เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
ตุลาคม 10, 2024, 01:22:52 AM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เว็บบอร์ด อวป. สามารถเข้าได้ทั้งสองทาง คือ www.gunsandgames.com และ www.gunsandgames.net ครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 339 340 341 [342] 343 344 345 ... 1487
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เครื่องบินขับไล่ใหม่ กองทัพอากาศไทย  (อ่าน 3899727 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 5 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
จอยฮันเตอร์
พระรามเก้า 15-28 E23 LLL
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 10195
ออฟไลน์

กระทู้: 47057


M85.ss


« ตอบ #5115 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 08, 2010, 01:40:46 PM »

เป็นการปล่อยเป้าลวงหรือปล่าวไม่ทราบต้องกลับไปดูใหม่
บันทึกการเข้า

hare
Hero Member
*****

คะแนน 1785
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 13043


มีแล้วไม่ต้องใช้ ดีกว่าจะใช้แล้วไม่มี


« ตอบ #5116 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 08, 2010, 01:53:18 PM »

เป็นการปล่อยเป้าลวงหรือปล่าวไม่ทราบต้องกลับไปดูใหม่

น่าจะใช่นะครับพี่จอย  Grin
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 08, 2010, 01:55:22 PM โดย hare » บันทึกการเข้า

จอยฮันเตอร์
พระรามเก้า 15-28 E23 LLL
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 10195
ออฟไลน์

กระทู้: 47057


M85.ss


« ตอบ #5117 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 08, 2010, 02:30:57 PM »

A-10 Warthog, Thunderbolt II

แบบนี้หรือปล่าวครับ Grin
บันทึกการเข้า

จอยฮันเตอร์
พระรามเก้า 15-28 E23 LLL
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 10195
ออฟไลน์

กระทู้: 47057


M85.ss


« ตอบ #5118 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 08, 2010, 02:54:37 PM »

A-10 Thunderbolt (GAU-8 firepower)

อ้นนี้ชัดกว่าครับ Grin
บันทึกการเข้า

Tarvor(รักในหลวง)
ชาว อวป. อิอิ
Sr. Member
****

คะแนน 36
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 812



เว็บไซต์
« ตอบ #5119 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 08, 2010, 06:49:23 PM »

1.ผมดูคลิปนี้แล้วนึกขึ้นได้
<a href="http://www.youtube.com/watch?v=-XXe1uiPeKA" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=-XXe1uiPeKA</a>
AV-8B+ ของนาวิกโยธินสหรัฐ เขาสร้างใหม่เลย หรือ อัพเกรดAV-8Bให้เป็นAV-8B+ครับ
ลำนี้คงจะเป็นAV-8B

ส่วนลำนี้น่าจะเป็นAV-8B+

ดูแล้วมันน่าจะแยกได้จากโดมเรดาร์นะครับ ไม่รู้ใช่หรือปล่าว
2.อีกคำถาม ปืนของแฮริเออร์มันอยู่ตรงไหนครับ Huh รบกวนตอบด้วย ไหว้
บันทึกการเข้า

เด็กดีในวันนี้ คือ ผู้ใหญ่ดีในวันหน้า
mambo
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 65
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1114


Gripen RTAF


« ตอบ #5120 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 08, 2010, 11:57:46 PM »

AV-8B Harrier บางลำก็ใส่ บางลำก็ไม่ใส่ เป็นกระเปาะใต้ท้อง คล้ายๆ L-39 ของเราบางทีก็ไม่ใส่
ปืน A GAU-12 25MM six-barrel gun pod and accompanying ammunition pod can be mounted either side of centerline and has a 300 round capacity with a lead computing optical sight system (LCOSS) gunsight.




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 09, 2010, 12:17:05 AM โดย mambo » บันทึกการเข้า
mambo
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 65
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1114


Gripen RTAF


« ตอบ #5121 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2010, 09:34:07 AM »

ภาพสวยๆ จากการฝึกธงแดง ล่าสุด Red Flag 2010

Crew members assigned to Royal Air Force Cottesmore, United Kingdom, prepare the GR-9 Harrier for flight on the Nellis Air Force Base, Nev., flight line during Red Flag 10-2 Feb. 3, 2010.



F-22A's assigned to the 525th Fighter Squadron, Elmendorf Air Force Base, Alaska, and the 49th Fighter Squadron, Holloman Air Force Base, N.M., prepare to depart Nellis Air Force Base, Nev., flight line for a training mission during Red Flag 10-2 at Nellis Air Force Base, Nev., Feb. 4, 2010.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 09, 2010, 09:36:05 AM โดย mambo » บันทึกการเข้า
JUNGLE
ดีชั่วอยู่ที่ตัวทำ สูงต่ำอยู่ที่ทำตัว
Hero Member
*****

คะแนน 1204
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 17188


การต่อสู้คือชัยชนะ


« ตอบ #5122 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2010, 09:42:04 AM »

ในการฝึกร่วมของไทย-อเมริการายการหนึ่ง... เมื่อสิบกว่าปีก่อน... อเมริกาเอาเจ้าแฮริเออร์มาบินโชว์ในไทย... เล่นเอาทั้ง ทอ. และทร. ที่กำลังมองหาเครื่องบินโจมตีอยู่... น้ำลายหกไปตามๆ กัน... แต่สุดท้าย ทร.ก็ได้มาแค่ เอ-๗ เก่าๆ บินไม่กี่ปีก็กราวด์หมด... แล้วก็มาได้เศษเหล็กแถมมากับเรื่อหลวงจักรีฯ เป็น เอวี-๘ เอส... กราวด์เกือบหมดแล้วเช่นกัน...

บันทึกการเข้า
พญาจงอาง +รักในหลวง+
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1870
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10363



« ตอบ #5123 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2010, 04:18:57 PM »

..ดึงกระทู้หน่อย จะตกหน้าสองไปแล้ว อิอิ ร้อนหนัก ลงแช่น้ำดีกว่า หุหุ.. คิก คิก ขำก๊าก
บันทึกการเข้า

..The only thing neccessary for the triump of evil is for the good man to do nothing..
"สิ่งเดียวที่ทำให้คนชั่วได้รับชัยชนะ คือการที่คนดีๆนิ่งดูดาย "
wirinho_23-รักในหลวง
Jr. Member
**

คะแนน 0
ออฟไลน์

กระทู้: 33


« ตอบ #5124 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2010, 08:16:10 PM »

นอกเรื่องหน่อยนะครับ

อยากรู้เกี่ยวกับระเบิด EMP อ่ะครับ  Grin
บันทึกการเข้า
~ Sitthipong - รักในหลวง ~
"วาจาย่อมมีน้ำหนัก หากหนุนด้วยสรรพอาวุธ"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2953
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23210



