เว็บบอร์ดสนทนาภาษาปืน
พฤศจิกายน 17, 2024, 01:38:16 PM *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าว: เวบบอร์ดอวป.ยินดีต้อนรับสุภาพชนทุกท่าน กรุณาใช้คำสุภาพด้วยครับ
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 7 ... 11
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: เสื้อเกราะซึ่งทำจากวัสดุเหลือใช้ใน ร.พ.  (อ่าน 36971 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 23 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
jakrit97 - รักในหลวง -
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 164
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 5466


Dead boy can't shoot!


« ตอบ #45 เมื่อ: ตุลาคม 31, 2007, 09:19:26 AM »

รายการกล่องดำผมก็ดูครับแต่เท่าที่ทราบไม่ได้นำฟิลม์มาซ้อนกันหลาย ๆ ชั้นนะครับเขาใช้วิธิหลอมขึ้นมาใหม่อีตอนหลอมใหม่นี่แหละไม่ทราบว่าเขาต้องผสมอะไรบ้างมันถึงเหนียวหนึบทนลูกปืนได้เห็นเขาทดลองโดยการหุ้มถังน้ำแล้วยิงเกราะไม่ทะลุถังน้ำไม่แตก ถ้าดีจริงเห็นด้วยครับที่ว่าน่าจะจดลิขสิทธิเพราะบ้านเราโดนมาเยอะชอบประเภทล้อมคอกทีหลัง ส่วนเรื่องเป็นหรือไม่เป็นยุทธภัณฑ์นั้นอันนี้ส่วนตัวนะครับถ้าฟิลม์เฉย ๆ ก็คือ ฟิลม์แต่ถ้านำมาทำเป็นเสื้อเกราะนั้นคือเปลี่ยนสภาพจากฟิลม์เป็นเกราะฉะนั้นก็น่าจะเป็นยุทธภัณฑ์ส่วนท่านอื่นจะคิดเห็นอย่างไรก็พูดคุยกันดูนะครับเผื่อว่าจะมีช่องทางให้เราเป็นเจ้าของได้บ้าง ท่านผู้การว่าอย่างไรบ้างครับ ด้วยความเคารพครับ

ผมว่ามันไม่เกี่ยวกับ "เหนียบหนึบทนลูกปืนได้" ครับ ... ลองดู flash ตามลิงค์ข่างล่าง

<a href="http://static.howstuffworks.com/flash/body-armor-animation-1.swf" target="_blank">http://static.howstuffworks.com/flash/body-armor-animation-1.swf</a>

ผมเอามาจาก how stuff works (http://science.howstuffworks.com/body-armor.htm) .... คือกระสุนที่มากระทบเสื้อ จะถูกวัสดุที่ใช้ ซึมซับแรงออกทางด้านข้าง จนกระสุนหมดแรง ซึ่งผู้สวมก็ต้องรู้สึกถึงแรงกระแทกบ้าง แต่จะลดลงมาก

กรณีใช้แผ่นเหล็กเหนียว อาจจะกันกระสุนผ่านได้จริง แต่แรงที่กระแทกไม่ได้ถูกเบียงเบนไปทิศทางอื่น ยังคงกระแทกผู้สวมเต็มที่เหมือนเดิม ... เลยช้ำในตาย

จำได้ว่าผู้การน่าจะเคยกล่าวถึงการทดสอบเสื้อเกราะตามมาตรฐาน ว่าตัวหุ่นต้องใช้ดินเหนียว และเมื่อยิงกระสุนแล้ว นอกจากกระสุนไม่ทะลุเสื้อแล้ว ยังต้องวัดหลุมที่เกิดจากการกระแทกอีก .....

 Grin
บันทึกการเข้า

yod - รักในหลวง ครับ
ความรัก - เริ่ม - จากความรู้สึก หรือ ความคิด กันแน่นะ ..... ประวัติศาสตร์อาจจะย้อนรอยเดิม แต่คนไม่อาจย้อนอดีตได้
Hero Member
*****

คะแนน 1628
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 18173



« ตอบ #46 เมื่อ: ตุลาคม 31, 2007, 02:02:41 PM »

วันนี้ ผมเลยถือโอกาสโทรไปสอบถาม ท่าน  พันตำรวจโท กฤษฎากร  เชวงศักดิ์โสภาคย์ โทร ๐๘๑-๔๗๓-๕๒๑๕
ท่านบอกว่า  เกราะ เป็นระดับ ๒ A  ใช้หลักการถ่ายแรง ดูดซับแรง ให้หมดไป
ผมถามว่า ทำไม ไม่ส่งให้ตรวจสอบ  เพื่อขอรับมาตรฐานจากราชการ
ท่านแจ้งว่า ผ่าน NIJ  และก็ทดสอบให้เห็นแล้ว   ตามลิงค์ ที่แจ้งไว้
ใครจะเชื่อหรือไม่ ท่านบอกไม่เป็นไร  แต่คุยกันได้ แลกเปลี่ยนกัน
ตอนคุย สัญญาณก็ขาด ๆ เบา ๆ  ผมบอกจะขอทดสอบ ท่านก็ว่าได้
ที่นครสวรรค์  เพราะมีฝ่ายผลิตกระสุน  ไม่แน่ใจว่า พลา  หรือเปล่านะครับ
.๔๔ ท่านก็ว่ามีลำกล้องยาวกว่า ๑๐ นิ้ว เอามีดแทงได้  มีระดับผู้การภาค ร่วมทดสอบด้วย ( ไม่แน่ใจ)
ท่านไม่โกหกหรอก    ท่านบอกต้องเปิดใจให้กว้าง   ของท่าน อ่อนสยบแข็ง  ไม่ใช่ แข็งปะทะแข็ง
แล้วก็ในเรื่องวิชาการ   ซึ่งผมไม่เข้าใจหรอกนะ   ผมเลยกเข้าเรื่อง
ผมบอกว่า จะออกค่าใช้จ่ายให้  เพื่อจะได้ทดสอบกัน  กะจะส่งผ่านไปยังผู้การสุพินท์แหละครับ
ท่านก็ว่า เป็นงานวิจัย  ขายให้ไม่ได้   ให้ดูในเวปดังที่กล่าวไว้
แต่ตอนนี้ ท่านก็ได้รับทุนวิจัยต่ออีกเกี่ยวกับเสื้อพลังงานแสง ที่ว่าจะเปลี่ยนพลังงานจลน์ เป็นพลังงานไฟฟ้า
สัญญาณ ก็ไม่ค่อยจะดีนัก  สักพัก ท่านก็ขอตัวไป
ก็เลย ไปดู ในเวปที่ว่า ล่ะกันครับ   ผมก็ทำตามที่ผมคิดไว้แล้ว
คือบทสรุป ท่านก็ว่า ท่านได้ทดสอบให้เห็นแล้ว  ใครจะคิดอย่างไร ท่านไม่สน  ท่านเป็นนักวิจัย  เท่านั้น
ให้คนไทย เปิดใจให้กว้าง   อย่าเอาตามแบบฝรั่งนัก   
ท่านว่า เมื่อตอนท่านเสนอเรื่อง ปืนฉีดพลังน้ำ   ก็ไม่ค่อยมีคนเชื่อ  แต่ท่านทำให้เห็นแล้ว   ว่ายิงถังทะลุได้
ผมได้อ้างถึง เสื้อเกราะบางระจัน   ท่านว่า มีหลายหน่วยงาน ที่จะใช้ทดสอบ   มีเรื่องของเซรามิก
ท่านก็ว่า  เกราะจีน ดี   ......   เรียบเรียงได้เท่านี้ครับ ตามที่ได้คุยกัน แบบ ติด ๆ ดับ ๆ .....
เฮ้อ...............




