เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤศจิกายน 26, 2024, 02:38:46 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: อวป. มีจำหน่ายที่ สนามยิงปืนราชนาวี/สนามยิงปืนบางบัวทอง/สนามยิงปืนศรภ./
/สนามยิงปืนทอ./
สิงห์ทองไฟร์อาร์ม
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 ... 1164 1165 1166 [1167] 1168 1169 1170 ... 1487
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เครื่องบินขับไล่ใหม่ กองทัพอากาศไทย  (อ่าน 3907138 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 22 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
~ Sitthipong - รักในหลวง ~
"วาจาย่อมมีน้ำหนัก หากหนุนด้วยสรรพอาวุธ"
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 2953
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 23210



« ตอบ #17490 เมื่อ: พฤศจิกายน 06, 2013, 10:19:24 PM »

บอกให้เอาข้อมูลมาลงก็บอกไปหลายกระทู้แล้วนะ  ไม่เห็นจะเอามาลงซักที  ดีแต่พูดอยู่นั่นแหละ    Grin
บันทึกการเข้า



...ไม่มีใครทำขาวให้เป็นดำ  หรือทำผิดให้เป็นถูกได้ตลอด...
ChongKo
Hero Member
*****

คะแนน -1176
ออฟไลน์

กระทู้: 1428


« ตอบ #17491 เมื่อ: พฤศจิกายน 06, 2013, 11:02:04 PM »

ตอนนี้ผมกำลังทำสิ่งที่ล้ำค่ากว่าการเอาข้อมูลมาลงครับ นั่นคือการเตือนสติ ให้ข้อคิดกับพวกเจ้าที่ในนี้ ก่อนที่พวกท่านจะทำให้บอร์ดกลายเป็นสถานที่รกร้างว่างเปล่า ดำทะมึนน่ากลัวน่าสยดสยองไปมากกว่านี้ จนคนดีๆทั่วไปไม่กล้าเข้ามาคุยกับพวกท่าน ผมเองก็ยอมอดทน เสียสละ ยอมโดนด่าดูแคลน เพื่อให้บอร์ดดีขึ้นเจริ*ขึ้น ดีขึ้น ถือว่าเป็นการสงเคราะห์สังคม
 Coolจรจา

แต่ไหนๆก็เข้ามาแล้ว คอมเม้นมุมมองนิดนึงก็ได้ครับในด้านอาวุธ  ผมว่าการจัดซื้ออาวุธของเราถอยหลังเข้าคลองลงเรื่อยๆ เราตอนนี้ทำสิ่งที่น่าเป็นห่วงมากคือ

๑.ไม่ยอมจัดซื้ออาวุธจากประเทศพันธมิตรทางทหารหลัก เช่น สหรัฐฯ แต่ไปจัดซื้อจากประเทศเล็กๆ เช่น ยูเครน สวีเดน ที่มีพาวเวอร์ทางการเมืองระดับโลกต่ำ การสนับสนุนด้านต่างๆในอนาคตก็จะน้อยตามไปด้วย เช่น ช่องทางส่งกำลังบำรุง การสนับสนุนด้านการเจรจา ฯ
๒. ไม่ยอมจัดซื้ออาวุธในรุ่นโมเดล ที่นิยมใช้แพร่หลายกันทั่วโลก รถถังยูเครนก็มีใช้แค่สองสามประเทศ กริฟเปนก็มีกระปิดกระปรอย
อาวุธที่ไม่แพร่หลายเพราะไม่ค่อยมีใครซื้อทั้งๆที่ผู้ขายพยายามขาย แสดงว่าในวงกว้างไม่ได้ให้การยอมรับในด้านประสิทธิภาพ

นี่คือแนวโน้ม เทรนด์ใหม่ที่กำลังมาแรงในการจัดหาอาวุธของกองทัพ อะไรที่ชาวโลกเค้าไม่ใช้กันเราจะซื้อมาใช้ เหอๆๆ... เยาะเย้ย

อีกเรื่องหนึ่งก็คือ การแสดงแสนยานุภาพ วันสำคัญๆประเทศต่างๆทั่วโลกจะแสดงแสนยานุภาพ อาวุธ ยุทโธปกรณ์ อวดความน่าเกรงขามให้คนในชาติภูมิใจ ให้ประเทศอื่นมีความยำเกรง แต่กองทัพเราเหมือนไม่ค่อยอยากให้ประชาชนรู้เรื่องกองทัพมากนัก... Huh
บันทึกการเข้า
ChongKo
Hero Member
*****

คะแนน -1176
ออฟไลน์

กระทู้: 1428


« ตอบ #17492 เมื่อ: พฤศจิกายน 06, 2013, 11:15:33 PM »

อีกปัญหาหนึ่งของกริปเปน การเข้ากันไม่ได้ทางระบบเข้ารหัสคลื่นวิทยุ กับ ระบบเข้ารหัสคลื่นวิทยุตามมาตรฐานนาโต เป็นการออกศึกของจริงครั้งแรกของกริปเปนในลิเบีย ปัญหาทางด้านการสื่อสารระหว่างกริปเปนกับเครื่องบินรบนาโต้

https://www.strategypage.com/dls/articles/Gripen-Finds-Its-Flaws-In-Combat-12-10-2011.asp
Gripen Finds Its Flaws In Combat
by James Dunnigan
December 10, 2011

The Swedish made JAS-39 Gripen jet fighter [PHOTO] got its first combat experience over Libya recently, as part of the UN sponsored humanitarian bombing campaign. As with most aircraft, the first time in combat, problems show up that were not revealed during tests or training. For example, the encrypted radios, fitted out to communicate with NATO aircraft (Sweden is not a member, but is equipped to operate with the alliance), had problems. This was because the radios were not previously tested with regular NATO encrypted radios, only against Swedish aircraft. The problem was quickly fixed. What has not been fixed is the growing frequency with which problems like this show up.
 Tongue
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 06, 2013, 11:21:58 PM โดย ChongKo » บันทึกการเข้า
ChongKo
Hero Member
*****

คะแนน -1176
ออฟไลน์

กระทู้: 1428


« ตอบ #17493 เมื่อ: พฤศจิกายน 06, 2013, 11:38:01 PM »

อีกหนึ่งปัญหาของกริปเปน น้ำมันที่ใช้คนละชนิดกับเครื่องบินรบของ US NAVY ซึ่งเป็นหนึ่งในชาติพันธมิตรนาโต้

http://www.thelocal.se/20110407/33058

US fuel stops Gripen Libya mission
Published: 07 Apr 2011 07:55 GMT+02:00
Updated: 07 Apr 2011 07:55 GMT+02:00

FacebookTwitterGoogle+reddit
The Swedish JAS Gripen aircraft deployed in Sicily as part of NATO's Libya mission remained grounded on Thursday as the fuel available is suitable only for US navy aircraft.


The eight fighter jets are located in the US part of the Sigonella airbase on Sicily and the only fuel available it that which is used for US navy aircraft.

The Gripen were due to participate in their first mission over Libya on Thursday but this has now been delayed and test flights have been postponed.

According to the outline plan, the eight aircraft were all due to monitor the UN no-fly zone over the civil-war torn country from Thursday but on arrival at the base they discovered that no fuel was available.

The Sigonella base is designed as a naval air force base, lieutenant colonal Mats Brindsjö, head of the Swedish Air Operation Center, said.

"And US navy aircraft use somewhat different fuel to that which we use in our planes," he told the TT news agency.

The US fuel variety is known as JP5 while the Gripen normally fly using a civil fuel known as Jet A1.

"Certain additives and some equipment are needed to change JP5 to Jet A1 in a controlled manner. This equipment is not as yet in place down there and in the time being we are trying to buy the fuel from a place off the base."

"This really should have been investigated as soon as we arrived, but we didn't have time with all the other details," Mats Brindsjö said, adding that he expects the Gripen aircraft to be in the air on Friday.