« ตอบ #5125 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2010, 09:14:02 PM »

ระเบิดแม่เหล็กไฟฟ้า

แสดงการระเบิดของระเบิดแม่เหล็กไฟฟ้าเหนือพื้น


        ปัจจุบันกระแสแห่งเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์เติบโตก้าวหน้าไปมาก  และมากจนกระทั่งเกินจินตนาการของใครบางคนเทคโนโลยีสมัยใหม่ครอบคลุมทุกหนทุกแห่ง  ทั้งอุปกรณ์ที่ใช้ในที่อยู่อาศัย  อุปกรณ์ในการผลิตทางอุตสาหกรรม  การสื่อสาร  การแพทย์  แม้กระทั่งเทคโนโลยีในการสงคราม (electronic wars)

       เหตุการณ์ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดของการนำเทคโนโลยีสงครามมาใช้ก็คือ  สงครามระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกากับประเทศอิรักคือสงครามอ่าวเปอร์เซียหรือยุทธการพายุทะเลทราย  เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าในสงครามสมัยใหม่เครื่องมือที่สำคัญที่สุดหาใช่ยุทโธปกรณ์ไม่แต่กลับเป็น  เครื่องมือสื่อสารเพราะผู้นำจะต้องใช้เครื่องมือเหล่านี้บังคับบัญชาเหล่าทหารให้ปฏิบัติหน้าที่ตามสถานการณ์  หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดสามารถหยุดยั้งหรือทำลายโครงข่ายของการสื่อสารลงไปแล้ว  การบังคับบัญชาก็เหมือนกับเป็นอัมพาตและจะส่งผลให้เป็นผู้พ่ายแพ้ในที่สุด  คำว่า  ระเบิดอิเล็กทรอนิกส์หรือระเบิดแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic boom)  ผุดขึ้นมาและเป็นที่พูดถึงกันอย่างกว้างขวางในสงครามอ่าว

       ระเบิดดังกล่าวถูกออกแบบมาเพื่อการทำลายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บนพื้นดินทั้งหมดในรัศมีของการระเบิด  มันจะแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความเข้มสูงมาก ๆ  มีผลทำให้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ใกล้ ๆ เสียหายหรือทำงานผิดพลาด  แต่จะไม่ทำลายชีวิตมนุษย์บนพื้นดินเลย  การระเบิดของระเบิดดังกล่าวจะอยู่สูงจากพื้นดินหลายเมตร  รูปการระเบิดและสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่แพร่ออกมาแสดงในรูป

ที่มา : ดร. ไกรสร  อัญชลีวรพันธุ์   ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ
บันทึกการเข้า



...ไม่มีใครทำขาวให้เป็นดำ  หรือทำผิดให้เป็นถูกได้ตลอด...
~ Sitthipong - รักในหลวง ~
"วาจาย่อมมีน้ำหนัก หากหนุนด้วยสรรพอาวุธ"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2953
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23210



« ตอบ #5126 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2010, 09:17:51 PM »

อาวุธ EMP              

              สงครามในทศวรรษหน้ามีแนวโน้ม การใช้ยุทธวิธีที่เปลี่ยนแปลงไป จากการใช้กำลังในรูปแบบเดิม
ไปสู่สงคราม ข้อมูลข่าวสาร การสะสมยุทโธปกรณ์เพียงอย่างเดียวด้วย งบประมาณมหาศาล อาจจะไม่มีโอกาสใช้อาวุธเหล่านั้น เนื่องจากจะถูกทำลายด้วยอาวุธ EMP ประเทศที่ไม่เคยมีศัตรู อยู่ด้วยความสงบสุข มิได้ตั้งอยู่ในพื้นที่สงคราม แต่อยู่ในรัศมีทำลายล้างของอาวุธ EMP จะได้รับผลเสียหายตามไปด้วย
นิยามของอาวุธ EMP
              คืออาวุธที่ใช้พัลส์แม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Pulse) สามารถทำลายหรือ ทำความเสียหายต่อเป้าหมายซึ่งได้แก่ระบบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์ใด ๆ ที่มี ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เป็นองค์ประกอบ
แหล่งกำเนิด
                 อาวุธ EMP มีแหล่งกำเนิด ๒ ประการคือ เกิดจากระเบิดนิวเคลียร์ระดับสูง (High Altitude Nuclear Explosion, HANE) และระเบิดอิเล็กทรอนิกส์ (Electromagnetic Bomb, E-Bomb) หรือรู้จักกันในนามระเบิดไมโครเวฟ (High Power Microwave, HPM)
HANE คือการระเบิดของระเบิดนิวเคลียร์ระดับสูง ซึ่งทำให้เกิดรังสีเอกซ์ทำลายอุปกรณ์ ในอวกาศ
เช่นดาวเทียม กระสวยอวกาศ เป็นต้น นอกจากนี้ยังเกิดรังสีแกมม่า เป็นตัวกระตุ้นพลังงานให้กับโมเลกุล
ในอากาศ ส่งผลให้เกิดอิเล็กตรอนจำนวนมาก มีทิศทางตามการเคลื่อนที่ของรังสี หลักการเกิดนี้เรียกว่า "Compton effect"1 ตามรูปที่ ๑ เมื่ออิเล็กตรอนวิ่งในสนามแม่เหล็กโลก จะทำให้เกิด EMP หรือ HEMP มีย่านความถี่ต่ำกว่า ๑๐๐ Mhz แต่แถบความถี่กว้าง และเป็นอันตรายต่ออุปกรณ์จำนวนมาก
ระเบิด E-Bomb หรือระเบิดไมโครเวฟ มีแถบความถี่แคบกว่า HANE แต่ครอบคลุมความถี่สูงกว่า HEMP และฟ้าผ่า คือในช่วง ๑๐๐ Mhz ถึง ๑๐๐ Ghz โดยที่ความเข้มของสนาม ขึ้นอยู่กับขนาดแรงระเบิด การเลือกใช้ความถี่ไมโครเวฟด้วยเหตุผลคือคลื่นในย่านนี้ เหมาะสำหรับการแพร่ในชั้นบรรยากาศ
แอตโมสเฟียร์ และชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มีความอ่อนไหวต่อคลื่นนี้ อีกทั้งยังสามารถใช้ สายอากาศขยายสัญญาณได้อีก E-Bomb ต้องใช้พลังงานสูงในการขับ EMP ปัจจุบันมีหลักการผลิต ๓ แนวทาง2 คือใช้แรงระเบิดขับ ฟลักซ์ที่ถูกบีบอัด (Flux Compression Generator, FCG)
ไมโครเวฟกำลังสูง (High Power Microwave, HPM) และ Magneto-Hydrodynamic (MHD)
Generator FCG3 ใช้การสร้างแหล่งขับระเบิด ที่บรรจุในท่อทองแดงรูปทรงกระบอก ทำหน้าที่เป็น แกนอาเมเจอร์ พันด้วยลวดทองแดง ๒ ช่วง เป็นสเตเตอร์ เพื่อเหนี่ยวนำพัลส์แม่เหล็กไฟฟ้า เปลือกนอกห่อหุ้มด้วยปูนซีเมนต์หรือ ไฟเบอร์กล๊าสอัดด้วยอิพอกซี่กั้นกลางระหว่าง ลวด ๒ ช่วง
ตามรูปที่ ๒