                                         


                                   
บันทึกการเข้า

..สิ่งสำคัญจึงไม่ได้อยู่ที่ว่า...วันนี้เขาอยู่หรือจากไป
สำคัญที่ว่า...ช่วงที่เรามีเวลาอยู่ด้วยกัน
ขอให้มีความทรงจำที่ดี...ก็เพียงพอแล้ว
อย่างน้อย เราก็ยังมีอะไรดีดีให้นึกถึง
และยิ้มให้ความทรงจำนั้นได้ ...

..กรอบใดกักขังแค่กาย แต่ใจอย่าหมายกั้นได้
โซ่ตรวนรัดรึงตรึงไว้  แต่ใจนั้นใฝ่เสรี..
at75
Hero Member
*****

คะแนน 99
ออฟไลน์

กระทู้: 3511



« ตอบ #47 เมื่อ: ตุลาคม 31, 2007, 04:20:49 PM »

วันนี้ ผมเลยถือโอกาสโทรไปสอบถาม ท่าน  พันตำรวจโท กฤษฎากร  เชวงศักดิ์โสภาคย์ โทร ๐๘๑-๔๗๓-๕๒๑๕
ท่านบอกว่า  เกราะ เป็นระดับ ๒ A  ใช้หลักการถ่ายแรง ดูดซับแรง ให้หมดไป
ผมถามว่า ทำไม ไม่ส่งให้ตรวจสอบ  เพื่อขอรับมาตรฐานจากราชการ
ท่านแจ้งว่า ผ่าน NIJ  และก็ทดสอบให้เห็นแล้ว   ตามลิงค์ ที่แจ้งไว้
ใครจะเชื่อหรือไม่ ท่านบอกไม่เป็นไร  แต่คุยกันได้ แลกเปลี่ยนกัน
ตอนคุย สัญญาณก็ขาด ๆ เบา ๆ  ผมบอกจะขอทดสอบ ท่านก็ว่าได้
ที่นครสวรรค์  เพราะมีฝ่ายผลิตกระสุน  ไม่แน่ใจว่า พลา  หรือเปล่านะครับ
.๔๔ ท่านก็ว่ามีลำกล้องยาวกว่า ๑๐ นิ้ว เอามีดแทงได้  มีระดับผู้การภาค ร่วมทดสอบด้วย ( ไม่แน่ใจ)
ท่านไม่โกหกหรอก    ท่านบอกต้องเปิดใจให้กว้าง   ของท่าน อ่อนสยบแข็ง  ไม่ใช่ แข็งปะทะแข็ง
แล้วก็ในเรื่องวิชาการ   ซึ่งผมไม่เข้าใจหรอกนะ   ผมเลยกเข้าเรื่อง
ผมบอกว่า จะออกค่าใช้จ่ายให้  เพื่อจะได้ทดสอบกัน  กะจะส่งผ่านไปยังผู้การสุพินท์แหละครับ
ท่านก็ว่า เป็นงานวิจัย  ขายให้ไม่ได้   ให้ดูในเวปดังที่กล่าวไว้
แต่ตอนนี้ ท่านก็ได้รับทุนวิจัยต่ออีกเกี่ยวกับเสื้อพลังงานแสง ที่ว่าจะเปลี่ยนพลังงานจลน์ เป็นพลังงานไฟฟ้า
สัญญาณ ก็ไม่ค่อยจะดีนัก  สักพัก ท่านก็ขอตัวไป
ก็เลย ไปดู ในเวปที่ว่า ล่ะกันครับ   ผมก็ทำตามที่ผมคิดไว้แล้ว
คือบทสรุป ท่านก็ว่า ท่านได้ทดสอบให้เห็นแล้ว  ใครจะคิดอย่างไร ท่านไม่สน  ท่านเป็นนักวิจัย  เท่านั้น
ให้คนไทย เปิดใจให้กว้าง   อย่าเอาตามแบบฝรั่งนัก   
ท่านว่า เมื่อตอนท่านเสนอเรื่อง ปืนฉีดพลังน้ำ   ก็ไม่ค่อยมีคนเชื่อ  แต่ท่านทำให้เห็นแล้ว   ว่ายิงถังทะลุได้
ผมได้อ้างถึง เสื้อเกราะบางระจัน   ท่านว่า มีหลายหน่วยงาน ที่จะใช้ทดสอบ   มีเรื่องของเซรามิก
ท่านก็ว่า  เกราะจีน ดี   ......   เรียบเรียงได้เท่านี้ครับ ตามที่ได้คุยกัน แบบ ติด ๆ ดับ ๆ .....
เฮ้อ...............




