การป้องกันแผ่นดินเกิด อนาคตการป้องกันภัยทางอากาศของญี่ปุ่นและไต้หวัน ภาพการปรากฎของเรือบรรทุกเครื่องบินของจีนก่อให้ เกิดความสับสนอลหม่านไปทั่วทั้งมหาสมุทรแปซิฟิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาประเทศที่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีการป้องกันประเทศและยุ ทโธปกรณ์ขนาดใหญ่จากสหรัฐอเมริกา ในการอวดโฉมของเรือบรรทุกเครื่องบินจีนซึ่งขณะนี้เป็นรอบที่สองในการทดลอง เดินเครื่องในทะเล ทำให้กลุ่มประเทศในภาคพื้นแปซิฟิกเริ่มหาแนวทางในการป้องกันภัยทางอากาศด้วย ความเร่งด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งไต้หวันและญี่ปุ่นซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดในการปรับ ปรุงเครื่องบินขับไล่เพื่อการครองอากาศที่มีอยู่
เมื่อต้นปีนี้เองประธานาธิบดีโอบามาตอบปฏิเสธการสั่งซื้อเครื่องบิน F-16 C/D ใหม่ 66 ลำ ของไต้หวันเพื่อทดแทนฝูงบินขับไล่ F-16 A/B และ F-5 ซึ่งมีอายุการใช้งานมายาวนาน รัฐบาลของประธานาธิบดีโอบามากลับยื่นข้อเสนอในการปรับปรุงฝูงบินขับไล่ F-16 รุ่น A/B แทน โครงการปรับปรุงมูลค่า 5.85 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ นี้ จะทำให้ไต้หวันได้เครื่องบิน F-16 รุ่นเก่า แต่มีขีดความสามารถขั้นสูงเทียบกับรุ่น C/D ด้วยการปรับปรุงระบบเรดาร์ อุปกรณ์สื่อสารภาคอากาศ และระบบอาวุธ ไต้หวันเองรีบตอบรับข้อเสนอการปรับปรุงเครื่องบิน F-16 รุ่นเก่านี้ในทันที
น่าเสียดายที่โครงการปรับปรุงตามแผนงานที่วางไว้นี้ช่วยลดปัญหา การให้ฝูงบิน F-16 รุ่นเก่า ขึ้นบินได้ เพียงน้อยนิด จนถึงขณะนี้ทั้ง F-16 A/B และ F-5 เป็นเครื่องบินใกล้เกษียณอายุเนื่องจากตรากตรำปฏิบัติภารกิจมายาวนานเกิน กว่าอายุการใช้งานที่วางไว้ เครื่องบิน F-16 มีอายุการใช้งานย้อนหลังไปถึงปี ค.ศ.1992 และเครื่องบิน F-5 เป็นเครื่องบินในยุคสงครามเวียดนามซึ่งปัจจุบันใช้ประโยชน์ได้น้อยมากยกเว้น เพียงการฝึก ไต้หวันต้องเผชิญกับปัญหาเครื่องบินตกและมาตรฐานการบินต่ำซ้ำซาก ซึ่งกลายเป็นเครื่องบ่งชี้ในขณะนี้ว่าอากาศยานมีอายุการใช้งานยาวนานมากแล้ว ต้องการการบำรุงรักษาโดยต่อเนื่องและยิ่งเวลาผ่านไปยิ่งก่อให้เกิด อุบัติเหตุจากอากาศยานแม้ในยามปฏิบัติภารกิจปกติ