รูปที่ ๒ ตัวขับระเบิดไมโครเวฟแบบ FCG
                     กระแสไฟฟ้าแรงสูงจะกระตุ้นขับการระเบิดที่แกนอาเมเจอร์เป็นรูปกรวย ในขณะที่กระแสไฟฟ้า ถูกแยก จะเกิดการบีบอัดสนามแม่เหล็กไฟฟ้า เกิดเป็นกระแสไฟฟ้าที่มีพัลส์สูงมาก ก่อนที่อุปกรณ์จะระเบิดออก วิธีนี้ให้ความถี่สูงกว่า ๑ Mhz ขึ้นไป ปัจจุบันมีขนาดกำลังงานสูงสุดถึงเทอราวัตต์
HPM4 เป็นเทคโนโลยีเก่าที่สร้างพลังงานสำหรับคลื่นไมโครเวฟในการสื่อสาร (เช่น TWT) เทคโนโลยีมีการปรับปรุงเรื่อยมาจากไคลตรอน แมกเนตรอนหรือไตรโอด เพื่อสร้างกระแสไฟฟ้าแรงสูง ใช้ขับบีมอิเล็กตรอน จากคาโธดไปสู่ อาโหนดหรือเวอร์เคเตอร์ (Vircator, Virtual Cathode Ray
Oscillator) ส่งผลให้เกิดเรโซแนนซ์ด้านหลังอาโหนด สามารถปรับจูนความถี่ออกสู่สายอากาศได้ วิธีนี้สามารถแก้ไขข้อจำกัดของ FCG ที่ไม่สามารถใช้งานความถี่ต่ำกว่า ๑ Mhz ปัจจุบันมีขนาดกำลังงาน
ระหว่าง ๑๗๐ กิโลวัตต์ ถึง ๔๐ กิกะวัตต์ กำลังขับขั้นแรกอาจสร้างจาก วงจร Marx Generator5
ตามรูปที่ ๓ สำหรับอุปกรณ์ประกอบเช่นท่อนำคลื่นสามารถใช้เทคโนโลยีใหม่ High Temperature Superconductor (HTS)6 ช่วยลดขนาดชิ้นส่วนลง ๑๐ เท่า ตามรูปที่ ๔
รูปที่ ๓ วงจร Mark Generator
รูปที่ ๔ เทคโนโลยี HTS ลดขนาดท่อนำคลื่น 10 เท่า
MHD ซึ่งเป็นการสร้างสนามแม่เหล็กแบบฟิวส์ชัน โดยการยิงพลาสมาหรือแก๊ส ที่ไอโอไนซ์ด้วยความเร็วสูงผ่านสนามแม่เหล็ก ที่ถูกกักกัน เกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้าต้านการ
แพร่คลื่นที่เรียกว่า Shear Alfv'en Wave ควบคุมการเคลื่อนที่ขยายเป็นทอดต่อเนื่อง เป็นรูปกรวย Anisotropic ทำให้เกิดกระแสไหลย้อนทิศทางการเคลื่อนที่ของพลาสมา สามารถผลิตพลังงาน ฟิวส์ชัน
ตั้งแต่ ๑๐ เมกะวัตต์ ขึ้นไป ข้อดีคือ มีขนาดกะทัดรัด นับเป็นหลักการสร้างพลังงานสำหรับอนาคตแบ่ง
เป็น ๒ แนวทางคือโทคามัค (Tokamac)7 ตาม รูปที่ ๕ และ สเตลลาเรเตอร์ (Stellarator)8 ต่างจากโทคามัคคือสนามถูกกักกันจากคอลย์ภายนอกและไม่ขึ้นอยู่กับกระแสพลาสมา อุปกรณ์ที่สำคัญ
ได้แก่ Large helical Device(LHD) สร้างที่เมืองโตกิ, ญี่ปุ่น ในปี ๑๙๙๘ และ Vendelstein VII-X
เยอรมัน ตามรูป ที่ ๖