                                        


                                  

เรียนพี่ยอด ดังนี้
เรื่องปืนพลังน้ำไม่ใช่ของใหม่ ตามโรงงานอุตสากรรมเหล็ก เค้าใช้ตัดเหล็กมานานมากแล้ว จุดสำคัญอยุ่ที่โฟกัสของหัวฉีดและแรงดันน้ำ เค้าใช้มาก่อนปืนยิงน้ำเพื่อทำลายวงจรระเบิดตั้งนานมาแล้ว

ส่วมาตรฐาน NIJ เป้นมาตรฐานสากล ที่ทั่วโลกใช้กันอยุ่ถ้า เสื้อที่ ท่านอ้างผ่านการทดสอยแล้ว ต้องมีข้อมูลสากลที่บันทึกไว้ และตรวจสอบได้ ตามที่ผมเรียนแล้วว่าวัสดุที่กันกระสุนได้ไม่จำเป้นว่าจะเอามทำเสื้อเกราะได้ และไม่จำเป้นที่จะผ่าน NIJ  เพราะวัสดุที่ใช้ทำเสื้อ นอกจากกันกระสุนได้แล้ว จะต้องลดแรงกระแทก ต่อร่างกายผู้ใส่ และกระสุนไม่แฉลบ ออกจากเสื้อไปโดนคนอื่น

จริงๆการสนทนาเรื่องนี้ จุดประสงค์ อยุ่ที่งานทางด้านวิชาการ ที่พิสูจณ์ ได้ ไม่ได้มีอคติ มาเกี่ยวข้อง การสร้าง ผลงาน ทางวิชาการ จะต้องมีผลงานรองรับทางวิทยาศาสตร์ ที่เป้นสากลยอมรับ ไม่ใช่ว่าเราต้องไปตามตูดฟรั่ง แต่งานที่เราทำต้องเป้นจริงพิสูจณ์ ได้และเป็นสากล

บันทึกการเข้า
yod - รักในหลวง ครับ
ความรัก - เริ่ม - จากความรู้สึก หรือ ความคิด กันแน่นะ ..... ประวัติศาสตร์อาจจะย้อนรอยเดิม แต่คนไม่อาจย้อนอดีตได้
Hero Member
*****

คะแนน 1628
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 18173



« ตอบ #48 เมื่อ: ตุลาคม 31, 2007, 05:38:47 PM »



เมื่อกระสุนมากระทบกับเสื้อเกราะ พลังงานจากกระสุนจะถูกดูดซับและแพร่กระจาย   จนท้ายที่สุดก็คือร่างกาย   การกระแทกร่างกาย      เรียกว่า "บลันท์ ทรอมา" (Blunt Trauma) หมายถึง  อาการฟกช้ำ  ซึ่งอาการดังกล่าวจะต้องอยู่ใน ระดับที่ไม่ปรากฏอาการออกมาให้เห็น       ร่างกายของคนเราจะสามารถทนทานต่ออาการ บลันท์ ทรอมา ได้ปริมาณหนึ่ง ซึ่งเราสามารถทดสอบ และคิดค่าออกมาได้เรียกว่า  "Back Face Signature"   มีหน่วยเป็นมิลลิเมตร มาตรฐาน NIJ.0101.04   มาตรฐานนี้ กำหนดค่า Back Face Signature เท่ากับ ๔๔ มิลลิเมตร       

ผมเอง ก็อยากจะให้เกิดความชัดเจน ในเรื่องนี้ ครับ
แต่ เข้าไม่ถึงครับ



                           
บันทึกการเข้า

..สิ่งสำคัญจึงไม่ได้อยู่ที่ว่า...วันนี้เขาอยู่หรือจากไป
สำคัญที่ว่า...ช่วงที่เรามีเวลาอยู่ด้วยกัน
ขอให้มีความทรงจำที่ดี...ก็เพียงพอแล้ว
อย่างน้อย เราก็ยังมีอะไรดีดีให้นึกถึง
และยิ้มให้ความทรงจำนั้นได้ ...

..กรอบใดกักขังแค่กาย แต่ใจอย่าหมายกั้นได้
โซ่ตรวนรัดรึงตรึงไว้  แต่ใจนั้นใฝ่เสรี..
สุพินท์ - รักในหลวง
Guns & Games Staff
Hero Member
*****

คะแนน 3539
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 12903



« ตอบ #49 เมื่อ: ตุลาคม 31, 2007, 06:23:23 PM »

เรียนพี่ยอด ดังนี้
เรื่องปืนพลังน้ำไม่ใช่ของใหม่ ตามโรงงานอุตสากรรมเหล็ก เค้าใช้ตัดเหล็กมานานมากแล้ว จุดสำคัญอยุ่ที่โฟกัสของหัวฉีดและแรงดันน้ำ เค้าใช้มาก่อนปืนยิงน้ำเพื่อทำลายวงจรระเบิดตั้งนานมาแล้ว
ปืนยิงน้ำทำลายระเบิด กับวอเตอร์เจ็ทตัดเหล็กเป็นคนละตัวกันครับ
ปืนยิงน้ำ ก็คล้ายปืนลูกซอง  ต้นกำลังก็เท่ากับกระสุนลูกซองเกจ 12   แต่ใช้กระสุนเป็นน้ำ อยู่ในถุงโพลิเมอร์ ถ้าถุงนี้หมด ก็ใช้ถุงยางมีชัยใส่น้ำแทนได้   และปืนยิงน้ำ ส่วนใหญ่จะใส่ถุงทรายแทนน้ำ ใช้ยิงทำลายลูกบิดประตูได้ด้วย
บันทึกการเข้า
KERDPHOL
Newbie
*

คะแนน 1
ออฟไลน์

กระทู้: 2


« ตอบ #50 เมื่อ: ตุลาคม 31, 2007, 07:12:14 PM »

