Airbus Helicopter EC725 ฮ. แบบใหม่ล่าสุดของทัพฟ้าไทยEurocopter ที่กลายมาเป็น Airbus Helicopter หนึ่งในบริษัทผู้ผลิตอากาศยานปีกหมุนขึ้น-ลงทางดิ่งหรือ
เฮลิคอปเตอร์ชั้นนำ ของโลกได้ทำการพัฒนาเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงขนาดใหญ่สำหรับปฏิบัติภารกิจทางทหาร
ขนาดที่ใหญ่โตของอากาศยานปีกหมุนนอกจากสามารถลำเลียงสัมภาระหรือทหารได้ครั้งละมากๆ แล้ว
ยังสามารถดัดแปลงมาเป็นอากาศยานที่ใช้สำหรับการกู้ภัย การตรวจตราบริเวณชายฝั่งและพื้นที่ในทะเล
หรือแม้แต่การปรับปรุงให้กลายเป็นเฮลิคอปเตอร์ติดอาวุธสำหรับการโจมตี หนึ่งในเฮลิคอปเตอร์ขนาดใหญ่
ของค่าย Eurocopter คือ ฮ.รุ่น EC725 Super Cougar ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้เฮลิคอปเตอร์รุ่นดังกล่าวจะ
เข้ามามีบทบาทในกองทัพอากาศไทย เพื่อทดแทนเฮลิคอปเตอร์รุ่นเก่าที่เริ่มทยอยปลดประจำการจากอายุ
การใช้งานที่บางลำบินมานานกว่า 40 ปีแล้ว ในเดือนกรกฎาคม 2558 กองทัพอากาศไทยมีกำหนดที่ได้รับ
อากาศยานแบบปีกหมุนหรือเฮลิคอปเตอร์รุ่นใหม่ล่าสุดเข้าประจำการ นั่นก็คือ Airbus Helicopter EC725
สำหรับการปฏิบัติภารกิจค้นหาและกู้ภัยตลอดจนการบินลำเลียงสัมภาระเข้า-ออกจากพื้นที่ต่างๆ จำนวน
การสั่งซื้อ 4 เครื่อง สำหรับ Airbus Helicopter EC725 เป็นเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางที่มีประสิทธิภาพสูง
เข้าประจำการในกองทัพอากาศไทยต่อจากมาเลเซียและอินโดนีเซีย
EC725 ถูกแผนแบบมาจากเฮลิคอปเตอร์ AS532 Cougar ซึ่งพัฒนาต่อยอดมาจาก SA330 Puma จาก
บริษัท Aerospatiale ก่อนที่จะทำการควบรวมผนวกกันกลายเป็นค่าย Eurocopter หลังจากนั้นจึงถูก Airbus
เข้าซื้อกิจการ โดย EC725 ลำต้นแบบได้ขึ้นทำการบินทดสอบเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2543 หลังจากนั้นอีก
5 ปีต่อมาจึงพร้อมเข้าประจำการ การออกแบบทั้งหมดมีการปรับปรุงจาก EC532 ในหลายด้านเพื่อเพิ่มเติม
ประสิทธิภาพด้านการบิน การออกแบบโครงสร้างของลำตัวให้มีรูปแบบที่ทันสมัยขึ้นเพื่อรองรับการใช้งาน
ที่มีความหลากหลาย โรเตอร์หลักหรือใบพัดเปลี่ยนจากโลหะมาเป็นวัสดุผสม ห้องนักบินถูกปรับให้เป็นแบบ
Glass Cockpit โดยติดตั้งจอภาพขนาดใหญ่ในระบบดิจิตอลเพื่อแสดงผลแทนเข็มวัดแบบเก่า สำหรับ
เครื่องยนต์ซึ่งเป็นต้นกำลังของ ฮ. รุ่นนี้ ทาง Eurocopter ได้เปลี่ยนมาใช้เครื่องยนต์ Turboshaft แบบ
Makila 1A4 ของบริษัทผลิตเครื่องยนต์อากาศยานชั้นนำ Turbomaca เครื่องยนต์รุ่นใหม่ใช้ระบบควบคุม
การทำงานแบบ Full Authority Digital Engine Control หรือ FADEC ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ประมวลผลขั้น