รูปที่ ๕ MHD แบบโทคามัค
รูปที่ ๖ MHD แบบสเตลลาเรเตอร์ สามารถ ทดแทนพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคต
ความเสี่ยงต่อประเทศไทย
รัศมีทำการของ HANE ขึ้นอยู่กับความสูงของการระเบิด (Height of Burst, HOB) ตาม สมการระยะทาง
RT = Re cos-1[Re /( Re + HOB)]
เมื่อ Reคือรัศมีของโลก ระเบิดที่ความสูง ๓๐๐ กม. จะมีรัศมีครอบคลุม ๑,๙๒๐ กม. และระเบิดที่ความสูง
๓๐๐ กม.จะมีรัศมีครอบคลุม ๒,๔๕๐ กม. ดังนั้นการเกิด HANE ที่อินเดียจะมีรัศมีครอบคลุมถึงประเทศไทย
ทั้งนี้ความรุนแรงมิได้สัมพันธ์กับระยะทางจากจุดระเบิดถึงเป้าหมาย แต่สัมพันธ์กับจุดที่เกิดพัลส์ และขนาดของระเบิด(ตัน) โดยปกติระเบิดนิวเคลียร์ขนาด ๕๐ กิโลตัน (ขนาดเบา) จะให้ EMP สูงสุด ๕๐ kV ที่ที่ระยะทาง ๕ เท่าของความสูงแต่ความแรงลดลงเพียง ๒๕% เช่น ความสูง ๕๐๐ กม. สำหรับระเบิด ๕๐
กิโลตัน ให้ความแรงสูงสุด ๕๐ กิโลโวลต์/เมตร ที่จุดระเบิด แต่ห่างออกไปทางทิศใต้ของ สนามแม่เหล็กโลก ๒,๕๐๐ กม. จะมีความแรง ๓๗.๕ กิโลโวลต์/เมตร เพียงพอที่จะทำลายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สำหรับบริเวณ เส้นศูนย์สูตรซึ่งมีสนามแม่เหล็กโลกน้อย รูปที่ ๗ รัศมีครอบคลุมของ HANE (HOB คือความสูงของ
การระเบิด)ความแรงของของสัญญาณก็จะลดลง ที่สำคัญคืออิเล็กตรอนที่วิ่งสวนทางหรือขวางกับ สนามแม่เหล็กโลกเท่านั้นที่จะเกิด EMP หากอิเล็กตรอนเคลื่อนที่ตามสนามแม่เหล็กโลกจะเกิด EMP
น้อยมาก
ตามรูปที่ ๗
สำหรับระเบิดไมโครเวฟสามารถสร้างเป็นอาวุธนำวิถี ติดตั้งบนยานรบแบบต่างๆ ทั้งแบบกระเป๋าหิ้ว
บนเครื่องบิน และติดตั้งบนดาวเทียม สามารถควบคุมความถี่ และขยายความรุนแรงโดยใช้สายอากาศ
ตามรูปที่ ๘ ใช้ทำอันตรายอุปกรณ์ได้ทั้งเชิงรับและเชิงรุก โดยให้ระเบิดเหนือเป้าหมายตามความสูงและบีมที่ต้องการ ตามรูปที่ ๙
การทะลุทะลวงของ EMP เข้าสู่อุปกรณ์
รูปที่ ๘ การใช้สายอากาศขยาย E-Bomb
รูปที่ ๙ การควบคุมบีมให้ทำลายเฉพาะจุด
จุดเข้าสู่อุปกรณ์ มีหลายเส้นทางที่คลื่น จะแพร่เข้าไปในอุปกรณ์ได้ ถ้า EMP แพร่เข้าทางสายอากาศ หรือเซ็นเซอร์อื่นๆ เช่นทรานซ์ดิวเซอร์ ก็จะเรียกว่าเข้าทาง"ประตูหน้า (Front Door)" หากคลื่นแพร่
เข้าทางรอยต่อ หน้าจอ ท่อร้อยสาย สายไฟฟ้า จะเรียกว่า "ประตูหลัง (Back Door)" ปกติ EMP มีการทะลุทะลวงผ่านอาคาร เรือหรือยานพาหนะได้ ๓ แบบ
๑ การทะลุทะลวงเข้าทางช่องเปิด (Aperture penetration) ซึ่งรวมถึง ประตู หน้าต่าง รูเจาะหรือรอยแตก ช่องระบายอากาศ สายเคเบิลที่ที่ชิลด์ไม่ดี และสายดินที่ติดตั้งไม่เรียบร้อย สัญญาณ EMP จะทะลุทะลวงตามขนาดของ ช่องเปิด ชนิดของโครงสร้างอาคาร หรือเรือ ตลอดจนตำแหน่งที่ตั้ง ได้ทั้งสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้า การป้องกันที่ดีที่สุดได้แก่การปิดล้อมในลักษณะกล่องปิด
๒ การแทรกซึมผ่านชิลด์ (Diffusion Penetration) ผ่านทางผนังที่มีค่าตัวนำไม่สมบูรณ์ ส่วนใหญ่สนามแม่เหล็กจะซึมผ่านได้ดีกว่าสนามไฟฟ้า โดยเฉพาะความถี่จะแทรกซึมได้มาก การชิลด์แข็ง การชิลด์แบบรีบาร์ สามารถลดการ แทรกซึมลงได้
๓ เข้าโดยตรงทางสายอากาศ หรือสายไฟฟ้า เนื่องจากสายอากาศ ออกแบบไว้สำหรับดักรับสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้าและยังมีวงจรช่วยขยายสัญญาณ ส่วนสายไฟฟ้าก็รับสัญญาณไฟฟ้า โดยตรง ส่วนใหญ่สายอากาศจะมีวงจรกรองเฉพาะแถบความถี่ที่ต้องการ สำหรับสายไฟฟ้า ก็จะมีการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก แต่การป้องกันทั้ง ๒ ประการยังไม่เพียงพอ
สำหรับ EMP
อันตรายของ EMP
EMP เป็นอันตรายต่ออุปกรณ์ที่มีชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เป็นองค์ประกอบใน ๔ ระดับ 9 คือ
๑. ปฏิเสธการใช้งาน (Deny หรือ Upset หรือ Jam) คือขีดความสามารถในการปฏิเสธ การใช้งานโดยไม่ทำลายระบบ กล่าวคือระดับความแรงเช่นเดียวกับการรบกวนในสงครามอิเล็กทรอนิกส์
EMP อาจเข้าไปหยุดการทำงานของชิ้นส่วนใดชิ้นส่วนหนึ่งชั่วขณะเช่นรีเลย์สวิตช์ การเปลี่ยนสถานะ
เฉพาะครั้ง (Single Event Upset, SEU) หรือเปลี่ยนลอจิก โดยเฉพาะสวิตช์ต่างๆ สถานะทางดิจิตอลที่เปลี่ยนจากศูนย์เป็นหนึ่ง เป็นการควบคุมการทำงาน การปิด-เปิด หรือการสั่งงานทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะลอจิกเกตต่างๆ
๒. ลดทอนสมรรถนะของระบบ (Degrade หรือ Lock-up) คือปฏิเสธขีดความสามารถในการใช้งาน
แบบถาวร แต่ก็ทำลายชิ้นส่วนเพียงเล็กน้อย เช่นเดียวกับการปิดเปิดอุปกรณ์ การกระโดดข้ามฟังก์ชัน ล็อคบางฟังก์ชัน พนักงานอาจจะต้อง เปิดเครื่องใหม่อีกรอบจึงจะทำงานได้ ในยามสงครามเวลาในการบูตเรดาร์ใหม่ก็เพียงพอสำหรับการเข้าโจมตีโดยเครื่องบิน
๓. ทำให้เสียหาย (Damage หรือ latch-up) หมายถึงการทำลายในระดับกลางต่ออุปกรณ์
สื่อสารระบบอาวุธ หรือระบบย่อยของฮาร์ดแวร์ เพื่อหยุดยั้งขีดความสามารถของข้าศึกในระยะเวลาหนึ่ง แต่บางครั้งก็สามารถทำลายอุปกรณ์อย่างถาวรได้
๔. ทำลาย(Destroy)หมายถึงการสร้างความหายนะให้อุปกรณ์แบบถาวร ทำให้ข้าศึกต้องเปลี่ยนอุปกรณ์หรือระบบทั้งหมด
(๑) สารกึ่งตัวนำ (Semiconductor) มีความอ่อนไหวต่อทรานเซี่ยน ของ EMP อาทิ เช่นชิ้นส่วนทรานซิสเตอร์ และไดโอด ส่วนใหญ่จะเกิดการหลอมเหลวช่วงรอยต่อ (P-N Junction) ทำให้เกิดการลัดวงจร
(๒) ชิ้นส่วนเชิงรับ (Passive Elements) มีความอ่อนไหวต่อกระแสที่เหนี่ยวนำจาก EMP โดยเฉพาะชิ้นส่วนที่มีค่าความทนทานต่อกระแส หรือแรงดัน (Rate) ต่ำ เช่นตัวต้านทาน กระแสเหนี่ยวจะทำให้เกิดความร้อนและแรงดันพัง ส่วนตัวเก็บประจุจะสะสมแรงดันตามเวลาและพังใน ที่สุด หม้อแปลงไฟฟ้า และตัวนำไฟฟ้า อาจทนต่อแรงดันได้ถึง ๕ กิโลโวลต์ ตัวอย่างค่าแรงดันพังตามตารางที่ ๑
