ออกไปบ้างแล้ว แต่การยิงเป็นไปแบบสะเปะ สะปะไร้ทิศทาง เนื่องจากเครื่องบินอิสราเอลที่เข้าโจมตีทิ้งระเบิดนั้นใช้เพดานบินในระดับ ต่ำมาก อีกทั้งเข้ามาในทิศทางต่าง ๆ กัน จึงทำให้ปืนต่อสู้อากาศยานดังกล่าวไม่มีโอกาสที่จะทำอันตรายให้กับเครื่อง บินอิสราเอลได้ แม้แต่ลำเดียว บัดนี้เตาปฏิกรณ์ นิวเคลียร์ของอิรักกำลังถูกไฟลุกท่วมอยู่ภายในอาคารที่ยุบตัวกลายเป็นเศษซาก เหล็ก กองลงอยู่กับพื้นอันเป็นผลจากแรง ระเบิดของลูกระเบิดที่เข้าสู่เป้าหมายลูกแล้ว ลูกเล่านั่นเอง
บันทึกการเข้า
mrt
Full Member
***

คะแนน 62
ออฟไลน์

กระทู้: 459


« ตอบ #4979 เมื่อ: มกราคม 18, 2010, 03:23:22 PM »

ตอนที่ 5
 อีก ๒ นาทีต่อมาการโจมตีทางอากาศของอิสราเอลก็เสร็จสิ้น๑๐ หลังจากเครื่องบิน F-16 ที่เข้ามาทิ้งระเบิดเป็นลำสุดท้าย ผละออกไปแล้วนั้น เครื่องบิน F-15 ลำหนึ่งก็โฉบเข้ามาแทนที่ ภารกิจของเครื่องบิน F-15 ลำนี้คือการเข้ามาถ่ายภาพและวีดิโอ เพื่อนำกลับไปประเมินผล ความเสียหายของเป้าหมายนั่นเอง เครื่องบิน F-16 ซึ่งขณะนื้ปลดระเบิดออกหมดแล้ว ทำให้มี ความคล่องตัวมาก และได้บินไต่ระดับขึ้นไปร่วมฝูงกับเครื่องบิน F-15 ที่ให้การคุ้มกันอยู่เบื้องบน จากนั้นจึงเริ่มเดินทาง กลับบ้าน โดยการบินเป็นคู่ระหว่างเครื่องบิน F-16 กับเครื่องบิน F-15 รวม ๘ คู่ แยกย้ายกันบินกลับสู่อิสราเอล โดยใช้ เพดานบินระดับสูง ซึ่งถึงแม้จะมีความเสี่ยงจากการสกัดกั้นของเครื่องบินทั้งอิรัก จอร์แดน และซีเรีย แต่อิสราเอลก็เชื่อมั่น ในขีดความสามารถของเครื่องและนักบินว่าจะสามารถเอาชนะเครื่องบินข้าศึกได้ หากเกิดการปะทะทางอากาศขึ้น แต่ก็ไม่ ปรากฏเครื่องบินของชาติใดๆ เข้าสกัดเครื่องบินของอิสราเอลได้
      เวลา ๑๙๐๐ เครื่องบิน F-16 เครื่องแรกได้ลงแตะพื้นสนามบินในอิสราเอลอย่างปลอดภัยและอีก ๑๐ นาทีต่อมาเครื่องบิน ที่เหลือทั้งหมดก็ได้ทยอยกันลงจอดในสนามบินต่าง ๆ ทั่วอิสราเอลโดยปลอดภัยหลังจากนั้น ผู้บัญชาการทหารสูงสุดได้โทรศัพท์ รายงานให้นายกรัฐมนตรีทราบอย่างสั้น ๆ ว่า ภารกิจบรรลุผลสำเร็จแล้ว
     นับว่าการโจมตีของอิสราเอลต่อเตาปฏิกรณ์นิวเคลียรของอิรัก ประสบผลสำเร็จอย่างดีเยี่ยม สามารถทำลายเตาปฏิกรณ์ นิวเคลียร์ลงได้อย่างไม่มีใคร คาดหมายและไม่มีการสูญเสียแม้แต่น้อย ผลการโจมตีถึงแม้อิสราเอล จะใช้ลูกระเบิดธรรมดา แบบ MK 84 แต่สามารถทำลายเป้าหมายได้อย่างแม่นยำมาก จนมีข่าวว่า อิสราเอลได้ลอบติดตั้งเครื่องมือพิเศษไว้ เพื่อนำทาง ให้ลูกระเบิดเข้าสู่เป้าหมายทำให้สามารถทิ้งระเบิดได้อย่างแม่นยำ ส่วนอิรักเองก็ยังมืดแปดด้าน โดยยังไม่รู้ว่าใครเป็นผู้โจม ตีตนในครั้งนั้น อิรักยังคิดว่าเป็นการ โจมตีของอิหร่าน จนกระทั่งอิสราเอล ได้ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับการโจมตีอิรัก ให้ประชาชนของตนได้ทราบ ซึ่งผลจากการ โจมตีดังกล่าว ทำให้โครงการนิวเคลียร์ ของอิรักต้องหยุดชะงักลงไปโดยสิ้นเชิง เพราะหลังจากการโจมตีครั้งนั้นแล้ว ฝรั่งเศสได้ยุติการให้ความช่วยเหลือ เกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ของอิรัก และผลจาก การโจมตี ปรากฏว่ามีช่างเทคนิค ชาวฝรั่งเศสเสียชีวิตไปด้วย ๑ คน