ความพยายามของไต้หวันที่จะผลิตเครื่องบินรบเพื่อการครองอากาศด้วยตนเองเป็น ผลให้ได้เกิดเครื่องบินจำนวน 130 ลำ แต่เมื่อพิสูจน์แล้วกลับพบว่ามีขีดความสามารถต่ำกว่าที่ต้องการ ด้วยความช่วยเหลือจากทางเทคโนโลยีป้องกันประเทศจากสหรัฐฯ ความคิดแรกเริ่มเป็นแนวคิดที่มาพร้อมกับคำมั่นสัญญาที่มีเหตุผลน่าเชื่อถือ ในการส่งมอบเครื่องบินขับไล่ผลิตในประเทศ และตรงความต้องการในการป้องกันภัยทางอากาศของประเทศ แต่โครงการนี้กลับประสบอุปสรรคเนื่องจากไต้หวันถูกบีบให้ตัดเครื่องยนต์แรง ขับสูงออกจากโครงการ เครื่องยนต์ดังกล่าวนี้มีความจำเป็นในการสร้างเครื่องบินให้เป็นยุทโธปกรณ์ ซึ่งเป็นภัยคุกคามเมื่อทำการรบอย่างแท้จริง การยื่นข้อเสนอของสหรัฐฯ นี้เองที่แนวคิดการปรับปรุงเครื่องบินขับไล่ใหม่จะกลายเป็นจริง และอาจจะทำให้ไต้หวันมีเครื่องบินขับไล่เพื่อการครองอากาศผลิตในประเทศเอง ได้ในที่สุด นอกจากนี้ ไต้หวันยังแสดงความจำนงค์ออกมาตรงๆ ว่าจะจัดซื้อเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์รุ่น F-35 แต่มีความเป็นไปได้น้อยมากที่ไต้หวันจะได้เครื่องบิน F-35 มาอยู่ในฝูงบินขับไล่ในระยะเวลาอันใกล้นี้
ด้วยเหตุที่การจัดหาเครื่องบิน F-16 รุ่นใหม่ของไต้หวันในระยะเวลาอันใกล้นี้มีความเป็นไปได้ค่อนข้างต่ำ การจัดซื้อเครื่องบิน F-35 ก็ไม่ต่างไปจากความฝัน ขีดความสามารถของไต้หวันในการป้องกันน่านฟ้าต่อต้านการขับไล่ทางอากาศของจีน จึงเป็นไปอย่างจำกัดยิ่ง แต่ไต้หวันอาจมีขีดความสามารถในการต้อนรับกำลังทางอากาศของจีนได้พอสมควร เมื่อมีการสู้รบเกิดขึ้นจริงจากการปรับปรุงสมรรถนะของเครื่องบิน F-16 รุ่นเก่า
ในขณะที่ไต้หวันถูกบีบให้รับอะไรก็ตามที่พอจะรับได้เพื่อปรับปรุงขีดความ สามารถในการป้องกันภัยทางอากาศของตน ญี่ปุ่นเองยังคงตัดสินใจไม่ได้ว่าต้องการเครื่องบินรุ่นไหนมาแทนเครื่องบิน ขับไล่ F-4EJ F-2 และ F-15J ที่จะพังมิพังแหล่ อุบัติเหตุและการหยุดบินหลายๆ ครั้งที่ผ่านมาเผยให้เห็นฝันร้ายของฝูงบินญี่ปุ่นในการบำรุงรักษาให้เครื่อง บินขับไล่ลอยลำอยู่ได้ ที่แตกต่างจากไต้หวันคือญี่ปุ่นเป็นชาติเอกราชไม่มีข้อจำกัดทางการเมืองมา บีบบังคับ อีกทั้งการเลือกซื้อเครื่องบินขับไล่ยังปลอดจากแรงบีบทั้งจากสหรัฐฯ และจีน จึงเป็นอิสระที่จะทำสัญญากับประเทศไหนก็ได้เพื่อจัดหาเครื่องบินที่เหมาะสม ที่สุดและตรงกับความต้องการในการป้องกันภัยทางอากาศของตน ยกเว้น F-22 Raptor ของ Lockheed Martin ซึ่งสหรัฐฯ ยังไม่พร้อมจะให้ชาติอื่นใช้ร่วม