เรียน ท่านเจ้าของกระทู้ ท่านผู้การและเพื่อนสมาชิกทุกท่าน  กระผมเป็นคนจังหวัดตากและได้มีโอกาส ช่วยคณะวิจัย(ไม่ได้อยู่ในทีมวิจัยนะครับ) ทำการทดสอบเสื้อเกราะตัวนี้ตั้งแต่ยังไม่สำเร็จจนกระทั่งปัจจุบันได้สำเร็จแล้วและขณะนี้ได้ทำการจดสิทธิบัตรแล้ว  เสื้อตัวนี้ในส่วนของแผ่นเกราะนั้นมีฟิมล์เอกซ์เรย์เป็นส่วนประกอบอยู่จริงแต่เป็นเพียงบางส่วนไม่ใช่ทั้งหมด แต่วัสดุหลักเป็นโพลีคาร์บอเนตที่ผู้คิดค้นได้ผสมสูตรและทำการทดลองขึ้นมาเอง เมื่อเสร็จแล้วจะหนาประมาณ ๒ ซม. ผมได้มีโอกาสยิงทดสอบเสื้อเกราะตัวต้นแบบที่ทำเป็นเสื้อกั๊กพร้อมใช้จริงด้วยตนเองโดยนำเสื้อไปสวมไว้กับถังนำดื่มขนาด ๒๐ ลิตรบรรจุนำเต็มปิดฝาสนิท  ทดลองยิงด้วยปืน ๙ มม. ๑๑ มม. .๓๕๗ และ .๔๔ กระสุนจริงหัวเคลือบทองแดง  ระยะ ๑๕ เมตร ผลคือ หัวกระสุนจะเจาะเข้าไปคาอยู่ในแผ่นวัสดุดังกล่าว และบริเวณด้านที่ติดกับถัง(หรือผู้สวม)จะเรียบไม่มีรอยดุ้ง ส่วนกระสุน .๔๔ จะมีรอยดุ้งประมาณ ๑-๒ มม. แต่ไม่ทะลุ ฝาถังนำและถังน้ำปกติไม่มีรอยปริแตก และ ได้ทดลองยิงด้วยปืน HK33 สองนัดที่ระยะ ๒๕ เมตร โดยใช้แผ่นอลูมิเนียมขนาดประมาณ ๐.๘ มม. รองด้านในด้านที่ติดกับถังน้ำ ผลกระสุนสามารถทะลุแผ่นเกราะได้แต่หัวกระสุนหยุดและบี้แบบอยู่บนแผ่นอลูมิเนียม เป็นหลุมลงไปไม่น่าจะเกิน ๑ มม. (ขนาดทั้งหมดผมประมาณเอานะครับเพราะไม่ได้ทำการวัดด้วยเครื่องมืออย่างเป็นทางการ) ถังน้ำปกติ การทดสอบวันนั้นใช้กระสุนรวมประมาณ ๑๐๐ นัด ยิงไปที่เสื้อตัวเดียวแบบไม่เจาะจงและเจาะจงรูเดิม พบว่ามีเพียง กระสุนของปืน HK33 สองนัดเท่านั้นที่ทะลุในตอนสุดท้าย ยังขาดแต่เพียงการทดสอบกับหุ่นดินเพื่อวัดรอยยุบตัวเท่านั้นครับ(แต่ถ้ารองด้วยอลูมิเนียมก็น่าจะกระจายแรงได้ระดับหนึ่ง) เสื้อเกราะตัวนี้ได้นำไปทดสอบที่กระทรวงกลาโหมและ โดยการยิงทดสอบแบบ NIJ แล้ว และเห็นเพื่อนแจ้งว่าตอนนี้กำลังลดความต้านทานลงให้อยู่ในระดับ 2A เพื่อที่จะได้ให้ ครู เจ้าหน้าที่ทางการพยาบาล และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ภาคใต้มีและใช้ได้กรณีเหตุจำเป็น  ผมขอให้ข้อมูลเบื้องต้นคร่าวๆเพียงเท่านี้ก่อน เดียวผมจะไปขออนุญาติคณะผู้วิจัยในการให้ข้อมูลต่างๆเพื่มเติมเพื่อนสมาชิกต้องการสอบถามอะไรก็โพสไว้นะครับหากได้รับอนุญาตหรือผู้วิจัยว่างจะได้เข้ามาแจ้งให้ทราบ ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
at75
Hero Member
*****

คะแนน 99
ออฟไลน์

กระทู้: 3511



« ตอบ #51 เมื่อ: ตุลาคม 31, 2007, 07:16:27 PM »

เรียนพี่ยอด ดังนี้
เรื่องปืนพลังน้ำไม่ใช่ของใหม่ ตามโรงงานอุตสากรรมเหล็ก เค้าใช้ตัดเหล็กมานานมากแล้ว จุดสำคัญอยุ่ที่โฟกัสของหัวฉีดและแรงดันน้ำ เค้าใช้มาก่อนปืนยิงน้ำเพื่อทำลายวงจรระเบิดตั้งนานมาแล้ว
ปืนยิงน้ำทำลายระเบิด กับวอเตอร์เจ็ทตัดเหล็กเป็นคนละตัวกันครับ
ปืนยิงน้ำ ก็คล้ายปืนลูกซอง  ต้นกำลังก็เท่ากับกระสุนลูกซองเกจ 12   แต่ใช้กระสุนเป็นน้ำ อยู่ในถุงโพลิเมอร์ ถ้าถุงนี้หมด ก็ใช้ถุงยางมีชัยใส่น้ำแทนได้   และปืนยิงน้ำ ส่วนใหญ่จะใส่ถุงทรายแทนน้ำ ใช้ยิงทำลายลูกบิดประตูได้ด้วย

ขอบพระคุณ ท่านผู้การที่ให้ข้อมูลที่ถูกต้องครับ
ผมเองเพียงต้องการแสดงให้เห้นว่าการนำน้ำมาใช้ให้ทางวิศวะกรรมมีมานานแล้วอาจต่างกันไป บ้างตามแนวความคิดการออกแบบครับ


