ซีเรียได้รับมอบเครื่องบินขับไล่ MiG-31 จากรัสเซียSyria reportedly receives MiG-31 interceptors from Russia
Syria has reportedly received six MiG-31 interceptor aircraft from Russia, although there has so far been
no official confirmation of this. Source: Russian Air Force
http://www.janes.com/article/53660/syria-reportedly-receives-mig-31-interceptors-from-russiaสำนักข่าว BGN ตุรกีได้รายงานข่าวเมื่อวันที่ 16 สิงหาคมว่ารัฐบาลซีเรียได้รับมอบเครื่องบินขับไล่สกัดกั้นพิสัยไกล
แบบ MiG-31 Foxhound จำนวน 6 เครื่อง จากรัสเซีย โดยเครื่องบินขับไล่ MiG-31 ทั้ง 6เครื่องถูกส่งมายังฐานทัพ
อากาศ Mezze นอกเมืองหลวง Damascus ซึ่งน่าจะเป็นรุ่น MiG-31E ซึ่งเป็นรุ่นส่งออกของ MiG-31B ที่เข้าประจำการ
ในปี 1990 มีรายงานว่าซีเรียมีความต้องการจัดหา MiG-31 มาตั้งแต่ปี 2007 แล้ว แต่ได้รับการปฏิเสธจาก
Rosoboronexport องค์การด้านการส่งออกยุทโธปกรณ์ของรัสเซียในปี 2010 ว่าเป็นเพียงข่าวลือที่ไม่เป็นความจริง
ซึ่งถ้าการส่งมอบนี้เป็นความจริงกองทัพอากาศซีเรียจะเป็นประเทศแรกที่ได้รับการส่งออกของ MiG-31 นอกจากกองทัพ
อากาศรัสเซีย และกองทัพอากาศคาซัคสถานที่ได้รับมอบเครื่องมาจากสมัยอดีตสหภาพโซเวียต
ปัจจุบันรัฐบาลซีเรียของประธานาธิบดี Bashar al-Assad กำลังเผชิญกับสงครามกลางเมืองกับกลุ่มติดอาวุธภายใน
หลายกลุ่มที่ยืดเยิ้อมานานหลายปี ทำให้กองทัพอากาศซีเรียได้รับความเสียหายจากการสูญเสียอากาศยานหลายแบบ
ในการสู้รบกับกลุ่มติดอาวุธไปมากพอสมควร แต่สำหรับ MiG-31 ซึ่งเป็นเครื่องบินขับไล่สกัดกั้นพิสัยไกลสมรรถนะสูง
ที่ออกแบบมาสำหรับการรบแบบอากาศสู่อากาศที่กองทัพอากาศโซเวียตประจำการมาตั้งแต่ปี 1980s แล้วนั้น
ดูเหมือนว่าทางกองทัพอากาศซีเรียตั้งใจจะนำมาใช้สร้างเขตห้ามบินเพื่อสกัดกั้นการล่วงล้ำน่านฟ้าของอากาศยาน
กลุ่มพันธมิตรชาติอาหรับ อิสราเอล และ NATO ที่เข้ามาแทรกแซงสงครามกลางเมืองภายในซีเรียอยู่บ่อยครั้งมากกว่า
MiG-31 ติดตั้งระบบ PESA radar ควบคุมการยิงแบบ Zaslon (NATO กำหนดรหัสว่า Flash Dance) สามารถตรวจจับ
เป้าหมายได้ในระยะ 200 km สามารถติดตามและโจมตีเป้าหมายได้พร้อมกัน 10 เป้า มี Radar ท้ายเครื่องระยะตรวจจับ
90 km และระบบตรวจจับ Elctro-Optical Infra-Red Search and Track (IRST) สำหรับการตรวจจับเป้าหมายระยะใกล้
ติดปืนใหญ่อากาศ GSh-6-23 ขนาด 23 mm กระสุน 260 นัด อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยไกลที่ติดตั้งได้
คือ R-33 ระยะยิง 304 km (NATO กำหนดรหัส AA-9 Amos) และ R-37 ระยะยิง 280 km (NATO กำหนดรหัส AA-13
Arrow) ซึ่ง MiG-31BM ที่ได้รับการปรับปรุงประจำการในกองทัพอากาศรัสเซียปัจจุบันสามารถใช้อาวุธใหม่ได้หลายแบบ
ทั้งอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลาง R-77 ระยะ 100 km (NATO กำหนดรหัส AA-12 Adder) อาวุธปล่อย
นำวิถีพิสัยใกล้ R-73 (NATO กำหนดรหัส AA-11 Archer) รวมถึงอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นเช่น อาวุธปล่อยนำวิถี
ต่อต้านการแพร่คลื่น Radar Kh-31P (AS-17 Krypton) และ Kh-58 (AS-11 Kilter) เป็นต้นครับ
http://aagth1.blogspot.com/2015/08/mig-31.html