เครื่องบิน F-4EJ Kai Phantom ของญี่ปุ่นประจำการมาตั้งแต่ต้น ค.ศ.1970 และมีอายุยาวนานเกินกว่าประโยชน์ในทางปฏิบัติการของเครื่องแล้ว เครื่องบิน F-15J ประจำการมาตั้งแต่ต้น ค.ศ.1980 และแน่นอนว่าอายุมากแล้วเช่นกัน สายการผลิตของเครื่องบิน F-2 สิ้นสุดลงเมื่อเครื่องบินลำสุดท้ายถูกส่งมอบเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ.2011 ฝูงบินเหล่านี้ชำรุด หมดอายุ และล้าสมัยแล้ว
ใน ค.ศ.2010 ทั้งจีนและรัสเซียระดมการทดสอบการป้องกันภัยทางอากาศของญี่ปุ่นด้วยการ รุกล้ำเข้าไปในน่านฟ้าญี่ปุ่นหลายร้อยครั้ง ถือว่าเป็นจำนวนเที่ยวบินไม่ได้รับอนุญาตมากครั้งที่สุดนับตั้งแต่ ค.ศ.1991 กองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศแห่งญี่ปุ่น (Japanese Air Self Defense Force หรือ JASDF) ถูกต้อนจนหลังชนฝาแล้วในความพยายามที่จะต่อกรกับความท้าทายใน ค.ศ.2010 นี้ และผลลัพธ์สุดท้ายคงไม่ใช่ที่มาในการเฉลิมฉลองอย่างแน่นอน อุบัติเหตุที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ของปฏิบัติการทางอากาศของ JASDF ยิ่งซ้ำเติมให้ปัญหาการบำรุงรักษาเครื่องบินหมดอายุให้ยังคงปฏิบัติการได้ เลวร้ายลงไปอีก
ด้วยเหตุที่จีนได้เผยโฉมเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ J-20 ออกมาเมื่อเร็วๆ นี้ ตามรายงานกล่าวว่ามีเทคโนโลยีและขีดความสามารถในการล่องหน และรัสเซียประกาศมีโครงการความร่วมมือกับอินเดียในการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ Sukhoi T-50 ยุคที่ห้า ญี่ปุ่นกลับกลัดกลุ้มกับการต้องเรียนรู้ว่ากองกำลังป้องกันภัยทางอากาศที่มี อยู่ของตนแท้จริงแล้วถูกทิ้งห่างจากคู่แข่งที่มีศักยภาพสูง เช่นจีน รัสเซีย และอินเดีย ออกไปไกลแค่ไหน การทดสอบในทะเลของเรือบรรทุกเครื่องบินของจีนยิ่งเพิ่มสัมผัสแห่งความเปราะ บางของญี่ปุ่นที่มีต่อศัตรูผู้มีขีดความสามารถและเป็นอันตรายอย่างยิ่งยวด ต่ออธิปไตยของตน
ที่แตกต่างจากไต้หวัน คือ ญี่ปุ่นอยู่ในสถานะที่น่าอิจฉาเนื่องจากมีอิสระที่จะเลือกเครื่องบินขับไล่ เข้าประจำการแทนเครื่องที่มีอยู่ให้ต่อกรกับจีนได้ ญี่ปุ่นลดทางเลือกในการพิจารณาเลือกเครื่องบินขับไล่ทางอากาศเพื่อการครอง อากาศเหนือน่านฟ้าญี่ปุ่นที่ดีที่สุดลงเหลือเพียงสามแบบได้แก่ F/A-18E/F Super Hornet ของ Boeing, F-35 Joint Strike Fighter (JSF) ของ Lockheed Martin และ Eurofighter Typhoon ของ BAE System
