su30 มาเลเซียบิน ได้ แค่ 4 ลำ เครดิตร
http://aagth1.blogspot.com/2018/08/su-30mkm-4-mig-29n.html?m=1Mohamad Sabu รัฐมนตรีกลาโหมมาเลเซียเปิดเผยว่าเครื่องบินขับไล่ของกองทัพอากาศมาเลเซีย(RMAF: Royal Malaysian Air Force, TUDM: Tentera Udara Diraja Malaysia) ที่จัดหาจากรัสเซียทั้งสองแบบ
คือเครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-30MKM สามารถทำการบินได้เพียง 4เครื่องจากทั้งหมด 18เครื่อง และเครื่องบินขับไล่ Mikoyan MiG-29N บินไม่ได้แม้แต่เครื่องเดียวจากทั้งหมด 10เครื่อง
"มีเครื่อง Sukhoi เพียง 4เครื่องเท่านั้นที่ยังสามารถจะทำการบินได้ดี" รัฐมนตรีกลาโหมมาเลเซียกล่าวโดยเสริมว่าเครื่องบินขับไล่ Su-30MKM ที่เหลืออีก 14เครื่องกำลังอยู่ระหว่างการซ่อม
การตอบคำถามของระหว่างการแสดงการขอบพระทัยต่อรสำนักพระราชาธิบดีในรัฐสภามาเลเซียเมื่อ 31 กรกฎาคมที่ผ่านมา เขากล่าวว่ากองทัพอากาศมาเลเซียไม่สามารถที่รักษาความสมควรเดินอากาศที่เหมาะสมของเครื่องบินขับไล่รัสเซียได้
รัฐมนตรีกลาโหมมาเลเซียกล่าวว่ากระทรวงกลาโหมมาเลเซียได้ยุติการทำสัญญาจ้างกับผู้บริหารการบริการจัดการเครื่องบินขับไล่รัสเซียรายเดิม
และกำลังมองหาแนวทางที่จะแทนที่ผู้ให้บริการรายเดิมด้วยผู้รับเหมาสัญญาท้องถิ่นภายในประเทศมาเลเซีย
รัฐมนตรีกลาโหมมาเลเซียให้ข้อมูลต่อสภามาเลเซียว่าเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจที่นั่งเดี่ยว MiG-29N และเครื่องบินขับไล่สองที่นั่ง MiG-29NUB รวม 18เครื่อง ที่เริ่มเข้าประจำการในปี 1995 ปัจจุบันเหลือ MiG-29N 10เครื่อง และ MiG-29NUB 2เครื่อง ณ ฝูงบินที่17 และ ฝูงบิน19 ฐานทัพอากาศ Kuantan
ขณะที่เครื่องบินขับไล่ครองอากาศสองที่นั่ง Su-30MKM รวม 18เครื่อง 6เครื่องแรกได้ถูกนำเข้าประจำการในปี 2007 และเครื่องที่เหลือเข้าประจำการตามมาในปี 2009 ณ ฝูงบินที่11 ฐานทัพอากาศ Gong Kedak รัฐ Kelantan
ก่อนหน้านี้ Russian Aircraft Corporation(RAC) MiG รัสเซีย และกองทัพอากาศมาเลเซียได้ลงนามสัญญาข้อตกลงในการคืนสภาพและปรับปรุงความทันสมัยของเครื่องบินขับไล่ MiG-29N
ในงานแสดงการบิน MAKS 2017 ที่ Moscow รัสเซีย เมื่อ 19 กรกฎาคม 2017(
http://aagth1.blogspot.com/2017/07/mig-29n.html) ซึ่งที่ผ่านมามีปัญหาความพร้อมปฏิบัติการของเครื่องอย่างต่อเนื่องมาตลอด
เช่นเดียวกับเครื่องบินขับไล่ Su-30MKM ที่มีการติดตั้งระบบจากตะวันตกหลายแบบ เช่น กระเปาะนำร่องและชี้เป้าแบบ Thales Damocles ฝรั่งเศส, จอแสดงผลตรงหน้า(HUD: Head-up display) จาก Thales และระบบแจ้งเตือนอาวุธปล่อยนำวิถีและ laser จาก Saab Avitronics แอฟริกาใต้
ก็มีปัญหาความเข้ากันได้ของระบบที่ติดตั้งที่ส่งผลต่อความพร้อมปฏิบัติการที่ล่าช้า โดยกองทัพอากาศมาเลเซียได้ดัดแปลงให้ Su-30MKM สามารถทิ้งระเบิดนำวิถี Laser แบบ GBU-12 สหรัฐฯได้สำเร็จในปี 2016(
http://aagth1.blogspot.com/2017/06/su-30mkm-laser-gbu-12.html)
โครงการจัดหาเครื่องบินไล่ใหม่ MRCA ของกองทัพอากาศมาเลเซียได้ถูกระงับลงชั่วคราวเนื่องจากให้ความสำคัญต่อการจัดหาเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลเพื่อรับมือภัยคุกคามจากกลุ่มก่อการร้าย และการขาดแคลนงบประมาณ(
http://aagth1.blogspot.com/2017/07/mrca.html,
http://aagth1.blogspot.com/2017/12/blog-post_22.html,
http://aagth1.blogspot.com/2018/04/jf-17.html)
รัฐมนตรีกลาโหมมาเลเซีย Mohamad Sabu เคยกล่าวก่อนหน้านี้ว่ากระทรวงกลาโหมมาเลเซียจะหยุดการให้ตำแหน่งหรือเครื่องหมายกิตติมศักดิ์แก่นักการเมือง เพื่อหลีกเลี่ยงกรณีที่บรรดานักการเมืองจะทำการ "ดึงตำแหน่ง" และดูหมิ่นของตำแหน่งตนเองครับ