Eurocopter EC725 เฮลิคอปเตอร์รุ่นใหม่ล่าสุดของกองทัพอากาศไทยที่จะเข้าประจำการภายในปี 2558Eurocopter หนึ่งในบริษัทผู้ผลิตอากาศยานปีกหมุนขึ้น-ลงทางดิ่งหรือเฮลิคอปเตอร์ชั้น
นำ ของโลกได้ทำการพัฒนาเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงขนาดใหญ่สำหรับปฏิบัติภารกิจทาง
ทหาร ขนาดที่ใหญ่โตของอากาศยานปีกหมุนนอกจากสามารถลำเลียงสัมภาระหรือทหาร
ได้ ครั้งละมากๆ แล้ว ยังสามารถดัดแปลงมาเป็นอากาศยานที่ใช้สำหรับการกู้ภัย การ
ตรวจตราบริเวณชายฝั่งและพื้นที่ในทะเล หรือแม้แต่การปรับปรุงให้กลายเป็น
เฮลิคอปเตอร์ติดอาวุธสำหรับการโจมตี หนึ่งในเฮลิคอปเตอร์ขนาดใหญ่ของค่าย
Eurocopter คือ ฮ.รุ่น EC725 Super Cougar ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้เฮลิคอปเตอร์รุ่นดัง
กลาวจะเข้ามามีบทบาทในกองทัพอากาศไทย เพื่อทดแทนเฮลิคอปเตอร์รุ่นเก่าที่เริ่ม
ทยอยปลดประจำการจากอายุการใช้งานที่บางลำบินมานานกว่า 40 ปีแล้ว
Eurocopter EC725 ถูกแผนแบบมาจากเฮลิคอปเตอร์ AS532 Cougar ซึ่งพัฒนา
ต่อยอดมาจาก SA330 Puma จากบริษัท Aerospatiale ก่อนที่จะทำการควบรวมผนวก
กันกลายเป็นค่าย Eurocopter โดย EC725 ลำต้นแบบได้ขึ้นทำการบินทดสอบเป็นครั้ง
แรกในปี พศ 2543 หลังจากนั้นอีก 5 ปีต่อมาจึงพร้อมเข้าประจำการ การออกแบบทั้งหมด
มีการปรับปรุงจาก EC532 ในหลายด้านเพื่อเพิ่มเติมประสิทธิภาพด้านการบิน การออก
แบบโครงสร้างของลำตัวให้มีรูปแบบที่ทันสมัยขึ้นเพื่อรองรับการใช้งานที่มีความหลาก
หลาย โรเตอร์หลักหรือใบพัดเปลี่ยนจากโลหะมาเป็นวัสดุผสม ห้องนักบินถูกปรับให้เป็น
แบบ Glass Cockpit โดยติดตั้งจอภาพขนาดใหญ่ในระบบดิจิตอลเพื่อแสดงผลแทนเข็มวัด
แบบเก่า สำหรับเครื่องยนต์ซึ่งเป็นต้นกำลังของ ฮ. รุ่นนี้ ทาง Eurocopter ได้เปลี่ยนมา
ใช้เครื่องยนต์ Turboshaft แบบ Makila 1A4 ของบริษัทผลิตเครื่องยนต์อากาศยานชั้น
นำ Turbomaca เครื่องยนต์รุ่นใหม่ใช้ระบบควบคุมการทำงานแบบ Full Authority
Digital Engine Control หรือ FADEC ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ประมวลผลขั้นก้าวหน้าที่เข้ามา
มีบทบาทในการควบคุมการ ทำงานของเครื่องยนต์อากาศยานรุ่นใหม่
สำหรับการบินปฏิบัติภารกิจทางทหารนั้น เฮลิคอปเตอร์ EC725 Super Cougar สามารถ
ติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง เช่น เรดาร์สำหรับการค้นหาภาคพื้น กล้องอินฟา
เรด ระบบป้องกันตนเองจากขีปนาวุธ Chaff-Flare หรือระบบแจ้งเตือนเรดาร์ ในส่วนของ
อาวุธ เฮลิคอปเตอร์ EC725 สามารถติดตั้งปืนกลอากาศแบบ FN MAG ขนาด 7.62
จำนวน 2 กระบอกที่ประตูทั้งสองข้าง กระเปาะจรวดขนาด 2.75 นิ้วที่บรรจุจรวดจำนวน
19 นัดซึ่งเป็นจรวดแบบอากาศสู่พื้น รวมถึงกระเปาะปืนใหญ่อากาศขนาด 20 มิลลิเมตร
จำนวน 2 กระเปาะทำให้เฮลิคอปเตอร์ EC725 สามารถจัดหรือโหลดอุปกรณ์เพื่อการ
ปฏิบัติภารกิจทางทหารได้ 4 รูปแบบ คือ
1-ภารกิจส่งกำลังบำรุง ลำเลียงกำลังรบและสัมภาระทางยุทธวิธีซึ่งสามารถบรรทุกทหารได้ 29 นาย
2-ภารกิจ ส่งกลับทางการแพทย์ สำหรับการขนส่งทหารที่ได้รับบาดเจ็บไปยังโรงพยาบาล บรรทุกเตียงสนามได้ 12 เตียงพร้อมเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ 4 นาย
3-ภารกิจค้นหาและกู้ภัยทั้งทางบกและทางทะเล
4-ภารกิจบินรับ-ส่งบุคคลสำคัญ