      ปฏิบัติการของอิสราเอลต่ออิรัก ในครั้งนี้ประสบผลสำเร็จโดยไม่เป็นที่สงสัยและแทบจะไม่เป็นที่ระแคะระคาย ต่ออิรักเลย เพราะมีปัจจัยหลายอย่าง ที่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติของอิสราเอล ประการแรกก็คือ ในช่วงเวลานั้นอิรัก กำลังอยู่ในระหว่าง สงครามกับอิหร่าน อิรักจึงหันไปให้ความสนใจกับแนวรบด้านตะวันออกของตน มากกว่า เรดาร์ตรวจการณ์ทางอากาศ และ ระบบป้องกันภัยทางอากาศ มุ่งเน้นภัยคุกคามทางอากาศที่จะมาจากอิหร่านมากกว่าทางด้านตะวันตก แม้ว่าในทางปฏิบัติ อิสราเอลกับอิรักจะยังคงเป็นประเทศคู่สงครามกันอยู่ก็ตาม แต่อิรักไม่ได้ให้ ความสนใจภัยคุกคามทางอากาศจากอิสราเอล เท่าไรนัก๑๑ ประการต่อมาคือ ก่อนจะมีการโจมตีเกิดขึ้นประมาณ ๑-๒ สัปดาห์นั้น อิสราเอลกำลังมีปัญหากับซีเรีย เกี่ยวกับ ฐานยิงอาวุธปล่อยนำวิธีพื้น-สู่-อากาศ ที่ติดตั้งอยู่ในหุบเขา Bekkah อิรักจึงคาดว่าอิสราเอล คงจะต้องวุ่นวายอยู่ในเหตุการณ์ ดังกล่าวนั้นมากกว่า และประการสุดท้ายก็คือ ช่วงเวลาการโจมตีนั้น อิสราเอลกำลังจะมีการเลือกตั้งทั่วไป อีกทั้งเตาปฏิกรณ์ นิวเคลียร์ของอิรักก็ยังไม่ได้ เปิดใช้งาน จึงทำให้อิรักไม่คาดคิดว่าอิสราเอลจะโจมตีในช่วงนี้ได้ และนอกจากนั้น การที่ เครื่องบินอิสราเอลไม่ถูกตรวจพบ ขณะที่เดินทางไปโจมตีเป้าหมายโดยเครื่องบิน AWACS ของสหรัฐ ฯ ที่ลาดตระเวนอยู่ใน บริเวณนั้น ซึ่งมีการคาดกันว่าอิสราเอลได้ใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์บางอย่างทำให้ เครื่องบิน AWACS ไม่สามารถจับเป้าได้ นอกเหนือจากการใช้มาตรการบินต่ำ หรืออาจเป็นไปได้ว่าเครื่องบิน AWACS จับเป้าได้แต่เป้าที่แสดงบนจอเรดาร์ เป็นจุด จุดเดียวเนื่องจากเครื่องบินทั้ง ๑๖ ลำ บินชิดกันมากทำให้เจ้าหน้าที่บนเครื่อง AWACS ไม่ได้ให้ความสนใจ นอกจากนั้น ก็มีนักวิเคราะห์ บางกลุ่มกล่าวว่า อาจเป็นเพราะเครื่องบิน AWACS ในขณะนั้นบินอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ใกล้ ๆ กับ อ่าวเปอร์เซีย มากกว่าจะอยู่ทางตอนเหนือของ ซาอุดีอาระเบีย เพื่อเฝ้าสังเกตการณ์เคลื่อนไหว กลางอากาศของทั้งอิรัก และอิหร่านที่กำลัง ทำสงครามกัน และมีผลต่อการขนส่งน้ำมัน ในอ่าวเปอร์เซียนั่นเอง จึงไม่สามารถจับเป้าได้
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 329 330 331 [332] 333 334 335 ... 1487
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.093 วินาที กับ 22 คำสั่ง