ผลงานวิจัยต่างๆ นั้นต้องยืนอยู่บนหลักวิชาและความเป้นจริง ไม่ใช่ยืนอยู่บนหลักความเชื่อ ที่ผมถาม เพราะต้องการความกระจ่าง เพราะว่า มีคนเข้ามาหาข้อมุลในเวปนี้ มากมาย ก็อยากให้ท่านเหล่านั้นได้ ได้รับข้อมุลที่ถูกต้อง
ซึ่ง จริงๆ แล้ว ทางผู้ได้เข้าร่วมทดสอบเสื้อ ตัวที่กล่าวถึง ก็ได้เข้ามาให้ข้อมูลที่ถูกต้องไปแล้ว และผมเองก็ได้รับความกระจ่างซึ่งผมว่าถ้าท่านเจ้าของกระทู้อ่านน่าจะเข้าใจ
ที่เป้นที่สงสัยกันอยุ่เพราะคนที่เอาเรื่องนี้มาขยาย ไม่ใช้เจ้าของโครงการ แต่เป้นคนที่ได้รับข้อมุลแล้วเอามาขยายแบบคลาดเคลื่อน แล้วถ้าท่านเอาข้อมุลที่คลาดเคลื่อนเหล่านี้ไปขยาย คนที่รับข้อมุลก้ได้ข็อมุลไปแบบผิดๆ
นี่คือข้อความของผู้ที่ได้เข้าร่วมทดสอบ นำมาแจ้งให้ทราบ ซึ่งผมและหลายๆท่านที่ติดตามอ่านเค้าเข้าใจเคลียกันหมดแล้ว ซึ่งวัสดุหลัก นั้น คือ โพลี่คาร์โบเน้ท และแผ่นอลูมิเนียมแผ่นฟีมเอ็กสเรเป้นส่วนประกอบหนึ่งเท่านั้น ซึ่งในความเป้นจริงโพลี่คาร์โบเน็ท ก้ใช้ทำเกราะกันกระสุนอยุ่แล้วแต่ไม่มีใครนำมาทำเป้นเกราะบุคคลเพราะมันแข็งกระด้างไม่ให้ตัว และมีน้ำหนักมากแถมหนาตั้ง2เซ้นติเมตร แล้วอลูมิเนียมหน่าตั้ง8มิลนี่ก็เหลือกินแล้ว ซึ่งตรงนี้ กันกระสุนได้แน่ นอน และ ทางผู้ให้ข้อมุลก็ให้มาแบบชัดเจน
เรียน ท่านเจ้าของกระทู้ ท่านผู้การและเพื่อนสมาชิกทุกท่าน กระผมเป็นคนจังหวัดตากและได้มีโอกาส ช่วยคณะวิจัย(ไม่ได้อยู่ในทีมวิจัยนะครับ) ทำการทดสอบเสื้อเกราะตัวนี้ตั้งแต่ยังไม่สำเร็จจนกระทั่งปัจจุบันได้สำเร็จแล้วและขณะนี้ได้ทำการจดสิทธิบัตรแล้ว เสื้อตัวนี้ในส่วนของแผ่นเกราะนั้นมีฟิมล์เอกซ์เรย์เป็นส่วนประกอบอยู่จริงแต่เป็นเพียงบางส่วนไม่ใช่ทั้งหมด แต่วัสดุหลักเป็นโพลีคาร์บอเนตที่ผู้คิดค้นได้ผสมสูตรและทำการทดลองขึ้นมาเอง เมื่อเสร็จแล้วจะหนาประมาณ ๒ ซม. ผมได้มีโอกาสยิงทดสอบเสื้อเกราะตัวต้นแบบที่ทำเป็นเสื้อกั๊กพร้อมใช้จริงด้วยตนเองโดยนำเสื้อไปสวมไว้กับถังนำดื่มขนาด ๒๐ ลิตรบรรจุนำเต็มปิดฝาสนิท ทดลองยิงด้วยปืน ๙ มม. ๑๑ มม. .๓๕๗ และ .๔๔ กระสุนจริงหัวเคลือบทองแดง ระยะ ๑๕ เมตร ผลคือ หัวกระสุนจะเจาะเข้าไปคาอยู่ในแผ่นวัสดุดังกล่าว และบริเวณด้านที่ติดกับถัง(หรือผู้สวม)จะเรียบไม่มีรอยดุ้ง ส่วนกระสุน .๔๔ จะมีรอยดุ้งประมาณ ๑-๒ มม. แต่ไม่ทะลุ ฝาถังนำและถังน้ำปกติไม่มีรอยปริแตก และ ได้ทดลองยิงด้วยปืน HK33 สองนัดที่ระยะ ๒๕ เมตร โดยใช้แผ่นอลูมิเนียมขนาดประมาณ ๐.๘ มม. รองด้านในด้านที่ติดกับถังน้ำ ผลกระสุนสามารถทะลุแผ่นเกราะได้แต่หัวกระสุนหยุดและบี้แบบอยู่บนแผ่นอลูมิเนียม เป็นหลุมลงไปไม่น่าจะเกิน ๑ มม. (ขนาดทั้งหมดผมประมาณเอานะครับเพราะไม่ได้ทำการวัดด้วยเครื่องมืออย่างเป็นทางการ) ถังน้ำปกติ การทดสอบวันนั้นใช้กระสุนรวมประมาณ ๑๐๐ นัด ยิงไปที่เสื้อตัวเดียวแบบไม่เจาะจงและเจาะจงรูเดิม พบว่ามีเพียง กระสุนของปืน HK33 สองนัดเท่านั้นที่ทะลุในตอนสุดท้าย ยังขาดแต่เพียงการทดสอบกับหุ่นดินเพื่อวัดรอยยุบตัวเท่านั้นครับ(แต่ถ้ารองด้วยอลูมิเนียมก็น่าจะกระจายแรงได้ระดับหนึ่ง) เสื้อเกราะตัวนี้ได้นำไปทดสอบที่กระทรวงกลาโหมและ โดยการยิงทดสอบแบบ NIJ แล้ว และเห็นเพื่อนแจ้งว่าตอนนี้กำลังลดความต้านทานลงให้อยู่ในระดับ 2A เพื่อที่จะได้ให้ ครู เจ้าหน้าที่ทางการพยาบาล และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ภาคใต้มีและใช้ได้กรณีเหตุจำเป็น ผมขอให้ข้อมูลเบื้องต้นคร่าวๆเพียงเท่านี้ก่อน เดียวผมจะไปขออนุญาติคณะผู้วิจัยในการให้ข้อมูลต่างๆเพื่มเติมเพื่อนสมาชิกต้องการสอบถามอะไรก็โพสไว้นะครับหากได้รับอนุญาตหรือผู้วิจัยว่างจะได้เข้ามาแจ้งให้ทราบ ขอบคุณครับ
ช่วยดูกระทู้ตรงนี้นิดนึงครับ ว่าผม กล่าวอย่างไรกับผู้ร่วมทดสอบเกราะตัวจริงนี้
ขอบคุณในข้อมูลครับ ผมว่าข้อมูลที่ท่านให้มา ค่อนค่างกระจ่างมากแล้วครับ
การพูดคุยกันในเวปนี้ จริงๆแล้วไม้ได้มีอคติ แต่คุยกันในเรื่องหลักวิชาการ ซึ่งเป้นจริง ซึ่งผมว่าเป้นเรื่องที่ถกเถียงกันได้ตามหลักวิชา โดยไม่ได้มีความโกรธเคืองกัน แต่หาข้อมุล จริงและถูกต้องมาคุยกันเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้กันมากกว่า