The Swedish aircraft will undergo a test flight in order to familiarize themselves with the airspace before NATO authorities are informed that the Gripen stand at the ready.

Sweden is not a member of NATO, although it has been in NATO's
บันทึกการเข้า
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265


ขาย-อัพเกรด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง


« ตอบ #17494 เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2013, 12:27:47 AM »

เดี๋ยวจะมีคนเข้าใจผิด

Sweden มิได้เข้าเป็นสมาชิกของ "องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ" (North Atlantic Treaty Organization)
รวมถึงมิได้เป็น "พันธมิตรนอกนาโต"  (Major non-NATO ally)  จึงไม่มีความจำเป็นอันใดที่ต้องปรับปรุงระบบของตนให้เข้ากับ NATO

จากข่าว "The Swedish made JAS-39 Gripen............................................. as part of the UN sponsored humanitarian bombing campaign."
JAS-39 ของกองทัพอากาศสวีเดนเข้าร่วมในเหตุวุ่ยวายในลิเบีย  "ในนามของสหประชาชาติในภารกิจด้านมนุษยธรรม" มิใช่ในนามของ NATO
หน้าที่ประสานงานกับหน่วยงาน "ต่างชาติและภาษา" เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ประสานงานด้านระบบสื่อสารมิได้เป็นความบกพร่องของตัวเครื่องบิน JAS-39

เรื่องเชื้อเพลิง  ตามข่าว "the only fuel available it that which is used for US navy aircraft."  
JAS-39ใช้เชื้อเพลิง Jet A-1 ซึ่งเป็น "เชื้อเพลิงมาตรฐาน" ของสนามบินใหญ่ๆทั่วโลก  แต่เชื้อเพลิงที่อเมริกันใช้คือ JP-8 (MIL-DTL-83133)
ซึ่งปรับปรุงโดยใช้พื้นฐานจากเชื้อเพลิงJet-A ซึ่งมีสเป็คแตกต่างจากJet A-1 ซึ่งอาจจะเติมใส่กันได้แต่ไม่เหมาะสม และไม่มีเหตุผลที่ต้องดันทุรัง

ถ้า JAS-39 มีปัญหาด้านเชื้อเพลิงจริงดังว่าชาติสมาชิกทั้งในและนอกNATOที่ประจำการเครื่องบินรุ่นนี้ คงมีปัญหาบินไม่ได้กันหมดแล้ว
Czech Republic Air Force และ Hungarian Air Force ประจำการชาติล่ะ14ลำ ที่นั่งเดี่ยว12ลำ สองที่นั่ง2ลำ
British Empire Test Pilots' School (ETPS) เข้าประจำการในปี2008
รวมถึงทอ.ไทยของเราที่ทราบกันอยู่แล้ว
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 27, 2013, 11:36:46 AM โดย อรชุน-รักในหลวง » บันทึกการเข้า
rute - รักในหลวง
Forgive , But not Forget .
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1960
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 22591


"ผลิดอกงามแตกกิ่งใบ..."


« ตอบ #17495 เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2013, 12:38:42 AM »

+1 ท่านอรชุนครับ... Cheesy
บันทึกการเข้า
SOAP47 รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 333
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5792



« ตอบ #17496 เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2013, 01:15:47 AM »

เดี๋ยวจะมีคนเข้าใจผิด

Sweden มิได้เข้าเป็นสมาชิกของ "องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ" (North Atlantic Treaty Organization)
รวมถึงมิได้เป็น "พันธมิตรนอกนาโต"  (Major non-NATO ally)  จึงไม่มีความจำเป็นอันใดที่ต้องปรับปรุงระบบของตนให้เข้ากับ NATO

จากข่าว "The Swedish made JAS-39 Gripen............................................. as part of the UN sponsored humanitarian bombing campaign."
JAS-39 ของกองทัพอากาศสวีเดนเข้าร่วมในเหตุวุ่ยวายในซีเรีย  "ในนามของสหประชาชาติในภารกิจด้านมนุษยธรรม" มิใช่ในนามของ NATO
หน้าที่ประสานงานกับหน่วยงาน "ต่างชาติและภาษา" เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ประสานงานด้านระบบสื่อสารมิได้เป็นความบกพร่องของตัวเครื่องบิน JAS-39

เรื่องเชื้อเพลิง  ตามข่าว "the only fuel available it that which is used for US navy aircraft." 
JAS-39ใช้เชื้อเพลิง Jet A-1 ซึ่งเป็น "เชื้อเพลิงมาตรฐาน" ของสนามบินใหญ่ๆทั่วโลก  แต่เชื้อเพลิงที่อเมริกันใช้คือ JP-8 (MIL-DTL-83133)
ซึ่งปรับปรุงโดยใช้พื้นฐานจากเชื้อเพลิงJet-A ซึ่งมีสเป็คแตกต่างจากJet A-1 ซึ่งอาจจะเติมใส่กันได้แต่ไม่เหมาะสม และไม่มีเหตุผลที่ต้องดันทุรัง

ถ้า JAS-39 มีปัญหาด้านเชื้อเพลิงจริงดังว่าชาติสมาชิกทั้งในและนอกNATOที่ประจำการเครื่องบินรุ่นนี้ คงมีปัญหาบินไม่ได้กันหมดแล้ว
Czech Republic Air Force และ Hungarian Air Force ประจำการชาติล่ะ14ลำ ที่นั่งเดี่ยว12ลำ สองที่นั่ง2ลำ
British Empire Test Pilots' School (ETPS) เข้าประจำการในปี2008
รวมถึงทอ.ไทยของเราที่ทราบกันอยู่แล้ว
เรื่องเชื้อเพลิง ใช้กันได้ครับ เครื่องยนต์กริปเปนก็เป็นอีกเวอร์ชั่นของเครื่องยนต์ที่ใช้ใน. เอฟ18 ซีดี ถ้าอยากใช้จริงก็โปรแกรมเครื่องยนต์ให้ใช้ได้
บันทึกการเข้า

THIS IS MY STEYR.
THERE ARE MANY LIKE IT, BUT THIS ONE IS MINE.
WITHOUT MY STEYR,I AM NOTHING.
WITHOUT ME, MY STEYR IS NOTHING.
SOAP47 รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 333
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5792



« ตอบ #17497 เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2013, 01:31:47 AM »

ตอนนี้ผมกำลังทำสิ่งที่ล้ำค่ากว่าการเอาข้อมูลมาลงครับ นั่นคือการเตือนสติ ให้ข้อคิดกับพวกเจ้าที่ในนี้ ก่อนที่พวกท่านจะทำให้บอร์ดกลายเป็นสถานที่รกร้างว่างเปล่า ดำทะมึนน่ากลัวน่าสยดสยองไปมากกว่านี้ จนคนดีๆทั่วไปไม่กล้าเข้ามาคุยกับพวกท่าน ผมเองก็ยอมอดทน เสียสละ ยอมโดนด่าดูแคลน เพื่อให้บอร์ดดีขึ้นเจริ*ขึ้น ดีขึ้น ถือว่าเป็นการสงเคราะห์สังคม
 Coolจรจา

แต่ไหนๆก็เข้ามาแล้ว คอมเม้นมุมมองนิดนึงก็ได้ครับในด้านอาวุธ  ผมว่าการจัดซื้ออาวุธของเราถอยหลังเข้าคลองลงเรื่อยๆ เราตอนนี้ทำสิ่งที่น่าเป็นห่วงมากคือ