เมื่อกระสุนมากระทบกับเสื้อเกราะ พลังงานจากกระสุนจะถูกดูดซับและแพร่กระจาย   จนท้ายที่สุดก็คือร่างกาย   การกระแทกร่างกาย      เรียกว่า "บลันท์ ทรอมา" (Blunt Trauma) หมายถึง  อาการฟกช้ำ  ซึ่งอาการดังกล่าวจะต้องอยู่ใน ระดับที่ไม่ปรากฏอาการออกมาให้เห็น       ร่างกายของคนเราจะสามารถทนทานต่ออาการ บลันท์ ทรอมา ได้ปริมาณหนึ่ง ซึ่งเราสามารถทดสอบ และคิดค่าออกมาได้เรียกว่า  "Back Face Signature"   มีหน่วยเป็นมิลลิเมตร มาตรฐาน NIJ.0101.04   มาตรฐานนี้ กำหนดค่า Back Face Signature เท่ากับ ๔๔ มิลลิเมตร       

ผมเอง ก็อยากจะให้เกิดความชัดเจน ในเรื่องนี้ ครับ
แต่ เข้าไม่ถึงครับ



                           

ขอบคุณครับพี่ยอด
 ผมว่า การทดสอบ ถ้าเป้นทองแท้ ไม่ว่าอยุ่ที่ไหนย่อมเป้นทองวันยังค่ำ เหมือนกับว่า เสื้อตัวที่กล่าวถึง ทดสอบที่ไหนย่อมได้ผล เหมือนเดิม  แต่ถ้าต้องใช้แต่กระสุนของตัวเอง ใช้กระสุนของคนอื่นไม่ได้ หรือทดสบได้แค่ในที่ของตัวเองไปทดสอบที่อื่นไม่ได้ งานนี้ผมว่าแปลกๆนะครับ
บันทึกการเข้า
at75
Hero Member
*****

คะแนน 99
ออฟไลน์

กระทู้: 3511



« ตอบ #52 เมื่อ: ตุลาคม 31, 2007, 07:31:19 PM »

เรียน ท่านเจ้าของกระทู้ ท่านผู้การและเพื่อนสมาชิกทุกท่าน  กระผมเป็นคนจังหวัดตากและได้มีโอกาส ช่วยคณะวิจัย(ไม่ได้อยู่ในทีมวิจัยนะครับ) ทำการทดสอบเสื้อเกราะตัวนี้ตั้งแต่ยังไม่สำเร็จจนกระทั่งปัจจุบันได้สำเร็จแล้วและขณะนี้ได้ทำการจดสิทธิบัตรแล้ว  เสื้อตัวนี้ในส่วนของแผ่นเกราะนั้นมีฟิมล์เอกซ์เรย์เป็นส่วนประกอบอยู่จริงแต่เป็นเพียงบางส่วนไม่ใช่ทั้งหมด แต่วัสดุหลักเป็นโพลีคาร์บอเนตที่ผู้คิดค้นได้ผสมสูตรและทำการทดลองขึ้นมาเอง เมื่อเสร็จแล้วจะหนาประมาณ ๒ ซม. ผมได้มีโอกาสยิงทดสอบเสื้อเกราะตัวต้นแบบที่ทำเป็นเสื้อกั๊กพร้อมใช้จริงด้วยตนเองโดยนำเสื้อไปสวมไว้กับถังนำดื่มขนาด ๒๐ ลิตรบรรจุนำเต็มปิดฝาสนิท  ทดลองยิงด้วยปืน ๙ มม. ๑๑ มม. .๓๕๗ และ .๔๔ กระสุนจริงหัวเคลือบทองแดง  ระยะ ๑๕ เมตร ผลคือ หัวกระสุนจะเจาะเข้าไปคาอยู่ในแผ่นวัสดุดังกล่าว และบริเวณด้านที่ติดกับถัง(หรือผู้สวม)จะเรียบไม่มีรอยดุ้ง ส่วนกระสุน .๔๔ จะมีรอยดุ้งประมาณ ๑-๒ มม. แต่ไม่ทะลุ ฝาถังนำและถังน้ำปกติไม่มีรอยปริแตก และ ได้ทดลองยิงด้วยปืน HK33 สองนัดที่ระยะ ๒๕ เมตร โดยใช้แผ่นอลูมิเนียมขนาดประมาณ ๐.๘ มม. รองด้านในด้านที่ติดกับถังน้ำ ผลกระสุนสามารถทะลุแผ่นเกราะได้แต่หัวกระสุนหยุดและบี้แบบอยู่บนแผ่นอลูมิเนียม เป็นหลุมลงไปไม่น่าจะเกิน ๑ มม. (ขนาดทั้งหมดผมประมาณเอานะครับเพราะไม่ได้ทำการวัดด้วยเครื่องมืออย่างเป็นทางการ) ถังน้ำปกติ การทดสอบวันนั้นใช้กระสุนรวมประมาณ ๑๐๐ นัด ยิงไปที่เสื้อตัวเดียวแบบไม่เจาะจงและเจาะจงรูเดิม พบว่ามีเพียง กระสุนของปืน HK33 สองนัดเท่านั้นที่ทะลุในตอนสุดท้าย ยังขาดแต่เพียงการทดสอบกับหุ่นดินเพื่อวัดรอยยุบตัวเท่านั้นครับ(แต่ถ้ารองด้วยอลูมิเนียมก็น่าจะกระจายแรงได้ระดับหนึ่ง) เสื้อเกราะตัวนี้ได้นำไปทดสอบที่กระทรวงกลาโหมและ โดยการยิงทดสอบแบบ NIJ แล้ว และเห็นเพื่อนแจ้งว่าตอนนี้กำลังลดความต้านทานลงให้อยู่ในระดับ 2A เพื่อที่จะได้ให้ ครู เจ้าหน้าที่ทางการพยาบาล และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ภาคใต้มีและใช้ได้กรณีเหตุจำเป็น  ผมขอให้ข้อมูลเบื้องต้นคร่าวๆเพียงเท่านี้ก่อน เดียวผมจะไปขออนุญาติคณะผู้วิจัยในการให้ข้อมูลต่างๆเพื่มเติมเพื่อนสมาชิกต้องการสอบถามอะไรก็โพสไว้นะครับหากได้รับอนุญาตหรือผู้วิจัยว่างจะได้เข้ามาแจ้งให้ทราบ ขอบคุณครับ

