ข่าวจาก DTI Defense news around the world - 3 ต.ค. - 9 ต.ค. 54
Wednesday, 05 October 2011 11:30
Thanks:
ฝากรูป,
ฟุตบอล๏ กองทัพบกไทยได้รับอนุมัติจัดซื้อ AS550 C3 Fennec/ประเทศไทย เมื่อวันที่ 27 กันยายนที่ผ่านมา รัฐบาลไทยได้อนุมัติให้กองทัพบกจัดซื้อเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์จู่โจมขนาดเบา/เอนกประสงค์ แบบ AS550 C3 Fennec ของ Eurocopter โดยคาดว่าจะใช้งบประมาณราว 1,500 ล้านบาท ซึ่งรวมถึงระบบสนับสนุนทางวิศวกรรม การฝึกนักบินและช่าง และอะไหล่ต่างๆ แต่พร้อมกันนี้รัฐบาลได้ปฏิเสธข้อเสนอซื้อเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ Sikorsky UH-60 Black Hawk เพิ่มเติม อย่างไรก็ตามกองทัพบกยังคงพยายามที่จะยื่นขอเสนอขอจัดซื้อเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์รุ่นดังกล่าวอีกครั้งในราวเดือนตุลาคม ทั้งนี้ เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์แบบ AS550 C3 Fennec นี้ เป็นเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนที่สามารถติดอาวุธได้ ซึ่งจะมาช่วยเพิ่มขีดความสามารถของกองทัพบกในการลาดตระเวนหาข่าว
Thanks:
ฝากรูป,
ฟุตบอล๏ เกาหลีใต้กำลังพัฒนาจรวดร่อนความเร็วเหนือเสียง/เกาหลีใต้ ประเทศเกาหลีใต้กำลังพัฒนาจรวดร่อน (Cruise Missile) ความเร็วเหนือเสียง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของกองทัพในการทำลายแนวปืนใหญ่ตามชายฝั่ง และระบบยิงจรวดของเกาหลีเหนือ โดยจรวดรุ่นนี้ได้รับการพัฒนานมาจากจรวดต่อต้านเรือรุ่น Haeseong (Sea Star หรือ SSM-700K) ซึ่งใช้ชื่อรหัสชั่วคราวว่า Haeseong II โดยสามารถยิงเป้าหมายที่อยู่บนบกจากเรือพิฆาตแบบ Aegis อย่างไรก็ตาม Defence Acquisition Programme Administration หรือDAPA ของเกาหลีใต้ปฏิเสธที่จะให้ข่าวอย่างเป็นทางการในเรื่องของโปรแกรมการพัฒนาจรวดร่อนดังกล่าว ทั้งนี้ ในปัจจุบัน ประเทศที่ครอบครองจรวดร่อนความเร็วเหนือเสียงได้แก่ประเทศสหรัฐฯ รัสเซีย จีน ฝรั่งเศส และอินเดีย
๏ อินโดนีเซียกับจีนเตรียมร่วมผลิตจรวด C-705/อินโดนีเซีย กระทรวงกลาโหมของอินโดนีเซียได้กล่าวยืนยันว่าจะมีการร่วมมือกันผลิตอาวุธจรวดพื้นสู่พื้น C-705 กับทางจีน เพื่อใช้ในเรือจู่โจมเร็ว KCR-40 ของอินโดนีเซีย ซึ่งโครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของจดหมายแสดงเจตนารมณ์ (Letter of Intent LoI) ที่ลงนามกันช่วงต้นปี 2011 ที่ผ่านมา โดยในจดหมายฉบับดังกล่าวก็ได้รวมถึงการร่วมกันผลิตจรวดร่อนต่อต้านเรือแบบ C-802 เพื่อนำไปประจำการบนเรือ PB-57 ด้วย ทั้งนี้จรวดร่อนทั้ง C-705 และ C-802 เดิมได้รับการพัฒนาโดย China Aerospace Science & Industry Corporation และขายให้ประเทศอินโดนีเซียโดย China Precision Machinery Import-Export Corporation หรือ CPMIEC ส่วนในอินโดนีเซียจรวดดังกล่าวจะถูกผลิตภายใต้ PT Pindad ซึ่งเป็นองค์กรภายใต้รัฐบาลอินโดนีเซีย
Thanks:
ฝากรูป,