๑.ไม่ยอมจัดซื้ออาวุธจากประเทศพันธมิตรทางทหารหลัก เช่น สหรัฐฯ แต่ไปจัดซื้อจากประเทศเล็กๆ เช่น ยูเครน สวีเดน ที่มีพาวเวอร์ทางการเมืองระดับโลกต่ำ การสนับสนุนด้านต่างๆในอนาคตก็จะน้อยตามไปด้วย เช่น ช่องทางส่งกำลังบำรุง การสนับสนุนด้านการเจรจา ฯ
๒. ไม่ยอมจัดซื้ออาวุธในรุ่นโมเดล ที่นิยมใช้แพร่หลายกันทั่วโลก รถถังยูเครนก็มีใช้แค่สองสามประเทศ กริฟเปนก็มีกระปิดกระปรอย
อาวุธที่ไม่แพร่หลายเพราะไม่ค่อยมีใครซื้อทั้งๆที่ผู้ขายพยายามขาย แสดงว่าในวงกว้างไม่ได้ให้การยอมรับในด้านประสิทธิภาพ

นี่คือแนวโน้ม เทรนด์ใหม่ที่กำลังมาแรงในการจัดหาอาวุธของกองทัพ อะไรที่ชาวโลกเค้าไม่ใช้กันเราจะซื้อมาใช้ เหอๆๆ... เยาะเย้ย

อีกเรื่องหนึ่งก็คือ การแสดงแสนยานุภาพ วันสำคัญๆประเทศต่างๆทั่วโลกจะแสดงแสนยานุภาพ อาวุธ ยุทโธปกรณ์ อวดความน่าเกรงขามให้คนในชาติภูมิใจ ให้ประเทศอื่นมีความยำเกรง แต่กองทัพเราเหมือนไม่ค่อยอยากให้ประชาชนรู้เรื่องกองทัพมากนัก... Huh
ก็ถ้าได้ดีลที่ดีใครก็อยากได้ครับ
อาวุธเมกันดี แต่เงื่อนไขที่เค้าตั้งมาทำให้ เราได้ของที่ไม่ตรงความต้องการ ยกตัวอย่างปรับปรุงเอฟ 16 ก็ได้ เรดาร ์ยังจะไม่ขายให้เลยลองไปหาอ่านดู แล้วอย่างนี้น่าซื้อไหมครับ อะไรที่เหมือนชาวบ้านก็ไม่เป็นความลับนะสิ
อีกอย่างเรื่องแสนยานุภาพผมว่าไม่จำเป็นครับ เอาไว้ตอนใช้ดีกว่านะเค้าจะได้รู้ว่าเป็นยังไง
ตัวอย่างมีให้เห็นเมื่อไม่นานมานี้แหละไปศึกษาดูเอาว่าเราถล่มฝ่ายตรงข้ามเละขนาดไหน
บันทึกการเข้า

THIS IS MY STEYR.
THERE ARE MANY LIKE IT, BUT THIS ONE IS MINE.
WITHOUT MY STEYR,I AM NOTHING.
WITHOUT ME, MY STEYR IS NOTHING.
SOAP47 รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 333
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5792



« ตอบ #17498 เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2013, 01:42:40 AM »

น่าศึกษา
http://dtad.dti.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=210:indias-rafale&catid=8:special-article&Itemid=10
บันทึกการเข้า

THIS IS MY STEYR.
THERE ARE MANY LIKE IT, BUT THIS ONE IS MINE.
WITHOUT MY STEYR,I AM NOTHING.
WITHOUT ME, MY STEYR IS NOTHING.
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265


ขาย-อัพเกรด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง


« ตอบ #17499 เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2013, 02:02:47 AM »

เรื่องเชื้อเพลิง ใช้กันได้ครับ เครื่องยนต์กริปเปนก็เป็นอีกเวอร์ชั่นของเครื่องยนต์ที่ใช้ใน. เอฟ18 ซีดี ถ้าอยากใช้จริงก็โปรแกรมเครื่องยนต์ให้ใช้ได้

ครับพี่ Gripen ใช้เครื่องยนต์ Volvo Aero RM12 ซึ่งก็คือ General Electric F404 เวอร์ชั่นปรับปรุงใหม่ผลที่ได้คือแรงขับเพิ่มขึ้น
แต่ผมไม่ทราบรายละเอียดการปรับปรุงว่าทำอะไรไปบ้าง อย่างที่พี่ว่าใช้เชื้อเพลิงของอเมริกันได้แต่ต้องปรับโปรแกรมใหม่
แต่ก็อย่างที่ผมบอกว่า ไม่มีเหตุผลต้องดันทุรังทำเพราะจำนวนเครื่องบินรบที่ทำภารกิจอยู่มีมากเกินพอ
บันทึกการเข้า
อรชุน-รักในหลวง
หมู่โลหิต O
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 1599
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 10265


ขาย-อัพเกรด คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง


« ตอบ #17500 เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2013, 02:12:55 AM »


ฮา................ เหตุผลอยู่ตรงนี้ และตัวแดงนั่นสำคัญมากครับ

4.    เหตุผลด้านการเมือง
อันที่จริงแล้ว เหตุผลด้านการเมืองนั้นอาจจะเป็นเหตุผลที่สำคัญต่อการตัดสินใจของรัฐบาลอินเดียมากที่สุดก็เป็นได้
เนื่องจากอินเดียเองมีเหตุผลเบื้องต้นเหนือสิ่งอื่นใดว่าประเทศผู้ผลิตที่อินเดียจะเลือกนั้น “ต้องเป็นประเทศที่ไม่ขายหรือหยุดขายยุทโธปกรณ์ให้กับปากีสถาน”
ซึ่งฝรั่งเศสเองยินยอมที่จะหยุดโครงการขายอาวุธให้แก่ปาAGM-88E HARMกีสถานทั้งหมด

นอกจากนี้ หากมองในแง่ของเกร็ดประวัติศาสตร์แล้ว ฝรั่งเศสเป็นชาติแรกที่ลงนามความร่วมมือด้านพลังงานนิวเคลียร์อย่างเป็นทางการกับอินเดีย
หลังจากปี 1998 ที่อินเดียทำการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ อินเดียต้องเผชิญกับการ Sanction จากนานาชาติ จะมีเพียงแต่ฝรั่งเศสเท่านั้นที่ยังคงสนับสนุนรัฐบาลอินเดีย
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ความสัมพันธ์ของอินเดียกับฝรั่งเศสนั้นมีความแน่นแฟ้นมาจนถึงทุกวันนี้

อย่างไรก็ตาม แม้ทางอินเดียจะเลือกเครื่องบิน Rafale ของฝรั่งเศส แต่การตัดใจดังกล่าวก็ไม่ได้สร้างผลกระทบแง่ลบต่อความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศตะวันตกอย่างสหรัฐฯ
แม้ทางสหรัฐฯ จะออกแสดงความผิดหวัง แต่สหรัฐฯ ก็ยังคงมองเห็นลู่ทางอื่นๆ ในการขายยุทโธปกรณ์ให้แก่อินเดีย อย่างเช่นระบบเรดาร์ AESA
หรือระบบจรวดอย่าง Raytheon High Speed Anti-Radiation Missile หรือ HARM ซึ่งสามารถติดตั้งบนเครื่องบิน Rafale ได้
รวมทั้งอุปกรณ์ไฮเทคอื่นๆ ซึ่งอาจจะเป็นที่ต้องการของอินเดียในอนาคต

โดยสรุป การตัดสินใจของอินเดียในการซื้อเครื่องบิน Rafale ในครั้งนี้นั้น แทบจะมีแต่ได้กับได้ เพราะนอกจากตนเองจะได้เครื่องบินสมรรถนะสูงและเทคโนโลยีชั้นสูง
ที่ทางฝรั่งเศสพร้อมจะถ่ายทอดให้แล้ว อินเดียยังสามารถตอบแทนพันธมิตรเก่าแก่อย่างฝรั่งเศส อีกทั้งยังคงสามารถรักษาความสัมพันธ์อันดีกับประเทศตะวันตกอื่นๆ
โดยเฉพาะสหรัฐฯ ได้อย่างไม่เปลี่ยนแปลงได้อีกด้วย