ด้วยความเคารพ ช่วยไขข้อสงสัยให้ผมนิดนึงนะครับ
1. มาตรฐาน NIJ เค้าทดสอบยิงที่ระยะกี่เมตรครับ
2. แผ่นอลูมิเนียม ที่ใช้รอง นี่ 0.8มิลลิเมตร หรือ0.8เซนติเมตร ครับ
3.ไม่ทราบว่า หัวหน้าคณะะทดสอง ของกลาโหม ท่านชื่ออ่ะไรครับ
บันทึกการเข้า
สุพินท์ - รักในหลวง
Guns & Games Staff
Hero Member
*****

คะแนน 3539
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 12903



« ตอบ #53 เมื่อ: ตุลาคม 31, 2007, 07:41:04 PM »

เรียน ท่านเจ้าของกระทู้ ท่านผู้การและเพื่อนสมาชิกทุกท่าน  กระผมเป็นคนจังหวัดตากและได้มีโอกาส ช่วยคณะวิจัย(ไม่ได้อยู่ในทีมวิจัยนะครับ) ทำการทดสอบเสื้อเกราะตัวนี้ตั้งแต่ยังไม่สำเร็จจนกระทั่งปัจจุบันได้สำเร็จแล้วและขณะนี้ได้ทำการจดสิทธิบัตรแล้ว  เสื้อตัวนี้ในส่วนของแผ่นเกราะนั้นมีฟิมล์เอกซ์เรย์เป็นส่วนประกอบอยู่จริงแต่เป็นเพียงบางส่วนไม่ใช่ทั้งหมด แต่วัสดุหลักเป็นโพลีคาร์บอเนตที่ผู้คิดค้นได้ผสมสูตรและทำการทดลองขึ้นมาเอง เมื่อเสร็จแล้วจะหนาประมาณ ๒ ซม. ผมได้มีโอกาสยิงทดสอบเสื้อเกราะตัวต้นแบบที่ทำเป็นเสื้อกั๊กพร้อมใช้จริงด้วยตนเองโดยนำเสื้อไปสวมไว้กับถังนำดื่มขนาด ๒๐ ลิตรบรรจุนำเต็มปิดฝาสนิท  ทดลองยิงด้วยปืน ๙ มม. ๑๑ มม. .๓๕๗ และ .๔๔ กระสุนจริงหัวเคลือบทองแดง  ระยะ ๑๕ เมตร ผลคือ หัวกระสุนจะเจาะเข้าไปคาอยู่ในแผ่นวัสดุดังกล่าว และบริเวณด้านที่ติดกับถัง(หรือผู้สวม)จะเรียบไม่มีรอยดุ้ง ส่วนกระสุน .๔๔ จะมีรอยดุ้งประมาณ ๑-๒ มม. แต่ไม่ทะลุ ฝาถังนำและถังน้ำปกติไม่มีรอยปริแตก และ ได้ทดลองยิงด้วยปืน HK33 สองนัดที่ระยะ ๒๕ เมตร โดยใช้แผ่นอลูมิเนียมขนาดประมาณ ๐.๘ มม. รองด้านในด้านที่ติดกับถังน้ำ ผลกระสุนสามารถทะลุแผ่นเกราะได้แต่หัวกระสุนหยุดและบี้แบบอยู่บนแผ่นอลูมิเนียม เป็นหลุมลงไปไม่น่าจะเกิน ๑ มม. (ขนาดทั้งหมดผมประมาณเอานะครับเพราะไม่ได้ทำการวัดด้วยเครื่องมืออย่างเป็นทางการ) ถังน้ำปกติ การทดสอบวันนั้นใช้กระสุนรวมประมาณ ๑๐๐ นัด ยิงไปที่เสื้อตัวเดียวแบบไม่เจาะจงและเจาะจงรูเดิม พบว่ามีเพียง กระสุนของปืน HK33 สองนัดเท่านั้นที่ทะลุในตอนสุดท้าย ยังขาดแต่เพียงการทดสอบกับหุ่นดินเพื่อวัดรอยยุบตัวเท่านั้นครับ(แต่ถ้ารองด้วยอลูมิเนียมก็น่าจะกระจายแรงได้ระดับหนึ่ง) เสื้อเกราะตัวนี้ได้นำไปทดสอบที่กระทรวงกลาโหมและ โดยการยิงทดสอบแบบ NIJ แล้ว และเห็นเพื่อนแจ้งว่าตอนนี้กำลังลดความต้านทานลงให้อยู่ในระดับ 2A เพื่อที่จะได้ให้ ครู เจ้าหน้าที่ทางการพยาบาล และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ภาคใต้มีและใช้ได้กรณีเหตุจำเป็น  ผมขอให้ข้อมูลเบื้องต้นคร่าวๆเพียงเท่านี้ก่อน เดียวผมจะไปขออนุญาติคณะผู้วิจัยในการให้ข้อมูลต่างๆเพื่มเติมเพื่อนสมาชิกต้องการสอบถามอะไรก็โพสไว้นะครับหากได้รับอนุญาตหรือผู้วิจัยว่างจะได้เข้ามาแจ้งให้ทราบ ขอบคุณครับ

ถ้าเป็นโพลีคาร์บอเนต ก็กันกระสุนได้แน่ครับ  แต่มันแข็ง ไม่สะดวกกับการใช้งาน   ตามปกติเราจะใช้โพลีคาร์บอเนตเป็นกระจกกันกระสุน  รวมทั้งแว่นเซฟตี้กลาสที่ป้องกันสะเก็ดกระสุน ที่ทนเม็ดกระสุนลูกปรายได้  ก็เป็นโพลีคาร์บอเนต
บันทึกการเข้า
สุพินท์ - รักในหลวง
Guns & Games Staff
Hero Member
*****

คะแนน 3539
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 12903



« ตอบ #54 เมื่อ: ตุลาคม 31, 2007, 07:43:12 PM »

