เครื่องบิน สเตลท์ น่ะไช่ แต่ วัสดุ ที่ใช้ ไม่มี่ทางเหมือนกันแน่ นอกจาก ฝ่ายหนึ่ง อาจโดน จารกรรม ยิ่ง สารเคลือบผิว ยิงเป็นคนละชนิดกัน แน่นอน ย่อมส่งผล ให้กับ การสะท้อนคลื่นเรด้า ต่างกัน การ แพร่รังสี อินฟาเรด F-22 ฝังเครื่องยนต์ ทั้งเครื่องใว้ในลำตัว ส่วน T-50 ออกแบบให้ ช่องรับอากาศ บังใบพัด หน้า ของ เครื่องยนต์เท่านั้น แต่ ส่วนท้ายเครื่องยนต์ ไม่ได้ซ่อนในลำตัว ทำให้มีรังสี อินฟาเรด และ พื้นที่สะท้อนสัญญาณเรด้า ได้มากกว่า
ในอดีต ก็เคยมี กรณี นี้มาแล้ว คือ เครื่อง SR-71 ของ สหรัฐ ไม่สามารถตรวจจับด้วยเรด้าได้ (ในสมัยนั้น) แต่ ไอเสียความร้อน ของ เครื่องบิน ที่ใช้เครื่องยนต์ แรมเจ็ต ทิ้งร่องรอย ความร้อนใว้ในอากาศ ตามเส้นทางที่เครื่องนี้ผ่าน
เครื่องยนต์ ยุคใหม่ ถึงมีการบินเหนือเสียง โดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้ After Burn นอกจากประหยัดน้ำมันแล้ว ยังเพิ่มพิศัยการบินได้อีก
F-22 มี ดาต้าลิ๊งค์ ที่สามารถสื่อสาร กับ เรด้า จา่กแหล่งอื่น ทั้ง จาก เครื่อง เอแว็คส์ หรือ เรด้าภาคพื้น โดยเครื่องจะคำนวน ระยะห่างเป้าหมาย ได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องเปิดเครื่องเรด้า ของตัวเอง
สารเคลือบผิวเป็นเป็นชนิดเดียวกันคือ RAM (Radar-absorbent material) หรือวัสดุซึมซับคลื่นเรดาร์ จะต่างกันที่ส่วนผสม ซึ่งวัสดุนี้ไม่ใช้ของใหม่
มีการนำมาใช้ในเครื่องบินรบสมัยใหม่นานแล้ว โดยอยู่ในส่วนของกรวยจมูกและช่องรับอากาศ และทางทร.ไทยของเราก็เคยมีการวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้
ส่วนผสมจะต่างกันบ้างถ้าต้องเน้นให้ดูดซับความถี่ต่างกันเช่น S , KU หรือ X Band
เรื่องการแผ่รังสีอินฟาเรดมาจากความร้อนในห้องเผาไหม้ การที่F-22 ร่นเครื่องยนต์เข้าไปเพียงฟุตเดียวจะลดการแผ่รังสีได้จริงหรือ?
ถ้ามันง่ายขนาดนั้นเครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบของเฮลิคอปเตอร์ทั้งหลายก็คงไม่เดือดร้อนจากอาวุธปล่อยนำวิถีด้วยความร้อนแล้ว
เรื่องการสะท้อนคลื่นเรดาร์ของท่อท้าย ถ้าบินตรงสัญญาณเรดาร์จะกระทบที่หัวเครื่องโดนดูดซับและหักเหออก จะโดนท่อท้ายมากแค่ไหน
ท่อท้ายของ F-22 ออกแบบมาเพื่อตัดสัญญาณเรดาร์ระดับต่ำ ซึ่งT-50ทำไม่ได้เพราะใช้ท่อท้ายเคลื่อนไหวได้ทุกทิศทาง
จึงใช้วิธีเคลือบผิวเครื่องยนต์ทั้งหมดด้วยวัสดุซึมซับคลื่นเรดาร์แทน
เรื่อง Data-Link เป็นระบบพื้นฐานของเครื่องบินรบยุคที่4 และยุคที่3บางรุ่น ฝั่งรัสเซียมีระบบที่สมบูรณ์ใช้มาตั้งแต่ช่วงสงครามเย็น
เครื่องบินรบอย่าง Mig-29 , 31, Su-27 มีใช้กันถ้วนหน้า ทั้งเรดาร์ภาคพื้นและเครื่องควบคุมและแจ้งเตือนทางอากาศอย่าง Beriev A-50
F-22 มี ดาต้าลิ๊งค์ ที่สามารถสื่อสาร กับ เรด้า จา่กแหล่งอื่น ทั้ง จาก เครื่อง เอแว็คส์ หรือ เรด้าภาคพื้น โดยเครื่องจะคำนวน ระยะห่างเป้าหมาย ได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องเปิดเครื่องเรด้า ของตัวเอง
อันนี้ ของรัสเซียก็มีครับ
มันทันกันหมดนั่นแหละครับพี่ AWAC ก็มีเหมือนกันเพียงแต่ปรัชญาการออกแบบต่างกันเราเลยไม่รู้ว่าของใครดีกว่าใคร
จะรู้ได้ก็ตอนซ้อมรบกันนั่นแหละ แต่ตอนนี้ผมก็เห็นแค่ข้อมูลแล้วก็มองจากข้อมูลที่เห็นด้วยตา ไม่ได้หลงไปทำคำโฆษณาของทั้ง2ค่าย