ด้วยเหตุนี้การจัดซื้อยุทโธปกรณ์ในแต่ละครั้งของอินเดียนั้นน่าศึกษาและติดตามเป็นอย่างมาก เพราะเกิดจากกระบวนการคิดอย่างแยบยล
และ "คำนึงถึงผลประโยชน์ที่จะกลับสู่ประเทศเป็นหลัก" อีกทั้งยังสามารถบริหารความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้เป็นอย่างดี
ซึ่งประเทศไทยสามารถนำไปใช้เป็นกรณีศึกษาและเป็นตัวอย่างของแนวคิดในการจัดซื้อยุทโธปกรณ์ในอนาคตได้อีกด้วย
บันทึกการเข้า
SOAP47 รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 333
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5792



« ตอบ #17501 เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2013, 02:22:52 AM »

ป่านนี้สีข้างถลอกแล้วมั้ง หามาแต่ล่ะอย่าง แต่ละทีแสดงออกถึงบางสิ่งที่อยู่ภายใต้สมอง
ตย มีให้เห็นแล้วขนาดพี่ยุ่นขอซื้อ เอฟ 22 เค้ายังไม่ขายให้เลย
บันทึกการเข้า

THIS IS MY STEYR.
THERE ARE MANY LIKE IT, BUT THIS ONE IS MINE.
WITHOUT MY STEYR,I AM NOTHING.
WITHOUT ME, MY STEYR IS NOTHING.
SOAP47 รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 333
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5792



« ตอบ #17502 เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2013, 02:26:52 AM »

เออแวะไปตอบกระทู้รถหน่อยก็ดีกำลังอยากได้ความเห็นนะ
บันทึกการเข้า

THIS IS MY STEYR.
THERE ARE MANY LIKE IT, BUT THIS ONE IS MINE.
WITHOUT MY STEYR,I AM NOTHING.
WITHOUT ME, MY STEYR IS NOTHING.
ChongKo
Hero Member
*****

คะแนน -1176
ออฟไลน์

กระทู้: 1428


« ตอบ #17503 เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2013, 09:07:01 AM »

http://www.thaiarmedforce.com/taf-military-news/55-rtaf-news/159-gripen-news-july-2010.html

ข่าวสารเกี่ยวกับโครงการจัดหา Gripen ทั้งทางบวกและทางลบในช่วงนี้   PDF   Print   E-mail
Written by Administrator      
Friday, 23 July 2010 06:59


เกิดข้อกล่าวหาตามหน้าหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่กริพเพนจากประเทศสวีเดนว่า กองทัพอากาศไทยจัดหากริพเพนแพงกว่ากองทัพอากาศโรมาเนียกว่า 1,200 ล้านบาทต่อลำ เมื่อวัดจากข้อเสนอการขายกริพเพน 24 ลำในวงเงินราว 4 หมื่นล้านบาท ในขณะที่กองทัพอากาศชี้แจงว่าแพ็คเก็ตที่ไทยได้รับนั้นแตกต่างจากโรมาเนียจึงไม่สามารถคิดแบบจำนวนเงินของโครงการหารด้วยจำนวนลำได้

TAF สนับสนุนสมาชิกทุกท่านให้เปิดรับข้อมูลทั้งสองด้าน สำหรับท่านที่เห็นด้วยกับโครงการเราสนับสนุนให้ท่านรับฟังความเห็นในเชิงลบต่อโครงการ และสำหรับท่านที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการเราก็สนับสนุนให้ท่านรับฟังความเห็นในเชิงบวกต่อโครงการเช่นกัน และนำข้อมูลมาพิจารณาว่าสมควรจะสนับสนุนโครงการนี้ต่อไปหรือไม่ด้วยตัวท่านเองครับ

สมาชิกที่สนใจสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการนี้ได้ที่กระทู้นี้ในเว็บบอร์ดครับ

"รวบรวมข่าว บ.ข. 20 Gripen 39 C/D"

http://www.thaiarmedforce.com/distribution/viewtopic.php?f=7&t=16

เพจนี้รวมรวมข่าวบางข่าวทั้งทางบวกและลบเพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณาครับ

 

วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เวลา 09:13:27 น. มติชนออนไลน์

ชำแหละฝูงบิน"กริพเพน" เทียบ 5ประเทศ"ไทย"ซื้อแพงสุด

ถ้า นายเจอร์รี่ ลินเบิร์จ (Jerry Lindbergh) ตัวแทนของรัฐบาลสวีเดนไม่ออกมาประกาศเสนอขายเครื่องบินขับไล่ "ยาส 39 ซี/ดี กริพเพน" ให้กับรัฐบาลโรมาเนีย ในราคาชนิดทั้งแจกทั้งแถมออพชั่นพิเศษ 24 ลำ รวม 1,000 ล้านยูโร หรือเทียบเท่า 40,000 ล้านบาท

ข่าว"กริพเพ น"คงไม่มีโอกาสถูกนำมาเสนอในหน้า 1 ของหนังสือพิมพ์ "มติชน" อีกครั้งเพราะเหตุว่า โครงการจัดซื้อ "กริพเพน" ซึ่งเป็นรุ่นเดียวกับที่สวีเดนเสนอขายให้กับ "โรมาเนีย" รัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้อนุมัติจัดซื้อล็อตแรก 6 ลำไปนานแล้วตั้งแต่ปี 2551

แม้มีเสียงทักท้วงตั้งแต่แรกว่า การซื้อ"กริพเพน" แพงกว่าที่ประเทศอื่นๆ

แต่กระนั้นรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ ผลักดันซื้อเป็นผลสำเร็จด้วยเงินงบประมาณงวดแรกรวมทั้งสิ้น 19,000 ล้านบาท

ล็อต ที่สอง รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไฟเขียวให้ซื้อด้วยเงินงบประมาณ 16,000 ล้านบาท ตั้งแต่เดือนมกราคม 2553

ห้วง เวลาที่ผ่านมาเนิ่นนาน เพียงพอที่ทำให้ข่าว "กริพเพน"หลุดจากกระแสความสนใจ บังเอิญมีผู้หวังดีนำข้อมูลที่เผยแพร่ในสื่อต่างๆ ของสวีเดนและโรมาเนียมาให้ "มติชน" พร้อมตั้งคำถามว่า ทำไมรัฐบาลไทยจึงซื้อเครื่องบินขับไล่ "กริพเพน" แพงกว่าประเทศอื่นๆ ทั้งๆ ที่ข้อเสนอซื้อจากรัฐบาลสวีเดนที่มีให้กับรัฐบาลไทย แทบไม่แตกต่างกันเท่าไหร่

เครื่องบินขับไล่"กริพเพน" ผลิตโดยบริษัทซาบ แห่งสวีเดน มีประเทศต่างๆ ในโลกซื้อเข้าประจำการรวมทั้งสิ้น 5 ประเทศ ได้แก่ สวีเดน,ฮังการี,สาธารณรัฐเช็ก,แอฟริกาใต้ และล่าสุดคือประเทศไทย ส่วนประเทศโรมาเนีย ยังอยู่ระหว่างเสนอลดราคา

รัฐบาลสวีเดนต้องการ ซื้อเครื่องบิน"กริพเพน" 200 ลำ แต่ประสบภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ จึงลดเหลือเพียง 100ลำ โดย 31 ลำเป็นรุ่น เอ/บี นำมาปรับปรุงใหม่ให้เป็นรุ่น ซี/ดี ที่เหลือเอาไปขายให้ประเทศอื่นๆ

รัฐบาล ฮังการี ทำสัญญาเช่าและจัดซื้อเครื่องบิน รุ่นซี/ดี เมื่อปี 2546 จำนวน 14ลำ มูลค่า1,000ล้านเหรียญ(ราว 40,000 ล้านบาท-ค่าเงิน 1 เหรียญ/40 บาท) รัฐบาลสวีเดนจัดระบบวางแผนการรบ ระบบเติมน้ำมันกลางอากาศ ระบบเอวิโอนิกส์