ระบบอาวุธและอุปกรณ์ช่วยชีวิตที่สามารถเลือกติดตั้งได้อย่างหลากหลายและมีความ
ครอบคลุมเหมาะสมกับการบินปฏิบัติภารกิจค้นหาและช่วยชีวิต เนื่องจากแผนแบบของ
เฮลิคอปเตอร์รุ่นนี้ถูกออกแบบมาเพื่อการกู้ภัยและลำเลียงเป็นหลัก ซึ่งมีความเหมาะสมกับ
ภารกิจบินค้นหา-ช่วยชีวิตทหารหรือพลเรือนที่ได้รับบาดเจ็บจากพื้นที่การรบ Combat
Search and Rescue หรือ CSAR สำหรับกองทัพอากาศไทย ได้ทำการจัดหา
เฮลิคอปเตอร์ Eurocopter EC725 ในลอตแรกจำนวน 4 ลำ เพื่อนำมาทดแทน
อากาศยานขึ้น-ลงทางดิ่งแบบ UH-1H Huey ที่บินประจำการมานานกว่า 40 ปีแล้ว โดย
เฮลิคอปเตอร์ Eurocopter EC725 ได้รับเลือกโดยมีคู่แข่งสมรรถนะสูงอย่าง S-92 ของ
บริษัท Sikorsky ของสหรัฐอเมริกาและ Mi-17 Kazan Helicopter Plant จากรัสเซีย
โดยเฮลิคอปเตอร์ Eurocopter EC725 จะเข้ามารับหน้าทีในการปฏิบัติภารกิจบินค้นหา
และช่วยชีวิตในพื้นที่การรบ การบินเข้าช่วยเหลือและกู้ภัยให้กับนักบินประจำเครื่องบินรบ
ที่ถูกยิงตกหลัง แนวของข้าศึก ซึ่งประสิทธิภาพกับระบบการบินรวมถึงเครื่องยนต์ที่ทรง
สมรรถนะของ Eurocopter EC725 จะได้เข้ามาทดแทนเฮลิคอปเตอร์แบบเก่า UH-1H Huey
ซึ่งเริ่มทยอยปลดประจำการจากอายุการใช้งานที่ยาวนานมาก กองทัพอากาศไทย
จะได้รับมอบเฮลิคอปเตอร์ Eurocopter EC725 ฝูงแรกภายในปี พศ 2558 นี้ นับเป็นการ
เพิ่มเติมเขี้ยวเล็บและเพิ่มศักยภาพทางการบินกู้ภัยให้มีความก้าว ไกลและทันสมัยมากยิ่งขึ้น.
Role Tactical ................................Transport helicopter
Manufacturer.................................Eurocopter Group
First flight......................................27 November 2000
Introduction...................................February 2005
Status.............................................Active service
Primaryuser...................................Brazilian Armed Forces / French Armed
Forces / Mexican Air Force / Royal Malaysian Air Force
Unit cost........................................US $45-55 million[1]
Developed from............................Eurocopter AS 532
Variants.........................................Eurocopter EC225
General characteristics
Crew: 1 or 2 (pilot + co-pilot)
Capacity: 1 chief of stick + 28 troops or 5,670 kilograms (12,500lb) payload
Length: 19.5m (64ft 0in)
Height: 4.6m (15ft 1in)
Empty weight: 5,330kg (11,751lb)
Gross weight: 11,000kg (24,251lb)
Max takeoff weight: 11,200kg (24,692lb)
Power plant: 2 × Turboméca Makila 2A1 turboshaft engines, 1,776kW (2,382hp) each
Main rotor diameter: 16.20m (53ft 2in)
Main rotor area: 206.1m2 (2,218sqft)
Performance
Maximum speed: 324km/h (201mph; 175kn) in level flight
Cruising speed: 285km/h (177mph; 154kn)
Never exceed speed: 324km/h (201mph; 175kn)
Range: 857km (533mi; 463nmi)
Ferry range: 1,325km (823mi; 715nmi)
Service ceiling: 6,095m (19,997ft)
Rate of climb: 7.4m/s (1,460ft/min
http://www.thairath.co.th/content/life/393440Facebook
https://www.facebook.com/chang.arcomhttp://ordnancefighter.blogspot.com/2014/01/eurocopter-ec725-2558.html