ก้าวหน้าที่เข้ามามีบทบาทในการควบคุมการทำงานของเครื่องยนต์อากาศยานรุ่นใหม่
เฮลิคอปเตอร์ EC725 ได้รับการแผนแบบขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของกองทัพอากาศฝรั่งเศส
ซึ่งต้องการ ฮ. สำหรับปฏิบัติภารกิจพิเศษในด้านการค้นหาและช่วยชีวิต ก่อนหน้าที่ Airbus จะควบรวม
กิจการของบริษัท Eurocopter ได้สร้างอากาศยานปีกหมุนรุ่น AS532 A2 แล้วจึงแผนแบบจาก AS532 A2
มาเป็น EC725 ด้วยการเพิ่มเติมสมรรถนะทางการบินให้กว้างขึ้น มีประสิทธิภาพและมีขีดความสามารถ
สูงกว่า ฮ. ลำเลียงกู้ภัยรุ่นเก่าสำหรับการบินปฏิบัติการกู้ภัย ค้นหาและช่วยเหลือทหารที่ได้รับบาดเจ็บจาก
พื้นที่ของการรบ ช่วยเหลือบุคคลจากอุปกรณ์เดินอากาศที่ก้าวหน้าทันสมัยซึ่งมีความแม่นยำสูงและมีการ
อยู่รอดที่สูงกว่าเฮลิคอปเตอร์แบบอื่นๆ
คุณสมบัติที่ดีของ Airbus Helicopter EC725 ประกอบด้วยรูปทรงที่ใหญ่โตมากกว่าเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง
ขนาดกลางทั่วไป ลำตัวมีความยาว 19.50 เมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางของใบพัดประธานหรือโรเตอร์หลัก
16.2 เมตร สัดส่วนความสูง 4.6 เมตร ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์สมรรถนะสูงถึงสองเครื่อง เป็นเครื่องยนต์
เทอร์โบชาร์ป รุ่น Turbomeca Makila 2A1 สมรรถนะในการบินสามารถทำความเร็วสูงสุดได้ที่ 324 กิโลเมตร
ต่อชั่วโมง พิสัยบิน (บินไกล) 1452 กิโลเมตร เพดานบินสูงสุด 6095 เมตร ความเร็วในการบินเดินทางปกติ
ที่ 277 กิโลเมตรต่อชั่วโมง บินได้นาน 4 ชั่วโมง โดยสามารถรับการเติมเชื้อเพลิงทางอากาศจากเครื่องบิน
KC-130 หรือ Airbus A-400M
ค็อกพิตหรือห้องนักบินใน Airbus Helicopter EC725 เป็นแบบ Glass Cockpit ประกอบด้วยอุปกรณ์ทางการบิน
และการเดินอากาศที่ทันสมัย ติดตั้งจอภาพ Active Matrix Liquid Crystal Display ขนาด 6x8 นิ้ว จำนวน
4 จอภาพ และจอมอนิเตอร์ขนาด 4x5 นิ้วอีก 2 จอ ติดตั้งระบบ Advanced Hilicopter Cockpit and Avionics
System หรือ AHCAS ประกอบด้วย ระบบควบคุมการบินแบบอัตโนมัติ automatic Flight Control System
ระบบเดินอากาศและข้อมูลภารกิจทางยุทธวิธี Tactical Mission data ติดตั้งอุปกรณ์พวกเซนเซอร์ที่สำคัญ
ได้แก่ เรดาร์เดินอากาศ ส่วน Airbus Helicopter EC725 ของบางประเทศได้รับการติดตั้งอุปกรณ์ FLIR หรือ
Forward Looking Infrared ทำให้มีขีดความสามารถในการปฏิบัติภารกิจค้นหาและกู้ภัยได้ทั้งกลางวันและ
กลางคืน สามารถติดตั้งระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์เพื่อป้องกันตนเอง ได้แก่ Radar Warning Receiver