การ เจรจาระหว่างรัฐบาลฮังการีกับสวีเดน ใช้เวลานานถึง 4 ปี กว่าสวีเดนจะยินยอมในข้อเสนอว่าด้วยผลตอบแทนทางเศรษฐกิจให้กับรัฐบาลฮังการี โดยเฉพาะการปรับปรุงทักษะคุณภาพแรงงานของฮังการี

ปี 2548 รัฐบาลเช็ก ต้องการเช่า "กริพเพน" เป็นระยะเวลา 10 ปี คิดเป็นเงินงบประมาณทั้งสิ้น 800 ล้านเหรียญสหรัฐ ราว 32,000 ล้านบาท (เทียบค่าเงิน 1 เหรียญเท่ากับ 40 บาท) ทางรัฐบาลสวีเดน จัดให้ตามความต้องการ ได้แก่กริพเพนรุ่น ซี/ดี 14 ลำ เครื่องจำลองการบิน ระบบวางแผนการรบ ระบบสนับสนุน การฝึกนักบินและเจ้าหน้าที่ภาคพื้นดิน นอกจากนี้รัฐบาลสวีเดนยังยินยอมให้ข้อเสนอการตอบแทนทางอุตสาหกรรม หรือ Industrial offsetแก่สาธารณรัฐเช็ก เป็นเวลา 10 ปี คิดเป็นมูลค่า 130 เปอร์เซ็นต์ของสัญญาเช่าเครื่องบิน

นอกจากนี้แล้ว รัฐบาลสวีเดน ยังยินยอมในข้อเสนอผลตอบแทนแก่ "เช็ก" (offset agreement) ประกอบด้วยผลตอบแทนโดยตรง (direct offset) เทียบเท่า 20 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าการสนับสนุนและการพัฒนาอุตสาหกรรมอากาศยานและการ ป้องกัน ในกลางปี 2551 สวีเดนจัด 28 โครงการเพื่อสนับสนุนการส่งออกสินค้าของ"เช็ก"

แอฟริกาใต้ จัดซื้อ "กริพเพน" ซี/ดี จำนวน 26 ลำ เมื่อปี 2551 ทางรัฐบาลสวีเดนจัดตั้งศูนย์ฝึกบิน และโรงประกอบเครื่องบินของซาบ พร้อมกับถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการบินให้แก่ชาวแอฟริกาใต้ จำนวนกว่า 200คน นอกจากนั้นรัฐบาลสวีเดนยังให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจผ่านออฟเซ็ตโปรแกรม เพื่อสร้างเศรษฐกิจใหม่ให้กับประเทศแอฟริกาใต้ คิดเป็นมูลค่า 5.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งทางด้านการส่งออก การเข้าไปมีส่วนร่วมของอุตสาหกรรมต่างๆ รวมกว่า 100 กิจการทั้งด้านเหมืองแร่ การสนับสนุนด้านวิจัยการแพทย์ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมไม้แปรรูป อุตสาหกรรมเกษตร สนับสนุนภาคบริการและการส่งออก

"การ จัดซื้อกริพเพนครั้งนี้ จะช่วยสร้างเสริมอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศ และเศรษฐกิจให้แอฟริกาใต้เกิดความแข็งแกร่งอีกด้วย" เอกสารของ "กริพเพน" ระบุ

ส่วนข้อเสนอที่รัฐบาลสวีเดนให้กับไทย ในการจัดซื้อ "กริพเพน"12 ลำ ได้แก่ ความช่วยเหลือในประเทศ (ไม่มีรายละเอียด) การถ่ายโอนเทคโนโลยีด้านการบินการอวกาศและการป้องกันให้กับไทย โดยจะวางรากฐานของภาคอุตสาหกรรมท้องถิ่นของไทยในโครงการพัฒนาในอนาคตรวมถึง โครงการกริพเพน แต่ไม่มีการแจกแจงรายละเอียด

รัฐบาลสวีเดน มอบเครื่องบินให้ 2 ลำ ได้แก่เครื่องบินซาบ 340 พร้อมระบบควบคุมเตือนภัยล่วงหน้ากลางอากาศ หรือ Erieye เครื่องบินซาบ 340 สำหรับการฝึกและขนส่งทางอากาศ

ขณะที่รัฐบาลสวีเดน เสนอขายเครื่องบินกริพเพน 24 ลำให้โรมาเนีย ในราคาหั่นแหลกแข่งกับเครื่องมือสอง เอฟ-16 ของสหรัฐ แค่ 40,000 ล้านบาท พร้อมกับเงื่อนไขล่อใจอย่างมาก อาทิ การชำระหนี้ 15 ปี ฝึกนักบินให้30คน เจ้าหน้าที่ภาคพื้นดินอีก 60 คน แถมออฟเซ็ต ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจกับประเทศโรมาเนีย 100 เปอร์เซ็นต์ โดยจะสร้างงานให้ชาวโรมาเนียอย่างต่ำ 5 พันตำแหน่ง



ข้อเสนอต่างๆ ที่รัฐบาลสวีเดนจัดให้ประเทศต่างๆ นั้น หากเปรียบเทียบกับไทยแล้วจะเห็นได้ว่า รัฐบาลไทยซื้อในราคาแพง

แม้ ว่าตัดออพชั่นเครื่องบินที่เป็นของแถมได้แก่ ซาบ 340 ติดตั้งระบบอีรีอาย และซาบ 340 สำหรับการฝึกออกไป ราคาก็ยังแพงกว่าอยู่ดี

เนื่อง จากซาบ 340 ติดตั้งระบบอีรีอาย รัฐบาลสวีเดนเพิ่งขายให้กับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 2 ลำในราคา 148.3 ล้านยูโร หรือประมาณ 6 พันล้านบาท ตกลำละ 3,000 ล้านบาท

เมื่อ มองย้อนไปหลังในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

กองทัพอากาศพยายาม ผลักดันเสนอซื้อ "กริพเพน" โดยผ่านทาง พล.อ.อ.คงศักดิ์ วันทนา ผู้บัญชาการทหารอากาศในสมัยนั้น

ถ้าพลิกย้อนข่าวเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2547 พล.อ.อ.คงศักดิ์ ให้สัมภาษณ์โครงการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ กริพเพน รุ่น ยาส-39 ดังนี้

"รัฐบาล สวีเดนยินดีขายกริพเพนให้กับกอง ทัพอากาศไทยในราคามิตรภาพ ตกราคาลำละประมาณ 600 ล้านบาท กองทัพอากาศมีความสนใจในเครื่องบินขับไล่รุ่นนี้เช่นกัน เพราะเป็นเครื่องบินรบที่มีศักยภาพสูงและเป็นที่นิยมใช้ในหลายประเทศ ทั้งนี้กองทัพอากาศมีแผนที่จะจัดหาอากาศยานที่มีศักยภาพสูงและราคาไม่แพงมาก นักจำนวน 1 ฝูง หรือ 16 ลำนำมาใช้ประจำการเพื่อปฏิบัติงานในภารกิจต่างๆ ทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบโอวี-เท็น (นอ-10) ที่กองทัพได้ปลดประจำการไปแล้ว รวมทั้งเครื่องบินขับไล่แบบ เอฟ-ห้า อีเอฟ (F-5 EF ) ที่กำลังจะปลดประจำการในเร็วๆ นี้"

พล.อ.อ.คงศักดิ์ยังบอกอีกว่า การจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ฝูงใหม่นี้ จะใช้วิธีการแลกเปลี่ยนสินค้าเกษตรแทนการจ่ายเงิน เนื่องจากรัฐบาลไม่ต้องการให้ขาดดุลเงินบัญชีเดินสะพัดระหว่างประเทศ เลยใช้วิธีการแลกเปลี่ยนสินค้าเกษตรแทน

เวลาห่างกันเพียง 4 ปีเศษ ราคา "กริพเพน" 39 ซี/ดี ที่รัฐบาลสวีเดนขายให้ไทย มีราคาขยับพุ่งเป็นลำละ 2,866 ล้านบาท ทั้งๆ ที่เมื่อรวมออพชั่นที่ไม่ต่างจากประเทศอื่นเท่าไหร่ แต่กระนั้นรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์และรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ อนุมัติจัดซื้ออย่างไม่ตะขิดตะขวงใจ!