ฟุตบอล๏ สามบริษัทส่งเครื่องบินรบเข้าร่วมประมูล F-X Programme ของญี่ปุ่น/ญี่ปุ่น หลังจากผ่านเส้นตายที่รัฐบาลญี่ปุ่นตั้งไว้เมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมาในการหาผู้ร่วมเข้าประมูลจัดหาเครื่องบินรบในโครงการ F-X Programme ปรากฏว่ามีสามบริษัทยักษ์ใหญ่ยืนยันเข้าร่วมประมูลได้แก่ BAE Systems ซึ่งเสนอเครื่องบิน Typhoon ภายใต้ Eurofighter consortium โดยมีรัฐบาลสหราชอาณาจักร และบริษัท Japan's Sumitomo Corporation สนับสนุน ส่วน Boeing ได้เสนอเครื่องบิน F/A-18E/F Super Hornet Block II โดยอาศัยความสัมพันธ์อันดีระหว่างญี่ปุ่นกับกองทัพเรือสหรัฐฯ และ Lockheed Martin ได้เสนอ F-35A Lightning II Joint Strike Fighter (JSF) โดยอาศัยความสัมพันธ์อันดีระหว่างญี่ปุ่นกับกองทัพอากาศสหรัฐฯ ซึ่งคาดกันว่ารัฐบาลญี่ปุ่นจะทำการตัดสินใจขั้นสุดท้ายในราวปลายปี 2011 หรือต้นปี 2012 และจะได้รับมอบราวปี 2015-2016 ทั้งนี้รัฐบาลญี่ปุ่นต้องการจัดซื้อเครื่องบินราว 40 ลำ เพื่อนำมาแทนฝูงบิน McDonnell Douglas F-4EJKai ภายใต้งบประมาณราว 4 พันล้านเหรียญฯ (ประมาณ 1.24 แสนล้านบาท)
Thanks:
ฝากรูป,
ฟุตบอล Thanks:
ฝากรูป,
ฟุตบอล๏ อินโดนีเซียเสาะหาพันธมิตรต่างชาติเพื่อผลิตเครื่องฝึกจำลองบินฝูง Sukhoi/อินโดนีเซีย - อินโดนีเซียกำลังหาพันธมิตรเพื่อร่วมพัฒนา และสร้างเครื่องฝึกจำลองการบินสำหรับฝึกปฏิบัติการใหักับนักบิน สำหรับจำนวนฝูงบิน Sukhoi นำเข้าจากประเทศรัสเซียที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยจะเสาะหาพันธมิตรที่มีศักยภาพจากประเทศรัสเซีย จีน และแคนาดา ซึ่งรัฐบาลอินโดนีเซียจะให้บริษัท PT Dirgantara Indonesia (PTDI) มาเป็นผู้ร่วมสร้างระบบฝึกบินดังกล่าว และจะให้ถือเป็นลิขสิทธิ์ของประเทศอินโดนีเซีย โดยเครื่องฝึกจำลองการบินนี้ จะนำไปใช้ที่ฐานทัพอากาศ Sultan Hasanuddin บนเกาะ Sulawesi ซึ่งมีเครื่องบิน Sukhoi อยู่ 10 ลำ เป็นรุ่น Su-27SK 5 ลำ และ Su-30MK 5 ลำ ทั้งนี้ ในปี 2010-2011 อินโดนีเซียได้เพิ่มจำนวนพันธมิตรที่มีศักยภาพไปในหลาย ๆ ประเทศ ทั้งบริษัท Supplier และการถ่ายทอดเทคโนโลยีต่าง ๆ ให้กับอุตสาหกรรมในประเทศ โดยมีการลงนามทำสัญญากับประเทศต่าง ๆ เช่น ฝรั่งเศส จีน เยอรมัน ปากีสถาน เซอร์เบีย เกาหลีใต้ สเปน และตุรกี
๏ ความสัมพันธ์ทางการทหารจีน-สหรัฐฯ ตึงเครียดขึ้นหลังจากสหรัฐฯ ขายอาวุธให้ไต้หวัน/สหรัฐอเมริกา-จีน นาย Yang Jiechi รัฐมนตรีต่างประเทศของจีน ได้ติดต่อเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำกรุงปักกิ่ง เพื่อยื่นข้อประท้วงจากการที่สหรัฐฯ ขายอาวุธให้แก่ไต้หวันในรอบล่าสุดนี้ ว่าจะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ทางการทหารระหว่างจีนกับสหรัฐฯ นอกจากนี้ยังส่งเอกสารต่อต้านการขายอาวุธในแก่ไต้หวันผ่านทางนาง Hillary Clinton รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ในการประชุม UN ที่นิวยอร์คด้วย ทั้งนี้ จีนเคยได้ตัดความสัมพันธ์ทางทหารกับสหรัฐฯ หลังจากที่สหรัฐฯ ได้ขายอาวุธให้กับไต้หวันมูลค่า 6 พันล้านเหรียญฯ (ราว 1.86 แสนล้านบาท) ซึ่งประกอบด้วยจรวดป้องกันทางอากาศ เฮลิคอปเตอร์ และอุปกรณ์ในการติดต่อสื่อสาร โดยในปี 2011 นี้ สหรัฐฯ ได้เสนอโปรแกรมอัพเกรดเครื่องบินรบ F-16 A/B จำนวน 145 ลำ มูลค่า 5.3 พันล้านเหรียญฯ (ราว 1.6 แสนล้านบาท) โปรแกรมต่อเนื่องสำหรับการฝึกซ้อมในฐานทัพอากาศ Luke มูลค่า 500 ล้านเหรียญฯ (ราว 15.5 พันล้านบาท) และโปรแกรมจัดหาอะไหล่ให้แก่ Northrop F-5 AIDC Indigenous Defence Fighter (IDF) รวมถึงเครื่องบินลำเลียง Lockheed Martin C-130H มูลค่า 52 ล้านเหรียญฯ (ราว 1.6 พันล้านบาท) ให้แก่ไต้หวัน
SDA2...
Last Updated on Wednesday, 05 October 2011 11:50