ด้วยความเคารพ ช่วยไขข้อสงสัยให้ผมนิดนึงนะครับ
1. มาตรฐาน NIJ เค้าทดสอบยิงที่ระยะกี่เมตรครับ
2. แผ่นอลูมิเนียม ที่ใช้รอง นี่ 0.8มิลลิเมตร หรือ0.8เซนติเมตร ครับ
3.ไม่ทราบว่า หัวหน้าคณะะทดสอง ของกลาโหม ท่านชื่ออ่ะไรครับ

1  เกราะอ่อน 5 เมตร  0 องศา 4 นัด  30 องศา 2 นัด
    เกราะแข็ง 15 เมตร ยิงที่ 0 องศาทั้งหมด
บันทึกการเข้า
Thanapong รักในหลวง
ชาว อวป.
Hero Member
****

คะแนน 365
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6828


ไม่มีดินผืนใดมีความหมาย เท่ากับผืนดินไทย ของคนไทย


« ตอบ #55 เมื่อ: ตุลาคม 31, 2007, 07:52:56 PM »

ด้วยความเคารพ ช่วยไขข้อสงสัยให้ผมนิดนึงนะครับ
1. มาตรฐาน NIJ เค้าทดสอบยิงที่ระยะกี่เมตรครับ
2. แผ่นอลูมิเนียม ที่ใช้รอง นี่ 0.8มิลลิเมตร หรือ0.8เซนติเมตร ครับ
3.ไม่ทราบว่า หัวหน้าคณะะทดสอง ของกลาโหม ท่านชื่ออ่ะไรครับ

1  เกราะอ่อน 5 เมตร  0 องศา 4 นัด  30 องศา 2 นัด
    เกราะแข็ง 15 เมตร ยิงที่ 0 องศาทั้งหมด

ผู้การครับการยิงทดสอบ ไม่ทราบว่ายิงโดยใช้คนเข้าไปจับปืนแวยิง หรือใช้แท่นจับปืน และยิงครับ
บันทึกการเข้า

at75
Hero Member
*****

คะแนน 99
ออฟไลน์

กระทู้: 3511



« ตอบ #56 เมื่อ: ตุลาคม 31, 2007, 07:55:11 PM »

ด้วยความเคารพ ช่วยไขข้อสงสัยให้ผมนิดนึงนะครับ
1. มาตรฐาน NIJ เค้าทดสอบยิงที่ระยะกี่เมตรครับ
2. แผ่นอลูมิเนียม ที่ใช้รอง นี่ 0.8มิลลิเมตร หรือ0.8เซนติเมตร ครับ
3.ไม่ทราบว่า หัวหน้าคณะะทดสอง ของกลาโหม ท่านชื่ออ่ะไรครับ

1  เกราะอ่อน 5 เมตร  0 องศา 4 นัด  30 องศา 2 นัด
    เกราะแข็ง 15 เมตร ยิงที่ 0 องศาทั้งหมด

ขอบพระคุณครับ
เรียน ท่านเจ้าของกระทู้ ท่านผู้การและเพื่อนสมาชิกทุกท่าน  กระผมเป็นคนจังหวัดตากและได้มีโอกาส ช่วยคณะวิจัย(ไม่ได้อยู่ในทีมวิจัยนะครับ) ทำการทดสอบเสื้อเกราะตัวนี้ตั้งแต่ยังไม่สำเร็จจนกระทั่งปัจจุบันได้สำเร็จแล้วและขณะนี้ได้ทำการจดสิทธิบัตรแล้ว  เสื้อตัวนี้ในส่วนของแผ่นเกราะนั้นมีฟิมล์เอกซ์เรย์เป็นส่วนประกอบอยู่จริงแต่เป็นเพียงบางส่วนไม่ใช่ทั้งหมด แต่วัสดุหลักเป็นโพลีคาร์บอเนตที่ผู้คิดค้นได้ผสมสูตรและทำการทดลองขึ้นมาเอง เมื่อเสร็จแล้วจะหนาประมาณ ๒ ซม. ผมได้มีโอกาสยิงทดสอบเสื้อเกราะตัวต้นแบบที่ทำเป็นเสื้อกั๊กพร้อมใช้จริงด้วยตนเองโดยนำเสื้อไปสวมไว้กับถังนำดื่มขนาด ๒๐ ลิตรบรรจุนำเต็มปิดฝาสนิท  ทดลองยิงด้วยปืน ๙ มม. ๑๑ มม. .๓๕๗ และ .๔๔ กระสุนจริงหัวเคลือบทองแดง  ระยะ ๑๕ เมตร ผลคือ หัวกระสุนจะเจาะเข้าไปคาอยู่ในแผ่นวัสดุดังกล่าว และบริเวณด้านที่ติดกับถัง(หรือผู้สวม)จะเรียบไม่มีรอยดุ้ง ส่วนกระสุน .๔๔ จะมีรอยดุ้งประมาณ ๑-๒ มม. แต่ไม่ทะลุ ฝาถังนำและถังน้ำปกติไม่มีรอยปริแตก และ ได้ทดลองยิงด้วยปืน HK33 สองนัดที่ระยะ ๒๕ เมตร โดยใช้แผ่นอลูมิเนียมขนาดประมาณ ๐.๘ มม. รองด้านในด้านที่ติดกับถังน้ำ ผลกระสุนสามารถทะลุแผ่นเกราะได้แต่หัวกระสุนหยุดและบี้แบบอยู่บนแผ่นอลูมิเนียม เป็นหลุมลงไปไม่น่าจะเกิน ๑ มม. (ขนาดทั้งหมดผมประมาณเอานะครับเพราะไม่ได้ทำการวัดด้วยเครื่องมืออย่างเป็นทางการ) ถังน้ำปกติ การทดสอบวันนั้นใช้กระสุนรวมประมาณ ๑๐๐ นัด ยิงไปที่เสื้อตัวเดียวแบบไม่เจาะจงและเจาะจงรูเดิม พบว่ามีเพียง กระสุนของปืน HK33 สองนัดเท่านั้นที่ทะลุในตอนสุดท้าย ยังขาดแต่เพียงการทดสอบกับหุ่นดินเพื่อวัดรอยยุบตัวเท่านั้นครับ(แต่ถ้ารองด้วยอลูมิเนียมก็น่าจะกระจายแรงได้ระดับหนึ่ง) เสื้อเกราะตัวนี้ได้นำไปทดสอบที่กระทรวงกลาโหมและ โดยการยิงทดสอบแบบ NIJ แล้ว และเห็นเพื่อนแจ้งว่าตอนนี้กำลังลดความต้านทานลงให้อยู่ในระดับ 2A เพื่อที่จะได้ให้ ครู เจ้าหน้าที่ทางการพยาบาล และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ภาคใต้มีและใช้ได้กรณีเหตุจำเป็น  ผมขอให้ข้อมูลเบื้องต้นคร่าวๆเพียงเท่านี้ก่อน เดียวผมจะไปขออนุญาติคณะผู้วิจัยในการให้ข้อมูลต่างๆเพื่มเติมเพื่อนสมาชิกต้องการสอบถามอะไรก็โพสไว้นะครับหากได้รับอนุญาตหรือผู้วิจัยว่างจะได้เข้ามาแจ้งให้ทราบ ขอบคุณครับ