**ที่มาหนังสือพิมพ์มติชน**

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1279160046&grpid=&catid=02
'กริพเพน'ส่งกลิ่น มาร์คสั่งสอบ แพงกว่าโรมาเนีย

นายกฯข้องใจ กองทัพซื้อเครื่องบินขับไล่ "กริพเพน" แพงกว่าโรมาเนียถึง 1,200 ล้าน ด้านปลัดกลาโหมรุดแจงขอตรวจสอบรายละเอียดก่อน โดยเฉพาะเงื่อนไขที่มากกว่าราคา...

เมื่อวันที่ 12 ก.ค. ที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) จังหวัดนนทบุรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่รัฐบาลโรมาเนีย ซื้อเครื่องบินขับไล่กริพเพนจาก ประเทศสวีเดนได้ราคาถูกกว่าประเทศไทย ถึง 1,200 ล้านบาทว่า เมื่อตนได้สอบถาม พล.อ.อภิชาต เพ็ญกิตติ ปลัดกระทรวงกลาโหม ซึ่งท่านบอกว่าจะให้หน่วยงานเกี่ยวข้องได้ชี้แจง แต่เบื้องต้นคงต้องไปดูรายละเอียด เพราะการเปรียบเทียบตัวเลขภาพรวมอย่างเดียวมันไม่พอ มันต้องดูการซื้อว่าเงื่อนไขการซื้อต่างกันอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น สิ่งที่เป็นข้อตกลงในเรื่องทั้งอุปกรณ์และการฝึกทั้งอะไรด้วย ว่ามันแตกต่างกันอย่างไร แต่ว่าทุกโครงการจะต้องตรวจสอบได้อยู่แล้ว

ผู้สื่อข่าวถามว่า ทางกระทรวงกลาโหม ได้ชี้แจงหรือไม่ว่า มีเครื่องลักษณะอื่นที่มีศักยภาพใกล้เคียงกับเครื่องบินกริพเพน นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า โครงการที่อนุมัติไปเมื่อปี 50 หรือปี 51 แต่คาดว่า จะเป็นปี 50 มากกว่า และมาถึงรัฐบาลนี้มันเข้าสู่ระยะที่ 2 เมื่อถามว่า แต่ขณะนี้มีบริษัทที่เขาผูกขาดการจัดซื้ออาวุธอยู่หลายรายการ นายอภิสิทธิ์ ไม่ได้ตอบคำถามดังกล่าวแต่อย่างใด.

http://www.thairath.co.th/content/pol/95753
'ประวิตร'ยันซื้อกริพเพนโปร่งใส

“ประวิตร” ยืนยัน ซื้อ เครื่องบิน “กริพเพน” ไม่แพง โปร่งใส ตรวจสอบได้ ชี้  ผู้บัญชาการทหารอากาศ แจงชัดเจนเรื่องนี้น่าจบ...

ที่วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 16 ก.ค.2553 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีการจัดซื้อเครื่องบินกริพเพน จากประเทศสวีเดน ว่า ยืนยันไม่มีการซื้อแพงตามที่เป็นข่าว การจัดซื้อยุทโธปกรณ์ของกองทัพโปร่งใส่ ทั้งนี้ พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ.) ได้อธิบายเรื่องนี้ชัดเจนว่าการจัดซื้อเครื่องบินกริพเพน เป็นไปตามขั้นตอน มีการตรวจสอบตามขั้นตอนผ่านคณะกรรมการทุกคณะ ทำตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี สามารถชี้แจงเรื่องราคา แบบ สมรรถนะ หรือ ออพชั่นได้ ที่สำคัญหน่วยใช้ต้องเป็นผู้พิจารณาตามลำดับขั้นก่อนจะมาถึงผู้บังคับบัญชา ระดับสูงพิจารณาว่าสมควรอย่างไร การเปรียบเทียบอาวุธยุทโธปกรณ์แต่ละประเทศในการจัดหา เพราะเรารู้เป็นภาษีประชาชนเราต้องใช้อย่างเหมาะสมสามารถใช้ป้องกันประเทศ ได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อ ผบ.ทอ. ได้ชี้แจงเรื่องนี้ชัดเจนแล้ว เรื่องนี้ก็น่าจะจบ

“ผมยืนยันตั้งแต่นั่งตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ทำทุกอย่างด้วยความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ทุกเรื่อง และพร้อมจะชี้แจงให้ประชาชนที่ไม่เข้าใจได้ทุกเรื่อง ดังนั้น ผมหรือแต่ละเหล่าทัพคงไม่กังวลใจในเรื่องนี้ โดยเฉพาะกำลังพลกองทัพอากาศรับทราบการดำเนินการจัดซื้อเครื่องบินกริพเพนมา ตลอด นอกจากนี้ ได้ให้เสรีแต่ละเหล่าทัพในการจัดซื้อยุทโธปกรณ์ กลาโหมจะไม่เข้าไปยุ่ง เพราะเรารู้แต่ละเหล่าทัพต้องการยุทโธปกรณ์อะไรที่เหมาะสมต่อสถานการณ์ ปัจจุบัน โดยมีการกำหนดยุทธศาสตร์ชัดเจน เพราะการซื้อยุทโธปกรณ์ของแต่ละเหล่าทัพสามารถตรวจสอบได้ ไม่ใช่อยู่ดีๆอยากซื้อก็ซื้อ ไม่ใช่ซื้อขนม” รมว.กลาโหม ระบุ

เมื่อถามว่า กองทัพอากาศดำเนินการตามขั้นตอน แต่มีข่าวเกิดขึ้น เพราะอาจมีผู้เสียผลประโยชน์ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ตนตอบไม่ได้ เรื่องนี้ต้องหารายละเอียดกันเอง

http://www.thairath.co.th/content/pol/96719
ทอ.ซื้อ"กริพเพน”แบบมี"ออปชั่น"

คมชัดลึก : กลายเป็นประเด็นร้อนถกเถียงกันอย่างกว้างขวางกับกรณีการจัดซื้อเครื่องบิน ขับไล่ “กริพเพน” หรือกริพเพน 39 ซี/ดี เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ แบบที่ 18 ก/ข หรือ เอฟ-5 บี/อี ที่ประจำการอยู่ที่ฝูงบิน 701 จ.สุราษฎร์ธานี ที่จะปลดประจำการ ซึ่งโครงการดังกล่าวได้ผ่านกระบวนการมาจนถึงการอนุมัติจัดซื้อเมื่อเดือน ตุลาคม 2550 สมัยที่ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี จำนวน 1 ฝูงบิน หรือ 12 เครื่อง

โครงการการจัดซื้อเครื่องบิน “กริพเพน” แบ่งออกเป็น 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 จำนวน 6 เครื่อง โดยมีอุปกรณ์ อะไหล่ การฝึกอบรม และการปรับปรุงอาคารสถานที่ โดยใช้งบประมาณผูกพัน 5 ปี ตั้งแต่ 2551-2555 วงเงินจำนวน 1.9 หมื่นล้านบาท