หลักเกณฑ์สำคัญอย่างหนึ่งที่รัฐบาลญี่ปุ่นใช้ในการกำหนดการเครื่องบินขับไล่ ทดแทนที่จะเลือกมาใช้งานคือ ระดับของการผลิต/การประกอบ ที่บริษัทแม่จะยินยอมให้ดำเนินการในญี่ปุ่นได้ ผู้ผลิตทั้งสามได้ระบุถึงความเต็มใจที่จะเสนอข้อตกลงการอนุญาตให้ญี่ปุ่นมี สิทธิในการผลิต/การประกอบในระดับที่กำหนด ทั้งนี้แต่ละบริษัทเสนอระดับของสิทธิแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย แต่รัฐบาลญี่ปุ่นยังไม่ประกาศว่าได้เลือกเครื่องบินขับไล่รุ่นไหนของบริษัท ใด แต่คาดว่าจะมีการประกาศออกมาอย่างเป็นทางการปลายเดือนธันวาคม 2011 นี้ หรืออย่างน้อยต้นเดือนมกราคม 2012 ศกหน้า
ผู้สังเกตการณ์ส่วนใหญ่เชื่อกันว่า F-35 Lightning II มีความเป็นไปได้มากที่สุดที่จะได้รับเลือก เนื่องจากเครื่องบินขับไล่รุ่นนี้มีความล้ำหน้าทางเทคโนโลยีที่สุดและมีขีด ความสามารถสูงสุดจากเครื่องบินทั้งสามรุ่น จากประวัติศาสตร์ชี้ให้เห็นว่าญี่ปุ่นเลือกอาวุธที่ล้ำสมัยที่สุดเท่าที่มี อยู่ในท้องตลาด อย่างไรก็ตาม F-35 ประสบกับปัญหาความล่าช้าในสายการผลิตและการทดสอบมากมายและมากับป้ายราคาสูง สุดในกลุ่ม ส่วน F/A-18E/F Super Hornet เป็นเครื่องบินที่มีขีดความสามารถสูงโดยมีประวัติพิสูจน์ขีดความสามารถยอด เยี่ยมและสนนราคาน่าพอใจมากกว่า สำหรับ Eurofighter Typhoon ก็เป็นเครื่องบินที่มีขีดความสามารถเช่นกัน แต่ญี่ปุ่นไม่เคยซื้อเครื่องบินรบจากยุโรปมาก่อน และสหรัฐฯ เองก็ต้องกดดันญี่ปุ่นให้ยังคงอยู่กับการใช้งานเครื่องบินรบสหรัฐฯ ต่อไปอย่างแน่นอน ผู้สังเกตุการณ์บางคนก็หยิบยกข้อกังขาเกี่ยวกับขีดความสามารถของเครื่องบิน Typhoons ที่จะบูรณาการเข้ากับยุทโธปกรณ์ของญี่ปุ่นที่ส่วนใหญ่เป็นของสหรัฐฯ ได้ ทั้งยังเป็นห่วงว่าเครื่องบิน Typhoon จะสร้างความยุ่งยากโดยไม่จำเป็นให้กับระบบการซ่อมบำรุงและสายการส่งกำลัง บำรุง เนื่องจากตามธรรมชาติของมันก็มีความยุ่งยากในตัวอยู่แล้ว
ขณะที่ดูเหมือนว่าเครื่องบิน F-35 จะเป็นรุ่นที่ดีที่สุดสำหรับภารกิจ ราคากลับเป็นข้อพิจารณาหลักเช่นเดียวกัน ญี่ปุ่นต้องแบกรับภาระหนี้สินซึ่งตอนนี้เกิน 200 เปอร์เซ็นต์ของ GDP ไปเรียบร้อยแล้ว และยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้นำญี่ปุ่นจำต้องตัดสินใจให้ได้ระหว่างการได้สิ่งที่ดีที่สุดและเสียค่า ใช้จ่ายมากที่สุด หรือได้เครื่องบินที่มีขีดความสามารถพอสมควรโดยเสียค่าใช้จ่ายต่ำกว่ามาก สิ่งไหนสำคัญต่อญี่ปุ่นมากที่สุดในปัจจุบัน เครื่องบินขับไล่ที่ดีที่สุดหรือเครื่องบินขับไล่ชั้นหนึ่งระดับดีแต่ไม่ สั่นคลอนการคลังของประเทศ?
http://ordnancefighter.blogspot.com/2014/01/blog-post_25.html