ชิ้นส่วนอุปกรณ์ แรงดันพัง (V)
1. Bipolar Transistor 15-65
2. Field Effect Transistor (FET) 10
3. Dynamic RAM (DRAM) 7
4. ชิ้นส่วนอื่นของคอมพิวเตอร์ 7
5. ลอจิก CMOS 7-15
6. ไมโครโพรเซสเซอร์ ประมาณ 5
7. Power Supply 2000-3000
ตารางที่ ๑ ตัวอย่างแรงดันพัง
                        หลักนิยมในการใช้อาวุธพัลส์แม่เหล็กไฟฟ้าด้วยหลักการของสงครามข้อมูลข่าวสาร คือองค์ภาครัฐ
ทางทหาร และทางเศรษฐกิจจะไม่สามารถทำงานได้ถ้าปราศจากการไหลของข้อมูลข่าวสาร ภาคเศรษฐกิจ และภาครัฐจะให้ความสำคัญของข้อมูลคอมพิวเตอร์ มิอาจถูกทำลาย หรือเปลี่ยนแปลงไป ส่วนทางทหารจะเน้นทั้งข้อมูลในส่วนของคอมพิวเตอร์อันได้แก่ระบบสารสนเทศทั้งเพื่อการบริหารและ
เพื่อการยุทธ นอกจากนี้ยังต้องใช้ประโยชน์ข้อมูลข่าวสารสนับสนุนฝ่ายเรา และทำลายข้อมูลข่าวสารข้าศึก ตั้งแต่เซ็นเซอร์ การสื่อสาร การประมวล จนกระทั่งการนำเสนอ ตัดวงจรการตัดสินใจ (OODA)
ในการใช้งานเชิงรุกสามารถใช้ EMP ทำลายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในช่วงเริ่มต้นของการรบ หากฝ่ายตรงข้ามไม่มีการป้องกัน EMP ที่เพียงพอจะสามารถทำลายระบบ C3I ยานพาหนะ เรือรบ
เครื่องบิน รถถัง ทีวี วิทยุ โทรศัพท์ ระบบไฟฟ้าและอื่น ๆ มิให้ใช้ราชการได้ จากนั้นก็ทำการรบแบบเดิม ซึ่งฝ่ายเรามีอาวุธพร้อม แต่ยุทโธปกรณ์ข้าศึกส่วนใหญ่ไม่สามารถใช้ ราชการได้
ในปฏิบัติการป้องกันนั้น สามารถจำแนกเป็นการป้องกันเชิงรุกซึ่งใช้ EMP ทำลายยุทโธปกรณ์ในฐานทัพ หรือในพื้นที่ของข้าศึก สามารถใช้ยิงให้ระเบิดเพื่อสกัดกั้นเครื่องบินโจมตี หรือขีปนาวุธ หรือทำลายระบบอิเล็กทรอนิกส์ ของกองเรือได้ ส่วนการป้องกันเชิงรับนั้น การยิง E-Bomb ให้ระเบิดสกัดกั้นข้าศึกจะต้องพิจารณา มิให้เป็นอันตรายต่ออุปกรณ์ฝ่ายเรา วิธีที่ดีที่สุดคือการยิง EMP จากยานรบบนพื้นดิน หรือบน เครื่องบินเพื่อต่อต้านเฉพาะจุด ในลักษณะเดียวกับอาวุธ พาร์ติเคิ้ลบีม10
สำหรับการใช้งาน EMP ทำลายเป้าหมายเชิงรุกนั้นสามารถพิจารณาความสำคัญสำหรับยุทโธปกรณ์ที่เป็นเป้าหมายตามจุดศูนย์ดุล ตามรูปแบบวงแหวน ๕ วง ของวอร์เดน11 ซึ่งยุทโธปกรณ์ในแต่ละวงมีความอ่อนไหวต่อ EMP ทั้งสิ้น
ตามรูป ๑๐
         วงในสุด ความเป็นผู้นำ (Leadership) ซึ่งมีอุปกรณ์ที่สำคัญได้แก่ เครือข่ายระบบ C3I
ของทั้งทางทหาร ภาครัฐ และเอกชน ซึ่งต้องพึ่งพา อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เป็นส่วนใหญ่ การจัดระบบ C3I แบบกระจาย เชื่อมต่อด้วยระบบใยแก้วนำแสง และเก็บอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในห้องที่มีการชิลด์
รูปที่ ๑๐ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตามจุดศูนย์ดุลในวงแหวน ๕ วงของวอร์เดน
จะเป็นอุปสรรคต่อการโจมตี (การจัดระบบ C3I แบบกระจายเป็นการแก้ปัญหาจุดอ่อนจากการ โจมตีทาง
อากาศด้วยอาวุธแบบเดิม แต่จะเป็นการง่ายต่อการโจมตีด้วย EMP ที่การสื่อสาร ยกเว้น ว่าจะแก้ไข
การสื่อสารด้วยระบบใยแก้วนำแสง เก็บอุปกรณ์ในห้องสำรองข้อมูล) การใช้ EMP ต่อต้านความเป็น
ผู้นำโดยการทำลายระบบ C3I จะให้ผลคุ้มค่า หากใช้อาวุธตามจำนวนและ แนวทางที่เหมาะสม จะทำให้การ
ปฏิบัติการ ทางทหารในระดับยุทธศาสตร์เป็นอัมพาต ส่งผลกระทบ ได้เช่นเดียวกับการทิ้งระเบิดทำลาย
ล้างแบบเก่าวงที่สอง โครงสร้างที่สำคัญทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีอุปกรณ์สำคัญได้แก่ อุปกรณ์ควบคุม
อัตโนมัติสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งต้องพึ่งพาคอมพิวเตอร์และไมโครโพรเซสเซอร์แทบ
ทุกกระบวนการ นอกจากนี้ยังมีธนาคาร และสถาบันการเงินโดยเฉพาะตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งอ่อนไหว
EMP ที่สามารถทำลายเป้าหมายทางเศรษฐกิจ สามารถตัดตอนกระบวนการต่างๆ ทำให้การผลิตหยุดชะงัก
เป็นการตัดแขนขาความเป็นผู้นำ การโจมตีอุปกรณ์และสิ่งปลูกสร้างที่สำคัญทางเศรษฐกิจด้วย EMP
โดยเฉพาะในช่วงแรกของสงคราม จะทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงัก ลดทรัพยากรที่จะสนับสนุน ทางทหารในการโจมตีจะต้องเลือกทำลายจุดศูนย์ดุลทางเศรษฐกิจให้ได้ วงที่สาม โครงสร้าง
ด้านการคมนาคมและการขนส่ง (Transport/ Communications Infrastructure) อุปกรณ์ที่สำคัญ
ได้แก่ระบบสัญญาณการจราจร สัญญาณไฟทั้งทางถนน รถไฟ และการจราจรทางอากาศ หากถูกทำลาย
จะทำให้เกิดความเสียหาย ความสับสน ระบบไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์รถยนต์ รถไฟ เรือสินค้า เครื่องบิน
โดยสาร ล้วนแต่อ่อนไหวต่อ EMP ทั้งสิ้น วงที่สี่ ประชากร (Population) การทำลายประชาชนเป็น
สิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยง สิ่งที่น่าจะดำเนินการคือทำลายขวัญ ปิดข่าวสาร ซึ่งสามารถทำลายอุปกรณ์อำนวย
ความสะดวก ไฟฟ้า แสงสว่าง วิทยุ โทรทัศน์ ทั้งภาครัฐและเอกชน แต่อย่างไรก็ตามการใช้ EMP
กับเป้าหมายนี้จะต้องพิจารณาให้ ถ้วนถี่ เพราะอาจจะส่งผลเสียต่อภาพพจน์ของผู้ใช้ อีกทั้งยังมีความเสี่ยงที่อาจขัดต่อข้อตกลงตามกฎการใช้กำลังทำลายสิ่งบริการที่มิใช่เป้าหมาย
ทางทหาร (Denial of Services to non-combatants) ซึ่งสหรัฐฯ เคยทำในลักษณะนี้ในสงคราม
โคโซโว กล่าวคือใช้ระเบิดริบบิ้นทำให้ไฟฟ้าดับทั้งเมือง12 วงที่ห้า กองกำลังทางทหาร
(Field Military Forces) ได้แก่ยุทโธปกรณ์ทางทหาร ฐานทัพ รถถัง เครื่องบิน เรือรบ เรือดำน้ำ
อุปกรณ์-สื่อสารประจำหน่วย การทำลายหรือทำให้เสียหายต่ออุปกรณ์ทางทหารจะเป็นการลดทอน
ขีดความสามารถในการรบ ทั้งการต่อต้านและ การใช้งานอุปกรณ์ ทำลายคลังอุปกรณ์เพื่อลด
ขีดความสามารถในการซ่อมบำรุง นอกจากนี้ ยังสามารถทำลายยานพาหนะเพื่อหยุดยั้งการเคลื่อนที่
ของกองกำลังข้าศึก
บันทึกการเข้า