ระยะที่ 2 จำนวน 6 เครื่อง พร้อมอุปกรณ์ อะไหล่ การส่งกำลังบำรุง การฝึกอบรม การปรับปรุงอาคารสถานที่ และการบริหารโครงการ รวมทั้งการรับข้อเสนอพิเศษและความร่วมมือระดับทวิภาคี โดยใช้งบประมาณผูกพัน 5 ปี ตั้งแต่ปี 2554-2558 วงเงินจำนวน 16,266 ล้านบาท

ก่อนหน้านี้ “กองทัพอากาศ” เองก็ไม่ได้มองแค่เครื่องบิน “กริพเพน” อย่างเดียว แต่นั่นหมายถึง เครื่องบินซู-30 ของประเทศรัสเซีย ก็ถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณา แต่เนื่องด้วยเครื่องบินซู-30 ที่มีขนาดใหญ่ และมีเครื่องยนต์ 2 เครื่อง ซึ่งจะทำให้สิ้นเปลืองเชื้อเพลิง

ขณะที่เครื่องบินเอฟ-16 ซี/ดี ของประเทศสหรัฐอเมริกา ก็มีความเหมาะสม ที่กองทัพอากาศหวังที่จะได้มาเสริมเขี้ยวเล็บให้แก่ประเทศไทย แต่ติดอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ไม่ขายให้กองทัพอากาศไทย เนื่องจากประเทศสหรัฐอเมริกามีข้อกำหนดที่จะไม่มีการซื้อขายกับประเทศที่มี การ “ปฏิวัติ-รัฐประหาร”

ทำให้รัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.สุรยุทธ์ ในเวลานั้น ต้องพิจารณาจัดซื้อจัดหาเครื่องบินขับไล่มาแทนเครื่องบินเอฟ-5 บี/อี ที่ต้องปลดประจำการในปี 2553 จึงได้ข้อสรุปมาที่เครื่องบิน “กริพเพน” ของประเทศสวีเดน ตามที่ พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ ในเวลานั้น

เพราะสิ่งที่น่าสนใจของเครื่องบิน “กริพเพน” เป็นเครื่องบินในยุคที่ 4.5 หรือ ยุค 4.5 เจเนเรชั่น ไฟเตอร์ ที่มีความอ่อนตัว และคล่องตัว สามารถปฏิบัติภารกิจได้หลากหลายรูปแบบในลักษณะมัลติ-โรล เมื่อประกอบเข้ากับระบบบัญชาการและควบคุมที่ได้รับการพัฒนาขึ้นจากการจัดหา

สิ่งที่น่าสนใจไปกว่านั้น คือมีความทันสมัย สามารถใช้งานระบบอาวุธสมัยใหม่ที่มีความแม่นยำ พิสัยยิงไกล มีระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธีระหว่างเครื่องบินในหมู่บิน และระหว่างเครื่องบินกับหน่วยบัญชาการและควบคุม ผนวกกับเครื่องบินแจ้งเตือนทางอากาศ ซาบ 340 เออีดับเบิลยู ที่ประเทศสวีเดนเพิ่มเติมให้

โดยจะสามารถตรวจจับเป้าหมาย และการเคลื่อนไหวของกำลังฝ่ายข้าศึกทั้งในอากาศ และบนพื้นได้ในระยะไกล รวมทั้งส่งข้อมูลการตรวจจับเป้าหมายให้แก่หน่วยบัญชาการและควบคุม ซึ่งระบบบัญชาการและควบคุมที่มีความทันสมัย

สามารถรับข้อมูลการตรวจจับเป้าหมายและความ เคลื่อนไหวของกำลังฝ่ายข้าศึกทั้งจากเครื่องบินซาบ 340 เออีดับเบิลยู และระบบเรดาร์ภาคพื้นของกองทัพอากาศ เพื่อใช้ในการประมวลผลและสร้างภาพสถานการณ์การรบได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ ทันต่อสถานการณ์ ตลอดจนสามารถควบคุมและสั่งการ การปฏิบัติภารกิจของเครื่องบินกริพเพน 39 ซี/ดี ผ่านระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี

ระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธีระหว่างเครื่องบินกริพเพนในหมู่บิน (Tactical Information Data Link System : TIDLS) และระหว่างเครื่องบินกริพเพน กับหน่วยบัญชาการและควบคุม (Ground-to-Air Data Link System : GADLS) ซึ่งขีดความสามารถในการใช้ระบบอาวุธสมัยใหม่ ตลอดจนได้รับอาวุธนำวิถีอากาศสู่พื้น อาร์บีเอส-5 เพื่อใช้ในการโจมตีเรือผิวน้ำ ซึ่งเป็นขีดความสามารถใหม่ ที่ยังไม่เคยมีใช้งานในกองทัพอากาศ

พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ กล่าวว่า กองทัพอากาศสามารถชี้แจงได้ว่า แต่ละประเทศซื้อหาไม่เท่ากัน ตัวเครื่องบินก็เป็นตัวเครื่องบินเปล่า แต่ขณะที่ตัวเครื่องบินจะมีซอฟต์แวร์ อุปกรณ์หลากหลาย หรือออปชั่นที่สามารถใส่เข้าไปได้ เพราะฉะนั้นความต้องการของแต่ละประเทศก็อาจจะกำหนด ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ อาวุธ วิทยุ หรืออะไรต่างๆ ไม่เหมือนกัน

“เป็นเรื่องยากที่จะเอามาเปรียบเทียบว่าประเทศไหนซื้อแพง หรือถูกกว่ากัน เพราะแต่ละประเทศกำหนดความต้องการไม่เหมือนกัน เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนก่อนจะเอาตัวเลขมาเปรียบเทียบ และทำให้เกิดความเสียหาย โดยเฉพาะการนำเอาเอกสารมาเปิดเผย เรามีความเป็นห่วงว่าจะมีเอกสารที่เป็นความลับ ถ้าเป็นความเสียหายต่อกองทัพเราต้องดำเนินการเรื่องนี้”

พล.อ.อ.อิทธิพรขยายเนื้อหาอีกว่า ปกติกองทัพอากาศต้องการเครื่องบิน 12 เครื่อง แต่กรอบงบประมาณผูกพันได้เพียง 5 ปี การจัดซื้อเฟสแรก วงเงิน 19,600 ล้านบาท จัดซื้อได้เพียง 6 ลำ ทั้งนี้ การจัดซื้อจะแพงหรือไม่ขึ้นอยู่กับรายละเอียดว่าในแต่ละประเทศมีการจัดหา และความต้องการของเขามีมากน้อยเพียงใด เพราะฉะนั้นสิ่งที่เป็นข่าวออกมา ซึ่งมีการระบุเป็นประเทศโรมาเนีย และประเทศนี้มีความสนใจเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา แต่เอกอัครราชทูตได้มีหนังสือแจ้งว่าในช่วงนั้นประเทศโรมาเนีย ขอข้อเสนออย่างเดียว และยังไม่มีการจัดซื้อจัดหาเลย รวมถึงครั้งนี้ด้วย

“ประเทศโรมาเนียยังไม่ได้มีการจัดซื้อเครื่องบินกริพเพน เพราะฉะนั้นตัวเลขที่ออกมาว่าเป็นจำนวนเงินเท่านั้นเท่านี้ จะต้องดูจากข้อเท็จจริงก่อนที่จะมาสรุปว่า กองทัพอากาศซื้อแพง ผมขอยกตัวอย่างเช่น ดูจากรถยนต์คัมรี ถ้าถูกที่สุดเครื่องยนต์อยู่ที่ประมาณ 2.0 ราคาประมาณ 1.2 ล้านบาท แต่เป็นคัมรี 3.5 ราคาอยู่ที่ประมาณเกือบ 3 ล้านบาท ดังนั้นข้อแตกต่างจะต้องดูด้วยว่าอุปกรณ์มีออปชั่นเพิ่มเติมหรือไม่”