ถ้าเป็นโพลีคาร์บอเนต ก็กันกระสุนได้แน่ครับ  แต่มันแข็ง ไม่สะดวกกับการใช้งาน   ตามปกติเราจะใช้โพลีคาร์บอเนตเป็นกระจกกันกระสุน  รวมทั้งแว่นเซฟตี้กลาสที่ป้องกันสะเก็ดกระสุน ที่ทนเม็ดกระสุนลูกปรายได้  ก็เป็นโพลีคาร์บอเนต
ท่านผู้การครับ
ผมเองเคยเห้นที่ใช้ทำกระจกกันกระสุน โดยใช้สลับเป้นชั้นๆกับกระจกไฮเทมเปอร์แล้ว อัดเป้นชิ้นเดียวกัน ไม่ทาบว่ากระผมเข้าใจ ถูกต้องไม่ครับ ท่านผู้การครับ
บันทึกการเข้า
KERDPHOL
Newbie
*

คะแนน 1
ออฟไลน์

กระทู้: 2


« ตอบ #57 เมื่อ: ตุลาคม 31, 2007, 08:11:58 PM »

ตอบครับ ขออนุญาติแจ้งนะครับว่าผมมิได้มีผลประโยชน์ใดๆกับคณะผู้วิจัยเลย ที่มาตอบก็เพราะอยากจะให้สมาชิกในเวปได้ทราบกันเพราะผมได้ประโยชน์จากเวปนี้มากๆเข้าเวปนี้มานานแต่พึ่งสมัครสมาชิกเมื่อไม่กี่วันนี้เองครับเพราะไม่คิดว่าจะได้ตอบอะไรให้ใคร คงได้แค่เข้ามาเก็บความรู้จากทุกท่านเท่านั้น แต่วันนี้เจอเรื่องใกล้ตัวก็เลยมาขออนุญาติครับ
 ๑. มารตรฐาน NIJ มีลิงค์คู่มืออยู่ในกระทู้นี้แล้วครับ ลองย้อนดูครับ
๒. ประมาณ ๘ มิลลิเมตรครับ ขออภัยด้วยครับพิมพ์ผิด( ขอบคุณมากๆครับ ไม่อย่างนั้นคนอื่นคงเข้าใจผิดๆกัน)
๓. หัวหน้าคณะทดสอบผมเองไม่ทราบชื่อครับเพราะไม่ได้ไปด้วย ตอนนี้ยังโทร ติดต่อเพื่อนไม่ได้ถ้าได้แล้วและไม่เป็นการล่วงเกินอะไรจะขออนุญาตินำชื่อหัวหน้าคณะมาแจ้งครับ
      ทราบว่าตอนนี้ท่านเสรีย์พิสุทธิ์(ถ้าพิมพ์ผิดก็กราบขออภัยด้วยครับ)ผบ.ตร.แห่งชาติ ก็ได้ขอดูและทดสอบแล้ว และถ้าจำไม่ผิดที่ค่ายปราณบุรี ก็มีการไปทดสอบให้ดูมาเมื่อไม่นานมานี้ เรื่องนี้ท่านผู้การสุพินท์คงจะเช็คการข่าวได้ไม่ยาก
บันทึกการเข้า
at75
Hero Member
*****

คะแนน 99
ออฟไลน์

กระทู้: 3511



« ตอบ #58 เมื่อ: ตุลาคม 31, 2007, 08:40:50 PM »

ขอบคุณในข้อมูลครับ ผมว่าข้อมูลที่ท่านให้มา ค่อนค่างกระจ่างมากแล้วครับ
บันทึกการเข้า
สุพินท์ - รักในหลวง
Guns & Games Staff
Hero Member
*****

คะแนน 3539
ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 12903



« ตอบ #59 เมื่อ: ตุลาคม 31, 2007, 09:22:59 PM »

ผู้การครับการยิงทดสอบ ไม่ทราบว่ายิงโดยใช้คนเข้าไปจับปืนแวยิง หรือใช้แท่นจับปืน และยิงครับ

จะรับอาสาเข้าไปจับให้ หรือครับ

เสื้อเกราะจะถูกยึดกับกะบะดิน  ซึ่งมีน้ำหนักเกือบหนึ่งตัน  รัดด้วยสายรัด ๒ เส้น   ถ้าเป็นการยิงแผ่นเกราะแข็ง  จะติดแผ่นพยาน เป็นอลูมินั่ม หนาประมาณ ๐.๕ มม.โดยรอบ   เพื่อดูว่ามีเศษเกราะกระเด็นออกมาหรือไม่

ดินที่ใช้รอง  จะมีความนุ่มพอ ๆ กับเนื้อคน  ทดสอบโดยทิ้งลูกเหล็กหนัก ๑ กก. (๑,๐๔๓ กรัม) จากความสูง ๒ เมตร  ๕ ครั้ง ห่างกันจุดละ ๒ นิ้ว  หลุมต้องลึก ๑๙ มม.  +/- ได้ ๒ มม.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 31, 2007, 09:25:22 PM โดย สุพินท์ » บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 7 ... 11
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.4 | SMF © 2011, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.093 วินาที กับ 22 คำสั่ง