...ไม่มีใครทำขาวให้เป็นดำ  หรือทำผิดให้เป็นถูกได้ตลอด...
~ Sitthipong - รักในหลวง ~
"วาจาย่อมมีน้ำหนัก หากหนุนด้วยสรรพอาวุธ"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2953
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23210



« ตอบ #5127 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2010, 09:18:30 PM »


การป้องกัน
                      ในการป้องกันจะต้องพิจารณาความสำคัญของอุปกรณ์ตลอดจน ความเสี่ยงที่จะเกิด EMP
ในส่วนของอุปกรณ์ที่มีใช้งานอยู่ สามารถป้องกันได้แต่ก็มีความยุ่งยากกว่าการออกแบบสำหรับระบบ
ที่จะจัดหาใหม่ ที่จะต้องเตรียมการป้องกันตั้งแต่การออกแบบ กำหนดคุณลักษณะ การตรวจรับ และ
การบำรุงรักษาซึ่งจะต้องมีการตรวจสอบ และซ่อมแซมอย่างต่อเนื่อง

๑ การป้องกันในระดับอุปกรณ์แบบ Component or Room Hardening มีข้อควรคำนึง ได้แก่ การแยกอุปกรณ์ให้ห่างกันเป็นการยากที่จะชิลด์ได้ทั้งหมด นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาว่า จะชิลด์อะไร อุปกรณ์บางอย่างหากเก็บในห้องที่ชิลด์ด้านนอกแล้วก็ไม่ต้องชิลด์หรือไม่ต้องระบุคุณสมบัติป้องกัน EMP ในการจัดหา (ดูรูปที่ ๑๑ ห้องชิลด์) แต่อุปกรณ์ประกอบที่จะต้องระวังเช่นช่องระบายความร้อน วงจรกรองทางไฟฟ้า