ปัจจุบันเครื่องบินกริพเพน ที่ผลิตโดยประเทศสวีเดน มีประจำการอยู่ 5 ประเทศ ได้แก่ สวีเดน ฮังการี แอฟริกาใต้ สาธารณรัฐเช็ก อังกฤษ และไทย รวมจำนวนประมาณ 264 เครื่อง ซึ่งการจัดหาเครื่องบินกริพเพนของแต่ละประเทศ มีวิธีการจัดซื้อที่แตกต่างกันออกไป

สาธารณรัฐเช็ก จัดหามาใช้งานโดยการเช่า จำนวน 14 เครื่อง ระยะเวลา 10 ปี พร้อมระบบสนับสนุน และการตอบแทนทางอุตสาหกรรม รวมมูลค่าประมาณ 4.1 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ เครื่องบินที่จัดหานั้นไม่ได้ติดตั้งระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธีกับ ภาคพื้น

ประเทศฮังการี จัดหามาใช้งานโดยการเช่า จำนวน 14 เครื่อง ระยะเวลา 10 ปี พร้อมระบบสนับสนุน และการตอบแทนทางอุตสาหกรรม รวมมูลค่าประมาณ 4.8 หมื่นล้านบาท โดยเครื่องบินเป็นโครงสร้างของรุ่นเอ/บี แต่ระบบที่ติดตั้งเป็นของรุ่นซี/ดี และเครื่องยนต์วอลโว่ อาร์เอ็ม-12 บี และ เครื่องบินไม่ได้ติดตั้งระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธีกับภาคพื้น ทั้งนี้เมื่อหมดสัญญาจะเช่าซื้อเครื่องบินดังกล่าวใช้งาน

ประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ จัดหามาใช้งานโดยการซื้อ จำนวน 28 เครื่องพร้อมกับบริษัทฮอก อีกจำนวน 24 เครื่อง พร้อมระบบสนับสนุน และการตอบแทนทางอุตสาหกรรม รวมมูลค่าประมาณ 66,500 ล้านบาท โดยเครื่องบินติดตั้งระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธีกับภาคพื้นของตนเอง

ขณะที่ประเทศสวีเดนไม่เคยทำสัญญาซื้อขายเครื่องบินกับ ประเทศโรมาเนีย ดังที่ปรากฏเป็นข่าว เป็นเพียงการร้องขอให้ประเทศสวีเดนส่งข้อเสนอโครงการให้พิจารณาเท่านั้น

ส่วนการเปรียบเทียบราคาที่ปรากฏเป็นข่าว น.อ.มณฑล สัชฌุกร โฆษกกองทัพอากาศ กล่าวว่า การเปรียบเทียบราคาเครื่องบินโดยการนำวงเงินทั้งหมดของโครงการ แล้วหารด้วยจำนวนเครื่องบินที่จัดซื้อ ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบบนพื้นฐานข้อมูลในรายละเอียดที่แตกต่างกัน ซึ่งไม่ครอบคลุมข้อมูลพื้นฐานที่ประกอบกันเป็นระบบทั้งหมดที่ได้รับจากการ จัดซื้อ เช่น แบบและรุ่นของเครื่องบินและสมรรถนะที่ต้องการ อัตราค่าเงินและอัตราเงินเฟ้อ ระบบบัญชาการและควบคุมที่มีประสิทธิภาพ ระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ของเครื่องบิน ระบบอาวุธที่ทันสมัยและความหลากหลายในการติดตั้งอาวุธ ระบบส่งกำลังบำรุงและระบบสนับสนุนต่างๆ เป็นต้น

น.อ.มณฑลกล่าวอีกว่า การเปรียบเทียบราคาเครื่องบิน จึงไม่สามารถเปรียบเทียบแบบเครื่องต่อเครื่องได้ เพราะมีหลายปัจจัยที่มีผลกระทบกับราคาซื้อขาย ดังนั้นการพิจารณาเปรียบเทียบต้องมีองค์ประกอบอีกหลายส่วน ซึ่งแต่ละประเทศก็มีเงื่อนไขการขอซื้อที่แตกต่างกันไป จึงทำให้ราคาของโครงการไม่เท่ากัน ทั้งนี้อยากเปรียบเทียบให้ฟังว่า การเช่า คือราคาก็เหมือนกัน เมื่อเช่าซื้อไปแล้วเมื่อครบกำหนดก็จะต้องคืน เมื่อคืนแล้วจะได้อะไร ส่วนการเช่าซื้อก็จะต้องมีกรอบระยะเวลา แต่ก็จะต้องดูว่าจังหวะไหนงบประมาณเอื้ออำนวยขนาดไหน หากงบประมาณไม่มีก็จะต้องถูกยึดเหมือนกัน

การจัดซื้อเครื่องบินกริพเพน ของกองทัพอากาศไทย มีการกำหนดชัดเจนคืองบประมาณ 10 ปี โดยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ถ้าเราจ่าย 10 ปี ตามข้อกำหนดเครื่องบินกริพเพน ก็จะต้องเป็นของประเทศไทย หรืออย่างน้อยกองทัพอากาศก็มีไว้ใช้งานนานอีก 30-40 ปี ซึ่งอยากถามว่าอันไหนจะคุ้มกว่ากัน อีกทั้งประเทศไทยจะได้ทุนภาพรวมใหญ่ ทั้งเรื่องทุนการเรียนปริญญาโท โดยกองทัพอากาศได้แจกจ่ายไปยังสถาบันต่างๆ รวมถึงที่ประเทศสวีเดนจะมาร่วมทุนกับประเทศไทย ทั้งเรื่องอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ หรือตั้งโรงงานผลิตชิ้นส่วนต่างๆ เราก็ได้ประโยชน์หลากหลายไม่ได้มองแค่ทางการทหารอย่างเดียว และที่สำคัญการซื้อขายครั้งนี้เป็นการซื้อขายแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล และขณะนี้ก็มีการเปิดบัญชีจ่ายตามงวดระหว่างรัฐต่อรัฐแล้วเช่นกัน

http://www.komchadluek.net/detail/20100719/66919/ทอ.ซื้อกริพเพน”แบบมีออปชั่น.html
บันทึกการเข้า
ChongKo
Hero Member
*****

คะแนน -1176
ออฟไลน์

กระทู้: 1428


« ตอบ #17504 เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2013, 09:19:55 AM »

เดี๋ยวจะมีคนเข้าใจผิด

Sweden มิได้เข้าเป็นสมาชิกของ "องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ" (North Atlantic Treaty Organization)
รวมถึงมิได้เป็น "พันธมิตรนอกนาโต"  (Major non-NATO ally)  จึงไม่มีความจำเป็นอันใดที่ต้องปรับปรุงระบบของตนให้เข้ากับ NATO

ก็ในลิเบียเค้าปฎิบัติการร่วมกับนาโต้  มันต้องมีการสื่อสารระหว่างกันผ่านทางระบบวิทยุขณะปฎิบัติการทางอากาศ ดังนั้นระบบวิทยุมันต้องสื่อสารกันได้ถึงจะคุยกันได้  ประเทศไทยก็มีเครื่องบินรบทั้งของสหรัฐฯที่เป็นสมาชิกนาโต และเครื่องบินรบสวีเดน ข่าวแบบนี้เราก็รับฟังไว้เพื่อมาตรวจสอบ แก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นเหมือนเค้า ในข่าวก็บอกว่าปัญหาได้รับการแก้ไขในเวลาไม่นาน  แต่ถ้าปิดหูปิดตาไม่ยอมรับว่ามีปัญหาเกิดขึ้น เวลารบกันจริงแล้วมีปัญหาจุกจิกแบบนี้เกิดขึ้นการสูญเสียการสื่อสารแค่ไม่กี่ชั่วโมงอาจหมายถีงการแพ้สงครามได้
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 1164 1165 1166 [1167] 1168 1169 1170 ... 1487
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.349 วินาที กับ 22 คำสั่ง