/ Laser Warning Receiver / Missile Approach Warner และ Chaff and Flare Dispenser เฮลิคอปเตอร์
EC725 ได้รับการแผนแบบขึ้นมาถึง 4 แบบด้วยกันคือ
รุ่นลำเลียงทางอากาศ Troop Transport Version มีขีดความสามารถในการบินลำเลียงด้วยการบรรทุกทหาร
ได้มากถึง 29 นาย ใต้ลำตัวติดตั้งขอเกี่ยว Sling สำหรับการขนส่งสัมภาระด้วยน้ำหนักบรรทุกสูงสุด 5 ตัน
รุ่นรับ-ส่งบุคคลสำคัญหรือ VIP Transport Version บรรทุกผู้โดยสารได้ 8-12 คน พร้อมอุปกรณ์อำนวย
ความสะดวก เช่น เบาะนั่งแบบ VIP และอุปกรณ์ช่วยชีวิตฉุกเฉิน
รุ่น Casualty Evacuation Version เป็นเฮลิคอปเตอร์พยาบาลที่ออกแบบห้องโดยสารมาเป็นพิเศษสำหรับ
การรองรับผู้ป่วยหรือทหารที่ได้รับบาดเจ็บจากการรบ สามารถบรรทุกผู้บาดเจ็บได้ 12 คน และเปลสนาม
12 เปล
รุ่น Combat SAR combat SAR Configuration ได้รับการติดตั้งอุปกรณ์สำหรับปฏิบัติภารกิจค้นหาและกู้ภัย
ในพื้นที่ของการรบ โดยติดตั้งรอกกว้านไฟฟ้าด้านข้างลำตัว ติดตั้งอุปกรณ์ทางการทหารอื่นๆ รวมถึงอาวุธ
เช่น ปืนกลอากาศ FN MAG ขนาด 7.62 มิลลิเมตร จำนวน 2 กระบอกโดยติดตั้งที่หน้าต่างตัวเครื่องทั้งสองด้าน
กระเปาะจรวด ขนาด 68 มิลลิเมตร จำนวน 2 กระเปาะ บรรจุจรวดอากาศสู่พื้นกระเปาะละ 19 นัด กระเปาะปืน
ใหญ่อากาศ GIAT ขนาด 20 มิลลิเมตร ข้างละหนึ่งกระเปาะ พร้อมกระสุนกระเปาะละ 180 นัด อุปกรณ์แจ้งเตือน
Radar Warning Receiver ป้องกันตนเองเมื่อถูกสอยด้วยอาวุธนำวิถี
นอกจากกองทัพอากาศไทยที่เตรียมรับ ฮ. รุ่นนี้เข้าประจำการในฝูงบินปีกหมุนจำนวน 4 เครื่อง อากาศยาน
Airbus Helicopter EC725 ยังได้รับการสั่งซื้อจากกองทัพอากาศ 7 ประเทศ ได้แก่ บราซิล จำนวน 50 เครื่อง
ฝรั่งเศส 14 เครื่อง อินโดนีเซีย 6 เครื่อง มาเลเซีย 6 เครื่อง คาซัคสถาน 20 เครื่อง เม็กซิโก 18 เครื่อง
โปแลนด์ 50 เครื่อง
ระบบอาวุธและอุปกรณ์ช่วยชีวิตที่สามารถเลือกติดตั้งได้อย่างหลากหลายและมีความครอบคลุมเหมาะสมกับ
การบินปฏิบัติภารกิจค้นหาและช่วยชีวิต เนื่องจากแผนแบบของเฮลิคอปเตอร์รุ่นนี้ถูกออกแบบมาเพื่อการกู้ภัย
และลำเลียงเป็นหลัก ซึ่งมีความเหมาะสมกับภารกิจบินค้นหา-ช่วยชีวิตทหารหรือพลเรือนที่ได้รับบาดเจ็บจาก
พื้นที่การรบ Combat Search and Rescue หรือ CSAR สำหรับกองทัพอากาศไทย ได้ทำการจัดหาเฮลิคอปเตอร์
EC725 ในลอตแรกจำนวน 4 ลำ เพื่อนำมาทดแทนอากาศยานขึ้น-ลงทางดิ่งแบบ UH-1H Huey ที่บินประจำ
การมานานกว่า 40 ปีแล้ว โดยเฮลิคอปเตอร์ EC725 ได้รับเลือกโดยมีคู่แข่งสมรรถนะสูงอย่าง S-92 ของบริษัท