๒ การชิลด์อุปกรณ์อำนวยความสะดวก (Facility Shielding) เป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากเป็น จุดอ่อนที่สัญญาณจะเล็ดลอดเข้ามาภายในห้องได้ ห้องที่มีความสำคัญยิ่งยวดได้แก่ห้องควบคุมและสั่งการ ห้องที่เก็บข้อมูลและคอมพิวเตอร์ ประมวลผล หากมีความต้องการประสิทธิภาพ ในการชิลด์ (Shielding Effectiveness, SE) มากกว่า ๑๐๐ dB แล้ว จำเป็นต้องชิลด์อุปกรณ์อำนวยความสะดวก
รูปที่ ๑๑ ห้องชิลด์
(๑) ช่องเปิดในลักษณะท่อนำคลื่น เช่นช่องทางเดิน ช่องระบายอากาศ ช่องแอร์ ควรติดตั้งสายนำสัญญาณในท่อ ระบบแสงไฟควรติดตั้งไว้ด้านบน หากมีวงจรไฟฟ้าจะต้องติดตั้งวงจรกรองด้วย หากเป็นประตูควรเปิดใช้งานทีละข้าง
(๒) ระบบสายดิน เป็นการต่อสายดินของอุปกรณ์กับระบบสายดินรวม เพื่อให้ความต่างศักดิ์เป็นศูนย์เมื่อเทียบกับดิน หรือเมื่อเทียบระหว่างจุด
(๓) อุปกรณ์สนับสนุนหรืออุปกรณ์เสริมในห้อง เช่นอุปกรณ์สำรองไฟฟ้า จำเป็นต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟกระชากตามสายไฟด้วย
(๔) ท่อร้อยสาย เป็นจุดอ่อนที่จะเชื่อมออกนอกตึก เช่นระหว่างอุปกรณ์ในห้องกับ เจนเนอเรเตอร์นอกห้อง จำเป็นต้องชิลด์ด้วย โลหะแข็งและตามรอยต่อ
๓ การแบ่งโซน เป็นวิธีการป้องกันอุปกรณ์ตามระดับความสำคัญ อุปกรณ์ที่สำคัญ ที่สุดจะถูกจัดไว้ตรงกลาง และมีค่า SE ๑๐๐dB ขึ้นไป ส่วนอุปกรณ์ที่มีความสำคัญรองลงไป ก็จะถูกจัดรองลงไป และค่า SE ก็จะลดลงด้วย
(๑) โซนศูนย์ คือภายนอก ไม่มีการโซน
(๒) โซนหนึ่ง คือ ชั้นนอกสุด ปกติตั้งค่า SE ไว้ ๔๐ dB อุปกรณ์ที่สำคัญได้แก่ เจนเนอเรเตอร์ ในทางปฏิบัติจะใช้วิธีรีบาร์
(๓) โซนสอง คือ โซนกลาง ปกติ ตั้งค่า SE ไว้ ๖๐ dB อุปกรณ์ที่สำคัญได้แก่ อุปกรณ์สื่อสาร และอุปกรณ์สนับสนุนจ่าย/ สำรองไฟ
(๔) โซนสาม คือชั้นในสุดปกติตั้งค่า SE ไว้ ๑๐๐ dB อุปกรณ์ที่สำคัญได้แก่ อุปกรณ์ประมวลผลสำหรับการควบคุม บังคับบัญชา รวมทั้งฐานข้อมูลที่สำคัญ เช่นฐานข้อมูลระบบสารสนเทศเพื่อการยุทธ
๔ การป้องกันโดยรวม (Global Approach) เป็นกระบวนการออกแบบในภาพรวมครั้งเดียวครอบคลุมอุปกรณ์ภายในทั้งหมด
(๑) การออกแบบ ต้องมีความรู้ในด้านการแผ่รังสี จุดอ่อนของอุปกรณ์และมาตรฐานเช่นตารางที่ ๒ ทั้งยังต้องรองรับการขยายตัวในอนาคต สามารถดำเนินการพร้อมกับการก่อสร้าง เช่นการสร้างเรือกำหนดความต้องการห้อง ศูนย์ยุทธการไว้ ๑๐๐ dB อุปกรณ์ภายในห้องที่ ไม่มีการอินเตอร์เฟสออกนอกห้อง ก็ไม่จำเป็นต้องป้องกันเพิ่ม นอกนั้นต้องคำนึงถึง ช่องระบายอากาศ และสายสัญญาณ ท่อร้อยสายซึ่งต้องเผื่อการเสื่อมสภาพจากการใช้งาน
(๒) สามารถใช้ผลิตภัณฑ์ภาคการค้าภายในห้อง เนื่องจากมีการป้องกันรวมแล้ว
(๓) ไม่ต้องกังวลการลดทอนขีดความสามารถและการบำรุงรักษา ด้าน SE ของอุปกรณ์ย่อย
(๔) งบประมาณ สำหรับอุปกรณ์ที่มีการป้องกันอยู่บ้างแล้วก็ไม่จำเป็นต้องทำซ้ำ อุปกรณ์ที่จะเก็บไว้ในห้องชิลด์ก็ไม่จำเป็นต้องป้องกัน จะช่วยประหยัดงป.
(๕) มีกรอบการป้องกันรวม (Envelope) สามารถแก้ไขฟังก์ชันการทำงาน การตั้งค่า โดยไม่ต้องแก้ไขระบบย่อย แต่หากมีการแยกห้องจะต้องแยกดำเนินการ
๕. อุปกรณ์อำนวยความสะดวก ระดับ SE ที่ยอมรับได้ในการป้องกันคือ ๘๐ - ๑๐๐ dB ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความคงทนของอุปกรณ์ภายในอาจใช้การเชื่อมท่อโลหะโดยรอบ หรือใช้ท่อพีวีซีเพื่อลดผลกระทบจากท่อนำคลื่น สายโทรศัพท์อาจใช้ระบบใยแก้วนำแสง หรือหากเป็นสายทองแดงต้องใช้การกรอง ทั้งนี้รวมถึงสายไฟฟ้า สายส่ง และสายอากาศ หากจำเป็นต้องติดตั้งวงจรกันไฟกระโชก ท่อแอร์และท่อระบายอากาศจะต้อง ป้องกันความถี่ที่ผ่านด้วยการชิลด์แบบรังผึ้ง
๖.ข้อควรคำนึงในการป้องกันเมื่อติดตั้งระบบ เนื่องจากการดำเนินการจะต้องทำควบคู่กับงานอื่นเช่นการก่อสร้างตึก การสร้างเรือ แม้ว่าการป้องกัน EMP จะไม่เป็นอุปสรรคต่อการก่อสร้าง แต่การติดตั้งของงานทั้งสองด้าน ต้องสอดคล้องทั้งเวลาและพื้นที่ แบ่งงานออกเป็น ๓ กลุ่มคือ
(๑) การป้องกันระบบ การป้องกันด้าน EMC/EMI การป้องกัน EMP จะช่วยป้องกัน EMI สัญญาณความลับ(TEMPEST) และฟ้าผ่าด้วย สัญญาณของฟ้าผ่ามี Rise Time ช้ากว่า แต่ขนาดของพัลส์สูงกว่า และย่านความถี่แคบกว่า EMP การออกแบบให้ครอบคลุมทั้งสองด้าน หากต้องการประสิทธิภาพสูงสุดทำได้ยากนอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงความปลอดภัยทางกายภาพ
(๒) ระบบภายใน การป้องกันระบบรักษาความปลอดภัย และระบบป้องกันไฟ ระบบรักษาความปลอดภัยบังคับให้มีทางออก ๒ ทาง ซึ่ง ขัดแย้งกับหลักการชิลด์ที่พยายามลดช่องทางออก ดังนั้นในทางปฏิบัติ จะต้องมี ๒ ประตูแต่เปิดปิดทีละบาน ระบบสัญญาณเตือน อุปกรณ์ดับไฟ ล้วนแต่เป็นอุปสรรคต่อการป้องกัน EMP นอกจากนี้ ระบบป้องกันการสึกกร่อนเรือในลักษณะ (Cathodic Protection) ต้องสอดคล้องกับระบบ สายดิน
(๓) ระบบที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม มีผลต่อการซ่อมทำและการปรับปรุง การขยายตัวและการหดตัวเมื่อถูกความร้อน การชิลด์จึงต้องมีความอ่อนตัว เพื่อมิให้เกิดรอยแตกร้าว ความสั่นสะเทือน และการรบ ในการออกแบบบางครั้ง จำเป็นต้องเก็บอุปกรณ์ที่มีความสั่นสะเทือนไว้ ภายในระบบชิลด์ จำเป็นต้องระมัดระวังการ สั่นสะเทือน ซึ่งนอกจากจะทำให้รอยเชื่อมต่อ แตกร้าวแล้ว ยังเป็นต้นกำเนิดของสัญญาณรบกวนอีกด้วย นอกจากนี้แรงช็อก และการเคลื่อนที่ของผิวดิน โดยเฉพาะแผ่นดินไหว จะทำให้โครงสร้างระบบป้องกัน ชำรุดเสียหาย
ตารางที่ ๒ ตัวอย่างมาตรฐานที่เกี่ยวกับ EMP/EMC/EMI
มาตรฐาน/เอกสาร รายละเอียด
Mil-std-188-124 การเชื่อมต่อ ต่อสายดิน และชิลด์
Mil-hdbk-419 การเชื่อมต่อ ต่อสายดิน และชิลด์
Mil-hdbk-411A การสื่อสารระยะไกล ระบบไฟฟ้า
Mil-hdbk-232 คู่มือการติดตั้งอุปกรณ์ลับ
Mil-hdbk-1195 RF Shield Enclosure
Mil-Std-285 การวัดการลดทอนของอุปกรณ์ที่ชิลด์
Mil-Std-461E EMI/EMC ปรับปรุงล่าสุด
Mil-Std-464 มาตรฐานการอินเตอร์เฟส E3 (EMP)
สรุป
อาวุธพัลส์แม่เหล็กไฟฟ้า เป็นภัยคุกคามต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์ที่มีชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เป็นองค์ประกอบ ทั้ง HANE และระเบิด E-Bomb เป็นอาวุธทางยุทธศาสตร์ที่มีความรุนแรงอันตรายต่ออุปกรณ์สูง สำหรับระเบิด E-Bomb นั้นเทคนิคการสร้างด้วย FCG มีความ รุนแรงสูงสุด สร้างได้ง่าย และราคาไม่แพง
การทำให้อาวุธ EMP มีผลทำลายล้างนั้นมีหลักนิยมที่สำคัญคือ HANE จะให้ผลรุนแรงเมื่อระเบิดที่ความสูงเหมาะสม การยิงสกัดกั้นก็ยังไม่สามารถหยุดยั้งการทำลายอุปกรณ์ลงได้ ในขณะที่ E-Bomb มีทางเลือกเพิ่มเติมคือปรับแต่งความสูงให้เหมาะกับพื้นที่ที่ต้องการทำลาย และสามารถติดตั้งบนยานรบหลากหลาย ทั้ง E-Bomb และ HANE สามารถส่งผลทำลายอุปกรณ์ฯ ตามความสำคัญของหลักการจุดศูนย์ดุลของวอร์เดนท์
สำหรับการป้องกันอันตรายจากอาวุธ EMP นั้น สามารถป้องกันได้ทั้งระดับอุปกรณ์ และ ป้องกันในภาพรวม อีกทั้งยังสามารถป้องกันการแพร่ความลับของอุปกรณ์ในลักษณะ TEMPEST ได้อีกด้วย ในการแบ่งโซนจะเน้นจัดอุปกรณ์ที่สำคัญสูงสุดไว้ชั้นใน โดยให้มีประสิทธิภาพของการป้องกัน ๑๐๐ dB ขึ้นไป เริ่มตั้งแต่การออกแบบ และกำหนดคุณลักษณะในการจัดหา ขั้นตอนการตรวจรับ และการบำรุงรักษาที่ชัดเจน
เอกสารอ้างอิง

น.ท.ศิลป์ พันธุรังษี

1. US Army, EP 1110-3-2 EMP/TEMPEST Protection, 1990
2. Carlo Kopp, E_Bomb, A Weapon of Electrical Mass Destruction, Department of Computer Science, http://www.cs.monash.edu.au
3. C.N. Chosh, EMP weapon
4. Marx Generator, http://www.kronjaejer.com
5. http://www.ucc.ie/mhd/dt-fusion.htm
6. http://www.nrc.gov/rt1996/images
7. http://www.ucc.ie/mhd/tokamak.htm
8. http://www.ucc.ie/mhd/stellarator.htm
9. Eileen Walling, Colonel USAF, HPM, Air war college, http://au.af.mil/au/awc/awccsat.htm
10. Richard Roberds, Introducing the Particle Beam Weapon
11. http://lindgrenrf.com/ind_psddoor.htm
12. The Daily Time (Pakistan) Nov 17, 2002
บันทึกการเข้า



...ไม่มีใครทำขาวให้เป็นดำ  หรือทำผิดให้เป็นถูกได้ตลอด...
เจ็บ
^_^ ไม่รุกรานใคร ^_^
ชาว อวป.
Sr. Member
****

คะแนน 162
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 952


ไม่พอใจใครจะเตะให้โด่งเลย


« ตอบ #5128 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2010, 09:21:59 PM »

ขอบคุณครับสำหรับความรู้  กว่าจะอ่านหมด  หัวเราะร่าน้ำตาริน


บันทึกการเข้า

"  ในปัจจุบันประสบการณ์มีค่ามากกว่าใบปริญญามากมายนัก  "
preecha2858
ทำดีให้คนเกรง ดีกว่าเป็นนักเลงให้คนกลัว
Full Member
***

คะแนน 9
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 239


จงอย่ากลัวใคร นอกจากตัวเอง


« ตอบ #5129 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2010, 09:36:17 PM »

ชอบเครื่องบินเหมือนกันครับ
นานาจิตตัง
jas39 ได้ความสดใหม่
แต่ f16 ได้ความเก๋า
ส่วนตัวแล้ว ขับ YAMAHA JR120 M ครับ
อย่าเครียดนะครับ ยิ้มๆกันเข้าไว้
บันทึกการเข้า

มีส้นเท้าเป็นจุดยืน มีปืนเป็นเพื่อนตาย
หน้า: 1 ... 339 340 341 [342] 343 344 345 ... 1487
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.096 วินาที กับ 21 คำสั่ง