Sikorsky ของสหรัฐอเมริกาและ Mi-17 Kazan Helicopter Plant จากรัสเซีย โดยเฮลิคอปเตอร์ EC725 จะเข้า
มารับหน้าที่ในการปฏิบัติภารกิจบินค้นหาและช่วยชีวิตในพื้นที่การรบ การบินเข้าช่วยเหลือและกู้ภัยให้กับนักบิน
ประจำเครื่องบินรบที่ถูกยิงตกหลัง แนวของข้าศึก ซึ่งประสิทธิภาพกับระบบการบินรวมถึงเครื่องยนต์ที่ทรง
สมรรถนะของ EC725 จะได้เข้ามาทดแทนเฮลิคอปเตอร์แบบเก่า UH-1H Huey ซึ่งเริ่มทยอยปลดประจำการ
จากอายุการใช้งานที่ยาวนานมาก กองทัพอากาศไทยจะได้รับมอบเฮลิคอปเตอร์ EC725 ฝูงแรกภายในเดือนนี้
นับเป็นการเพิ่มเติมเขี้ยวเล็บและเพิ่มศักยภาพทางการบินกู้ภัยให้มีความก้าวไกลและทันสมัยมากยิ่งขึ้น.
Role Tactical ................................Transport helicopter
Manufacturer.................................Eurocopter Group
First flight......................................27 November 2000
Introduction...................................February 2005
Status.............................................Active service
Primaryuser...................................Brazilian Armed Forces / French Armed Forces
/ Mexican Air Force / Royal Malaysian Air Force
Unit cost........................................US $45-55 million[1]
Developed from............................Eurocopter AS 532
Variants.........................................Eurocopter EC225
General characteristics
Crew: 1 or 2 (pilot + co-pilot)
Capacity: 1 chief of stick + 28 troops or 5,670 kilograms (12,500lb) payload
Length: 19.5m (64ft 0in)
Height: 4.6m (15ft 1in)
Empty weight: 5,330kg (11,751lb)
Gross weight: 11,000kg (24,251lb)
Max takeoff weight: 11,200kg (24,692lb)
Power plant: 2 × Turboméca Makila 2A1 turboshaft engines, 1,776kW (2,382hp) each
Main rotor diameter: 16.20m (53ft 2in)
Main rotor area: 206.1m2 (2,218sqft)
Performance
Maximum speed: 324km/h (201mph; 175kn) in level flight
Cruising speed: 285km/h (177mph; 154kn)
Never exceed speed: 324km/h (201mph; 175kn)
Range: 857km (533mi; 463nmi)
Ferry range: 1,325km (823mi; 715nmi)
Service ceiling: 6,095m (19,997ft)
Rate of climb: 7.4m/s (1,460ft/min)
เอกสารข้อมูลประกอบการเขียนจาก แทงโก นิตยสารเพื่อคนรักการบินและเทคโนโลยี
ฉบับที่ 274 กรกฎาคม 2558
อาคม รวมสุวรรณ
E-Mail
chang.arcom@thairath.co.th Facebook
https://www.facebook.com/chang.arcom http://www.thairath.co.th/content/511666ช่วยลงข่าวครับ